ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

อัลไซเมอร์ Alzheimers Disease

โรคที่เป็นสาเหตุของภาวะสมองเสื่อมชนิดที่พบได้มากที่สุด เริ่มจากการหลงลืมที่ไม่รุนแรง จนแย่ลงเรื่อย ๆ ถึงขั้นไม่มีการตอบสนองต่อสิ่งรอบข้าง ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างร้ายแรง จากการศึกษาผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการตั้งแต่อายุ 40-65 ปี

โรคที่เป็นสาเหตุของภาวะสมองเสื่อมชนิดที่พบได้มากที่สุด เริ่มจากการหลงลืมที่ไม่รุนแรง จนแย่ลงเรื่อย ๆ ถึงขั้นไม่มีการตอบสนองต่อสิ่งรอบข้าง ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างร้ายแรง จากการศึกษาผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการตั้งแต่อายุ 40-65 ปี
 
ปัจจุบันมีผู้ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ประมาณ 600,000 คน และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
 
ไขข้อข้องใจภาวะสมองเสื่อม กับ โรคอัลไซเมอร์
 
ภาวะสมองเสื่อม คือ กลุ่มอาการที่เกิดจากระบบการทำงานของสมองที่เสื่อมลงหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านความคิด ความทรงจำ การใช้ภาษา การใช้เหตุผล การตัดสินใจ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ พฤติกรรมและบุคลิกภาพ 
 
โรคอัลไซเมอร์ คือ หนึ่งในโรคสมองเสื่อมที่พบได้บ่อยที่สุด ที่เกิดจากความเสื่อมจากโปรตีนชนิดหนึ่งที่เรียกว่า เบต้า-อะไมลอยด์ (Beta-amyloid) ชนิดไม่ละลายน้ำซึ่งเมื่อไปจับกับเซลล์สมองจะส่งผลให้เซลล์สมองเสื่อมและฝ่อลงในที่สุด  จะกระทบกับสมองส่วนความคิดความเข้าใจ ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับความคิด ความจำ ภาษา ทำให้กระทบต่อความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก จนในที่สุดจะช่วยเหลือตนเองไม่ได้จึงต้องมีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด

10 อาการอัลไซเมอร์ที่ต้องสังเกต
1. หลงลืมบ่อย ๆ จนน่าเป็นห่วง    
2. พูดซ้ำๆ ถามซ้ำๆ อยู่บ่อยๆ จำชื่อคนรู้จักไม่ได้
3. เดินเซรู้สึกเหมือนบ้านหมุน
4. บวกเลขง่ายๆ ไม่ได้
5. นึกถึงสิ่งที่ได้ทำไปแล้วไม่ออก    
6. มีปัญหาการจำทิศทาง หลงทางในสถานที่ที่เราคุ้นเคย
7. แต่งตัวไม่ถูกกาลเทศะ หรือปล่อยเนื้อปล่อยตัวไม่สนใจทำความสะอาด    
8. เก็บข้าวของผิดที่ผิดทางอย่างไม่เหมาะสม เช่น เอารองเท้าเก็บในตู้เย็น    
9. อารมณ์แปรปรวนอย่างไม่มีเหตุผล    
10. บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว    
11. เฉื่อยชา ขาดชีวิตชีวา


ดูแลสมองของคุณวันนี้ แม้ภาวะสมองเสื่อมบางชนิดไม่อาจป้องกันได้
แต่การดูแลที่ดีอาจช่วยให้สุขภาพสมองของคุณดีกว่า ในระยะยาว ด้วยการ
 
• ควบคุมน้ำหนัก เพราะความอ้วนสัมพันธ์กับโรคเรื้อรังหลายชนิดที่เป็นสาเหตุของโรคสมองเสื่อม
• เลือกรับประทานอาหารเพื่อบำรุงสมอง อาทิ กรดโอเมก้า 3 ในรูปดีเอชเอที่ช่วยปกป้องกรดไขมันที่หุ้มเซลล์ประสาท
• นอนหลับพักผ่อนอย่างน้อย 7-8 ชั่วโมงต่อวัน
• มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นอยู่เสมอ
• ลองฝึกเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เช่น รับประทานอาหารด้วยมือซ้าย 
• ออกกำลังกายวันละประมาณ 30 นาที อย่างน้อย 4 วันต่อสัปดาห์
 

คำแนะนำสำหรับการให้การดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม
- ผู้ดูแลต้องทำความเข้าใจและยอมรับกับภาวะสมองเสื่อมของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ เนื่องจากผู้ป่วยจะมีปัญหาเรื่องความจำ และการใช้ความคิดด้านต่าง ๆ ตลอดจนการสูญเสียความสามารถในการแก้ไขปัญหาหรือการควบคุมตนเองของผู้ป่วย จนทำให้ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองในการดำเนินชีวิตประจำวันได้ และที่สำคัญต้องเข้าใจว่าอาการเหล่านั้นเกิดขึ้นสืบเนื่องจากโรคที่ผู้ป่วยเป็นไม่ใช่แกล้งทำ
 
- ผู้ดูแลต้องให้ความรักและความเข้าใจ สามารถช่วยเหลือด้านจิตใจของผู้ป่วยได้ โดยการให้กำลังใจแก่ผู้ป่วย รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือในการทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร การขับถ่ายอย่างถูกสุขอนามัย การอาบน้ำ สวมใส่เสื้อผ้า รวมไปถึงการดูแลผู้ป่วยเมื่อจำเป็นต้องออกนอกบ้านเพื่อไม่ให้เกิดการพลัดหลงกัน


บทความสุขภาพ โดย
โรงพยาบาลเกษมราษฏร์ อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศร์
60 หมู่ 6 ถนนตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี
ต.เสาธงหิน อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี 11140
เบอร์โทร 0-2594-0020-65
Call Center 1218
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด