ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ยาแก้แพ้ ชนิดที่ทำให้ง่วงและชนิดที่ไม่ทำให้ง่วงนอน

ยาแก้แพ้ ชนิดที่ทำให้ง่วงและชนิดที่ไม่ทำให้ง่วงนอน HealthServ.net
ยาแก้แพ้ ชนิดที่ทำให้ง่วงและชนิดที่ไม่ทำให้ง่วงนอน ThumbMobile HealthServ.net

โรคภูมิแพ้ เป็นกลุ่มของโรคที่แสดงอาการได้กับหลายระบบของร่างกาย อาการของโรคภูมิแพ้ขึ้นอยู่กับชนิดของโรคภูมิแพ้ที่เป็น

ยาแก้แพ้ ชนิดที่ทำให้ง่วงและชนิดที่ไม่ทำให้ง่วงนอน HealthServ
โรคภูมิแพ้ ทำให้เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ในร่างกายที่ทำงานมากเกินไปทำให้เยื่อบุที่อวัยวะต่างๆ มีความไวต่อสิ่งกระตุ้นมากเกินไป ทำให้เกิดการตอบสนองที่มากผิดปกติของอวัยวะนั้นๆ เช่น ตา จมูก ผิวหนัง หลอดลม ทางเดินอาหาร
 
เมื่อเกิดปฏิกิริยาการอักเสบจากภูมิแพ้ สารเคมีที่สำคัญที่หลั่งออกมา คือ ฮิสทามีน (histamine) ซึ่งจะกระตุ้นทำให้เกิดอาการต่างๆ ของโรคภูมิแพ้ ยาต้านฮิสทามีน จะไปป้องกันไม่ให้ ฮิสทามีน จับกับ ตัวรับฮิสทามีน (histamine receptor) ที่อวัยวะต่างๆ จึงบรรเทาอาการต่างๆของโรคภูมิแพ้ดังกล่าวข้างต้นได้

ยาแก้แพ้

ยาแก้แพ้จะใช้บรรเทาอาการแพ้อากาศ น้ำมูกไหล อาการคัน ผื่นขึ้นเนื่องจากแมลงกัดต่อย ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับกลุ่มยาแก้แพ้ (Antihistamine) กันก่อน กลุ่มยาแก้แพ้แบ่งได้ 2 กลุ่มใหญ่ๆ ตามผลข้างเคียง ได้แก่

1.ชนิดที่ทำให้ง่วง (ยาแก้แพ้รุ่นเดิม - Conventional Antihistamines)

เช่น คลอเฟนิรามีน(Chlorpheniramine), ไดเฟนไฮดรามีน(Diphenhydramine), ไฮดรอกไซซีน (Hydroxyzine)

ยาในกลุ่มนี้สามารถผ่านเข้าสู่สมองไปกดระบบประสาทได้ จึงทำให้ผู้ที่ใช้ยามีอาการง่วงซึม  ใช้รักษาอาการเยื่อจมูกอักเสบเนื่องจากภูมิแพ้ ที่มีอาการคัน, จาม, น้ำมูกไหล ผื่นลมพิษ ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง อาการคันผื่นขึ้นเนื่องจากแมลงกัดต่อย สัมผัสพืชพิษ หรือสัมผัสสารเคมีบางอย่าง นอกจากนี้ยังสามารถบรรเทาอาการเมารถ เมาเรือได้ 

ด้วยผลข้างเคียงทำให้ง่วง จึงบรรเทาอาการนอนไม่หลับได้ชั่วคราว

ข้อควรระวังในการใช้ยากลุ่มนี้ มีหลายข้อ เช่น
  1. ไม่ควรใช้ยาติดต่อกันนาน ๆ
  2. ไม่ควรใช้ในผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับการควบคุมเครื่องจักร ขับรถ
  3. ห้ามใช้ร่วมกับยากล่อมประสาท ยานอนหลับ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  4. ระวังการใช้ในเด็กเล็ก โดยเฉพาะที่อายุต่ำกว่า 6 ขวบ เพราะอาจทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
  5. หญิงมีครรภ์ที่ต้องการใช้ยาควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง
  6. ไม่ควรซื้อยามารับประทานเองควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งก่อนใช้

2. ชนิดที่ไม่ทำให้ง่วงนอน (ยาแก้แพ้รุ่นใหม่ - Non-Sedating Antihistamines)

เช่น เซทิริซีน (Cetirizine), เลโวเซทิริซีน (Levocetirizine), เฟโซเฟนาดีน (Fexofenadine) และลอราทาดีน (Loratadine) ยาในกลุ่มนี้จะผ่านเข้าสมองได้น้อยมากจึงทำให้ง่วงซึมน้อยกว่า

ยากลุ่มนี้สามารถใช้รักษาอาการต่างๆ ได้คล้ายกับยากลุ่มดั้งเดิม ให้ผลดีกว่าในการลดผื่นลมพิษแบบเฉียบพลัน และลดอาการคันได้เร็วกว่ายาอื่นในกลุ่มเดียวกัน แต่อาจให้ผลบรรเทาอาการน้ำมูกไหล อาการเมารถ เมาเรือได้ไม่ดีเท่ากลุ่มดั้งเดิม
ยาแก้แพ้ ชนิดที่ทำให้ง่วงและชนิดที่ไม่ทำให้ง่วงนอน HealthServ

เมื่อเกิดอาการแพ้

สิ่งที่ต้องทำ ดังนี้
1. สังเกตสิ่งที่ทำให้แพ้ และหลีกเลี่ยง
2. เลือกใช้ยาแก้แพ้อย่างถูกต้อง
3. หมั่นออกกำลังกาย
4. กินอาหารที่มีประโยชน์
5. พักผ่อนให้เพียงพอ
6. ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเมื่อต้องการใช้ยา
7. ถ้าต้องการจะใช้ยาเพื่อที่ต้องการจะให้นอนหลับ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
 

การรักษาโรคภูมิแพ้

มี 4 แนวทาง
 
1. การดูแลตนเองอย่างเหมาะสม และหลีกเลี่ยง หรือกำจัดสิ่งที่แพ้
เป็นการรักษาที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นการรักษาและป้องกันที่สาเหตุ อาจใช้วิธีสังเกตว่า สัมผัสกับอะไร อยู่ใน สิ่งแวดล้อมใดหรือรับประทานอะไรแล้วมีอาการ ควรหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านั้น นอกจากนั้นควรกำจัดหรือลดปริมาณของสารก่อภูมิแพ้ที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อมรอบ ตัวให้เหลือน้อยที่สุด
 
2. การใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการ
เช่น ยาต้านฮิสทามีน (antihistamines) ซึ่งมีความจำเป็นในระยะแรก เนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้หรือสารระคายเคืองต่างๆ 100% อย่างไรก็ตาม ยาเป็นเพียงการรักษาปลายเหตุ เมื่อสามารถดูแลตนเอง และควบคุมสิ่งแวดล้อมได้ดีขึ้น ความจำเป็นในการใช้ยาก็จะน้อยลงเรื่อยๆ
 
3. การฉีดวัคซีนภูมิแพ้ (allergen immunotherapy)
เป็นการรักษา โดยฉีดสารก่อภูมิแพ้ ที่คิดว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ เข้าไปในร่างกายทีละน้อย แล้วค่อยๆเพิ่มจำนวน เพื่อให้สร้างภูมิต้านทานต่อสิ่งที่แพ้ วิธีนี้จะใช้สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการมาก ไม่สามารถควบคุมอาการได้ด้วยยา หรือไม่สามารถทนผลข้างเคียงของยาได้ หรือผู้ที่มีโรคภูมิแพ้หลายชนิดร่วมด้วย
 
4. การรักษาโดยการผ่าตัด
ใช้ในผู้ป่วยบางรายที่มีอาการคัดจมูกหรือน้ำมูกไหล ซึ่งให้การรักษาโดยการใช้ยาอย่างเต็มที่แล้วไม่ดีขึ้น หรือมีโรคบางอย่างร่วมด้วย เช่น ผนังกั้นช่องจมูกคด เยื่อบุจมูกบวมมากผิดปกติ ริดสีดวงจมูก ไซนัสอักเสบ ซึ่งไม่ดีขึ้นหลังให้การรักษาด้วยยา


ข้อมูลจาก อย.  ราชวิทยาลัยโสต ศอ นาสิกแพทย์แห่งประเทศไทย
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด