ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

รู้จักไวรัสโควิด 3 สายพันธุ์ที่เป็นไวรัสกลายพันธุ์

รู้จักไวรัสโควิด 3 สายพันธุ์ที่เป็นไวรัสกลายพันธุ์ HealthServ.net
รู้จักไวรัสโควิด 3 สายพันธุ์ที่เป็นไวรัสกลายพันธุ์ ThumbMobile HealthServ.net

รู้จักไวรัสโควิด 3 สายพันธุ์ที่เป็นไวรัสกลายพันธุ์

รู้จักไวรัสโควิด 3 สายพันธุ์ที่เป็นไวรัสกลายพันธุ์ HealthServ
มีรายงานตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2564 เกี่ยวกับคำแนะนำในการต้องเฝ้าระวัง 3 สายพันธุ์ที่ กลายเป็นไวรัสกลายพันธุ์ ประกอบด้วย
 
1. สายพันธุ์ B.1.1.7(GR,G) 
ประเทศที่พบครั้งแรกในอังกฤษ
เมื่อเดือนกันยายน 2563 ส่วนใหญ่อยู่ในอังกฤษ มีการกระจายไปในประเทศอเมริกา และประเทศอื่นๆในยุโรปแล้ว โดยตำแหน่งที่กลายพันธุ์เป็นตำแหน่งพิเศษ อยู่บนผิวไวรัส ทำให้ไวรัสมีคุณสมบัติจับผิวเซลล์มนุษย์ได้ดีขึ้น อีกทั้ง ในห้องทดลอง พบว่าไวรัสมีประสิทธิภาพในการแบ่งตัวดีขึ้น เพราะฉะนั้น ไวรัสในโพรงจมูกก็จะมาก ติดเชื้อง่าย นอกจานี้ ปัจจุบันมีหลักฐานจากรพ.อังกฤษหลายแห่งเห็นว่าสายพันธุ์นี้สัมพันธ์กับอัตราการป่วยและเสียชีวิตมากกว่าเดิมเล็กน้อย
 
2.สายพันธุ์B.1.351(GH,G)
ประเทศที่พบครั้งแรกที่ประเทศแอฟริกาใต้
เมื่อเดือนตุลาคม 2563 ทำให้ไวรัสจับตัวเซลล์ได้ดีขึ้น ติดเชื้อง่ายขึ้น อาจจะสามารถหนีภูมุคุ้มกันได้ดีขึ้น อาจจะมีผลต่อประสิทธิภาพวัคซีนลดลง เพราะเป็นวัคซีนที่พัฒนาโดยใช้สายพันธุ์ดั้งเดิม ซึ่งมีหลายประเทศมีการทดสอบวัคซีน พบว่าประสิทธิภาพวัคซีนลดลงเมื่อมีผู้ติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์นี้ ซึ่งปัจจุบันพบสายพันธุ์นี้ในหลายประเทศของทวีปแอฟริกาใต้
 
3.สายพันธุ์P.1(GR)
ประเทศที่พบครั้งแรกคือประเทศบราซิล
เมื่อธันวาคม 2563 โดยพบว่าพลาสมาหรือระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์จับกับไวรัสเหล่านี้ได้น้อยลงจริงๆ เมื่อเทียบกับไวรัสสายพันธุ์ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งเหล่านี้

“ความน่ากลัวของสายพันธุ์แอฟริกาใต้นี้ คือ มีผลต่อการตอบสนองของวัคซีนได้ลดลง แต่ไม่ใช่ประสิทธิภาพของวัคซีนจะป้องกันไม่ได้เลย ยังสามารถรป้องกันความรุนแรงของโรคได้ในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ก็ต้องมีการพัฒนาวัคซีนปรับปรุงวัคซีนทุกๆ1 -2 ปี ลักษณะเดียวกับการทำวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ส่วนเรื่องความรุนแรงของสายพันธุ์นี้ยังไม่มีข้อมูลว่าจะรุนแรงมากกว่าสายพันธุ์อื่น ก็ต้องติดตาม แง่ของการรักษาไม่แตกต่าง ยังไม่มีข้อมูลที่บอกว่าสายพันธุ์ใดต้องใช้การรักษามากกว่าสายพันธุ์อื่นๆ ทั้งนี้ ในการถอดรหัสพันธุกรรมของเชื้อสายพันธุ์แอฟริกาใต้ใช้เวลา 3 วัน แต่กำลังเตรียมเปลี่ยนวิธีการตรวจให้เร็วขึ้นใช้เวลา 1 วัน โดยตรวจเฉพาะจุดที่พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงพบ่อยไม่ตรวจทั้งสายพันธุกรรม ” ผศ.นพ.โอภาส พุทธเจริญ หัวหน้าศูนย์โรคอุบัติใหม่ทางคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าว 

Hfocus
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด