ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

การตรวจวินิจฉัยโรคลำไส้ใหญ่และลำไส้เล็กส่วนปลายโดยใช้กล้อง (Colonoscopy)

เป็นการส่องกล้องเพื่อดูความผิดปกติของลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) ตั้งแต่ทวารหลักจนถึงลำไส้ใหญ่ส่วนต้น (Caecum), ไส้ติ่ง (Appendix) และบริเวณลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย (Terminal lleum) ซึ่งเป็นหัตถการที่มีความปลอดภัยสูงใช้เวลาในการตรวจไม่นาน (สำหรับในกรณีที่ไม่มีการตัดเนื้องอก) ถ้าผู้ตรวจอายุน้อยและไม่มีโรคประจำตัว สามารถตรวจโดยไม่ต้องนอนโรงพยาบาล

 
        แต่ถ้าท่านกับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดปัญหาแทรกซ้อน  ได้แก่  ผู้สูงอายุ  ผู้ที่มีโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด  โรคระบบทางเดินหายใจ  โรคตับและโรคไต  จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาลเพื่อให้การดูแลอย่างเหมาะสมและใกล้ชิด  เพื่อช่วยลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างการตรวจหรือหลังจากตรวจรักษาได้
 
 

ข้อบ่งชี้ของการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่

 
1.    มีการถ่ายอุจจาระผิดปกติไปจากเดิม (Abnormal Bowel Habit) เช่น ท้องผูกมากขึ้น  มีท้องเสียสลับท้องผูก  ถ่ายอุจจาระมีเลือดหรือมูกปน  หรือท้องเสียบ่อยๆ 
2.    ปวดท้องด้านล่าง  ปวดเบ่งอยากถ่าย  หรือเป็น ๆ หาย ๆ เบื่ออาหาร  น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว
3.    ตรวจพบความผิดปกติของการทำ X-Ray ลำไส้ใหญ่ (Abnormal Barlum Enema)
4.    มีประวัติในครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้             
5.    อุจจาระอาจมีลักษณะปกติ  แต่ตรวจทางห้องปฏิบัติการพบมีเลือดปน (ผล Occult Blood Test ได้ผลเป็นบวก)


 

การเตรียมตัวและขั้นตอนการตรวจ

 
1.    ควรงดยา Aspirin หรือยาที่มีธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบอย่างน้อย 7 วันก่อนตรวจ
2.    เพื่อให้ลำไส้สะอาด  ปราศจากอุจจาระที่ผิวของลำไส้ใหญ่  จึงต้องมีการเตรียมตัวเพื่อการส่องกล้องดังนี้
 
·        สามวันก่อนการตรวจให้รับประทานอาหารที่มีกากน้อย  เช่น โจ๊ก  ข้าวต้มปลา  ข้าว  ขนมปังสีขาว  เนย  นม  น้ำผึ้ง  ชา  กาแฟ “ห้ามรับประทานอาหารที่มีกากมาก” เช่น ผัก ผลไม้  ข้าวกล้อง
 
·        หนึ่งวันก่อนตรวจ  ให้รับประทานอาหารเหลวใสทุกมื้ออาหาร  และดื่มน้ำมาก ๆ (อาหารเหลวใส  คือ  น้ำผลไม้ต่างๆ ที่ไม่มีกาก  น้ำชาไม่ใส่นม  กาแฟดำ  น้ำซุปใสที่ไม่มีกากอาหารและน้ำหวาน)
 
·        การให้ยาระบาย  เพื่อให้ลำไส้ไม่มีอุจจาระ (ตามแพทย์สั่ง)  ในตอนเย็นหรือก่อนนอน หรือในตอนเช้าวันตรวจ  โดยมารับประทานยาที่โรงพยาบาล  ซึ่งศูนย์ระบบทางเดินอาหารของโรงพยาบาล  ได้จัดเตรียมห้องสำหรับผู้รับบริการตรวจโดยเฉพาะ (แยกห้องชาย/หญิง)  ไว้บริการ
 
 

ขั้นตอนการตรวจส่องกล้อง

 
1.    กรุณาถอดของมีค่าและแว่นตา, นาฬิกา,  คอนแทคลนส์, ฟันปลอม(ถ้ามี) ฝากญาติไว้
2.    นอนตะแคงซ้ายงอเช่าชิดอก
3.    จะมีการฉีดยานอนหลับร่วมกับยาระงับปวดให้กับผู้ตรวจ
4.    แพทย์จะใส่กล้องทางทวารหนักผ่านเข้าลำไส้ใหญ่ถึงลำไส้เล็กส่วนหลาย  ขณะทำจะรู้สึกแน่นท้อง  ท้องอืดจากการใส่ลมเข้าไปในลำไส้
5.    ใช้เวลาในการตรวจประมาณ 30-60 นาที
6.    ควรมีญาติที่บรรลุนิติภาวะมาด้วย 1 คน
 
 

การดูแลหลังการตรวจ     

 
1.    งดน้ำ-งดอาหารประมาณ 1 ชั่วโมง  จนกว่าอาการทั่วไปหรือจนกว่าจะรู้สึกตัวเป็นปกติ
2.    อามีอาการท้องอืด  แน่น  เนื่องจากลมเข้าไปในลำไส้  ซึ่งจะหายไปในเวลาไม่นาน  อาจมีความรู้สึกปวดท้องอยากถ่าย
3.    อาจมีเลือดปนออกมากับอุจจาระเล็กน้อยในสองวันแรก (กรณีตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจ)
4.    การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนล่าง  เป็นหัตถการที่ปลอดภัยสูง  โอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนคือ  ลำไส้ทะลุ  หรือฉีกขาดน้อยมาก  เลือดที่ออกจากการตัดชิ้นเนื้อหรือติ่งเนื้อลำไส้  มักหยุดเองได้  หากผู้ตรวจมีอาการปวดท้องเฉียบพลัน  มีไข้  หรือเลิดออกทางทวารหนักมากกว่าครึ่งถ้วยกาแฟ  ควรติดต่อแพทย์โดยด่วน
5.    ผู้ที่ทำการตรวจจะได้รับยาระงับความรู้สึกทางหลอดเลือดดำ  ห้ามขับรถหรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรหรืองานที่ต้องการตัดสินใจอย่างน้อย  24 ชั่วโมง
 
 
 
 
 
  
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด