ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ข้อดี-ข้อห้าม การใช้ฮอร์โมนทดแทนในชายวัยทอง

ชายวัยทอง หรือ ชายสูงอายุที่อยู่ในภาวะพร่องฮอร์โมนเป็นภาวะตามธรรมชาติที่มีการเปลี่ยนแปลงหลายประการ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีหลายชนิดในร่างกาย ไม่เฉพาะแต่ฮอร์โมนเพศ

ชายวัยทองและการใช้ฮอร์โมนทดแทน
 
ชายวัยทอง หรือ ชายสูงอายุที่อยู่ในภาวะพร่องฮอร์โมนเป็นภาวะตามธรรมชาติที่มีการเปลี่ยนแปลงหลายประการ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีหลายชนิดในร่างกาย ไม่เฉพาะแต่ฮอร์โมนเพศเท่านั้น ยังมีฮอร์โมนอื่นๆ อีก เช่น โกรทฮอร์โมน ดีไฮโดรอีพีแอนโดรสเตอโรน (DHEA) เมลาโทนิน เล็ปติน และไทรรอยด์ฮอร์โมน เป็นต้น สารเหล่านี้ล้วนมีผลต่อสุขภาพ และการเสริมสร้างสุขภาพของผู้ชายวัยทอง
 
การดูแลรักษาชายสูงวัยในต่างประเทศนั้นมีมานานแล้วแต่ในประเทศไทยเพิ่งเริ่มเป็นที่สนใจและมีแพทย์ให้บริการตรวจรักษาเมื่อไม่นานมานี้ ก็พบว่าจากการศึกษามากมายแสดงว่าการใช้ฮอร์โมนเพศชายเสริมในผู้ชายที่พร่องฮอร์โมนนั้นมีประโยชน์เป็นการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคที่พอจะป้องกันได้ และประวิงเวลาของโรคที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เพื่อให้มีสุขภาพชีวิตที่ดีขึ้น
 
อาการและอาการแสดงออกของภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย
 
- หงุดหงิด โมโหง่าย ตื่นตระหนกง่าย
 
- ขาดสมาธิ การตัดสินใจแย่ลง ความจำแย่ลง
 
- ซึมเศร้า นอนไม่หลับ           
 
- เหนื่อยง่าย อ้วนลงพุง
 
- กระดูกพรุน กระดูกหักง่าย
 
- ร้อนๆ หนาวๆ บ่อยๆ มีเหงื่อออกมาก โดยเฉพาะเวลากลางคืน
 
- ไม่ค่อยสนใจเรื่องทางเพศ มีกิจกรรมทางเพศน้อยลง อวัยวะเพศไม่ค่อยแข็งตัว
 
การวินิจฉัย
 
การขาดฮอร์โมนเพศในผู้ชายมีความแตกต่างจากในผู้หญิงกล่าวคือ ผู้ชายเมื่ออายุมากขึ้น การสร้างและหลั่งฮอร์โมนเพศจะค่อยๆ ลดลงไม่ฮวบฮาบเหมือนในผู้หญิง ดังนั้นจึงอาจไม่สังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เกิดขึ้นอย่างชัดเจน ปัญหาของการขาดฮอร์โมนค่อยๆ เกิดขึ้น และมักเข้าใจกันว่าเป็นปัญหาที่เกิดจากงาน จากความเครียดทั่วไป ทำให้ไม่นึกถึงการขาดฮอร์โมนเพศชาย นอกจากนี้คนแต่ละคนมีการสร้างและหลั่งฮอร์โมนที่มีระดับต่างกันมากบ้าง น้อยบ้าง บางคนอาจมีอาการพร่องฮอร์โมนตั้งแต่อายุ 40 ปี ในขณะที่บางคนอายุมากกว่า80 ปี ยังไม่มีอาการดังกล่าว เราจึงจำเป็นต้องมีเกณฑ์ การวินิจฉัยดังนี้
 
1.การดูอาการ ด้วยการประเมินอาการ 3 ด้าน คือ ด้านร่างกายและระบบไหลเวียนโลหิต ด้านจิตใจและด้านเพศ โดยอาศัยแบบสอบถาม ซึ่งแม่นยำพอประมาณที่จะใช้แทนการตรวจเลือดโดยเฉพาะในสถานบริการที่ไม่สามารถตรวจระดับฮอร์โมน
 
2. การตรวจเลือด เพื่อหาระดับ ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนอิสระ และ ไบโออะไวเลเบิล เทสโทสเตอโรน ซึ่งแม่นยำกว่าการตรวจเทสโทสเตอโรนรวมเพียงอย่างเดียว การตรวจเลือดดังกล่าวควรเจาะตรวจในช่วงเช้าระหว่าง 08.00 – 11.00 น.
 
 
 
ข้อดีของการใช้ฮอร์โมนเพศเสริม                                                                                   
 
การใช้ฮอร์โมนเพศชายเสริมในผู้ชายที่พร่องฮอร์โมนเพื่อให้มีระดับออร์โมนสู่ระดับปกติ ไม่สูงเกินไป จะมีประโยชน์ดังนี้
 
1.ป้องกันหรือลดปัญหาภาวะกระดูกพรุน
 
2. ประวิงเวลาโรคหลอดเลือดและหัวใจ
 
3.กลับคืนความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ
 
4.ช่วยชะลอการลดสมรรถนะของสมองและจิตใจ
 
5.ลดอาการร้อนวูบวาบ หงุดหงิดง่าย ขาดสมาธิ
 
6.แก้ไขปัญหาสมรรถนะภาพทางเพศ บางชนิด
 
 
 ข้อห้ามในการใช้ฮอร์โมนเพศชายเสริม
 
1.เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก                   
 
2. เป็นมะเร็งเต้านม(มักไม่ค่อยพบ)
 
3.มีภาวะตอมลูกหมากโตที่มีอาการอุดตันการปัสสาวะอย่างรุนแรง
 
4. มีการทำงานของตับผิดปกติ            
 
5.ภาวะการหยุดหายใจขณะนอนหลับ
 
รูปแบบของฮอร์โมนเพศชายเสริม
 
ปัจจุบันมีชนิดฉีดและชนิดรับประทานและทาที่ผิวหนังในต่างประเทศมีชนิดแผ่นแปะที่อัณฑะ ชนิดฝังใต้ผิวหนัง แต่มักไม่นิยมเพราะไม่สะดวกในการใช้ แพทย์จะเลือกให้ฮอร์โมนเพศชายเสริมที่ใกล้เคียงฮอร์โมนธรรมชาติ ชนิดที่นิยมมากที่สุดคือชนิดรับประทาน รวมทั้งชนิดฉีด เฉพาะที่ไม่มีพิษต่อตับและชนิดทาผิวหนัง
 
ในชายวัยทอง การตรวจติดตามชายที่ได้รับฮอร์โมนเพศชายเสริม
 
การตรวจก่อนเริ่มต้นให้ฮอร์โมนและตรวจซ้ำทุกปีนอกจากการตรวจฮอร์โมนเพศ เพื่อวินิจฉัยภาวะพร่องฮอร์โมนแล้วควรจะ
 
1.ตรวจคัดกรอกหาโรคในผู้สูงอายุทั่วไป เช่น ดัชนีมวลกาย สัดส่วนรอบเอวต่อรอบสะโพก ความดันโลหิต ความเข้มข้นของเลือด เบาหวาน ไขมันในเลือด ภาวการณ์ทำงานของหัวใจ ตับ ไต ต่อมลูกหมาก ส่วนมะเร็งลำไส้ และอาจจะตรวจความหนาแน่นของกระดูก ในกรณีที่มีความเสี่ยง
 
2. ประเมินพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ ซึ่งขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของชุมชน
 
การตรวจติดตามเป็นระยะ
 
1.โรคที่ตรวจพบและให้การรักษา เช่น ไขมัน ในเลือดผิดปกติเป็นต้น
 
2. ผู้ที่ตัดสินใจใช้ฮอร์โมนทดแทน ควรได้รับการตรวจความเข้มข้นของเลือดและค่า พีเอสเอ (PSA เพื่อคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก) ทุก 3 เดือนในช่วงแรก และทุกปีในปีต่อไป
 
3. กรณีผู้ที่เคยตรวจพบว่าฮอร์โมน เทสโทสเตอโรนผิดปกติอยู่แล้ว เมื่อรักษาไม่จำเป็นต้องตรวจติดตามต่อไป
 
สรุป
 
เนื่องจากการใช้ฮอร์โมนทดแทนในผู้ชายมีทั้งข้อดีและข้อเสี จึงจำเป็นที่จะพบแพทย์เพื่อตรวจประเมินเป็นระยะ และปฏิบัติตนตามคำแนะนำของแพทย์ รวมทั้งต้องติดตามความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ดูแลรักษาชายวัยทองให้มีประโยชน์สูงสุด และในอนาคตอาจมีการเปลี่ยนแปลงมาตรฐาน แนวทางการรักษาที่แตกต่างไปจากที่กล่าวในที่นี้ก็เป็นได้
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด