ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

มะเร็งกระเพาะอาหาร ปัจจัยเสี่ยงและการป้องกัน

พูดถึงมะเร็งกระเพาะอาหารอาจมาด้วยอาการที่คล้ายเป็นโรคกระเพาะซึ่งมีความสำคัญต้องวินิจฉัยโรคให้เร็ว การรักษาจึงจะได้ผลดี

พูดถึงมะเร็งกระเพาะอาหาร อาจมาด้วยอาการที่คล้ายเป็นโรคกระเพาะ  ซึ่งมีความสำคัญต้องวินิจฉัยโรคให้เร็ว  การรักษาจึงจะได้ผลดี
 
ปัจจัยเสี่ยง
ของการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหารได้แก่ความผิดปกติทางพันธุกรรม  การติเชื้อเฮริโคแบกเตอร์  ไพลอริในกระเพาะอาหาร  ความผิดปกตินของเยื่อบุกระเพาะอาหาร  การสูบบุหรี่  การดื่มสุราจำนวนมาก  ส่วนประกอบในอาหารซึ่งมีสารบางชนิดในเนื้อสัตว์หมัก  เช่น  ไส้กรอก  แหนม  ปลาร้าหรือเนื้อย่าง  อาหารที่มีเกลือมาก  หรืออาหารที่มีประมาณของวิตามินซีน้อย  อาจเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้
 
มะเร็งกระเพาะอาหารจะพบในคนอายุ 40 ปีขึ้นไปเป็นส่วนใหญ่  และพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง  ในประเทศไทยการส่องกล้องตรวจผู้ป่วยที่มาด้วยอาการโรคกระเพาะอาหารพบว่า  มะเร็งกระเพาะอาหารเป็นสาเหตุของโรคกระเพาะ  ประมาณร้อยละ 2 อาการของโรคกระเพาะอาหาร  ได้แก่ อาการปวดท้อง  แน่นท้องหรือท้องอืด  โดยจะมีอาการบริเวณลิ้นปี่ถึงสะดือ  อิ่มเร็ว  คลื่นไส้  อาเจียน  เบื่ออาหาร  อาเจียนเป็นเลือดหรือถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ  หากมีอาการดังกล่าว  ควรไปพบแพทย์  เพื่อจะได้รับการประเมินหาสาเหตุ
 
วิธีวินิจฉัย
มะเร็งกระเพาะอาหาร จะใช้การส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารและตัดชิ้นเนื้อไปตรวจเป็นวิธีที่มีความแม่นยำสูง  การรักษามะเร็งกระเพาะอาการ  จะใช้วิธีการผ่าตัด  เป็นวิธีท่าอาจจะทำให้โรคหายได้ในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งในระยะที่ 1  นอกจากนี้การผ่านตัดจะช่วยบรรเทาอาการแก่ผู้ป่วยได้
 
การป้องกัน
การเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารนั้น  ในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลชัดเจน  แต่ปัจจัยเสี่ยงบางอย่างอาจจะแก้ไขได้  เช่น  การรักษาการติดเชื้อเฮริโคแบกเตอร์ไพลอริ  การหลีกเลี่ยงการรับประทานของหมักดอก  อาหารรสเค็มจัดของปิ้งย่าง  การกินอาหารที่มีวิตามินซีหรือคาโรทีนสูง  งดการสูบบุหรี่และงดการดื่มสุรา  การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว  อาจจะลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหารลงได้  แต่ยังไม่มีข้อพิสูจน์ที่ชัดเจน  ดังนั้นหากท่านมีอาการของโรคกระเพาะอาหารดังกล่าวนานเกิน 4 สัปดาห์  ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง
 
ข้อบ่งชี้ในการตรวจหาสาเหตุ                 
คือ อายุ  หรือทานยาประมาณ 2 สัปดาห์ แล้วอาการไม่ดีขึ้น
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด