ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

การสร้างภาพด้วยคลื่นแม่เหล็ก (MRI) โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ Bangkok Heart Hospital

ห้องตรวจสมรรถภาพหัวใจ
ชั้น 2 อาคารเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลกรุงเทพ
เปิดให้บริการ ทุกวัน เวลา 07.00 – 16.00 น.
0 2310 3000
0 2310 3370
0 2755 1371
0 2755 1375
1719

การสร้างภาพด้วยคลื่นแม่เหล็ก (MRI)
 
เอ็มอาร์ไอ หรือ แมกเนติกเรโซแนนซ์ อิมเมจิ้ง หรือ เครื่องตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้ตรวจดูอวัยวะภายในโดยไม่มีการใส่ส่วนของอุปกรณ์ใดๆเข้าไปในร่างกาย (noninvasive equipment)
 
เอ็มอาร์ไอ (MRI) คืออะไร
เอ็มอาร์ไอ หรือ แมกเนติกเรโซแนนซ์ อิมเมจิ้ง หรือ เครื่องตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้ตรวจดูอวัยวะภายในโดยไม่มีการใส่ส่วนของอุปกรณ์ใดๆเข้าไปในร่างกาย (noninvasive equipment) หลักการทำงานของเอ็มอาร์ไอจะอาศัยการทำปฏิกิริยา ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและ คลื่นความถี่วิทยุ กับ อนุภาคโปรตอนที่อยู่ในส่วนประกอบของเนื้อเยื่อแต่ละชนิด ซึ่งปฏิกิริยานี้จะทำให้ได้สัญญาณภาพ (image signal) ซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็นภาพของอวัยวะภายในโดยระบบคอมพิวเตอร์ แมกเนติกเรโซแนนซ์ อิมเมจิ้ง (MRI) เป็นเครื่องมือปลอดรังสีเอ็กซ์เพราะไม่ใช้รังสีเอ็กซ์ในการสร้างสัญญาณภาพ ของอวัยวะภายใน
 
เปรียบเทียบ เอ็มอาร์ไอ (MRI) กับ เครื่องเอ็กซ์เรย์  คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (MDCT scan)
เมื่อดูภายนอกทางด้านหน้า เครื่องมือทั้งสองชนิดจะมีลักษณะคล้ายโดนัทขนาดยัก อุโมงค์ของเอ็มอาร์ไอ (ซ้าย) มักจะลึกกว่าของเครื่องเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (ขวา) ขณะที่ทำการตรวจ ผู้ป่วยจะต้องนอนบนเตียงตรวจที่สามารถเลื่อนตัวคนไข้เข้าและออกจากอุโมงค์ อุโมงค์ของ เอ็มอาร์ไอมีหลายแบบ เช่น อุโมงค์ที่มีขนาดรวมทั้งอุโมงค์แบบเปิดสำหรับคนไข้ที่กลัวที่แคบ ซึ่งที่ร.พ กรุงเทพก็มีเครื่องมือชนิดนี้สำหรับให้บริการ
ผนังของอุโมงค์ของเอ็มอาร์ไอ จะบรรจุแม่เหล็กกำลังสูง (powerful magnet) และ เครื่องส่งสัญญาณคลื่นความถี่วิทยุ (radiofrequency pulse) 
ส่วนผนังของอุโมงค์ของ เครื่องเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง256 สไลด์ (256 Slice Multi Detector CT scanner)  จะบรรจุหลอดเอ็กซ์เรย์ (X-Rays Tube) เครื่องรับสัญญาณเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (MDCT scan)
 
เอ็มอาร์ไอ ทำงานอย่างไร
เอ็มอาร์ไอ ทำงานได้โดย อาศัยปฎิกิริยาระหว่าง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คลื่นความถี่วิทยุ และ อนุภาคโปรตอน ในเนื้อเยื่อของรางกาย โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงในทางเคมีที่เป็นอันตราย เมื่ออานุภาคโปรตอนได้รับพลังงานจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและคลื่นความถี่วิทยุ อนุภาคโปรตอนในเนื้อเยื่อแต่ละชนิดก็จะมีการเคลื่อนที่ออกจากตำแหน่งสมดุลเดิมไปอยู่ในระนาบที่ตั้งฉากกับแนวแกนของสนามแม่เหล็กกำลังสูง เมื่อการถ่ายเทพลังงานจากแหล่งกำเนิดคลื่นความถี่วิทยุหยุดลง อานุภาคโปรตอนที่ม่พลังงานสูงและกำลังเคลื่อนที่ออกจากตำแหน่งสมดุลเดิมก็จะมีการคายพลังงานออกมาเพื่อกลับสู่สมดุลเดิม พลังงานที่คายออกมาจะถูกเปลี่ยนไปเป็นสัญญานภาพด้วยระบบคอมพิวเตอร์ และสร้างเป็นภาพของอวัยวะภายในในที่สุด
 
ข้อบ่งชี้ในการส่งตรวจเอ็มอาร์ไอหัวใจ
  • ตรวจหาความปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ และ เยื่อหุ้มหัวใจ
  • ตรวจหาความผิดปกติของหลอดเลือดแดงใหญ่และหลอดเลือดโคโรนารี่ อาร์เทอรี่
  • ตรวจสมรรถภาพการทำงานของหัวใจเพื่อเพื่อประเมินความเสี่ยงก่อนการผ่าตัด
  • ตรวจวินิจหาความผิดปกติของหัวใจที่เป็นมาแต่กำเนิดทั้งก่อนและหลังการรักษา ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่

การตรวจใช้เวลานานแค่ไหน
โดยเฉลี่ยใช้เวลาประมาณ 45-90 นาที

อะไรเกิดขึ้นบ้างในระหว่างการตรวจ
  • โดยส่วนมากการตรวจเอ็มอาร์ไอ คนไข้จะไม่มีความรู้สึกเจ็บปวด
  • คนไข้บางคนอาจรู้สึกไม่สุขสบายขณะรับการตรวจ เนื่องจากต้องนอนอยู่ในอุโมงค์ที่แคบ และมีเสียงดังจากการปล่อยคลื่นความถี่วิทยุ แต่สามารถลดความดังได้ด้วยการให้คนไข้ใส่โฟมอุดหู
  • คนไข้บางคนอาจขมคอเมื่อได้รับการฉีดสารเปรียบต่าง (gadolinium contrast)
  • หลังจากตรวจเสร็จผู้ป่วยสามารถดำเนินกิจกรรมตามปกติได้ ยกเว้นผู้ป่วยที่ได้รับยานอนหลับ หรือ ยาสลบ ต้องให้ผู้ป่วยพักฟื้นจนกว่าจะรู้สติสัมปชัญญะ

ข้อจำกัดของเอ็มอาร์ไอ
  • คนไข้ไม่สามารถจะนอนไม่เคลื่อนไหวตลอดการตรวจได้
  • คนไข้ไม่สามารถจะกลั้นใจนิ่งหลายครั้งได้
  • คนไข้ตัวใหญ่ไม่สามารถนอนในอุโมงค์ได้
  • จังหวะการเต้นของหัวใจที่ไม่สม่ำเสมอมีผลต่อคุณภาพของภาพ
  • การตรวจวินิจฉัยโรคโดยใช้เอ็มอาร์ไอใช้เวลานานกว่า และ ราคาแพงกว่า การตรวจโดยเครื่องมืออื่น


ศูนย์การแพทย์โรงพยาบาลกรุงเทพ มีเครื่องเอ็มอาร์ไอให้บริการดังนี้ 
  • เทสลา (Tesla) เอ็มอาร์ไอ (MRI) ตั้งอยู่ ที่ อาคารกิติพันธ์ ชั้นใต้ดิน และ อาคาร D ชั้นใต้ดิ
  • 1.5 เทสลา (Tesla) เอ็มอาร์ไอ (MRI) ตั้งอยู่ ที่ อาคาร R ชั้น G
  • 1.0 เทสลา (Tesla) เอ็มอาร์ไอ ชนิดอุโมงค์แบบเปิด (Open MRI) ตั้งอยู่ ที่ อาคาร D ชั้นใต้ดิน
 
สอบถามเพิ่มเติมที่
ห้องตรวจสมรรถภาพหัวใจ
ชั้น 2 อาคารเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลกรุงเทพ
เปิดให้บริการ ทุกวัน เวลา 07.00 – 16.00 น.
0 2310 3000
0 2310 3370
0 2755 1371
0 2755 1375
1719

 

 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด