ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

กัญชาเพื่อการรักษาโรค ตอบคำถามที่ถามกันบ่อยๆ

กัญชาเพื่อการรักษาโรค ตอบคำถามที่ถามกันบ่อยๆ HealthServ.net
กัญชาเพื่อการรักษาโรค ตอบคำถามที่ถามกันบ่อยๆ ThumbMobile HealthServ.net

กัญชาทางการแพทย์กำลังเดินหน้า จึงมีสารพัดคำถามเกี่ยวกับกัญชากับการรักษาโรค มากมาย อาทิ กัญชาสามารถรักษาโรคมะเร็งได้หรือ โรงพยาบาลไหนให้บริการยากัญชา ใช้ยากัญชารักษาตัวเองได้ไหม คนที่ไม่สามารถใช้ยากัญชารักษาได้ สิ่งที่ผู้ป่วยเริ่มใช้สารสกัดกัญชาต้องรู้ ฯลฯ

สารพัดคำถามเกี่ยวกับกัญชากับการรักษาโรค มากมาย ได้แก่
  1. สารสกัดจากพืชกัญชามีประโยชน์ในการรักษาโรค อย่างไร
  2. โรค/ภาวะอาการ ที่สามารถใช้ยากัญชารักษาได้
  3. คนที่ไม่สามารถใช้ยากัญชารักษาได้
  4. สิ่งที่ผู้ป่วยเริ่มใช้สารสกัดกัญชาต้องรู้
  5. กัญชาสามารถรักษาโรคมะเร็งได้หรือไม่
  6. อันตรายจากการใช้ยากัญชาที่ไม่ได้วางแผนการรักษากับแพทย์ (หามาใช้เอง)
  7. โรงพยาบาลของรัฐที่ให้บริการยากัญชามีที่ไหนบ้าง
  8. จะซื้อผลิตภัณฑ์กัญชาเพื่อการแพทย์เองได้หรือไม่
คำตอบอยู่ด้านล่างนี้ โดย กัญชาทางการแพทย์
คณะกรรมการขับเคลื่อนประชาสัมพันธ์การใช้กัญชาเพื่อการแพทย์
กระทรวงสาธารณสุข 
 

กัญชาเพื่อการรักษา กับคำถามที่พบบ่อย

ถาม : สารสกัดจากพืชกัญชามีประโยชน์ในการรักษาโรค อย่างไร

ตอบ : กัญชามีสารประกอบเรียกว่า Cannabinoids จำนวนมาก โดยมีตัวหลัก คือ THC (Tetrahydrocannabidiol) และ CBD (Cannabidiol) ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ คือ ฤทธิ์ของ THC ต่อจิต ประสาท ทำให้ผ่อนคลาย นอนหลับ ลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน และ กระตุ้นให้อยากอาหาร ส่วน CBD มีฤทธิ์ช่วยลดการอักเสบ ลดอาการชักเกร็ง และมีคุณสมบัติยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์เนื้องอกหลายชนิดในหลอดทดลอง
 
 
 

ถาม : โรค/ภาวะอาการ ที่สามารถใช้ยากัญชารักษาได้

ตอบ : 4 โรค/ภาวะอาการ ที่สารกัญชาได้ประโยชน์ในการรักษา โดยมีข้อมูลวิชาการสนับสนุนชัดเจน
  1. ภาวะคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด
  2. โรคลมชักที่รักษายาก และโรคลมชักที่ดื้อต่อยารักษา
  3. ภาวะปวดประสาทส่วนกลาง ที่ใช้วิธีรักษาอื่นๆ แล้วไม่ได้ผล
  4. ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง ในผู้ป่วยปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
7 กลุ่มโรค/ภาวะ ที่น่าจะได้รับประโยชน์จากสารกัญชา แต่ยังต้องการงานวิจัยสนับสนุนเพิ่มเติม
  1. โรคพาร์กินสัน
  2. โรคอัลไซเมอร์
  3. โรควิตกกังวล (GAD: Generalised Anxiety Disorder)
  4. โรคอื่นๆ ที่มีข้อมูลสนับสนุนทางวิชาการว่าน่าจะได้รับประโยชน์
  5. โรคปลอกประสาทอักเสบอื่นๆ (ที่ไม่ใช่ปลอกประสาทเสื่อมแข็ง)
  6. ผู้ป่วยที่ต้องดูแลแบบประคับประคอง (Palliative care)
  7. ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย

ถาม : คนที่ไม่สามารถใช้ยากัญชารักษาได้

ตอบ :   
  • มีประวัติแพ้ผลิตภัณฑ์จากกัญชาหรือสารตัวทำละลายที่ใช้ในการสกัด
  • เป็นโรคหัวใจที่ไม่สามารถควบคุมอาการได้
  • ผู้ที่ตับ/ไต ทำงานบกพร่อง
  • เป็นโรคจิต เป็นโรคอารมณ์แปรปรวน หรือโรควิตกกังกล
  • สตรีมีครรภ์ ให้นมบุตร วัยเจริญพันธุ์ไม่คุมกำเนิด หรือสตรีที่มีแผนตั้งครรภ์
  • ผู้ป่วยเด็กที่ใช้สารสกัดกัญชาจะส่งผลเสียในระยะยาวต่อพัฒนาการทางสมองที่ทำให้เชาวน์ปัญญาลดลง
 

ถาม : สิ่งที่ผู้ป่วยเริ่มใช้สารสกัดกัญชาต้องรู้

ตอบ :  
  • เข้าใจข้อมูลเรื่องสารกัญชาก่อนการรักษา : สารสกัดกัญชาไม่ใช่ทางเลือกแรก ในการรักษา, ใช้รักษาเสริมจากการรักษาตามมาตรฐาน มิใช่หยุดการรักษาที่มีอยู่, ผู้ป่วยต้องเข้าใจถึงประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น, การใช้สารสกัดกัญชาที่ได้มาตรฐานและทราบอัตราส่วนสารสำคัญ (THC และ CBD) ที่ชัดเจน
  • เมื่อเริ่มใช้สารสกัดกัญชา : ควรเริ่มในปริมาณที่น้อยที่สุด หากยังไม่ได้ผล ปรับเพิ่มในปริมาณช้าๆ, ควรมีผู้ดูแลอยู่ด้วยเมื่อเริ่มใช้ หากเกิดผลข้างเคียง ให้รีบนำผู้ป่วยพบแพทย์ทันที, การให้สารสกัดกัญชาในครั้งแรก ควรให้เวลาก่อนนอนและมีผู้ดูแลใกล้ชิด
  • แจ้งให้แพทย์ทราบว่าใช้ยาประเภทใดอยู่ : สารสกัดกัญชาอาจส่งผลต่อยาบางชนิดที่ผู้ป่วยใช้เป็นประจำ ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อผู้ป่วย
 

ถาม : กัญชาสามารถรักษาโรคมะเร็งได้หรือไม่

ตอบ :   มีข้อมูลจำนวนมากในระดับหลอดทดลอง พบว่า สารประกอบ cannabinoids หลายชนิดมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งชนิดต่างๆ ยับยั้งการสร้างเส้นเลือดใหม่ (anti-angiogenesis) และยับยั้งการกระจาย (anti-metastasis) แต่ยังไม่มีข้อมูลชัดเจนในผลการรักษามะเร็งในมนุษย์
 

ถาม : อันตรายจากการใช้ยากัญชาที่ไม่ได้วางแผนการรักษากับแพทย์ (หามาใช้เอง)

ตอบ :  การใช้ยากัญชาที่ไม่ได้มีการวางแผนการรักษา จะไม่สามารถกำหนดความเข้มข้นของปริมาณสารกัญชา จึงอาจเกิดอาการข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ เช่น ง่วงซึม เวียนศีรษะ มองเห็นสีผิดปกติ คลื่นไส้ ความจำลดลง ความดันโลหิตต่ำ ปากแห้ง เกิดความผิดปกติทางจิต เช่น ซึมเศร้า สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัวที่ต้องกินยาตลอด ห้ามหยุดยา แล้วหันมาใช้ยากัญชาในการรักษา เพราะจะทำให้เกิดอันตรายจนเสียชีวิต
 

ถาม : โรงพยาบาลของรัฐที่ให้บริการยากัญชามีที่ไหนบ้าง

ตอบ :  
  • สารสกัดน้ำมันกัญชาชนิด THC สูง จากองค์การเภสัชกรรม กระจายไปให้โรงพยาบาลศูนย์ (รพศ.) 12 แห่ง เขตสุขภาพละ 1 แห่ง ได้แก่ รพ.ลำปาง, รพ.พุทธชินราช จ.พิษณุโลก, รพ.สวรรค์ประชารักษ์ จ.นครสวรรค์, รพ.สระบุรี, รพ.ราชบุรี, รพ.ระยอง, รพ.ขอนแก่น, รพ.อุดรธานี, รพ.บุรีรัมย์, รพ.สรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี, รพ.สุราษฎร์ธานี และรพ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ผู้ป่วยสามารถเข้าไปรับบริการได้ตั้งแต่เดือนกันยายน 2562
  • กระจายน้ำมันกัญชาสูตรตำรับแพทย์แผนไทย ผ่านสถานพยาบาลที่ให้บริการด้านการแพทย์แผนไทย 7 แห่ง ครอบคลุมทุกภาค ได้แก่ ภาคเหนือ-รพ.สมเด็จพระยุพราช เด่นชัย จ.แพร่ และรพ.หนองฉาง จ.อุทัยธานี, ภาคกลาง-รพ.ดอนตูม จ.นครปฐม และรพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร จ.ปราจีนบุรี, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รพ.พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร จ.สกลนคร และรพ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์, ภาคใต้-รพ.ท่าฉาง จ.สุราษฎร์ธานี
 

ถาม : จะซื้อผลิตภัณฑ์กัญชาเพื่อการแพทย์เองได้หรือไม่

ตอบ :   สารสกัดกัญชาหรือยากัญชา ไม่มีวางจำหน่ายทั่วไป แม้ผู้ป่วยที่จะได้รับการรักษาด้วยยากัญชา ก็ไม่สามารถซื้อสารสกัดกัญชาใช้เอง แต่ต้องผ่านการวางแผนการรักษาจากแพทย์ นอกจากนี้บุคลากรทางการแพทย์ที่จะให้การรักษาด้วยสารสกัดกัญชา จะต้องผ่านการอบรม ก่อนจะจ่ายผลิตภัณฑ์กัญชาที่ได้รับจากสถานที่ผลิตมาตฐานที่กระทรวงสาธารณสุขรับรอง โดยพิจารณารักษาด้วยวิธีอื่นก่อน เพราะยากัญชาไม่ใช่ตัวเลือกแรกในการรักษาโรค
 
    
 
 แหล่งข้อมูลอ้างอิง
กัญชาทางการแพทย์
คณะกรรมการขับเคลื่อนประชาสัมพันธ์การใช้กัญชาเพื่อการแพทย์
กระทรวงสาธารณสุข 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด