ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

การย้ายที่อยู่แต่ไม่ย้ายทะเบียนบ้าน ต้นทางแห่งปัญหาเมือง - ดร.พนิต ภู่จินดา

การย้ายที่อยู่แต่ไม่ย้ายทะเบียนบ้าน ต้นทางแห่งปัญหาเมือง - ดร.พนิต ภู่จินดา HealthServ.net
การย้ายที่อยู่แต่ไม่ย้ายทะเบียนบ้าน ต้นทางแห่งปัญหาเมือง - ดร.พนิต ภู่จินดา ThumbMobile HealthServ.net

ดูเหมือนเป็นเรื่องปกติสำหรับวิถีชีวิตในปัจจุบันที่การเดินทางย้ายถิ่นที่อยู่ไปตามแหล่งงานและโอกาสในการทำงานเป็นเรื่องปกติวิสัยของสังคมที่มีฐานทางเศรษฐกิจเป็นหลักในการดำรงชีวิต จึงมีประชากรจำนวนมากที่ย้ายที่อยู่อาศัยจากภูมิลำเนาบ้านเกิดหรือบ้านที่มีทะเบียนบ้านไปอยู่ที่อื่นเพื่อโอกาสในการทำงานสร้างครอบครัว เรียนหนังสือ หรือด้วยเหตุผลอื่นๆ ก็ตามที



กลุ่มคนเหล่านี้ถ้าจะย้ายทะเบียนบ้านตามไปอยู่ในที่อยู่ใหม่จริงก็คงไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าย้ายที่อยู่โดยไม่ได้ย้ายทะเบียนบ้านตามไปด้วย ชื่อยังอยู่ในทะเบียนบ้านเดิม แต่ตัวไม่ได้อยู่แล้ว จะนำมาซึ่งปัญหาเมืองอย่างที่เราคาดกันไม่ถึงเลยทีเดียว

 
คนที่ทำงาน เรียนหนังสือ หรืออาศัยอยู่นอกภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้านของตัวเองเรียกว่า “ประชากรแฝง” แยกเป็น

“ประชากรแฝงกลางวัน” หมายถึง คนที่เข้ามาทำงานหรือเรียนหนังสือในจังหวัดที่ตัวเองไม่ได้อาศัยอยู่ แล้วกลับไปนอนที่บ้านที่ตัวเองมีทะเบียนบ้านอยู่จริง รายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติระบุไว้ว่า มีประชากรกลุ่มนี้อยู่ประมาณ 1.3 ล้านคนในปี 2560

ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งคือ “ประชากรแฝงกลางคืน” ก็คือประชากรที่ย้ายมาอยู่ในอีกที่หนึ่งอย่างถาวรแต่ไม่ได้ย้ายทะเบียนบ้านตามมาด้วย ซึ่งมีอยู่ประมาณ 8 ล้านคน
 
การย้ายที่อยู่แต่ไม่ย้ายทะเบียนบ้าน ต้นทางแห่งปัญหาเมือง - ดร.พนิต ภู่จินดา HealthServ

 

ประชากรแฝงมีผลอย่างไรต่อการพัฒนาเมือง


ประเด็นหลักที่มีผลคือ ความถูกต้องและเพียงพอในการจัดสรรงบประมาณไปสู่พื้นที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นบริการของรัฐด้านใดก็ตาม มักจะคิดงบประมาณต่อหัวประชากรที่จะต้องใช้บริการของรัฐนั้น ๆ ซึ่งประชากรทั้งประเทศไทยอยู่ที่ประมาณ 65 ล้านคน งบประมาณก็ถูกแบ่งอย่างยุติธรรม ว่าแต่ละคนจะได้การสนับสนุนจากรัฐต่อหัวในอัตราที่พอๆ กัน ซึ่งรัฐก็ต้องเอาตัวเลขประชากรในแต่ละพื้นที่มาจากข้อมูลที่เป็นทางการเชื่อถือได้ และมีหลักฐานชัดเจน

นั่นคือข้อมูลตัวเลขจากทะเบียนบ้าน

ผลที่ตามมาก็คือพื้นที่ใดที่มีประชากรแฝงหรือประชากรที่ไม่ได้อยู่ในทะเบียนบ้านเยอะเท่าไหร่ พื้นที่นั้นก็ยิ่งมีส่วนต่างของผู้ใช้จริงกับงบประมาณต่อหัวมากขึ้นเป็นเงาตามตัว


ตัวอย่างเช่น กรุงเทพมหานคร มีประชากรในทะเบียนประมาณ 6 ล้านคน ก็จะได้งบประมาณในการบริหารและจัดหาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับประชากรในทะเบียนตามปกติสำหรับ 6 ล้านคนเท่านั้น แต่กรุงเทพมหานครมีประชากรแฝงกลางคืนถึงประมาณ 2 ล้านคน ซึ่งคนกลุ่มนี้จะไม่ได้จัดสรรงบประมาณต่อหัวอย่างเหมาะสมต้องใช้เงินภาษีด้านอื่น ๆ มาช่วยชดเชย จึงทำให้กรุงเทพมหานครมีปัญหางบประมาณไม่เพียงพอต่อการบริหารจัดการเมืองให้ได้ตามมาตรฐานอย่างที่เราเห็นอยู่ นำมาซึ่งปัญหาความแออัดปัญหาจราจรการขาดแคนพื้นที่สีเขียวความไม่เพียงพอของสาธารณูปโภคและสาธารณูปการต่างๆ มากมาย

 
  


กฏหมายมี แต่ไม่ปฏิบัติตาม

พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 ได้ระบุไว้ในมาตรา 30 อย่างชัดเจนว่า เมื่อการย้ายเข้าย้ายออกจะต้องแจ้งย้ายต่อนายทะเบียนภายใน 15 วันนับตั้งแต่วันที่ย้ายออกย้ายเข้า หากไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท แต่ก็ไม่เคยเห็นเจ้าหน้าที่ไปตามจับใครที่ไม่ทำตามกฎหมายนี้เลยสักที เว้นแต่เค้ามาแจ้งย้ายหลังจากเวลาที่กำหนด ก็ค่อยปรับไปตามระเบียบ

นอกจากนี้ ยังมีมาตรการช่วยเหลือให้มีการย้ายที่อยู่อาศัยในทะเบียนอย่างสะดวก เช่น การย้ายปลายทาง แต่ก็ไม่ได้ช่วยให้จำนวนประชากรแฝงลดลงแต่อย่างใด มีหลายประเทศที่พยายามแก้ปัญหานี้โดยการให้ คน ๆ หนึ่งสามารถมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านได้ 2 ที่คือบ้านที่อยู่เป็นประจำ และบ้านที่อยู่เป็นบางเวลา เช่น วันธรรมดาไปทำงานอยู่บ้านหนึ่ง ส่วนวันหยุดเสาร์-อาทิตย์กลับมาอยู่อีกบ้านหนึ่ง แบบนี้ก็สามารถลงทะเบียนบ้านว่าอยู่บ้านไหนเป็นหลัก อยู่บ้านไหนเป็นบ้านรองได้ งบประมาณของรัฐที่เป็นแบบต่อหัวประชากรก็จะถูกแบ่งออกไปตามสัดส่วนของการอยู่อาศัยในแต่ละบ้าน ก็จะทำให้การบริหารจัดการเมืองและการจัดสรรงบประมาณมีความแม่นยำเที่ยงตรงและมีความเป็นธรรมมากขึ้น
 
ดังนั้นการมีทะเบียนบ้านตามที่อยู่จริง เป็นฐานของการที่จะทำให้เมืองมีงบประมาณอย่างเพียงพอที่จะตอบสนองความต้องการบริการสาธารณะต่อหัวประชากรได้อย่างเหมาะสม

เมื่อรู้แบบนี้แล้วพวกเราก็มาย้ายทะเบียนบ้านให้เป็นไปตามจริง เพื่อช่วยชาติกันเถอะครับ


ดร.พนิต ภู่จินดา
 
บทความนี้เผยแพร่บนเว็บไซต์ Rabbit Today เมื่อปี 2019
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด