ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

น้ำมันทอดซ้ำ ความเสี่ยงมะเร็งไม่รู้ตัว

น้ำมันทอดซ้ำ ความเสี่ยงมะเร็งไม่รู้ตัว HealthServ.net
น้ำมันทอดซ้ำ ความเสี่ยงมะเร็งไม่รู้ตัว ThumbMobile HealthServ.net

จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อนำน้ำมันปรุงอาหารมาใช้ทอดอาหารซ้ำแล้วซ้ำอีก สารประกอบที่เกิดขึ้นจากการที่น้ำมันดูดความร้อนสูงๆ มีผลต่อร่างกายอย่างไร จะหลีกเลี่ยงได้อย่างไร อย.มีคำตอบ

น้ำมันทอดซ้ำ ความเสี่ยงมะเร็งไม่รู้ตัว HealthServ
น้ำมัน ที่เราใช้อยู่ในชีวิตประจำวันมีด้วยกัน 2 ชนิด คือ
 
1. น้ำมันจากไขมันสัตว์

เช่น น้ำมันหมู และน้ำมันวัวเป็นต้น ซึ่งมีกรดไขมันอิ่มตัวและโคเลสเดอรอลสูง



 
2. น้ำมันพืช

แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่
 
2.1 น้ำมันพืชชนิดที่เป็นไขเมื่ออากาศเย็น
 
น้ำมันพืชชนิดนี้จะประกอบไปด้วย กรดไขมันอิ่มตัวผสมอยู่ในปริมาณมาก ได้แก่ น้ำมันปาล์มโอเลอิน น้ำมันมะพร้าว ซึ่ง ข้อเสียคือ ทำให้โคเลสเตอรอลในเลือดสูง เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจ แต่ก็มีข้อดีคือ น้ำมันชนิดนี้จะทนความร้อน ความชื้นเละออกซิเจน ไม่เหม็นหืนง่าย เหมาะที่จะใช้ทอดอาหารที่ ต้องใช้ความร้อนสูงนาน ๆ เช่น ปลาทั้งตัว ไก่ หมู หรือเนื้อชิ้นใหญ่ๆ
 
 
2.2 น้ำมันพืชชนิดที่ไม่เป็นไขในที่เย็น 
 
น้ำมันพืชชนิดนี้ ประกอบด้วย ไขมันชนิดไม่อิ่มตัวในปริมาณที่สูง ได้แก่ น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมล็ดทานตะวัน ไขมันชนิตนี้ย่อยง่าย ร่างกายสามารนำไปใช้ในการสร้างเชลล์ต่าง ๆ จึงเหมาะสมกับเด็กที่กำลังเจริญเติบโตและยังช่วยลดโคเรสเตอรอลในเลือด แต่ข้อเสียคือ ไม่ค่อยเสถียร จึงแตกตัวให้สารประกอบโพลาร์ ซึ่งทำใช้น้ำมันเปลี่ยนเป็นสีน้ำดาล มีกลิ่นเหม็นหืน ทำให้ทอดอาหารได้ไม่นาน จึงเหมาะกับที่จะใช้ผัดอาหารหรือทอดเนื้อชนิดบางๆ เช่น หมูแฮม หมูเบคอน
 







 

อันตรายจากน้ำมันทอดซ้ำ
 

น้ำมันที่ผ่านการทอดช้ำหลายๆ ครั้ง จะมีคุณภาพเสื่อมลง ทั้งสี กลิ่น รสชาติ และมีความหนืดมากขึ้น ที่สำคัญจะก่อให้เกิดสารประกอบโพลาร์ ที่สามารถสะสมในร่างกาย ซึ่งส่งผลกระทบต่อการทำงานของเซลล์ได้ จากข้อมูลการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่า สารที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของน้ำมันทอดอาหาร เป็นสารก่อกลายพันธุ์ที่ทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังในสัดว์ทดลอง รวมทั้งมีสารจากน้ำมันทอดซ้ำ ซึ่งสามารถก่อให้เกิดการกลายพันธ์ในเชื้อแบคทีเรีย โดยสารดังกล่าวเป็นสารที่ก่อให้เกิดเนื้องอกในตับ ปอด และก่อใช้เกิดมะเร็งในเม็ดเลือดขาวในหนูทดลอง
 
 

ข้อแนะนำการใช้น้ำมันทอดอาหาร

 
เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคควรมีหลักปฏิบัติในการใช้น้ำมันทอดอาหาร เพื่อให้น้ำมันทอดอ าหางปลอดภัยต่อการบริโภค อีกทั้งป้องกันการใช้น้ำมันทอดอาหารผิดวิธี เพื่อชะลอการเสื่อมสลายตัวของน้ำมันให้ช้าลง ดังนี้
 
1. ในครัวเรือนไม่ควรใช้น้ำมันทอดอาหารซ้ำเกิน 2 ครั้ง
 
2. หากจำเป็นต้องใช้น้ำมันซ้ำ ให้เทน้ำมันเก่าทิ้งหนึ่งในสาม และเติมน้ำมันใหม่ก่อนเริ่มการทอดอาหารครั้งต่อไป แต่ถ้าน้ำมันทอดอาหารมีกลิ่นเหม็น เหนียวข้น สีดำ ฟองมาก เป็นควันง่ายและเหม็นไหม้ ควรทิ้งไป
 
3. ไม่ควรทอดอาหารไฟแรงเกินไป และรักษาระดับน้ำมันในกระทะให้เท่าเดิมเสมอ
 
4. ซับน้ำส่วนที่เกินบริเวณผิวหน้าอาหารดิบก่อนทอด เพื่อชะลอการเสื่อมสลายตัวของน้ำมัน
 
5. หมั่นกรองอาหารทิ้งระหว่างและหลังการทอดอาหาร
 
6. ควรทอดอาหารครั้งละไม่มากเกินไป เพื่อให้ความร้อนของน้ำมันทอดอาหารกระจายทั่วถึงและใช้เวลาในการทอดน้อยลง
 
7. เปลี่ยนน้ำมันทอดอาหารบ่อยขึ้น หากทอดอาหารประเภทเนื้อสัตร์ที่มีส่วนผสมของเกลือหรือเครื่องปรุงรสปริมาณมาก
 
8. ปิดแก๊สทันทีหลังทอดอาหารเสร็จ หากอยู่ระหว่างช่วงพักการทอด ควรลดไฟลงหรือปีดเครื่องทอดเพื่อชะลอการเสื่อมสลายตัวของน้ำมันทอดอาหาร
 
9. หลีกเลี่ยงการใช้กระทะเหล็ก ทองแดง หรือทองเหลือง ในการทอดอาหาร เพราะจะไปเร่งการเสื่อมสลายของน้ำมันทอดอาหาร
 
10. เก็บน้ำมันที่ผ่านการทอดอาหารไว้ในภาชนะสแตนเลสหรือแก้วปิดฝาสนิท เก็บในที่เย็นและไม่โดนแสงสว่าง
 
 
เลิกเสี่ยงมะเร็งร้าย เลิกใช้น้ำมันทอดซ้ำ
 
น้ำมันทอดซ้ำ ความเสี่ยงมะเร็งไม่รู้ตัว HealthServ
น้ำมันทอดซ้ำ ความเสี่ยงมะเร็งไม่รู้ตัว HealthServ
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด