ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ยาศุขไสยาศน์ ยาแผนไทย อาจาโร เฮิร์บ

ยาศุขไสยาศน์ ยาแผนไทย อาจาโร เฮิร์บ HealthServ.net

ช่วยให้นอนหลับ เจริญอาหาร

ยาศุขไสยาศน์ ยาแผนไทย อาจาโร เฮิร์บ ThumbMobile HealthServ.net
ยาศุขไสยาศน์ ยาแผนไทย อาจาโร เฮิร์บ HealthServ
ยาศุขไสยาศน์

 ที่มาของตำรับยายาศุขไสยาศน์
คัมภีร์ธาตุพระนารายน์
“ยาศุขไสยาศน์ ให้เอา การบูร 1 ส่วน ใบสเดา 2 ส่วน สหัสคุณเทศ 3 ส่วน สมุลแว้ง 4 ส่วน เทียนดำ 5 ส่วน โกฏกระดูก 6 ส่วน ลูกจันทน์ 7 ส่วน ดอกบุนนาค 8 ส่วน พริกไท 9 ส่วน ขิงแห้ง 10 ส่วน ดีปลี 11 ส่วน ใบกันชา 12 ส่วน ทำเปนจุณละลายน้ำผึ้งเมื่อจะกินเศกด้วยสัพพีติโย 3 จบ แล้วกิน พอควร แก้สรรพโรคทั้งปวงหายสิ้น มีกำลังกินเข้าได้ นอนเป็นศุขนักแลฯ”
 
สูตรตำรับยา
ประกอบด้วย ตัวยา 12 ชนิด รวมน้ำหนัก 78 ส่วน ดังนี้
ลำดับ ตัวยา น้ำหนักยา
1 การบูร 1 ส่วน
2 ใบสะเดา 2 ส่วน
3 หัสคุณเทศ 3 ส่วน
4 สมุลแว้ง 4 ส่วน
5 เทียนดำ 5 ส่วน
6 โกฐกระดูก 6 ส่วน
7 ลูกจันทน์ 7 ส่วน
8 ดอกบุนนาค 8 ส่วน
9 พริกไทย 9 ส่วน
10 ขิงแห้ง 10 ส่วน
11 ดีปลี 11 ส่วน
12 ใบกัญชา 12 ส่วน
 
ข้อบ่งใช้
ช่วยให้นอนหลับ เจริญอาหาร
 
รูปแบบยา
ยาผง แคปซูล
ขนาดและวิธีใช้
รับประทานครั้งละ 2 กรัม วันละ 1 ครั้ง ก่อนนอน
น้ำกระสายยาที่ใช้
น้ำผึ้งรวง
ถ้าหาน้ำกระสายยาไม่ได้ ให้ใช้น้ำสุกแทน
ข้อห้ามใช้
ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร ผู้ที่มีไข้ และผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี
ห้ามใช้ร่วมกับยาที่มีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง เช่น ยานอนหลับ และยาต้านการชัก รวมทั้งแอลกอฮอล์ หรือสิ่งที่มี แอลกอฮอล์ผสมอยู่
ข้อควรระวัง
ควรระวังการรับประทานร่วมกับยาในกลุ่มสารกันเลือดเป็นลิ่ม (anticoagulant) และยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด(antiplatelets)
ควรระวังการใช้ร่วมกับยา phenytoin, propranolol, theophylline และ rifampicin เนื่องจากตำรับนี้มีพริกไทยเป็นส่วนประกอบ
ควรระวังการใช้ยาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของตับ ไต เนื่องจากอาจเกิดการสะสมของการบูร และเกิดพิษได้
ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคแผลเปื่อยเพปติก และโรคกรดไหลย้อน เนื่องจากเป็นตำรับยารสร้อน
ยานี้อาจทำให้ง่วงซึมได้ ควรหลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะ หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล
ข้อมูลเพิ่มเติม
-
เอกสารอ้างอิง
คัมภีร์ธาตุพระนารายน์ (ฉบับใบลาน). กรมหลวงวงสาฯ กรมหมื่นไชยนาท ประทาน พ.ศ. 2459.
ชยันต์ พิเชียรสุนทร, แม้นมาส ชวลิต, วิเชียร จีรวงส์. คำอธิบายตำราพระโอสถพระนารายณ์ ฉบับเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา มหาราชา 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2542. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อมรินทร์และมูลนิธิภูมิปัญญา. 2548. หน้า 34.
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด