ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

หัวข้อ ความสัมพันธ์ของบุคคลในครอบครัว

ฟังย้อนหลัง รายการ Happy&Healthy ขสทบ.FM.102
8 เมษายน 2560
หัวข้อ “ความสัมพันธ์ของบุคคลในครอบครัว”
โดย คุณอร กชวร นักจิตวิทยา
DJ สุชาดา สัตถาพร
DJ ธีรวดี ยิ่งมี

ถาม:ปัจจุบันความสัมพันธ์ของบุคคลในครอบครัวเป็นอย่างไรบ้างค่ะ ?
ตอบ:แบ่งตามมุมมอง


1.มองในภาพรวมแล้วจากสื่อทีวีที่ดูตอนเช้าและสื่อออนไลน์ต่าง ๆ แล้วพบว่าจากอดีตกับปัจจุบันไม่ได้แตกต่างกันเลย

2.ถ้ามองในมุมวิชาการ จากงานวิจัยแล้วของสาธารณสุขของปี 2557 คนไทยมีอัตราการฆ่าตัวตายสูงอันดับ 3 ของโลก ปัญหาหลักคือ ความสัมพันธ์ในครอบครัว ซึ่งครอบครัวเป็นหน่วยสังคมที่เล็กที่สุด แต่เป็นหน่วยแรกที่สุด ที่สำคัญที่สุด และจากปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ ที่เราเจอความยอมรับนับถือกันระหว่างคู่สามีภรรยา ก็ยังบอกว่าเป็นประเด็นที่คุยกันอยู่ตลอด ว่าจะปรับเข้าหากันอย่างไร หรือที่มากกว่านั้น ภารกิจของชีวิต เพราะคนที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงหลักในครอบครัวคือคนที่อยู่ในวัยทำงาน ความเครียด ภารกิจการงาน หนี้สิน หรือถ้าเราพูดถึงสังคมเมืองกับสังคมชนบท ต้องบอกว่าหลายคนพอมีลูกก็ส่งลูกไปให้คุณพ่อคุณแม่คุณตาคุณยายเลี้ยงที่ต่างจังหวัด หรือ ที่เรียกว่าส่งนอก กลายเป็นว่าเด็กเองและผู้สูงอายุเป็นวัยที่ถูกทอดทิ้งต้องพูดในมุมนี้ด้วย

จริง ๆ ต้องขอบคุณนโยบายของภาครัฐเหมือนกันที่สนับสนุนให้วันที่ 14 เมษายน เป็นวันครอบครัว นั้นหมายถึงว่าเป็นการกระตุ้นเป็นการรณรงค์ให้อย่าลืมอย่าเพลินท่องเที่ยวเพียงอย่างเดียวจนลืมกลับไปใช้ชีวิตใช้เวลาอยู่กับครอบครัวด้วย ถาม:ในฐานะที่เป็นนักจิตวิทยาที่มีคนปรึกษาพบว่าจะเกี่ยวกับเรื่องอะไรค่ะ ? ตอบ:จริง ๆ ต้องบอกว่าปัญหาไม่ได้ต่างจากในอดีต หรือจะใช้คำว่าปัญหาคลาสสิค แน่นอนค่ะ คำว่าครอบครัวเราให้ความหมายได้หลายแบบ ถ้าเราให้ความหมายแบบยืดหยุ่นที่สุด คือ การที่คนมาอยู่ด้วยกันอย่างน้อย 2 คน สัมพันธ์กันทั้งในฐานะระดับเชื้อสาย ในระดับเครือญาติ หรืออาจจะเป็นคน 2 คนมาตัดสินใจใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน เช่น คู่สามีภรรยาทั้งเพศเดียวกัน และต่างเพศ หรืออาจจะหมายถึง แต่งงานแล้วตัดสินใจมีลูก หรือไม่มีลูกอยู่ด้วยกันก็ได้ หรือซับซ้อนขึ้นไปกว่านั้น บางท่านแต่งงานแล้วและแต่งงานใหม่ ดังนั้นลูกหรือคนที่อยู่ในครอบครัวต้องใช้ชีวิตทั้งในฐานะที่อยู่กับคุณแม่ และสามีใหม่ของคุณแม่ หรือภรรยาใหม่ของคุณพ่ออย่างนี้ก็มี ดังนั้นประเด็นที่โทรมาปรึกษามีเรื่องอะไรบ้างนั้น เช่น สามีภรรยามีมุมมองและทัศนคติไม่เหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่น เมื่อก่อนผู้ชายไทยเป็นช้างเท้าหน้าทำงานเลี้ยงภรรยา พอถึงจุดหนึ่งภรรยาต้องทำหน้าที่เลี้ยงลูก ยอมเป็นช้างเท้าหลังพอลูกโต มาจุดหนึ่งก็อยากไปทำงาน อยากมีความสำเร็จของตัวเอง อยากมีหน้าที่การงานทางสังคมบ้าง ตัดสินใจกลับไปทำงานในวัยที่อายุมากขึ้น สามีเองก็ตกใจ ปกติเป็นแม่บ้านแม่เรือน อยู่ ๆ ลุกขึ้นมาทำงานนอกบ้าน และปกติเองสามีเคยมีอำนาจแทนที่จะบอกภรรยาให้ทำหรือไม่ให้ทำอะไร แต่พอวันหนึ่งภรรยาบอกไม่เอาแล้วฉันอยากจะมีชีวิตของฉันเอง ฉันไม่ได้มีคนอื่นนะ แต่ฉันอยากจะมีชีวิตของตัวเอง ดังนั้นสังคมสมัยใหม่เปลี่ยนแปลงเยอะมาก แต่ละท่านพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงด้านนอกและเข้าใจกับคนที่อยู่ด้วยกันมากน้อยขนาดไหน อีกตัวอย่างหนึ่ง เรื่องลูก ปัจจุบันเทคโนโลยีมาเร็วมาก เด็กทุกคนต้องมีมือถือ ยุคสมัยมีผลต่อธรรมชาติของคน คนรุ่นใหม่เรียกว่าเทคโนโลยีเนตีบ เกิดมาปุ๊บใช้เป็นเลย เปิดปิดเครื่อง ใช้อินเตอร์เน็ต ใช้อุปกรณ์ทุกอย่างได้ เข้าแอปปิเคชั่นที่เป็นโซเซียลเน็ตเวิร์ค รุ่นอายุเยอะหน่อยใช้คำว่า รุ่นเบบี้บูม บางท่านบอกว่ารุ่นพ่อรุ่นแม่ เขาเรียกรุ่นนี้ว่าเทคโนโลยีเอ็นดิเกรด คืออพยบมาอยู่กับเทคโนโลยี และพอจะใช้แต่ละทีมันงงไปหมดเลย ลูกลงโปรแกรมให้แล้วจะใช้ไลน์ในการโทรหาลูก หรือใช้ Facebook บางท่านรู้สึกเป็นอุปสรรค เทคโนโลยีเป็นทั้งปัจจัยเสริมเวลาที่อยู่ไกล แต่ในขณะเดียวกันเทคโนโลยีก็เป็นอุปสรรคคนที่อยู่ใกล้กัน ก็เหมือนดาบ 2 คม แต่ดังนั้นวัตถุประสงค์ในการใช้ข้อควรระวัง ในการใช้เทคโนโลยีในการอยู่ด้วยกันก็ควรระวังอย่าให้คนใกล้กลายเป็นไกล อยู่แต่ตัวหัวใจไม่อยู่ แต่ให้รู้สึกว่าคนไกลมีความสำคัญเราต้องใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ให้เป็นอุปกรณ์เป็นสื่อระหว่างกัน ดังนั้น ต้องดึงสติกันหน่อย ช่วยกันจะใช้เทคโนโลยีอย่างไรให้รู้สึกว่าคุณพ่อคุณแม่ไม่เหงา ลูกหลานให้ความสำคัญ ถาม:หลักธรรมะหรือคำสอนที่มาใช้เป็นคำสอนในครอบครัวได้ ? ตอบ:ไม่ว่าท่านจะนับถือศาสนาใดก็มีคำสอนที่ดีอยู่แล้ว แต่ในฐานะที่นับถือศาสนาพุทธ ก็พูดถึงศีล 5 เลย อย่างน้อยข้อ 3 จะซื่อสัตย์ซื่อตรงในคู่ของเราไม่นอกใจคู่ตัวเองและคู่คนอื่นด้วย เพราะหนึ่งในปัญหายอดฮิตจากหลายงานวิจัยของปัญหาในสังคมไทย คือปัญหานอกใจ ทำให้มีปัญหาของครอบครัว และนอกจากนี้แล้วในที่สุดเราต้องรักษาน้ำใจกันบางท่านบอกว่าเป็นผู้ชายไทย ไม่ถนัดหวาน ๆ ใส่ภรรยา ก็ขอให้ไม่ทำร้ายจิตใจกันก็พอ อีกข้อหนึ่งคือ ข้อ 5 เรื่องของการใช้พวกสารเสพติด การดื่มสุรา สุราเองเป็นต้นทางของการใช้ความรุนแรงในครอบครัว บางท่านบอกว่าดื่มสุราเพื่อสังสรรค์กับเพื่อน นั่นคือแน่นอนท่านดื่มกับเพื่อนนั้นคือท่านได้ละทิ้งเวลาที่จะให้กับครอบครัวไปแล้ว บางท่านดื่มสุราเยอะขาดการยับยั่งชั่งใจ ภรรยาลูกกลายเป็นเหยื่อของความรุนแรง ยกตัวอย่างน้องคนหนึ่ง ในครอบครัวพ่อเมาทีไรต้องทำร้ายคุณแม่ตลอด ดังนั้นพอพ่อทำร้ายแม่ ลูกอยากปกป้องแม่เอาตัวเข้าไปแทรก พ่อเองเวลาเมาและโกรธก็ควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ทำร้ายทั้งลูกและคุณแม่ และกรณีของลูก ไม่รู้จะทำอย่างไรให้คุณพ่อหยุด น้องเลยตัดสินใจใช้อาวุธแทงคุณพ่อครั้งเดียวตัดขั่วหัวใจทำให้คุณพ่อเสียชีวิต น้องเองชีวิตเปลี่ยนไปตลอดกาล คุณแม่เองก็ชีวิตเปลี่ยนไปตลอดกาล แต่คุณพ่อเองที่ไม่สามารถได้เปลี่ยนตัวเองไปตลอดกาล ดังนั้นอย่างน้อยที่สุดจึงอยากชวนให้ถือศีล 2 ข้อนี้ถือไว้ให้ได้
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด