ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2558

กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2558 HealthServ.net
กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2558 ThumbMobile HealthServ.net

13 หมวดกิจการ 152 ประเภทกิจการ ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ที่ผู้ประกอบการ/ผู้ใดประสงค์จะทำการค้า จะต้องขออนุญาตก่อน

กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ หมายถึง กิจการที่มีกระบวนการผลิตหรือกรรมวิธีการผลิตที่ก่อให้เกิด มลพิษหรือสิ่งที่ทำให้เกิดโรค ซึ่งจะมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนที่อยู่ในบริเวณข้างเคียงนั้น ไม่ว่าจะ เป็นเรื่องมลพิษทางอากาศ ทางน้ำ ทางเสียง แสง ความ ร้อน ความสั่นสะเทือน รังสีฝุ่นละอองเขม่า เถ้า ฯลฯ

กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเป็นเรื่องหนึ่งที่ บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 หมวด 7 ที่จะต้องมีการกำกับดูแลการประกอบกิจการ โดย ผู้ดำเนินการต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลสภาพ หรือ สุขลักษณะของสถานที่ที่ใช้ดำเนินกิจการ มีการควบคุม ปัญหามลพิษที่เกิดจากสถานประกอบการของตนและไม่ ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน สถาน ประกอบการที่ไม่มีการป้องกันควบคุมและบำบัดมลพิษ อย่างถูกต้อง หรือไม่มีการบริหารจัดการที่ดีพอ ย่อม ก่อให้เกิดปัญหาต่อผู้อาศัยใกล้เคียงจนเกิดการร้องเรียน ด้านกลิ่นเหม็น อากาศเสีย น้ำเสียและเสียงดัง ตามมา

ผลกระทบของกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เป็นกิจการที่ต้อง มีการกำกับดูแลการประกอบการ เนื่องจากในกระบวนการ ผลิต หรือกรรมวิธีการผลิตในการประกอบการ อาจจะเกิด มลพิษหรือผลกระทบต่อสุขภาพได้จากการประกอบการที่ ไม่ได้มาตรฐานหรือไม่มีการควบคุมป้องกันที่ดี


 

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2558

 
ราชกิจจานุเบกษา 17 กรกฎาคม 2558
 
กำหนดให้กิจการดังต่อไปนี้เป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
 
 
1. กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง
 (1) การเพาะพันธุ์ เลี้ยง และการอนุบาลสัตว์ทุกชนิด
 (2) การประกอบกิจการเลี้ยง รวบรวมสัตว์ หรือธุรกิจอื่นใดอันมีลักษณะทํานองเดียวกัน เพื่อให้ประชาชนเข้าชมหรือเพื่อประโยชน์ของกิจการนั้น ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการเรียกเก็บค่าดูหรือค่าบริการในทางตรง หรือทางอ้อม หรือไม่ก็ตาม
 


 2. กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์และผลิตภัณฑ์
 (1) การฆ่า หรือชําแหละสัตว์ ยกเว้นในสถานที่จําหน่ายอาหาร เร่ขาย หรือขายในตลาด
 (2) การหมัก ฟอก ตาก หรือสะสมหนังสัตว์ ขนสัตว์
 (3) การสะสมเขา กระดูก หรือชิ้นส่วนสัตว์ที่ยังมิได้แปรรูป
 (4) การเคี่ยวหนัง เอ็น หรอไขสัตว
 (5) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากเปลือก กระดอง กระดูก เขา หนัง ขนสัตว์หรือส่วนอื่น ๆ ของสัตว์ด้วยการต้ม นึ่ง ตาก เผาหรือกรรมวิธีใดๆ ซึ่งมิใช่เพื่อเป็นอาหาร
 (6) การผลิต โม่ ป่น บด ผสม บรรจุ สะสม หรือกระทําอื่นใดต่อสัตว์หรือพืชหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์หรือพืชเพื่อเป็นอาหารสัตว์หรือส่วนประกอบของอาหารสัตว์
 (7) การผลิต แปรรูป สะสม หรือล้างครั่ง
 
 

3. กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม ยกเว้นในสถานที่จําหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
 (1) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำพริกแกง น้ำพริกปรุงสําเร็จ เต้าเจี้ยวซีอิ๊ว น้ำจิ้ม หรือซอสปรุงรสชนิดต่าง ๆ
 (2) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง จากสัตว์ ได้แก่ ปลาร้า ปลาเจ่า กุ้งเจ่า ปลาส้ม ปลาจ่อม แหนม หม่ํา ไส้กรอก กะปิ น้ำปลา หอยดอง น้ำเคย น้ำบูดู ไตปลา หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน
 (3) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง แช่อิ่ม จากผัก ผลไม้ หรือพืชอย่างอื่น
 (4) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารจากพืชหรือสัตว์โดยการตาก บด นึ่ง ต้ม ตุ๋น เคี่ยว กวน ฉาบ ทอด อบ รมควัน ปิ้ง ย่าง เผา หรือวิธีอื่นใด
 (5) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุลูกชิ้น
 (6) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว เต้าฮวย เต้าหู้ วุ้นเส้น เกี้ยมอี๋ เนื้อสัตว์เทียม หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน
 (7) การผลิตบะหมี่ มักกะโรนี สปาเกตตี้ พาสตา หรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่คล้ายคลึงกัน
 (8) การผลิต ขนมปังสด ขนมปังแห้ง จันอับ ขนมเปี๊ยะ ขนมอบอื่น ๆ
 (9) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำนม หรือผลิตภัณฑ์จากน้ำนมสัตว์
 (10) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เนย เนยเทียม เนยผสม ผลิตภัณฑ์เนย ผลิตภัณฑ์เนยเทียม และผลิตภัณฑ์เนยผสม
 (11) การผลิตไอศกรีม
 (12) การคั่ว สะสม หรือแบ่งบรรจุกาแฟ
 (13) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ใบชาแห้ง ชาผง หรือเครื่องดื่มชนิดผงอื่น ๆ
 (14) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เอทิลแอลกอฮอล์ สุรา เบียร์ ไวน์ น้ำส้มสายชู ข้าวหมาก น้ำตาลเมา
 (15) การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค น้ำดื่มจากเครื่องจําหน่ายอัตโนมัติ
(16) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุ หรือขนส่งน้ำแข็ง
 (17) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำโซดา น้ำจากพืช ผัก ผลไม้ เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ บรรจุกระป๋อง ขวดหรือภาชนะอื่นใด
 (18) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารบรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด
 (19) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ผงชูรส หรือสารปรุงแต่งอาหาร
 (20) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำตาล น้ำเชื่อม
 (21) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุแบะแซ
 (22) การแกะ ตัดแต่ง ล้างสัตว์น้ำ ที่ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น
 (23) การประกอบกิจการห้องเย็นแช่แข็งอาหาร
 (24) การเก็บ การถนอมอาหารด้วยเครื่องจักร


 
 
 4. กิจการที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสําอาง ผลิตภัณฑ์ทําความสะอาด
 (1) การผลิต โม่ บด ผสม หรือบรรจุยา
 (2) การผลิต บรรจุยาสีฟัน แชมพู ผ้าเย็น กระดาษเย็น เครื่องสําอาง รวมทั้งสบู่ที่ใช้กับร่างกาย
 (3) การผลิต บรรจุสําลี ผลิตภัณฑ์จากสําลี
 (4) การผลิตผ้าพันแผล ผ้าปิดแผล ผ้าอนามัย ผ้าอ้อมสําเร็จรูป
 (5) การผลิตผงซักฟอก สบู่ น้ำยาทําความสะอาด ห รือผลิตภัณฑ์ทําความสะอาดต่าง ๆ
 
 

 5. กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร
 (1) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุน้ำมันจากพืช
 (2) การล้าง อบ รม หรือสะสมยางดบิ
 (3) การผลิต หรือแบ่งบรรจุแป้งมันสําปะหลัง แป้งสาคู แป้งจากพืชหรือแป้งอื่น ๆ ในทํานองเดียวกัน
 (4) การสีข้าว นวดข้าวด้วยเครื่องจักร หรือแบ่งบรรจุข้าวด้วยวิธีใด ๆ ก็ตาม
 (5) การผลิตยาสูบ
 (6) การขัด กะเทาะ หรือบดเมล็ดพืช
 (7) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุปุ๋ยหรือวัสดุที่นําไปผลิตปุ๋ย
 (8) การผลิตเส้นใยจากพืช
 (9) การตาก สะสม ขนถ่ายผลิตผลของมันสําปะหลัง ข้าวเปลือก อ้อย ข้าวโพด
 
 
 
6. กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่
 (1) การผลิตภาชนะ เครื่องประดับ เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ ด้วยโลหะหรือแร่
 (2) การถลุงแร่ การหลอม หรือหล่อโลหะทุกชนิด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาต ใน 6 (1)
 (3) การกลึง เจาะ เชื่อม ตี ตัด ประสาน รีด หรืออัดโลหะด้วยเครื่องจักรหรือก๊าซ หรือไฟฟ้า ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน 6 (1)
 (4) การเคลือบ ชุบโลหะด้วยตะกั่ว สังกะสี ดีบุก โครเมียม นิกเกิล หรือโลหะอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน 6 (1)
 (5) การขดั ล้างโลหะด้วยเครื่องจักร หรือสารเคมี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน 6 (1)
 (6) การทําเหมืองแร่ สะสม แยก คัดเลือก หรือล้างแร่
 
 
 
 7. กิจการที่เกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล
 (1) การต่อ ประกอบ เคาะ ปะผุ พ่นสี หรือพ่นสารกันสนิมยานยนต์
 (2) การผลิตยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล
 (3) การซ่อม การปรับแต่งเครื่องยนต์ เครื่องจักร เครื่องกล ระบบไฟฟ้า
ระบบปรับอากาศ หรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล
 (4) การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล ซึ่งมีไว้บริการหรือจําหน่าย และในการประกอบธุรกิจนั้นมีการซ่อมหรือปรับปรุงยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกลดังกล่าวด้วย
 (5) การล้าง ขัดสี เคลือบสี หรืออัดฉีดยานยนต์
 (6) การผลิต สะสม จําหน่าย ซ่อม หรืออัดแบตเตอรี่
 (7) การจําหน่าย ซ่อม ปะ เชื่อมยางยานยนต์ หรือตั้งศูนย์ถ่วงล้อ
 (8) การผลิต ซ่อม ประกอบ หรืออัดผ้าเบรก ผ้าคลัตช์
 (9) การสะสม การซ่อมเครื่องกล เครื่องจักรเก่าหรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกลเก่า


 
 
 8. กิจการที่เกี่ยวกับไม้หรือกระดาษ
 (1) การผลิตไม้ขีดไฟ
 (2) การเลื่อย ซอย ขัด ไส เจาะ ขุดร่อง ทําคิ้ว หรือตัดไม้ด้วยเครื่องจักร
 (3) การผลิต พ่น ทาสารเคลือบเงา หรือสี แต่งสําเร็จสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์จากไม้ หวาย ชานอ้อย
(4) การอบไม้
 (5) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุธูป
 (6) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องเขียน หรือผลิตภัณฑ์อื่นใดด้วยกระดาษ
 (7) การผลิตกระดาษชนิดต่าง ๆ
 (8) การเผาถ่าน หรือสะสมถ่าน
 
 
 
 9. กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ
 (1) การประกอบกิจการสปาเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
 (2) การประกอบกิจการอาบ อบ นวด
 (3) การประกอบกิจการนวดเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน 9 (1) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
 (4) การประกอบกิจการสถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน 9 (1) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
 (5) การประกอบกิจการโรงแรม สถานที่พักที่มิใช่โรงแรมที่จัดไว้เพื่อให้บริการพักชั่วคราวสําหรับคนเดินทางหรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทน หรือกิจการอื่นในทํานองเดียวกัน
 (6) การประกอบกิจการหอพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องเช่า หรือห้องแบ่งเช่าหรือกิจการอื่นในทํานองเดียวกัน
 (7) การประกอบกิจการโรงมหรสพ
 (8) การจัดให้มีมหรสพ การแสดงดนตรี เต้นรํา รําวง รองเง็ง ดิสโกเทก คาราโอเกะ หรือตู้เพลง หรือการแสดงอื่น ๆ ในทํานองเดียวกัน
 (9) การประกอบกิจการสระว่ายน้ำ หรือกิจการอื่น ๆ ในทํานองเดียวกัน เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน 9 (1)
 (10) การประกอบกิจการการเล่นสเกต หรือโรลเลอร์เบลด หรือการเล่นอื่น ๆ ในทํานองเดียวกัน
 (11) การประกอบกิจการเสริมสวย หรือแต่งผม เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
 (12) การประกอบกิจการสถานที่ออกกําลังกาย
 (13) การประกอบกิจการให้บริการควบคุมน้ำหนัก
 (14) การประกอบกิจการสวนสนุก โบว์ลิ่ง หรือตู้เกม
 (15) การประกอบกิจการให้บริการคอมพิวเตอร์
 (16) การประกอบกิจการสนามกอล์ฟ หรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ
(17) การประกอบกิจการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ การสาธารณสุข วิทยาศาสตร์หรือสิ่งแวดล้อม
 (18) การประกอบกิจการสักผิวหนัง หรือเจาะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย
 (19) การประกอบกิจการให้บริการเลี้ยงและดูแลเด็กที่บ้านของผู้รับบริการ
 (20) การประกอบกิจการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านของผู้รับบริการ
 (21) การประกอบกิจการให้บริการสปา อาบน้ำ ตัดขน รับเลี้ยงหรือรับฝากสัตว์ชั่วคราว


 
 
 10. กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ
 (1) การปั่นด้าย กรอด้าย ทอผ้าด้วยเครื่องจักร หรือทอผ้าด้วยกี่กระตุก
 (2) การสะสมปอ ป่าน ฝ้าย นุ่น หรือใยสังเคราะห์
 (3) การปั่นฝ้าย นุ่น ใยสังเคราะห์ด้วยเครื่องจักร
 (4) การทอเสื่อ กระสอบ พรม หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร
 (5) การเย็บ ปักผ้า หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร
 (6) การพิมพ์ผ้า และสิ่งทออื่น ๆ
 (7) การซัก อบ รีด หรืออัดกลีบผ้าด้วยเครื่องจักร
 (8) การย้อม ฟอก กัดสีผ้าหรือสิ่งทออื่นๆ
 
 
 11. กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
 (1) การผลตภาชนะดินเผาหรือผลิตภัณฑ์ดินเผา
 (2) การระเบิด โม่ บด หรือย่อยหิน ด้วยเครื่องจักร
 (3) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ด้วยซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
 (4) การสะสม ผสมซีเมนต์ หิน ดิน ทราย วัสดุก่อสร้าง รวมทั้งการขุด ตัก ดูด โม่ บด หรือย่อย ด้วยเครื่องจักร ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน 11 (2)
 (5) การเจียระไนเพชร พลอย หิน หรือกระจก หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
 (6) การเลื่อย ตัด หรือประดิษฐ์หินเป็นสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ
 (7) การผลิตชอล์ก ปูนปลาสเตอร์ ปูนขาว ดินสอพอง หรือเผาหินปูน
 (8) การผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบหรือส่วนผสม
 (9) การผลิต ตัด บดกระจกหรือผลิตภัณฑ์แก้ว
 (10) การผลิตกระดาษทราย หรือผ้าทราย
 (11) การผลิตใยแก้ว หรือผลิตภัณฑ์จากใยแก้ว
 (12) การล้าง การขัดด้วยการพ่นทรายลงบนพื้นผิวกระจก แก้ว หิน หรือวัตถุอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน 6 (5) 

 
 
12. กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ปิโตรเคมี ถ่านหิน ถ่านโค้ก และสารเคมีต่าง ๆ
 (1) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งกรด ด่าง สารออกซิไดซ์ หรือสารตัวทําละลาย
 (2) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งก๊าซ
 (3) การผลิต สะสม กลั่น หรือขนส่งปิโตรเลียมหรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
 (4) การผลิต สะสม หรือขนส่งถ่านหิน หรือถ่านโค้ก
 (5) การพ่นสี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน 7 (1)
 (6) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์ด้วยยางเทียม พลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
 (7) การโม่ สะสม หรือบดชัน
 (8) การผลิตสีหรือน้ำมันผสมสี
 (9) การผลิต ล้างฟิล์มรูปถ่ายหรือฟิล์มภาพยนตร์
 (10) การเคลือบ ชุบวัตถุด้วยพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
 (11) การผลิตพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
 (12) การผลิต หรือบรรจุสารเคมีดับเพลิง
 (13) การผลิตน้ำแข็งแห้ง
 (14) การผลิต สะสม ขนส่งดอกไม้เพลิง หรือสารเคมีอันเป็นส่วนประกอบในการผลิตดอกไม้เพลิง
 (15) การผลิตเชลแล็ก หรือสารเคลือบเงา
 (16) การผลิต สะสม บรรจุ ขนส่งสารกําจัดศัตรูพืชหรือพาหะนําโรค
 (17) การผลิต สะสม หรือบรรจุกาว


 
 
 13. กิจการอื่น ๆ
 (1) การพิมพ์หนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันด้วยเครื่องจักร
 (2) การผลิต ซ่อมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า
 (3) การผลิตเทียน หรือเทียนไข หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
 (4) การพิมพ์แบบ พิมพ์เขียว หรือถ่ายเอกสาร
 (5) การสะสมวัตถุหรือสิ่งของที่ชํารุด ใช้แล้วหรือเหลือใช้
 (6) การประกอบกิจการโกดังสินค้า
 (7) การล้างขวด ภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วเพื่อนําไปใช้ใหม่หรือแปรสภาพเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่
 (8) การพิมพ์ เขียน พ่นสี หรือวิธีอื่นใดลงบนวัตถุที่มิใช่สิ่งทอ
 (9) การประกอบกิจการท่าเทียบเรือประมง สะพานปลา หรือแพปลา
 (10) การบรรจุหีบห่อสินค้าโดยใช้เครื่องจักร
 (11) การให้บริการควบคุมป้องกันและกําจัดแมลง หรือสัตว์พาหะนําโรค
 (12) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากยาง
 (13) การผลิต สะสม หรือขนส่งไบโอดีเซลและเอทานอล
 
ประกาศ ณ วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2558
ศาสตราจารย์รัชตะ รัชตะนาวิน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
 

คู่มือการปฏิบัติงาน ควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ LINK

คู่มือการปฏิบัติงาน ควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2558
คู่มือการปฏิบัติงาน ควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2558
คู่มือการปฏิบัติงาน ควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ สำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (ตุลาคม 2557)

การดำเนินการของหน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่น

การดำเนินการควบคุมกิจการที่เป็นอันตราย ต่อสุขภาพของหน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่น
 
  1. การออกข้อกำหนดของท้องถิ่นกำหนดประเภทของกิจการที่ เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 มาตรา 31
  2. การกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขสำหรับให้ผู้ดำเนินกิจการ ที่ต้องควบคุมในท้องถิ่น
  3. การกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขในการขอและต่อ ใบอนุญาต
  4. การกำหนดอัตราค่าธรรมเนียม จะต้องเป็นไปตาม กฎกระทรวง
  5. ราชการส่วนท้องถิ่นต้องเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อกำหนด ของท้องถิ่น
  6. การจัดทำทะเบียนสถานประกอบการที่เป็นอันตรายต่อ สุขภาพ
  7. การตรวจสอบและให้คำแนะนำ
  8. การอบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบกิจการบางประเภทตาม ความจำเป็นของปัญหา
  9. การเข้าดำเนินการในสถานประกอบการ
 

เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้แก่
  • ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
  • นายกเมืองพัทยา
  • นายกเทศมนตรี
  • นายก อบต
  • นายก อบจ.

เจ้าพนักงานสาธารณสุข
  • ผู้บริหารและนักวิชาการสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
  • นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ,สาธารณสุขอำเภอ นักวิชาการสาธารณสุขระดับชำนาญการ
  • ผู้อำนวยการสำนัก / กอง / หัวหน้ากองสาธารณสุขและ สิ่งแวดล้อมเทศบาล/อบต.

หลักฐานที่ใช้ประกอบการขออนุญาต

หลักฐานที่ใช้ประกอบการขออนุญาต การประกอบกิจการที่เป็ นอันตรายต่อสุขภาพ ในลักษณะที่เป็ นการค้า
  1. บัตรประจำตัวประชาชน/ข้ำราชการ/พนักงาน รัฐวิสาหกิจพร้อมสาเนาที่รับรองถูกต้องจำนวน 2 ฉบับ
  2. ทะเบียนบ้าน ทะเบียนของสถานประกอบการ พร้อม รับรองสำเนาถูกต้อง จำนวน 2 ฉบับ
  3. รูปถ่ายหน้าตรงครึ่งตัว ไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่น ดำของผู้ขอรับใบอนุญาต ขนาด 1x 1 1/2 นิ ้ว จำนวน 2 รูป
  4. สำเนาใบอนุญาตก่อสร้างอาคารของสถานที่ขอ อนุญาตประกอบกิจการค้า (กรณีที่ก่อสร้างหลัง พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ใช้บังคับ)
  5. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แทนนิติ บุคคล (ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็ นนิติบุคคล) 6.หนังสือมอบอำนาจ พร้ อมสำเนาบัตรประจาตัวประชาชนและทะเบียนบ้านของผู้รับรอง (กรณีมอบอำนาจ)


ขั้นตอนการยื่นขออนุญาต

 ขั้นตอนการยื่นขออนุญาต
1. ขอรับคำขออนุญาตจาก กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลสันปูเลย
2. นำเอกสารตามหลักฐานยื่นประกอบคำขออนุญาต
3. เจ้าหน้าที่ตรวจหลักฐาน
4. เจ้าหน้าที่ออกสำรวจสถานที่ประกอบการ
5. ออกใบอนุญาต
6. ผู้ยื่นคำขออนุญาตชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ......ภายใน 30 วัน
 

บทกำหนดโทษ

ผู้ใดฝ่าฝืนหรือดำเนินกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด