ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ไทยไม่ได้สิทธิ์รับวัคซีนฟรีจากโครงการโคแวกซ์ (COVAX) มุ่งการเจรจากับผู้ผลิตโดยตรง

ไทยไม่ได้สิทธิ์รับวัคซีนฟรีจากโครงการโคแวกซ์ (COVAX) มุ่งการเจรจากับผู้ผลิตโดยตรง HealthServ.net
ไทยไม่ได้สิทธิ์รับวัคซีนฟรีจากโครงการโคแวกซ์ (COVAX) มุ่งการเจรจากับผู้ผลิตโดยตรง ThumbMobile HealthServ.net

มี 6 ประเทศในอาเซียนที่ได้รับวัคซีนฟรี ได้แก่ กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว เมียนมา ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ส่วนไทย บรูไน สิงคโปร์ และมาเลเซีย จัดอยู่ในระดับที่มีรายได้ปานกลางจนถึงระดับสูง การเจรจากับผู้ผลิต จะมีความยืดหยุ่นกว่า สามารถต่อรองราคาและเงื่อนไขได้

 โฆษกรัฐบาลย้ำ ไทยไม่ได้สิทธิ์รับวัคซีนฟรีจากโครงการโคแวกซ์ (COVAX) การเจรจากับผู้ผลิตโดยตรงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมกว่า
 
วันนี้ (วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2564) นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ชี้แจงกรณีมีกระแสข่าวว่าไทยตกขบวนรับวัคซีนฟรีจากโครงการโคแวกซ์ หรือ COVAX (ย่อมาจาก Covid-19 Vaccines Global Access Facility หรือโครงการเพื่อการเข้าถึงวัคซีนโควิด-19 ระดับโลก) ว่าโครงการ COVAX นั้นเกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือของกลุ่มพันธมิตรความร่วมมือด้านนวัตกรรมเพื่อรับมือโรคระบาด (Coalition for Epidemic Preparedness Innovations: CEPI), องค์กรกาวี (Gavi, the Vaccine Alliance) และองค์การอนามัยโลก ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนการเข้าถึงวัคซีนโควิด-19 ของประเทศต่างๆ ทั่วโลกอย่างเท่าเทียมกัน

ทั้งนี้ ประเทศไทยได้ส่งหนังสือแสดงเจตนารมณ์เข้าร่วมตั้งแต่ช่วงต้นของโครงการแล้ว แต่เนื่องจากกรอบการจัดสรรวัคซีนและข้อตกลงการจองวัคซีนที่กำหนดโดยองค์การอนามัยโลกในช่วงเวลานั้น เป็นช่วงต้นของการพัฒนาวัคซีนทั้งสิ้น ซึ่งหมายความว่าแม้ว่าทำการจองไปแล้ว จะยังไม่ทราบว่าวัคซีนที่จองไปแล้วนั้นจะประสบความสำเร็จหรือไม่ การตัดสินใจของรัฐบาลเป็นการตัดสินใจอย่างรอบคอบท่ามกลางข้อจำกัดและบริบทหลายด้าน ผ่านคณะทำงานที่กระทรวงสาธารณสุขได้ตั้งขึ้น ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ ทั้งในและนอกกระทรวง ทั้งด้านวิชาการ กฎหมาย การเงิน เพื่อร่วมกันพิจารณาเงื่อนไขของการทำข้อตกลงสั่งจองวัคซีน จึงเป็นการตัดสินใจบนพื้นฐานระหว่างผลประโยชน์และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เพราะอาจจะไม่ได้รับวัคซีนหากการพัฒนาไม่สำเร็จ ล่าช้า และจำเป็นต้องเสียเงินค่าจองล่วงหน้า

นอกจากนี้ หากประเทศในอาเซียนที่จัดอยู่ในระดับที่มีรายได้ปานกลางจนถึงระดับสูง อย่างเช่น ไทย บรูไน สิงคโปร์ และมาเลเซีย จะไม่เข้าข่ายได้รับความช่วยเหลือให้ได้รับวัคซีนฟรี หรือให้ซื้อได้ในราคาถูกจากโครงการ COVAX เนื่องจากรายได้ของไทยอยู่ในระดับปานกลาง ทั้งนี้ มี 6 ประเทศในอาเซียนที่ได้รับวัคซีนฟรี ได้แก่ กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว เมียนมา ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม

ด้วยเหตุผลนี้จึงทำให้ประเทศไทยหากต้องการเข้าร่วมโครงการการจัดซื้อจัดหาวัคซีนผ่าน COVAX จะต้องจ่ายเงินซื้อวัคซีนเองด้วยงบประมาณที่สูงและมีความเสี่ยงค่อนข้างมาก โดยเป็นการจ่ายเงินจองล่วงหน้าไปก่อนแต่ไม่ทราบแหล่งที่มาของผู้ผลิต และไม่สามารถระบุวันเวลาที่แน่ชัดสำหรับการรับวัคซีนด้วย

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า เมื่อพิจารณาถึงข้อจำกัดที่มีทั้งหมดในการเข้าร่วมโครงการ COVAX แล้ว การที่ประเทศไทยทำความตกลงซื้อวัคซีนโควิด-19 จากผู้ผลิตโดยตรงจึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมภายใต้ข้อจำกัดต่างๆ เนื่องจากมีความยืดหยุ่นกว่า สามารถต่อรองราคาและเงื่อนไขได้โดยตรงกับผู้ผลิต

อย่างไรก็ตาม โฆษกรัฐบาลยืนยันว่า เมื่อคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนไทยเป็นหลัก รัฐบาลไม่ปิดกั้นการเจรจากับที่ใดหาก COVAX ปรับเงื่อนไขรวมถึงข้อเสนอต่างๆ ซึ่งหากไทยเห็นว่าเป็นประโยชน์ก็ยังสามารถทำข้อตกลงผ่าน COVAX ได้ในอนาคต ..

รัฐบาลไทย 
14 กพ 2564
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด