ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

นั่งนานๆ เสี่ยงหลายโรค เปลี่ยนท่านั่ง ป้องกันอาการปวดเมื่อยเรื้อรังได้

นั่งนานๆ เสี่ยงหลายโรค เปลี่ยนท่านั่ง ป้องกันอาการปวดเมื่อยเรื้อรังได้ HealthServ.net
นั่งนานๆ เสี่ยงหลายโรค เปลี่ยนท่านั่ง ป้องกันอาการปวดเมื่อยเรื้อรังได้ ThumbMobile HealthServ.net

มื่อเวลาที่เรา “นั่ง” ระบบย่อยอาหารจะทำงานช้าลง ก่อให้เกิดอาการต่าง ๆ ท้องผูก จุก ท้องอืด เป็นตะคริว อวัยวะภายในเสี่ยงอันตราย เช่น หัวใจ เพราะการนั่งทำให้เลือดไหลเวียนช้าลง กล้ามเนื้อเผาผลาญไขมันได้น

จากสถานการณ์ COVID-19 ทำให้ต้องงดการรวมกลุ่มกัน ต้องทำงานที่บ้าน เกิดพฤติกรรมการเนือยนิ่ง นั่งนานเกินควร ประกอบกับเน้นการประชุมทางไกล เพื่องดการเดินทาง เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยหนึ่งที่เพิ่มกิจกรรมให้มีการนั่งใช้เวลานานๆ จนเคยชินติดเป็นนิสัยกลายเป็นพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคต่างๆ มากมาย
 
การประกอบกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน 24 ชั่วโมงเราใช้การนั่งมากที่สุดก็ว่าได้ เช่น การนั่งทำงาน นั่งดูทีวี นั่งเล่นโทรศัพท์ นั่งทานอาหาร ฯลฯ ซึ่งหลายครั้ง หลายคนก็นั่งผิดท่าทาง นั่งหลังงอ ตัวเอียง โดยจากงานวิจัยผู้หญิงมีอัตราเสี่ยงมากกว่าผู้ชาย เหตุใดการนั่งถึงสร้างอาการปวดเมื่อยให้แก่ร่างกายได้
 
ทั้งนี้ เพราะเมื่อเวลาที่เรา “นั่ง” ระบบย่อยอาหารจะทำงานช้าลง ก่อให้เกิดอาการต่าง ๆ  ท้องผูก จุก ท้องอืด เป็นตะคริว อวัยวะภายในเสี่ยงอันตราย เช่น หัวใจ เพราะการนั่งทำให้เลือดไหลเวียนช้าลง กล้ามเนื้อเผาผลาญไขมันได้น้อยลง คอและไหล่ตึง หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท กระดูกสันหลังคด ยาวไปถึงกล้ามเนื้ออาจเสื่อมสภาพได้

ดังนั้นหากเรานั่งทำงานในท่าทางที่ไม่เหมาะสม เช่น การนั่งเอียงตัวไปข้างใดข้างหนึ่ง นั่งไขว่ห้าง หรือนั่งโดยเท้าทั้ง 2 ข้างวางไม่ถึงพื้น นอกจากจะมีการกดทับเส้นเลือดบางส่วนไม่เท่ากัน ส่งผลให้เลือดไหลเวียนได้ไม่ดีแล้ว การที่นั่งเป็นเวลานานจะส่งผลให้ขาดแรงบีบอัดจากกล้ามเนื้อ เพื่อส่งเลือดกลับเข้าสู่หัวใจ ร่างกายจึงมีการไหลเวียนโลหิตไม่เพียงพอ
 
หากเทียบเวลาในการนั่งน้อยๆ (เช่น นั่งน้อยกว่า 4 ชั่วโมงต่อวัน) กับนั่งนานๆ (เช่น นั่งมากกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน) พบว่า ก่อให้เกิดโรค ดังนี้ โรคอ้วน โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) โรคมะเร็งบางชนิด ซึ่งนำไปสู่อัตราการตายที่เพิ่มขึ้นนอกจากนี้ยังส่งผลต่อภาวะหดหู่ ซึมเศร้า ได้อีกด้วย

ดังนั้น การนั่งทำงานหรือนั่งทำกิจกรรมใดๆ ก็ตามติดต่อกันได้นานเกิน 2 ชั่วโมงถือว่าเต็มที่แล้ว หากเกินกว่านี้ ความสามารถในการนั่งท่าที่ถูกต้องจะลดลง และส่งผลต่อข้อต่อ กระดูกสันหลังและหมอนรองกระดูกสันหลังจะถูกแรงกระทำจากแรงโน้มถ่วงให้ยู่เข้าหากันเพราะไม่มีกล้ามเนื้อช่วยพยุงทำให้เกิดผลกระทบ
 
ดังนั้นเพื่อป้องกันอาการปวดเมื่อยเรื้อรัง และโรคที่จะตามมา นอกจากการปรับท่าทางการนั่งให้มีความสมดุลกันทั้ง 2 ข้างแล้ว การลุกขึ้นยืนบ่อย ๆ จะช่วยลดการกดทับส่วนต่าง ๆ และช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือดได้ดีขึ้น ดังนั้นเราจึงควรลุกขึ้นอย่างน้อยชั่วโมงละครั้ง โดยแต่ละครั้งควรมีการยืดกล้ามเนื้อเป็นเวลา 5 นาที หรืออย่างน้อยที่สุดคือ “การลุกขึ้น” หรือ เปลี่ยนอิริยาบถทุกชั่วโมงจะช่วยลดอาการปวดส่วนต่าง ๆ และลดการเสี่ยงโรคอื่น ๆ ตามมา เพื่อการมีสุขภาพที่ดี และฝ่าวิกฤติไปได้อย่างมีความสุข
 
แหล่งข้อมูล  :
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สันทณี เครือขอน คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
: อ.ดร.นงนภัส เจริญพานิช คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
18  กุมภาพันธ์ 2564 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด