ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ตรีผลา ตำรับยาแผนไทยแก้สรรพไข้

ตรีผลา ตำรับยาแผนไทยแก้สรรพไข้ HealthServ.net
ตรีผลา ตำรับยาแผนไทยแก้สรรพไข้ ThumbMobile HealthServ.net

กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เผยตำรับยา “มหาพิกัดตรีผลา” มีสรรพคุณเสริมภูมิคุ้มกัน ปรับธาตุเหมาะกับช่วงฤดูร้อน ตรี แปลว่า สาม ผลา แปลว่า ผลไม้ ตรีผลา แปลว่า ผลไม้สามอย่าง ซึ่งประกอบด้วย สมอพิเภก, สมอไทย, มะขามป้อม ซึ่งตรีผลาเป็นตำรับยาที่ช่วยดูแลสุขภาพในช่วงฤดูร้อน สามารถใช้ได้ทั้งสมุนไพรสดและสมุนไพรแห้ง แต่ควรใช้ให้เป็นประเภทเดียวกัน

ตรีผลา ตำรับยาแผนไทยแก้สรรพไข้ HealthServ
 
ตรีผลา ประกอบด้วย ลูกสมอไทย ลูกสมอพิเภก ลูกมะขามป้อม ผลการวิจัย พบว่า ตรีผลา มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันร่างกาย ช่วยบรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ
 
 

ตรีผลา มี 2 ตำรับ


1. ตำรับปรับธาตุเสริมภูมิ 
เน้นสมอพิเภกและสมอไทย
แก้โรคทางปิตตะ เช่น ไข้ ร้อนใน มีเม็ดผื่น คัน 

วัตถุดิบ เน้น สมอพิเภกและสมอไทย
1. มะขามป้อม 45 กรัม (4 ส่วน)
2. สมอพิเภก 30 กรัม (12 ส่วน)
3. สมอไทย 15 กรัม (8 ส่วน)
4. น้ำเปล่า 3 ลิตร
 
 
2. ตำรับปรับธาตุเสริมภูมิ 
เน้นมะขามป้อมและสมอไทย
แก้โรคทางวาตะ เช่น อ่อนเพลีย ไอแห้ง ปวดเมื่อยตามร่างกาย
 
วัตถุดิบ 
1. มะขามป้อม 45 กรัม (8 ส่วน)
2. สมอพิเภก 30 กรัม (4 ส่วน)
3. สมอไทย 15 กรัม (12 ส่วน)
4. น้ำเปล่า 3 ลิตร
 

วิธีทำ
1.นำสมุนไพรทั้งสามชนิด ล้างน้ำให้สะอาด หากเป็นสมุนไพรแห้ง ควรแช่น้ำก่อนต้มประมาณ 3 ชั่วโมง
2. ต้มในน้ำเดือดประมาณ 30 นาที แล้วกรองเอาแต่น้ำ
3. แต่งรสชาติด้วยเกลือ หญ้าหวานหรือน้ำผึ้งเพียงเล็กน้อย
 
ขนาดรับประทาน
ดื่มอุ่น ๆ เช้า-เย็น ครั้งละ 100 มิลลิลิตร
 
ตรีผลา ตำรับยาแผนไทยแก้สรรพไข้ HealthServ
 
 

ตรีผลา กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย สู้ COVID-19


ในทางการแพทย์แผนไทย และอายุรเวทของอินเดีย ตำรับยา "ตรีผลา" เป็นยาพื้นฐานที่รู้จักกันมาแต่โบราณว่าเป็นยาที่มีสรรพคุณในการรักษาสมดุลของธาตุทั้ง 4 ในร่างกาย ซึ่งคำว่าตรีนั้นมีความหมายว่าสาม ซึ่งเป็นจำนวนของสมุนไพรที่นำมาใช้ประกอบเป็นยา ส่วนคำว่าผลา นั้นหมายถึงผล ดังนั้นคำว่าตรีผลา หมายถึงผลไม้ 3 อย่าง ซึ่งประกอบด้วยลูกมะขามป้อม (Phyllanthus  emblicaL.), ลูกสมอพิเภก (Terminalia  bellirica (Gaertn.)  Roxb.), และลูกสมอไทย (Terminalia   chebulaRetz.)เมื่อผลไม้ทั้งสามชนิดนี้มารวมกันทำให้มีสรรพคุณทางยาที่ช่วยควบคุมและกำจัดสารพิษในร่างกายได้[1]โดยพบสารพวกแทนนินชนิดไม่ละลายน้ำ(Condensed  tannins) หรือโพลีฟีนอล ตัวอย่างเช่น กรดแกลลิก(gallic  acid) กรดเอลลาจิก(Ellagic  acid) เอลลาจิแทนนิน(Ellagitannin)  Vitamin  C,  chebulinic  acid,  bellericanin, β-sitosterol และ flavonoids ที่เป็นองค์ประกอบทางเคมีในตำรับตรีผลา[2] ตามตำราเภสัชกรรมไทยได้กล่าวไว้ว่า มหาพิกัด หมายถึง การจำกัดจำนวนตัวยาหลายสิ่ง รวมเรียกเป็นชื่อเดียวกันแต่ตัวยาแต่ละอย่างในมหาพิกัดนั้น จะมีน้ำหนักไม่เท่ากันเช่นเดียวกับ มหาพิกัดตรีผลาตามที่ปรากฏในข่าว ที่มีน้ำหนักของลูกมะขามป้อมเท่ากับ 12 ส่วนรองลงมาคือสมอพิเภก8 ส่วนและสมอไทย4 ส่วนซึ่งตำรับนี้ เป็นมหาพิกัดตรีผลาแก้ในกองเสมหะสมุฏฐาน โดยมุ่งเน้นแก้อาการทางเสมหะ เช่น ไข้หวัด บรรเทาอาการไอขับเสมหะ เป็นต้น[3]

สำหรับข้อแนะนำให้ใส่เถาวัลย์เปรียงลงไปในสูตรตำรับยา เพื่อช่วยควบคุมหรือเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งข้อมูลจริงไม่มีปรากฏไว้

ข้อแนะนำ:
ควรระวังในการใช้สมุนไพรตรีผลาคือ การเลือกซื้อวัตถุดิบจะต้องสด ไม่มีเชื้อรา เพราะอายุของวัตถุดิบมักจะสั้นประมาณครึ่งปีเท่านั้น และเนื่องจากผลิตภัณฑ์ตรีผลามีอยู่หลายรูปแบบ วิธีการเลือกซื้อสำหรับผู้บริโภคโดยทั่วไปนั้นแนะนำให้สังเกตจากทะเบียนยา วันที่ผลิต วันหมดอายุ ลักษณะบรรจุต้องอยู่ในสภาพที่ดี มีแหล่งผลิตที่น่าเชื่อถือ

ในช่วงที่มีโรคระบาดโควิด-19 ประชาชนควรดูแลสุขภาพด้วยการรับประทานอาหารครบ 5 หมู่รับประทานผักและผลไม้ให้มีความหลากหลาย ดื่มน้ำสะอาด วันละ 6 -8 แก้ว พักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตนเองประชาชนควรระมัดระวังการบริโภคข้อมูลข่าวสาร เพราะในปัจจุบันมีการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นเท็จ เพิ่มมากขึ้น และควรติดตามข้อมูลข่าวสารจากหน่วยงานราชการของกระทรวงสาธารณสุขที่รับผิดชอบเฉพาะ เพื่อให้ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องเชื่อถือได้

 

ตรีผลา สมุนไพรล้างพิษ ควบคุมน้ำหนัก ระบายไขมันฯ


ตรีผลา เป็นสมุนไพรที่ถูกใช้มาตั้งแต่โบราณ มีสรรพคุณช่วยปรับสมดุลธาตุช่วยระบายและกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายถูกนำเข้าเป็นยาแผนไทยในบัญชียาหลักแห่งชาติ ระบุข้อบ่งใช้ว่าบรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ  [กรมแพทย์แผนไทย]

ข้อมูลที่มีการเผยแพร่ในสื่อ Social นั้น ระบุสรรพคุณไว้อย่างหลากหลาย จากการศึกษาข้อมูลเชิงประจักษ์เพื่อยืนยันพบว่า “ตรีผลา” ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันร่างกายได้ซึ่งเป็นการศึกษาวิจัยในคน “สารสกัดตรีผลา” มีฤทธิ์ลดระดับไขมันในเลือดได้ แต่เป็นการศึกษาวิจัยในห้องปฏิบัติการและในสัตว์ทดลองสรุปได้ว่า  “ตรีผลา” เป็นตำรับที่มีประโยชน์ ใช้รับประทานเพื่อบำรุงร่างกาย และป้องกันโรคได้

แต่อย่างไรก็ตาม “ตรีผลา” เป็นตำรับสมุนไพรที่มีรสเปรี้ยวอมฝาดควรรับประทานในขนาดที่เหมาะสม และระมัดระวังการใช้ในผู้ที่ท้องเสียง่าย 
 

จากข้อมูลที่เพจสมุนไพร 108 เพื่อสุขภาพ แชร์ใน Social ว่าตรีผลา ช่วยล้างพิษ ควบคุมน้ำหนักระบายไขมัน ลดคอเลสเตอรอลในตับ ในหลอดเหลือดแดง ทำให้ตับแข็งแรง ความดันโลหิตเป็นปรกติ ชะลอวัย แก้หวัด ฆ่าเซลล์มะเร็ง วัณโรค เอดส์ ฯลฯ นั้น


ข้อเท็จจริง: ตำรับยาตรีผลาเป็นพิกัดยาไทย ที่ประกอบด้วยสมุนไพร 3 ชนิด ได้แก่ ผลของสมอไทย (Terminaliachebula,    Combretaceae)สมอพิเภก (T.belerica,Combretaceae) และมะขามป้อม (Phyllanthus  emblica,Euphorbiaceae)ตำราสรรพคุณยาไทยกล่าวว่าตรีผลามีสรรพคุณแก้โรคที่เกิดจากปิตตะเสมหะและวาตะในกองธาตุกองฤดูกองอายุและกองสมุฏฐานช่วยปรับสมดุลธาตุ ช่วยระบายและกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายในบัญชียาหลักแห่งชาติ ระบุว่าใช้บรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ(1,2.3)
 

การศึกษาวิจัยเกี่ยวต้ารับยาตรีผลา


ปรัชญา เพชรเกตุ (2556) ศึกษาผลข้างเคียงและประสิทธิผลของสารสกัดตำรับยาตรีผลาต่อระบบภูมิคุ้มกันในอาสาสมัครสุขภาพดี พบว่าการรับประทานสารสกัดตำรับยาตรีผลาขนาด 350 มิลลิกรัมต่อมื้อวันละ 3 ครั้งเป็นเวลา 14 วันไม่พบอาการทางคลินิกที่ผิดปกติและผลตรวจค่าทางโลหิตวิทยาและค่าทางชีวเคมีอยู่ในเกณฑ์ที่ปกติ มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน Cytotoxic T Cell, Natural killer cellsและ B-lymphocyte ซึ่งอาจนำไปใช้ประโยชน์ในการเพิ่มภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยต่อไปได้(3)


ศุภวรรณ จันทบูรณ์และคณะ (2557) ศึกษาผลของสารสกัดพิกัดตรีผลาต่อการทำงานของเอนไซม์HMG-CoA   reductaseพบว่าสารสกัดตรีผลามีฤทธิ์ลดระดับไขมันในเลือดของหนูทดลองที่ถูกเหนี่ยวนำให้มีระดับไขมันในเลือดสูงโดยสารสกัดตรีผลาสารสกัดสมอไทย สารสกัดสมอพิเภกและสารสกัดมะขามป้อมมีผลยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ HMG-CoA  reductase คิดเป็นร้อยละ3.21,16.57,  24.85 และ35.52 ตามลำดับฤทธิ์ลดระดับไขมันในเลือดของหนูทดลองของสารสกัดตรีผลา อาจเป็นผลจากมะขามป้อมซึ่งเป็นส่วนประกอบในพิกัด หรือเป็นผลจากกลไกยับยั้งการดูดซึมไขมันหรือกลไกอื่นที่นอกเหนือจากการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์HMG-CoA reductase อย่างไรก็ตามผลการทดสอบในหลอดทดลองอาจเหมือนหรือแตกต่างจากผลที่เกิดขึ้นในร่างกาย และฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อาจขึ้นกับความเข้มข้นของสารสกัดที่ใช้ทดสอบ(2)


สร้อยเพชร เนตรอนงค์(2557) กล่าวว่า ยาตรีผลามีการศึกษาฤทธิ์เภสัชวิทยาทั้งทางห้องปฏิบัติการและในสัตว์ทดลองพบว่า มีฤทธิ์ลดไขมันในเลือด ไม่ก่อให้เกิดพิษเฉียบพลันและพิษเรื้อรัง และมีงานวิจัยทางคลินิกระยะที่1 กับอาสาสมัครสุขภาพดี พบว่า ตรีผลาสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ส่วนการวิจัยทางคลินิกมีการศึกษาประสิทธิผลของตารับตรีผลาในการลดระดับไขมันในเลือดเปรียบเทียบกับกลุ่มที่รับประทานยาหลอก พบว่า กลุ่มที่รับประทานตรีผลาสามารถลดระดับคอเลสเทอรอลรวม (Total cholesterol)และไทรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) ได้โดยไม่พบการแพ้ยา ถึงแม้ผลการทดลองจะสามารถลดระดับไขมันในเลือดได้ แต่ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง คือ 4 สัปดาห์ ซึ่งเป็นเวลาที่น้อยเกินไปในการรักษาไขมันในเลือดสูง (4)


ผลกระทบต่อสุขภาพ: อาการไม่พึงประสงค์ของยาตรีผลา คือ ท้องเสีย จึงควรระวังการใช้ในผู้ป่วยท้องเสียง่าย(1)


ข้อแนะนำ:
  • ควรรับประทานยาตรีผลา ตามปริมาณที่กำหนดในบัญชียาหลักแห่งชาติ
  • ชนิดชงรับประทานครั้งละ 1-2 กรัม ชงน้ำร้อนประมาณ 120 -200 ml ทิ้งไว้ 3-5 นาที ดื่มในขณะยังอุ่น
  • ชนิดลลูกกลอนและชนิดแคปซูล รับประทานครั้งละ 300-600 มิลลิกรัม(1)

 
หน่วยงานที่ตรวจสอบ : ศูนย์ข้อมูลยาสมุนไพร การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก


เอกสารอ้างอิง :
  1. สถาบันการแพทย์แผนไทยกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. บัญชียาจากสมุนไพรพ.ศ. 2555  (List of Herbal Medicinal Products A.D.2012).พิมพ์ครั้งที่ 1,โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์. 2556.
  2. ศุภวรรณ จันทบูรณ์, ทิพาพรรณ ภูผิวคำ, พชรพันธุ์ พันธ์งาม,วิระพล ภิมาลย์, ประสบอร รินทอง. ผลของสารสกัดพิกัดตรีผลาต่อการทำงานของเอนไซม์ HMG-CoA  reductase. Isan  Journal  of  PharmaceuticalSciencesVolume 9 (Supplement), January 2014.
  3. ปรัชญา เพชรเกตุ. การศึกษาผลข้างเคียงและประสิทธิผลของสารสกัดตำรับยาตรีผลาต่อระบบภูมิคุ้มกันในอาสาสมัครสุขภาพดี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2556.
  4. สร้อยเพชร เนตรอนงค์. การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลและความปลอดภัยของตารับยาตรีผลากับ Simvastatin ในการลดระดับไขมันในเลือดในผู้ป่วยโรคไขมันในเลือดสูง (การวิจัยคลินิกระยะที่ 2). วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2557
 
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด