ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

10 คำแนะนำเพื่อดูแลสุขภาพเท้า

10 คำแนะนำเพื่อดูแลสุขภาพเท้า HealthServ.net
10 คำแนะนำเพื่อดูแลสุขภาพเท้า ThumbMobile HealthServ.net

สุขภาพเท้า ต้องการการดูแล เช่นเดียวกับอวัยอวะอื่น จะดูแลอย่างไร มีหลัก 10 ข้อมาแนะนำ แถมวิธีบริหารเท้า 10 ท่า ช่วยลดความปวดเมื่อย เลือดเดินดี ทำได้ตลอดเวลา

สุขภาพเท้า ต้องการการดูแล เช่นเดียวกับอวัยอวะอื่น 
จะดูแลอย่างไร มีหลัก 10 ข้อมาแนะนำ

1. เท้าต้องสะอาดเสมอ
  • ล้างเท้าให้สะอาดทุกวันด้วยสบู่อ่อนๆ
  • เช็ดเท้าให้แห้งด้วยผ้าที่สะอาดและนุ่ม โดยเฉพาะบริเวณตามซอกนิ้วเท้า เพื่อป้องกันการอับชื้นซึ่งเป็นต้นเหตุของการเป็นเชื้อราที่เท้า
 
2. ตรวจทุกวัน เพื่อค้นหาความผิดปกติ
  • ควรตรวจเท้าทุกวัน เพื่อค้นหาความผิดปกติ เช่น ตาปลาหนังหนาๆ ตุ่มพุพอง รอยแตกของผิวหนัง แผลอักเสบ ปวดบวม แดง จับดูรู้สึกร้อนๆ ผิวคล้ำหรือซีดผิดปกติ เล็บขบ
  • ส่วนบริเวณที่ยากต่อการมองเห็น อาจใช้กระจกช่วยได้
 
3. โลชั่นนั่นจำเป็นนะ 
  • ทาโลชั่นเพื่อให้ผิวชุ่มชื้นหลังอาบน้ำเช้า-เย็น
  • ในกรณีที่ผิวแห้งอาจทำให้มีรอยแตก และเกิดการติดเชื้อได้ง่าย
  • ถ้าผิวแห้งชื้นมีเหงื่อออกง่ายควรหมั่นเช็ดเท้าให้แห้งและทาแป้งให้ทั่วจะช่วยลดการอับชื้นได้
  • หลีกเลี่ยงการทาโลชั่นบริเวณซอกนิ้วเท้า เพื่อป้องกันการหมักหมม ซึ่งอาจทำให้เกิดเชื้อราได้
 
4. ถุงเท้าก็จำเป็น
  • ควรสวมถุงเท้าหรือถุงน่องทุกครั้งเมื่อสวมรองเท้า
  • ถุงเท้าที่เลือกควรทำจากใยฝ้ายที่หนาพอควร เนื้อนิ่ม เนื่องจากใยฝ้ายจะช่วยให้การระบายอากาศดีขึ้น ลดการอับชื้นของเท้าได้
  • ควรเปลี่ยนถุงเท้าหรือถุงน่องทุกวัน ไม่ควรใส่ซ้ำ เพื่อไม่ให้หมักหมมเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค
 
5. เลือกรองเท้าที่เหมาะกับเท้า
  • ควรสวมรองเท้าตลอดเวลาทั้งใน-นอกบ้าน ห้ามเดินเท้าเปล่า
  • สวมรองเท้าที่ไม่คับหรือหลวมจนเกินไปจะช่วยลดแรงกดใต้ฝ่าเท้าได้ดี โดยเฉพาะรองเท้าที่มีแผ่นรองรับแรงกระแทกภายใน เช่น ร้องเท้ากีฬาต่างๆ
 
6. ห้ามประคบร้อนหรือแช่เท้าในน้ำ
  • หลีกเลี่ยงการแช่เท้า เพื่อไม่ให้ผิวหนังเปื่อยง่าย
  • พึงระวัง! ในรายที่มีมือและเท้าชา การแช่น้ำอุ่นหรือร้อนจัดเกินไปและประคบร้อนที่เท้า อาจทำให้เกิดการพุพองและติดเชื้อได้ง่าย
 
7. เป็นแผลต้องรีบรักษา
  • ถ้ามีแผลอักเสบ คือ ปวด บวม แดง จับดูร้อนๆหรือมีหนองควรปรึกษาแพทย์ทันที เพื่อรับการรักษาตั้งแต่ระยะแรกไม่ควรรักษาเอง
  • ถ้าแผลยังไม่หายดี อย่าเดินลงน้ำหนักเท้าข้างที่เป็นแผลนั้นไปมา เพราะการเดินจะทำให้เท้ารับน้ำหนักตัวทำให้ปากแผลเปิด แผลจะหายช้า ในนอนพัก หรือนั่งเก้าอี้รถเข็น หรือใช้ไม้พยุงตัว ในกรณีที่ต้องการออกกำลังกาย ใช้การออกกำลังกายด้วยแขน
 
8. ตัดเล็บเป็นประจำ
  • การตัดเล็บที่ถูกวิธีร่วมกับการใส่รองเท้าให้เหมาะสมจะช่วยลดการเกิดเล็บขบ และแผลที่เท้าได้
  • ควรตัดเล็บหลังจากอาบน้ำเสร็จเพราะน้ำช่วยทำให้เล็บนิ่มขึ้น ทำให้ตัดง่าย
  • กรณีที่มีเล็บขบ ตาปลา หรือหนังเท้าหนาๆ ควรหลีกเลี่ยงการตัดหรือซื้อยามาทาเอง ควรปรึกษาแพทย์ก่อน
  • ถ้าไม่สามารถตัดเล็บตนเองได้ เช่น อาจมีปัญหาทางสายตามองไม่ชัด ควรให้ญาติช่วยตัดให้ เพื่อป้องกันการเกิดแผลหรือปรึกษาแพทย์ พยาบาล เพื่อรับคำแนะนำ
 
9. บริหารเท้าทุกวัน
  • การบริหารเท้าเป็นประจำทุกวันอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้การไหลเวียนของเลือดไปที่เท้าได้ดี
  • ออกกำลังกาย โดยการเดินเร็วหรือวิ่งเหยาะๆ วันละ 20 – 30 นาที
 
 10. งดการสูบบุหรี่
 
 
แถมวิธีบริหารเท้า 10 ท่า ช่วยลดความปวดเมื่อย เลือดเดินดี ทำได้ตลอดเวลา 
 
1.กระดกปลายนิ้วเท้า ขึ้น 10 ครั้ง
2.นวดฝ่าเท้า 10 ครั้ง
3.หมุนฝ่าเท้า 10 ครั้ง
4.หมุนส้นเท้า 10 ครั้ง
5.ยืดปลายเท้าขวาชี้ออก 10 ครั้ง
6.ยืดปลายเท้าขวาเข้าหาตัว
7.ยืดปลายนิ้ว 10 นิ้งเข้าหาตัว
8.ยืดปลายเท้า 2 ข้างสลับกัน
9.หมุนเท้าแต่ละข้าง
10. พักบริเวณฝ่าเท้าโดยใช้อุ้งเท้าขยำกระดาษเป็นก้อนกลม
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด