ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

เช็กสุขภาพธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน: ปี 2563 [Krungthai Compass]

เช็กสุขภาพธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน: ปี 2563 [Krungthai Compass] HealthServ.net

แม้ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนจะเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพในการเติบโตต่อเนื่องด้วยปัจจัยสนับสนุนที่แข็งแกร่ง แต่ก็เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ Covid-19 โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงพยาบาลเอกชนที่พึ่งพารายได้จากคนไข้ต่างชาติ

เช็กสุขภาพธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน: ปี 2563 [Krungthai Compass] ThumbMobile HealthServ.net

เช็กสุขภาพธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน: ปี 2563 โรงพยาบาลเอกชนเผชิญปัจจัยเสี่ยงและความท้าทายรอบด้านโดยเฉพาะการแพร่ระบาดของ Covid-19


Key Highlights:
  • ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ Covid-19 และสงครามราคาน้ามันโลก ที่ท าให้จ านวนคนไข้ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติลดลง ทั้งนี้ คาดว่าภาพรวมรายได้ของโรงพยาบาลเอกชนในปี 2563 จะหดตัว6-8%YoY
  • เศรษฐกิจและกำลังซื้อที่หดตัว จะกระทบโรงพยาบาลเอกชนที่เจาะกลุ่มคนไข้ที่มีรายได้ปานกลาง
  • โรงพยาบาลเอกชนที่ถูกจัดอยู่ในเกณฑ์ที่จำหน่ายราคายาสูงอาจต้องได้รับผลกระทบจากมาตรการควบคุมราคาสินค้ายา เวชภัณฑ์และการบริการทางการแพทย์ที่เข้มข้นขึ้น
  • Digital Health หรือ Health Tech จะเป็นเครื่องมือในการเพิ่มประสิทธิภาพของให้บริการและช่วยขับเคล่ือนธุรกิจได้อย่างเข้มแข็งและอยู่รอดได้ในระยะยาว จนกลายเป็น NewNormal ของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน

แม้ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนจะเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพในการเติบโตต่อเนื่องด้วยปัจจัยสนับสนุนที่แข็งแกร่ง แต่ก็เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ Covid-19 โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงพยาบาลเอกชนที่พึ่งพารายได้จากคนไข้ต่างชาติ

ภาพรวมรายได้ของโรงพยาบาลเอกชน ปี 2563 จะหดตัวกว่า6-8%YoY โดยกลุ่มโรงพยาบาลที่มีสัดส่วนคนไข้ต่างชาติสูงจะได้รับผลกระทบมากที่สุด นำโดยโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ (BH) สมิติเวช (SVH) และกลุ่มกรุงเทพดุสิตเวชการ (BDMS) ที่มีสัดส่วนรายได้จากคนไข้ต่างชาติสูงถึง 66% /1 40% /2 และ30% /3 ตามลำดับ


ภาพรวมธุกิจปี 2563: ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ Covid-19ที่ทวีความรุนแรงขึ้นและกระจายไปทั่วโลก รวมทั้งในไทยส่งผลให้นักท่องเที่ยวต่างชาติของไทยหดตัวรุนแรง โดย Krungthai COMPASSประเมินว่าจ านวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจะลดลงถึง 79.6%YoY ซึ่งรวมไปถึงคนไข้ชาวต่างชาติ เนื่องจากมีข้อจ ากัดในการเดินทางเข้ามารักษาพยาบาลในไทยนอกจากนี้ คาดว่าจ านวนคนไข้ชาวไทยจะลดลงจากมาตรการ Lockdown ของภาครัฐ และความกังวลที่จะมีโอกาสติดเชื้อ Covid-19 เนื่องจากโรงพยาบาลเป็นสถานที่ที่มีความเสี่ยงสูง โดยเฉพาะกลุ่มคนไข้ที่ใช้บริการทางการแพทย์กรณีไม่เร่งด่วนฉุกเฉิน อาทิ บริการด้านทันตกรรม การตรวจสุขภาพ อีกทั้งสงครามราคาน้ามันโลกที่ท าให้ราคาน้ามันปรับตัวลดลงอย่างมากกดดันรายได้ของคนไข้กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง ซึ่งอาจส่งผลให้จ านวนคนไข้กลุ่มนี้ลดลงมากขึ้นไปอีกโดยโรงพยาบาลเอกชนที่มีสัดส่วนรายได้จากคนไข้ต่างชาติสูงจะถูกกระทบมากที่สุด ทั้งนี้ คาดว่า ภาพรวมรายได้ของโรงพยาบาลเอกชนจะหดตัว 6-8%YoY และในปี 2564 รายได้ของธุรกิจจะกลับมาขยายตัวได้ 8-10%YoY ด้วยศักยภาพและคุณภาพการรักษาของโรงพยาบาลเอกชนของไทยที่ได้รับการรับรองมาตรฐานJCI กว่า 47 แห่ง


ปี 2563 เป็นปีแห่งความท้าทายของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนที่ต้องเผชิญกับความเสี่ยงรอบด้าน ซึ่งปัจจัยเสี่ยงหลักๆ ที่เข้ามากระทบ ได้แก่
  • Covid-19 กดดันรายได้โรงพยาบาลเอกชน
    การแพร่ระบาดของ Covid-19 ทำให้ผู้เข้ารับบริการทางการแพทย์ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมีข้อจำกัดในการเข้ารับบริการ รวมถึงความตระหนกและกังวลต่อการติดเชื้อ ทำให้คนไข้ที่ไม่เจ็บป่วยฉุกเฉินหลีกเลี่ยงการเข้ารับการรักษา รวมถึงการหยุดชะงักของกิจกรรมทางเศรษฐกิจบางประเภท ส่งผลให้รายได้ของโรงพยาบาลเอกชนทั้งในกลุ่มที่พึ่งพารายได้จากคนไข้ต่างชาติในสัดส่วนที่สูง และกลุ่มโรงพยาบาลที่อยู่ในพื้นที่อุตสาหกรรม มีรายได้ลดลง ขณะที่ยังต้องแบกรับค่าใช้จ่ายและต้นทุนที่สูงพอสมควร จึงกดดันการทำกำไรของธุรกิจ
     
  • รายได้คนไข้ตะวันออกกลางถูกกดดันจากราคาน้ามันหดตัว
    แม้ว่ากลุ่มคนไข้ตะวันออกกลางจะมีสัดส่วนลดลงจากในอดีต แต่ยังเป็นกลุ่มลูกค้าที่ส าคัญของโรงพยาบาลเอกชนบางแห่ง อาทิ กลุ่มโรงพยาบาลในเครือBDMS โรงพยาบาลบ ารุงราษฎร์ กลุ่มโรงพยาบาลธนบุรี และกลุ่มโรงพยาบาลในเครือ BCH ทั้งนี้ หากราคาน้ามันยังอยู่ในระดับต่า อาจจะกระทบต่อฐานลูกค้าชาวตะวันออกกลางที่เป็นกลุ่มลูกค้าระดับสูง และมีก าลังทรัพย์ในการใช้จ่าย โดยในปี 2561 นักท่องเที่ยวชาวตะวันออกกลางมีค่าใช้จ่ายในการใช้บริการทางแพทย์ในไทยกว่า 2,300 ล้านบาท
     
  • ปัญหากำลังซื้อที่หดตัว จะเป็นปัจจัยสำคัญที่กดดันรายได้ของโรงพยาบาลเอกชนในระยะถัดไป
    กลุ่มคนไข้ที่มีกำลังซื้อปานกลางต้องระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้นในสถานการณ์ที่เศรษฐกิจหดตัว ทำให้โรงพยาบาลที่เจาะกลุ่มลูกค้ากลุ่มนี้ได้รับผลกระทบมากกว่าโรงพยาบาลที่มีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่มีรายได้ระดับสูง สอดคล้องกับผลการศึกษาโครงการการประมาณค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพจากผลของการสร้างเสริมสุขภาพ ของ TDRI ที่พบว่า เมื่อประชากรมีรายได้มากขึ้น จะยอมจ่ายค่ารักษาพยาบาลสูงขึ้น เพื่อให้ได้รับความสะดวกสบายเพิ่มขึ้น
     
  • ความไม่ชัดเจนของแนวทางการปฏิบัติตามมาตรการควบคุมราคายา เวชภัณฑ์และการบริการทางการแพทย์เพิ่มความเสี่ยงให้กับโรงพยาบาลเอกชน โดยเฉพาะกลุ่มโรงพยาบาลเอกชนที่ถูกจัดอยู่ในเกณฑ์ที่จำหน่ายราคายาสูง
    มาตรการควบคุมราคายา เวชภัณฑ์ และการบริการทางการแพทย์ ได้มีผลบังคับใช้มาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2562 และได้มีการดำเนินการตามมาตรการอย่างต่อเนื่อง ทั้งการำหนดให้โรงพยาบาลเอกชนแจ้งข้อมูลราคาซื้อและราคาจำหน่ายยา เวชภัณฑ์ค่าบริการรักษาพยาบาล ค่าบริการทางการแพทย์ และค่าบริการอื่นของสถานพยาบาลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ และติดตั้ง QR Code แสดงการเปรียบเทียบราคายาณ โรงพยาบาลเอกชน นอกจากนี้ ยังได้ประกาศกลุ่มโรงพยาบาลสีเขียวจำนวน164 แห่ง ซึ่งเป็นกลุ่มโรงพยาบาลเอกชนที่คิดราคายาไม่แพงหรือแบบอนุเคราะห์ผู้ป่วย ดังนั้น หากกรมการค้าภายในมีมาตรการที่เข้มข้นและจริงจังมากขึ้น โดยมีเป้าหมายเพื่อลดส่วนต่างค่ายา และค่ารักษา ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน อาจส่งผลให้กลุ่มโรงพยาบาลเอกชนที่ถูกจัดอยู่ในเกณฑ์ที่จำหน่ายราคายาสูงได้รับผลกระทบต่ออัตรากำไร
แม้ว่าในปี 2563 ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนต้องเผชิญความเสี่ยงและความท้าทายรอบด้าน แต่ยังมีปัจจัยสนับสนุนบางประการที่เป็นผลดีกับธุรกิจ
  • ประกันสังคมได้เพิ่มอัตราค่าบริการทางการแพทย์ ปี 2563 โดยเฉลี่ย 3,959 บาท/คน/ปี ซึ่งจะส่งผลดีกับกลุ่มโรงพยาบาลที่มีสัดส่วนลูกค้ากลุ่มประกันสังคมค่อนข้างมาก
    ที่ประชุมคณะกรรมการประกันสังคมเห็นชอบการปรับอัตราค่าบริการทางการแพทย์ปี 2563 ให้แก่สถานพยาบาลคู่สัญญาในระบบประกันสังคม ทั้งนี้มีสถานพยาบาลเอกชนที่เป็นคู่สัญญากับประกันสังคมจ านวน 79 แห่ง
    โดยประมาณการค่าใช้จ่ายกรณีค่าบริการทางการแพทย์โดยเฉลี่ยอัตรา 3,959 บาท/คน/ปี แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ

    1. ค่าบริการทางการแพทย์ที่เหมาจ่ายอัตรา 1,640 บาท/คน/ปีเพิ่มขึ้น9.3%YoY กรณีผู้ป่วยในด้วยโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง (AdjRW มากกว่าหรือเท่ากับ 2) อัตรา 746 บาท/คน/ปี เพิ่มขึ้น 16%YoY และกรณีผู้ป่วยนอกที่สถานพยาบาลต้องมีภาระการรักษาผู้ประกันตนป่วยด้วยโรคเรื้อรังอัตรา453 บาท/คน/ปี เพิ่มขึ้น 1.3%YoY รวมจ่ายให้สถานพยาบาลคู่สัญญาในอัตรา 2,839 บาท/คน/ปี เพิ่มขนึ้ 9.7%YoY

    2. ค่าบริการทางการแพทย์นอกเหนือจากเหมาจ่าย แยกเป็นกรณีอุบัติเหตุฉุกเฉินค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์บ าบัดรักษาโรค และอื่นๆ อัตรา 1,120 บาท/คน/ปี

Covid-19 เป็นตัวเร่งให้ Digital Health หรือ Health Techในไทยเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้น และกลายเป็น New Normal ของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน

เมื่อธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนต้องเผชิญกับมาตรการ SocialDistancing ทำให้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เพื่อมาสนับสนุนการให้บริการทางสุขภาพที่หลากหลาย ที่ผ่านมาอุตสาหกรรมการแพทย์ โดยเฉพาะโรงพยาบาลเอกชนได้นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาเพิ่มประสิทธิภาพ ทั้งในเชิงของการช่วยวินิจฉัยโรคการรักษา และการดูแลผู้ป่วย รวมถึงการส่งเสริมสุขภาพ อำนวยความสะดวกในการเข้ารับบริการ แต่เป็นการพัฒนาแบบค่อยเป็นค่อยไป เมื่อเกิดการแพร่ระบาดของ Covid-19 ทำให้โรงพยาบาลหลายแห่ง และตัวคนไข้เองหันมาให้ความสนใจกับการบริการด้านสุขภาพโดยใช้เทคโนโลยีเป็นตัวเชื่อมระหว่างแพทย์และคนไข้มากขึ้น สำหรับเทคโนโลยีดิจิทัลที่เข้ามาช่วยขับเคลื่อนระบบการแพทย์ อาทิการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) Blockchain AR และเทคโนโลยีเสมือน (AR and VR) การเก็บสำเนาในรูปดิจิทัล (Digital Twin)

ตัวอย่างการนำ Digital Health หรือ Health Tech มาใช้ในการให้บริการทางการแพทย์

  • Samitivej Virtual Hospital:โรงพยาบาลบนโลกออนไลน์ ที่ให้บริการ Telemedicineด้วยการนำเทคโนโลยีมาช่วยให้ผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์สามารถพูดคุยตอบโต้กันได้แบบ Real-time และสามารถเชื่อมโยงไปสู่บริการอื่นได้ อาทิ บริการจัดส่งยาตามคำสั่งแพทย์ บริการ Test@Home ที่เป็นบริการเจาะเลือดนอกสถานที่
  • บริษัทประกัน อาทิ เอฟดับบลิวดี ประกันชีวิต เมืองไทยประกันชีวิต ได้ร่วมกับโรงพยาบาลชั้นน า เช่น กลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์กลุ่มโรงพยาบาลพญาไท กลุ่มโรงพยาบาลสมิติเวช กลุ่มโรงพยาบาลบางปะกอกกลุ่มโรงพยาบาลเปาโล กลุ่มโรงพยาบาลจุฬารัตน์ กลุ่มโรงพยาบาลมหาชัย ในการเพิ่มบริการ Telemedicine สำหรับลูกค้า ซึ่งเป็นการบริการให้คำปรึกษาจากแพทย์ทางออนไลน์ และการจัดส่งยาถึงบ้านลูกค้า โดยครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลตามวงเงินค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก (OPD) ได้แก่ ค่ายาและเวชภัณฑ์ ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ เฉพาะการตรวจเลือดเพื่อดูปริมาณน้าตาลการทำงานของไต ตับ ตับอ่อน และหัวใจ ค่าแพทย์ รวมทั้งค่าจัดส่งยาถึงบ้าน

Our View:

  • การแพร่ระบาดของ Covid-19 จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของโรงพยาบาลเอกชนในระยะสั้น เนื่องจากคนไข้และนักท่องเที่ยวต่างชาติเลี่ยงการเดินทางเพื่อมารักษาพยาบาลออกไป โดยหลังจากที่สามารถควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคได้ ประเมินว่าธุรกิจจะสามารถเติบโตได้ต่อเนื่องในระยะยาว เนื่องจากธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนยังเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพและสามารถเติบโตได้ตามความต้องการการรักษาพยาบาลที่เพิ่มขึ้นตามจำนวนผู้ป่วยและอัตราการเจ็บป่วยที่สูงขึ้นทั้งจากวิถีการดำเนินชีวิต สังคมผู้สูงอายุและการแพร่ระบาดของโรคต่างๆ ตามฤดูกาลที่รุนแรงขึ้น ในขณะที่กลุ่มลูกค้าที่เป็นผู้ป่วยชาวต่างชาติจากตะวันออกกลาง จีน รัสเซีย ญี่ปุ่น และอาเซียน จะยังคงกลับมาใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนในไทย เนื่องจากเชื่อมั่นในคุณภาพการรักษาค่ารักษาพยาบาลและค่าครองชีพไม่สูงมากเมื่อเทียบกับคู่แข่งที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกัน อีกทั้งมีมาตรฐานและบริการที่ดี นอกจากนี้ คนไทยจะให้ความสำคัญกับการทำประกันสุขภาพมากขึ้น จนส่งผลให้เกิดการขยายตัวของการทำประกันสุขภาพทำให้โรงพยาบาลเอกชนสามารถขยายกลุ่มลูกค้าไปยังกลุ่มบริษัทประกันได้ เพื่อชดเชยรายได้ที่อาจจะหดตัวจากกลุ่มลูกค้าเงินสดตามภาวะเศรษฐกิจที่ยังหดตัวอย่างไรก็ตาม ยังมีโอกาสที่สถานการณ์การแพร่ระบาดในต่างประเทศจะยืดเยื้อกว่าที่คาด ทำให้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและกำลังซื้อทั่วโลกอย่างรุนแรง ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ยังกดดันรายได้ของโรงพยาบาลเอกชน โดยเฉพาะกลุ่มโรงพยาบาลที่มีสัดส่วนคนไข้ต่างชาติสูง
     
  • ผู้ประกอบการต้องตระหนักรู้และปรับตัวให้ทันการเปลี่ยนแปลง เพื่ อตอบรับ New Normal ของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน และยกระดับศักยภาพการแข่งขันของตนเอง สถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 เป็นเหตุการณ์ที่อยู่เหนือความคาดหมายและยากต่อการควบคุม ได้ส่งผลกระทบต่อการด าเนินธุรกิจในรูปแบบเดิม ทำให้เกิดการปรับตัวทางธุรกิจเพื่อให้สอดรับกับมาตรการ SocialDistancing โดยธุรกิจจำเป็นต้องปรับรูปแบบการให้บริการที่เป็น Individual มากขึ้นเช่น การให้บริการตรวจสุขภาพเบื้องต้นที่บ้าน ขณะที่ต้องให้ความสำคัญกับการทำ Digital Transformation และนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้อย่างจริงจัง เพื่อเป็นเครื่องมือในการเพิ่มประสิทธิภาพของให้บริการและช่วยขับเคลื่อนธุรกิจได้อย่างเข้มแข็งและอยู่รอดได้ในระยะยาว พร้อมทั้งต้องปรับให้ง่ายต่อการใช้งาน ซึ่งจะช่วยให้ผู้รับบริการทางการแพทย์เปิดรับการบริการรูปแบบใหม่ไปพร้อมๆ กัน ทั้งนี้ ผู้ประกอบการที่ปรับตัวได้เร็วและก่อนผู้อื่น ก็จะได้รับผลกระทบน้อยกว่าและยังอาจแปลงวิกฤตเป็นโอกาสทางธุรกิจเหนือคู่แข่ง
     
  • ผู้ประกอบการควรตระหนักรู้และเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการบังคับใช้ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (Thailand’sPersonal Data Protection Act B.E. 2562 (2019): PDPA) ควบคู่ไปกับการการน าเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการด้านการแพทย์และการดูแลสุขภาพ แม้ว่า ครม. จะมีมติให้เลื่อนการบังคับใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ออกไปอีก 1 ปี จากเดิมที่จะมีผลบังคับใช้ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2563 แต่ พรบ. ดังกล่าวยังต้องถูกนำมาใช้เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของยุโรป GDPR (General Data ProtectionRegulation) ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจโรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชน เนื่องจากที่ผ่านมาต่างมุ่งเน้นการทำตามมาตรฐาน HIPAA (HealthInsurance Portability and Accountability Act) เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านสุขภาพเพียงอย่างเดียว อาทิ ข้อมูลส่วนตัวของคนไข้ ข้อมูลประวัติการรักษา ข้อมูลประกันสุขภาพและบัตรเครดิต โดยไม่ได้พิจารณาถึงเรื่องของการให้ความสำคัญกับความเป็นส่วนตัวและข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกัน ทำให้ผู้ประกอบการต้องให้ความส าคัญกับการปรับองค์กรให้สอดคล้องกับ PDPA ซึ่งต้องลงทุนเพื่อเตรียมพร้อมทั้งในด้านกระบวนการทำงาน ระบบสารสนเทศ บุคลากร และต้องประเมินผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อองค์กร อาทิ การตั้งคณะทำงานเพื่อวิเคราะห์และเตรียมการภายในองค์กร การมองหา Scenarios ที่อาจจะเกิดปัญหาพร้อมทั้งหาแนวทางป้องกัน การสร้างการรับรู้และจัด Security Awareness Training ให้แก่ผู้บริหารและพนักงานได้ตระหนักถึงความสำคัญของ PDPA รวมถึงการปรับ Informed Consent และระบบสารสนเทศเพื่อรองรับและให้เป็นไปตามกฎระเบียบต่างๆ และการจัดหาหรือจัดอบรมบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้มีความพร้อมปฏิบัติตามกฎหมาย
เช็กสุขภาพธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน: ปี 2563 [Krungthai Compass] HealthServ
เช็กสุขภาพธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน: ปี 2563 [Krungthai Compass] HealthServ
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด