ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ประโยชน์ของข้าวหอมนิล

ประโยชน์ของข้าวหอมนิล HealthServ.net

ข้าวสีนิล หรือ ข้าวหอมนิล หรือ ข้าวก่ำ คือข้าวที่มีสีดำโดยกำเนิด ไม่ได้มีการย้อมสีใดๆ ทั้งสิ้น มีรสชาตอร่อย มีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง โดดเด่น แตกต่างจากข้าวสีอื่น มีคุณประโยชน์บางอย่างมากกว่าข้าวสีอื่น ในตลาดจะมีข้าวสีนิลทั้งแบบที่สีหลายขั้นตอนซึ่งเป็นขั้นตอนเหมือนกับการสีข้าวสารจนเป็นสีขาว แต่ข้าวสีนิลนี้สีอย่างไรก็ไม่ขาว และแบบที่กำลังเป็นที่นิยมบริโภคกันคือการสีแบบข้าวกล้อง คือการสีเอาเปลือกออกเท่านั้น ซึ่งจะคงคุณค่าทางโภชนาการ คุณค่าทางยา วิตามิน เกลือแร่ต่างๆ ไว้ได้ครบถ้วน และกำลังมาแรงคือข้าวกล้องงอกสีนิล ข้าวกล้องงอกแบบนี้มีสาร GABA ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ปริมาณมากกว่าข้าวกล้องงอกแบบอื่นหลายเท่า

ประโยชน์ของข้าวหอมนิล ThumbMobile HealthServ.net
 
        ข้าวสีนิล เกษตรกรปลูกกันน้อย เพราะไม่ได้เป็นข้าวเศรษฐกิจ ดูแลยาก เลยทำให้มีราคาแพงกว่าข้าวประเภทอื่นเล็กน้อย แต่ถ้าเป็นข้าวกล้องงอกสีนิลจะแพงขึ้นอีก 2-3 เท่าตัว เคล็ดลับการกินข้าว ไม่ว่าคุณจะกินข้าวแบบไหนก็ตาม ถ้าเลือกซื้อข้าวที่เพิ่งเกี่ยวไปฤดูเกี่ยวล่าสุด และเพิ่งสีมาไม่นาน จะได้กินข้าวที่นุ่ม อร่อยกว่าข้าวค้างปี และสีทิ้งไว้นาน

คุณประโยชน์
 
คุณค่าทางอาหารของข้าวกล้องหอมนิล :
1). วิตามิน B1, B2, Bรวม และวิตามิน E
2). ธาตุเหล็ก สังกะสี ทองแดง แคลเซียม โพแทสเซียม
(โดยเฉพาะธาตุเหล็กสูงกว่าข้าวกล้องทั่วไป 30 เท่า)
3). โปรตีน 12.5% (มากกว่าข้าวกล้องทั่วไป)
4). คาร์โบไฮเดรต (ต่ำกว่าข้าวกล้องทั่วไป จึงกินแล้วไม่อ้วน)
5). สารต้านอนุมูลอิสระ (ANTI-OXIDANT) สูงกว่าข้าวกล้องทั่วไป 7 เท่า
6). เส้นใยอาหาร (FIBER)
 
ประโยชน์ที่ได้รับ:
1. วิตามิน B1 ป้องกันเหน็บชา และช่วยการทำงานของระบบประสาท
2. วิตามิน B2 ป้องกันโรคปากนกกระจอก และ ช่วยเผาผลาญอาหาร
3. วิตามินบีรวม ช่วยป้องกันและบรรเทาอาการอ่อนเพลีย แขน ขาไม่มีแรง ปวดกล้ามเนื้อโรคผิวหนังบางชนิดบำรุงสมอง ทำให้เจริญอาหาร
4. ไนอาซีน ช่วยการทำงานของระบบประสาท และระบบผิวหนัง
5. แร่ธาตุเหล็ก แม็กนีเซียม ฟอสฟอรัส แคลเซียม ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน ป้องกันโรคโลหิตจาง ป้องกันไม่ให้เป็นตะคริว
6. เส้นใย ช่วยให้ขับถ่ายสะดวก ป้องกันมะเร็งลำไส้ ซับไขมัน ช่วยลดระดับคลอเรสเตอรอลป้องกันโรคไขมัน สะสมในเส้นเลือด
7. คาร์โบไฮเดรต ให้พลังงานต่อร่างกาย
8. โปรตีน เสริมสร้าง ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
 
นอกจากนี้ ข้าวพันธุ์นี้ยังมีสารแอนโทไซยานิน ที่ช่วยทำให้เส้นผมดกดำ นุ่มสลวยไม่แตกปลาย ช่วยบำรุงรากผมให้แข็งแรง กระตุ้นให้ผมมีสีเข้มขึ้น ชะลอกการเกิดผมหงอกก่อนวัย และธาตุเหล็กที่มีอยู่ในข้าวหอมนิลนี้ ทานเข้าไปในร่างกายสามารถดูดซึมได้เลย ร่างกายนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการบำรุงโลหิตได้ทันที
 



Anthocyanin / แอนโทไซยานิน 
เรียบเรียงโดย: ผศ.ดร.พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์ ผศ.ดร.พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.นิธิยา รัตนาปนนท์ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.นิธิยา รัตนาปนนท์
 
 
แอนโทไซยานิน เป็นรงควัตถุหรือสารสี (pigment) ที่ให้สีแดง ม่วง และน้ำเงิน ใช้เป็นสารให้สี (coloring agent)  ธรรมชาติในอาหาร สารสกัดแอนโทไซยานิน มีสมบัติเป็นโภชนะเภสัช (nutraceutical) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ ช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและเส้นเลือดอุดตันในสมอง ด้วยการยับยั้งไม่ให้เลือดจับตัวเป็นก้อน ชะลอความเสื่อมของดวงตา ช่วยยับยั้งจุลินทรีย์ก่อโรค (pathogen) อีโคไล (Escherichia coli) ในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคท้องร่วงและอาหารเป็นพิษด้วย 
 
 
 
อาหารที่พบแอนโทไซยานิน
 
อาหารที่เป็นแหล่งสำคัญของแอนโทไซยานิน ได้แก่
 
1) ผลไม้ เช่น องุ่น ทับทิม และผลไม้ในกลุ่มเบอร์รี่ เช่น สตรอเบอรี่ (strawberry)  ผลหม่อน (mulberry) บลูเบอรี่ (blueberry)  แครนเบอรี่ (cranberry)  เชอรี่ (cherry)  ราสเบอรี่ (raspberry) เป็นต้น
2) ผัก เช่น กะหล่ำปลีสีม่วง (red cabbage) และเรดิชสีแดง (red radish)
3) เมล็ดธัญพืช เช่น ข้าวก่ำ หรือข้าวสีนิล ข้าวโพดสีม่วง
4) พืชหัว ได้แก่ มันเทศสีม่วง
5) ดอกไม้ เช่น กระเจี๊ยบแดง และดอกอัญชัน เป็นต้น
 6) แหล่งของแอนโทไซยานิน ได้แก่ มันเทศสีม่วง ชมพู่มะเหมี่ยว ชมพู่แดง ลูกหว้า ข้าวแดง ข้าวนิล ข้าวเหนียวดำ ถั่วแดง ถั่วดำ หอมแดง ดอกอัญชัน น้ำว่าน-กาบหอย เผือก หอมหัวใหญ่สีม่วง มะเขือม่วง พริกแดง องุ่นแดง-ม่วง แอปเปิลแดง ลูกไหน ลูกพรุน ลูกเกด ลูกหม่อน (มัลเบอรี่) บลูเบอรี่ เชอรี่ แบล็กเบอรี่ ราสเบอรี่ สตรอเบอรี่
 
 
 
โมเลกุลของแอนโทไซยานิน
 
แอนโทไซยานิน (anthocyanins) จัดอยู่ในกลุ่มสารประกอบฟีนอล (phenolic compounds) กลุ่มพอลิฟีนอล (polyphenol)
 
 
 
สีของแอนโทไซยานิน
 
แอนโทไซยานิน เป็นสารสีที่พบได้ทั่วไปในดอกไม้ ผลไม้บางชนิด ใบหรือลำต้นของพืชบางชนิดที่มีสีตั้งแต่สีแดงถึงน้ำเงินเข้ม ในสภาพที่เป็นกรดมีค่า pH ต่ำกว่า 3 (เป็นกรดสูง) จะทำให้แอนโทไซยานินมีสีแดง ในสภาพที่ค่อนข้างเป็นกลาง หรือมีค่า pH ประมาณ 7-8 แอนโทไซยานินจะมีสีม่วง และเมื่อสภาพเป็นเบสหรือมีค่า pH มากกว่า 11 (เป็นเบสสูง) แอนโทไซยานินจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน
 
การนำแอนโทไซยานินมาใช้เป็นสารให้สี (coloring agent) ธรรมชาติในอาหาร เช่น ใช้สีจากดอกอัญชันทำขนมไทย หลายชนิด
 
 
 
ประโยชน์ต่อสุขภาพของแอนโทไซยานิน
 
แอนโทไซยานินมีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการจัดเป็น functional food เพราะสารนี้มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิด โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน และโรคมะเร็ง (Lazze et al., 2004)
 
 
 
ผลของการแปรรูปอาหารต่อแอนโทไซยานิน
 
แอนโทไซยานินละลายได้ดีในน้ำ ไม่เสถียร สลายตัวได้ง่ายด้วยความร้อน ออกซิเจน แสง เมื่อโครงสร้างเปลี่ยนแปลงไป สีจะเปลี่ยนไปด้วย ปัจจัยที่มีผลต่อสีของแอนโทไซยานิน ได้แก่ ความเป็นกรดเป็นด่าง เมื่อ pH เป็นกรดจะมีสีแดง เมื่อ pH สูงขึ้นจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน
 
การแปรรูปผักผลไม้ที่มีแอนโทไซยานินด้วยความร้อน (thermal processing) ด้วยการบรรจุกระป๋อง (canning) โดยใช้กระป๋องโลหะ (can) ทีทำจากแผ่นเหล็กเคลือบดีบุก (tin plate) อลูมิเนียม โลหะจะปฏิกิริยากับกรดอินทรีย์ (organic acid) ที่มีอยู่ตามธรรมชาติในผักหรือผลไม้ หรือกรดที่เติมไปเพื่อปรับให้อาหารเป็นกรด (acidification) ได้เป็นเกลือของโลหะ หลังจากนั้นแอนโทไซยานินจะรวมตัวกับโลหะไอออนที่ได้ให้เกิดเป็นกรด และเกิดปฏิกิริยาเช่นนี้อย่างต่อเนื่อง กัดกร่อนจนกระทั่งดีบุกที่เคลือบกระป๋องหมดไป ต่อจากนั้นแอนโทไซยานินจะไปทำปฎิกิริยากับเหล็กที่เป็นตัวกระป๋องทำให้เกิดการรั่วแบบรูเข็ม (pin holing) ซึ่งเป็นสาเหตุของอาหารกระป๋องเสื่อมเสีย (canned food spoilage)
 
กระป๋องที่จะใช้บรรจุผักและผลไม้ที่มีแอนโทไซยานินอยู่ด้วย จึงควรเคลือบด้วยสารเคลือบ เช่น แลกเกอร์เพื่อป้องกันปฏิกิริยาดังกล่าว หรืออาจจะใช้ร่วมกับ chelating agent เพื่อจับกับโลหะ
 
 
 
Reference
 
Lazze, M.C., Savio, M., Pizzala, R., Cazzalini, O., Perucca, P., Scovassi, A.I., Stivala, L.A.,Bianchi,L. (2004) . Anthocyanins induce cell cycle perturbations and apoptosis in different human celllines. Carcinogenesis, 25: 1427-1433.
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด