ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

Bubble and Seal หลักการจัดการโควิด-19 ในโรงงานอย่างมีส่วนร่วม

Bubble and Seal หลักการจัดการโควิด-19 ในโรงงานอย่างมีส่วนร่วม HealthServ.net
Bubble and Seal หลักการจัดการโควิด-19 ในโรงงานอย่างมีส่วนร่วม ThumbMobile HealthServ.net

Seal ปิดผนึก จะใช้กับโรงงานที่สามารถจัดสถานที่พักให้พนักงาน พักอาศัยภายในโรงงานได้ Bubble หรือเรียกว่าเป็น เขตเฝ้าระวังพิเศษ จะใช้กับโรงงานที่ไม่สามารถจัดให้พนักงานค้างในโรงงานได้

Bubble and Seal หลักการจัดการโควิด-19 ในโรงงานอย่างมีส่วนร่วม HealthServ
Bubble and Seal คือกลยุทธ์การจัดการโควิด 19  ในโรงงานอย่างมีส่วนร่วม เป็นกลยุทธ์ที่กระทรวงสาธารณสุขได้ออกแบบมาเพื่อบริหารจัดการพื้นที่ จ.สมุทรสาครโดยเฉพาะ มุ่งเป้าไปที่การบริหารจัดการโรงงานขนาดใหญ่ที่เป็นจุดเสี่ยงและพบว่ามีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก เพื่อควบคุมไม่ให้มีการกระจายและแพร่กระจายเชื้อออกมานอกพื้นที่หรือสู่สังคมภายนอก พร้อมกับเป็นการจำกัดความเสี่ยงให้กับกลุ่มพนักงานและสถานที่พักอาศัย ตามแผนการควบคุมโรคที่วางไว้

หลักการ Bubble and Seal

  • Seal "ปิดผนึก" จะใช้กับโรงงานที่สามารถจัดสถานที่พักให้พนักงาน พักอาศัยภายในโรงงานได้ ไม่ต้องเดินทางออกนอกพื้นที่โรงงาน ลดการแพร่เชื้อ ขณะนี้มี 1 โรงงานที่ใช้มาตรการนี้ได้  คาดว่าใช้เวลา 28 วัน จะสามารถควบคุมโรคได้ 
  • Bubble หรือเรียกว่าเป็น “เขตเฝ้าระวังพิเศษ” จะใช้กับโรงงานที่ไม่สามารถจัดให้พนักงานค้างในโรงงานได้ พนักงานพักอยู่นอกโรงงาน มีการจัดหาที่พักพนักงานให้อยู่ในสถานที่ที่กำหนด มีการตีกรอบพื้นที่ชัดเจน ตั้งแต่วัดพันธุวงษ์ สะพานข้ามแม่น้ำท่าจีน และซอยโรงเรียนบ้านบางปิ้ง เป็นต้น ขณะนี้ มี 7 โรงงาน ใน ต.ท่าทราย และ ต.นาดี ที่ต้องเข้ามาตรการนี้
จากโรงงานที่เข้าเกณฑ์ที่จะดำเนินการตามหลักการ Bubble and Seal มีพนักงานรวม 50,083 คน มี 3 โรงงานเริ่มดำเนินการแล้ว ส่วนอีก 4 โรงงานเป็นโรงงานขนาดใหญ่ ซึ่งไม่มีที่พักให้กับพนักงาน จะประสานหาแนวทางและปรับรูปแบบที่เหมาะสมให้สามารถควบคุมโรคได้ 

ส่วนโรงงานขนาดกลางและขนาดเล็ก ยังคงใช้หลักการตรวจหาเชื้อเชิงรุก (Active Case Finding) โดยเมื่อพบผู้ติดเชื้อจะนำออกมารักษาตามระบบ ส่วนผู้ไม่ติดเชื้อให้ทำงานต่อได้ 
 

"ขอชาวสมุทรสาคร อย่ารังเกียจ ถ้าเห็นรถสองแถวรับส่งพนักงานโรงงาน หรือการเดินเท้าต่อแถวกันโดยเว้นระยะห่าง เนื่องจาก ทุกคนกำลังปฏิบัติตามมาตรการ Bubble & Seal เพื่อลดการแพร่กระจายโควิด-19"

แพทย์หญิง อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษก ศบค.



Bubble and Seal หลักการจัดการโควิด-19 ในโรงงานอย่างมีส่วนร่วม HealthServ
จากการลงพื้นที่ จ.สมุทรสาคร นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร  (8 กุมภาพันธ์ 2564) เพื่อติดตามสถานการณ์โควิด 19 และมาตรการ Bubble and Seal จ.สมุทรสาคร โดยนายแพทย์เกียรติภูมิกล่าวว่า จากมาตรการ Bubble and Seal ในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ที่กระทรวงสาธารณสุขได้วางแผนควบคุมโรคในพื้นที่ จ.สมุทรสาคร เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อเป็นวงกว้างและการแพร่เชื้อสู่ชุมชน พบว่าเป็นไปตามแผนที่วางไว้ ได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมเป็นอย่างดี  ดำเนินการในโรงงานขนาดใหญ่ไปแล้ว 9 แห่ง มีพนักงานรวมกว่า 52,000 คน ส่วนโรงงานขนาดกลาง/ขนาดเล็ก ตลาดสด และในชุมชนเสี่ยง ยังคงเฝ้าระวังค้นหาเชิงรุกต่อเนื่อง เพื่อติดตามและค้นหาผู้ติดเชื้อให้มากที่สุด
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด