ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

กัญชาทางการแพทย์

กัญชาทางการแพทย์ HealthServ.net

ความหมายของกัญชาทางการแพทย์ ตามนิยามโดยกรมการแพทย์ หมายถึง สิ่งที่ได้จากสารสกัดพืชกัญชา เพื่อนำสารสกัดที่ได้มาใช้ทางการแพทย์และการวิจัย ไม่ได้หมายรวมถึงกัญชาที่ยังคงมีสภาพเป็นพืช หรือส่วนประกอบใดๆ ของพืชกัญชา อาทิ ยอดดอก ใบ ลำต้น ราก เป็นต้น

กัญชาทางการแพทย์ ThumbMobile HealthServ.net
กัญชาทางการแพทย์ ตามนิยามโดยกรมการแพทย์ หมายถึง สิ่งที่ได้จากสารสกัดพืชกัญชา เพื่อนำสารสกัดที่ได้มาใช้ทางการแพทย์และการวิจัย ไม่ได้หมายรวมถึงกัญชาที่ยังคงมีสภาพเป็นพืช หรือส่วนประกอบใดๆ ของพืชกัญชา อาทิ ยอดดอก ใบ ลำต้น ราก เป็นต้น
 
ผลิตภัณฑ์กัญชา หมายถึง รูปแบบ หรือลักษณะของสารสกัดจากกัญชาที่ผ่านการเตรียมเพื่อนำมาใช้ทางการแพทย์กับผู้ป่วย อาทิ เม็ด สเปรย์พ่นในช่องปาก น้ำมันหยดใต้ลิ้น แท่งเหน็บทวารหนัก และทางอื่นๆ 
 
Unapproved products หมายถึง ผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์ที่ยังไม่ผ่านการขึ้นทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
 

กัญชาทางการแพทย์

 
กัญชาทางการแพทย์ มีการอธิบาย ให้ความหมาย รายละเอียด ขอบเขต ไว้โดยผู้เชี่ยวชาญหลายท่าน จึงขออนุญาตนำข้อเขียนเหล่านั้น มาบันทึกไว้ ณ ที่นี้ เพื่อประโยชน์ในการศึกษา 

ความเป็นมาของกัญชาทางการแพทย์ - นพ.ชลทิศ อุไรฤกษ์กุล LINK

กรมการแพทย์ได้จัดทำคู่มือ คำแนะนำในการใช้กัญชามาใช้ในทางการแพทย์ (Guidance for Canabis for Medical Use)  และแพทย์ที่สามารถจะใช้กัญชาเพื่อการรักษาได้ จะต้องเป็นแพทย์ที่ผ่านการอบรมและมีคุณสมบัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ไม่ใช่แพทย์ทุกรายที่จะสามารถจะใช้กัญชาเพื่อการรักษาได้


คู่มือในข้อ 4 กำหนด โรคหรือภาวะที่มีช้อมูลเชิงประจักษ์ 4 โรคว่าการใช้กัญชาเพื่อการรักษามีประสิทธิผล และควรนำกัญชามาใช้ในกรณีที่รักษาด้วยวิธีการเดิมแล้วไม่ได้ผล (second choice) ไม่ใช่เลือกกัญชาเป็นลำดับแรก (First Choice) และต้องได้รับความยินยอมจากผู้ป่วย ได้แก่
  1. ภาวะคลื่นไส้อาเจียนจากเคมีบำบัด (Chemotherapy induced nausea vomitting)
  2. โรคลมชักที่รักษายาก หรือโรคลมชักที่ดื้อต่อการรักษา (Intractable Epilepsy)
  3. ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง (spasticity) ในผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple Sclerosis)
  4. ภาวะปวดประสาท (Neurotic pain)


คู่มือในข้อ 4 กำหนดว่า ผลิตภัณฑ์กัญชาน่าจะได้ประโยชน์ (มีข้อมูลการศึกษาจำกัด ซึ่งต้องได้รับการศึกษาวิจัยถึงประสิทธิผลอย่างมีหลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อสนับสนุนต่อไป) ในการควบคุมอาการ แต่ไม่ได้รักษาให้โรคหายขาด อีก 6 โรค/ภาวะ ได้แก่
  1. ผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง (Paliative Care)
  2. ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย (End stage cancer)
  3. โรคพาร์กินสัน
  4. โรคอัลไซเมอร์
  5. โรควิตกกังวลทั่วไป (Generalized Anxiety Disorder)
  6. โรคปลอกประสาทอักเสบ (Demyelinated Diseases) อื่นๆ อาทิ Neuromyelitis optica และ Auto immune encephalitis 

แถลงการณ์ของราชวิทยาลัย ต่างๆ

แถลงการณ์ของราชวิทยาลัย ต่างๆ
 
  1. ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ ฯ ได้ออกแถลงการณ์ สรุปได้ว่า ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย จึงมีมติว่ายังไมส่มควรนํากัญชาและสารสกัดจากกัญชาใดๆ มารักษาโรคในผ้ปู่วยเด็กและวยัรุ่น จนกว่าจะมีข้อมลูการศึกษาวิจัยที่มากพอ ยืนยันถึงประสิทธิภาพและความ ปลอดภัยของการใช้สารสกัดกัญชารักษาในเด็กรวมทั้งมีประกาศในแนวทางการรักษาผ้ปู่วย แถลงการณ์ จุดยืนของราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย เรื่องการใช้กัญชาทางการแพทย์ในเด็กและวัยรุ่น
  2. ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย สรุปว่า การศึกษาผลของกัญชาในโรคต้อหิน ได้แสดงให้เห็นผลประโยชน์ต่อความดันลูกตา เพียงในระยะสั้น (ชั่วโมง) ชี้ให้เห็นศักยภาพที่จำกัด สำหรับ cannabinoids ในการรักษาโรคต้อหิน” นอกจากนี้ กรรมการราชวิทยาลัย เห็นว่า รูปแบบ ขนาดและความเข้มข้นที่พอเหมาะ ของสารสกัดจากกัญชา ยังไม่เคยมีการวิจัยรองรับ ทางชมรมต้อหิน ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ยินดีที่จะทำวิจัยเรื่องนี้ ในอนาคตอันใกล ความเห็นทางวิชาการเกี่ยวกับการใช้กัญชาทางการแพทย์ (จักษุ)
  3. ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทยข้อมูลทางการแพทย์ (Evidence Base) ที่เกี่ยวกับกัญชาทางการแพทย์ สรุปได้ว่า การใช้สารสกัดจากกัญชาในผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพจิตยังมีข้อจำกัดในด้านประโยชน์สำหรับผู้ป่วยโรคจิต โรคอารมณ์ผิดปกติทั้งโรคซึมเศร้า (Depressive Disorder) และอารมณ์แมเนีย (Mania) กลุ่มโรควิตกกังวล (Anxiety Disorder) และปัญหานอนไม่หลับ (insomnia) กลุ่มเหล่านี้มีความเสี่ยงสูง และมักแสวงหาความสุขช่วงสั้น (getting High) จากการใช้กัญชา และเกิดผลเสียจากการใช้ เช่่นอารมณ์โรคจิต และอาการมาเนียกำเริบ หรือเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย อีกทั้งเสี่ยงต่อการเสพติดสารเสพติด อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังขาดข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ดีพอในการนำกัญชามาใช้ในทางการแพทย์ในโรคทางจิตเวช จึงเห็นสมควรให้การสนับสนุนในการทำวิจัยในเรื่องนี้ตามระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์ต่อไป และในโรคที่มียารักษาได้ผลดีอยู่แล้ว ไม่สนับสนุนการเปลี่ยนมาใช้กัญชาในการรักษา ข้อมูลทางการแพทย์ (Evidence Base) ที่เกี่ยวกับกัญชาทางการแพทย์ 

การใช้กัญชาในทางการแพทย์ - ศ.นพ.ธีรวัฒน์ เหมะจุฑา

ศ.นพ.ธีรวัฒน์ เหมะจุฑา เป็นอาจารย์ที่สนับสนุนการนำกัญชามาใช้ในทางการแพทย์ จึงนำผลสรุปที่อาจารย์บรรยายในงานมติชน Health Care 2562 ดังนี้
 
  1. กัญชาสามารถรักษาได้ โดยไทยมีตำรับยาที่มีส่วนผสมกัญชามาตั้งแต่โบราณ ขณะที่ทางวิทยาศาสตร์พิสูจน์ได้ว่าร่างกายมนุษย์ยังมีสารสำคัญ ที่มีอยู่ในกัญชา
  2. กัญชามีสาร 2 ตัว คือ สารที่ทำให้เมาคือ THC และสารที่ไม่เมาคือ CBD
  3. มีความพยายามที่จะสกัดสารจากัญชาเพื่อรักษาโรค ซึ่งบางคนใช้แล้วหาย บางคนใช้แล้วไม่หาย บางคนหายภายหลังใช้ 10 วัน จากประสบการณ์การรักษา พบว่าผู้ป่วยหลายรายมีอาการดีขึ้นภายหลังใช้กัญชาเพื่อการรักษา
  4. ระหว่างที่สารสกัดกัญชาถูกกฎหมายยังไม่มี ปัจจุบันกรมการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกอยู่ระหว่างปรุงยาตำรับไทยที่มีส่วนผสมกัญชา ซึ่งอีก 3-4 เดือนข้างหน้า (ปลายปี 2562) แพทย์ที่ผ่านการอบรมจะสามารถนำกัญชามาใช้ทางการแพทย์ได้  (กรมการแพทย์ได้ออกแนวทางในการใช้กัญชาทางการแพทย์ )
  5. วิธีการใช้ ตอนเริ่มต้นให้ใช้แต่น้อยก่อน แล้วค่อยปรับการใช้ ซึ่งธรรมชาติของกัญชา หากใช้แบบดูดจะออกฤทธิ์เร็ว ทำให้ปริมาณดูดซึมไม่คงที่  หอกใช้หยอดซอกฟันจะออกฤทธิ์ภายใน 4-8 ชั่วโมง ถ้าหยอดใต้ลิ้น จะออกฤทธิ์ภายใน 1-4 ชั่วโมง แต่ทุกวันนี้ส่วนใหญ่ใช้กิน  ซึ่งไม่ออกฤทธิ์ทันที ทำให้ผู้ป่วยหยดอีก ทำให้ขนาดเกิน จึงเกิดอาการเมากัญชา ได้แก่ เวียนหัว คลื่นไส้ อาเจียน ความดันโลหิตตก
  6. การใช้กัญชาเพื่อการรักษานั้น ต้องใช้ควบคู่กับการรักษาแผนปัจจุบัน ห้ามใช้กัญชาเดี่ยวๆ กัญชาสามารถรักษาหรือชลออาการได้ 7 ชนิดได้แก่ 1.ภาวะแข็งเกร็ง 2.เบื่ออาหาร 2.ทานอาหารไม่ได้  4.ภาวะโรคเคมีบำบัด  5. พาร์กินสัน 6.สมองเสื่อม  7.ภาวะคล้ายสมองเสื่อม  และบางอาการเช่น  ผมร่วง โรคสะเก็ดเงิน อัลไซเมอร์
  7. การใช้กัญชา ต้องมีความรู้ ว่าใช้อย่างไร ต้องใช้ให้ถูกวิธี และต้องมีวิธีการควบคุมไม่ให้ใช้ผิดประเภท โดยต้องไม่ท้ิงยาแผนปัจจุบัน และไม่ใช้ทุกคนจะได้ผลดีจากกัญชาเหมือนกันหมด
  8. การใช้กัญชาทำให้เกิดโรคจิตหรือเป็นบ้าหรือไม่ การศึกษาในปี 2018 พบว่า พบในกลุ่มที่เป็นบ้าก่อนที่จะรักษา คือ เสพกัญชาเพื่อให้เมา จากนั้นเพิ่มปริมาณการสูบ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเนื้อสมอง จึงเกิดอาการทางจิต โดยเฉพาะคนที่ติดจะมีรหัสพันธุกรรมจำเพาะ จึงไม่สนับสนุนในการสูบเพื่อเมา เพราะจะทำให้เกิดการติดและตามมาด้วยโรคทางจิตเวช  การจะใช้กัญชาเพื่อรักษาจึงต้องรู้ข้อจำกัด ถึงจะเกิดประโยชน์เต็มที่จากกัญชา 

กัญชาทางการแพทย์ - พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา LINK

          กัญชาเป็นพืชที่มีผลออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท และใช้เป็นยารักษาโรคมาตั้งแต่ยุคโบราณหลายพันปีมาแล้วก่อนการเกิดศาสนา ซึ่งมีหลักฐานทางโบราณคดีที่เชื่อว่ามนุษย์ในสมัยนั้นใช้กัญชาเพื่อเหตุผลทางจิตวิญญาณ จากการขุดค้นพบโครงกระดูกมนุษย์อายุราว 10,000 ปี สันนิษฐานว่ามนุษย์ในยุคนั้นใช้กัญชาเผาไฟที่ด้านในสุดของถ้ำ เพื่อสูดดมควันจากการเผาไหม้ของกัญชา นอกจากนั้นยังมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่บ่งชี้ว่ามีการใช้กัญชาเพื่อประโยชน์ในทางการแพทย์ ทั้งจากประเทศอังกฤษที่มีหนังสือกล่าวถึงการใช้กัญชาในการรักษาโรคซึมเศร้า รักษาอาการปวดประจำเดือน
 
          ในปี พ.ศ. 2517 มีรายงานจากรัฐเวอร์จีเนีย สหรัฐอเมริกา ว่าในกัญชาที่มีการแปรรูปแบบความเข้มข้นสูงจะโจมตีเซลล์มะเร็งในร่างกายและยังคงรักษาเซลล์ที่ดีไว้ โดยทีมวิจัยสรุปว่ามันอาจเป็นการรักษาที่ถูกต้องสำหรับมะเร็ง เพราะมันทำงานได้อย่างรวดเร็วและทำงานได้เป็นอย่างดี
 
 
การใช้ยาตามตำรับยาการแพทย์แผนไทย
 
          สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ได้เผยแพร่ข้อมูลตำรับยาในทางการแพทย์แผนไทย 16 ตำรับ ตัวอย่างเช่น
 
  1. ตำรับยาศุขไสยาสน์ มีที่มาจากคัมภีร์ธาตุพระนารายณ์ ทั้งนี้พระนารายณ์มหาราชเป็นกษัตริย์ลำดับที่ 27 ในสมัยกรุงศรีอยุธยา
    ข้อบ่งใช้ ช่วยให้นอนหลับ เจริญอาหาร ฟื้นฟูกำลังผู้ป่วยเรื้อรัง
    ข้อห้ามใช้ ห้ามใช้ในสตรีมีครรภ์ ผู้ที่ไข้สูง
  2. ยาน้ำมันสนั่นไตรภพ มีที่มาจากตำรายาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
    ข้อบ่งใช้ แก้กษัยเหล็ก ลดอาการแทรกซ้อนในผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ มะเร็งมดลูก มะเร็งตับในระยะเริ่มต้น
    ข้อห้ามใช้ ห้ามใช้ในผู้ป่วยโรคตับระยะสุดท้ายที่มีภาวะเส้นเลือดแตกเป็นใยแมงมุม ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีตับวาย ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่ใช้ยาละลายลิ่มเลือด
 
          และยังมียาตามตำรับการแพทย์แผนไทยอีก 14 ตำรับที่กรมแพทย์แผนไทยได้รับรองตามตำรับเดิมของคัมภีร์แพทย์แผนไทยโบราณของขุนโสภิตบรรณลักษณ์ ตำรายาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์พระยาพิศณุประสาทเวช ร.ศ. 128 ตำรับยาอายุรเวทศึกษา (ขุนนิทเทสสุขกิจ ตำรับยาเวชศาสตร์วัณ์ณณา ตำรับยาคัมภีร์ธาตุพระนารายณ์)         
 
 

เภสัชวิทยาคลินิกของกัญชาทางการแพทย์ (Clinical pharmacology of medical cannabis)

 
          กัญชาประกอบด้วยสารอย่างต่ำ 60 ชนิด ส่วนสำคัญที่รู้จักกันดีก็คือ cannabinoids ซึ่งเป็น active component ของกัญชา ได้แก่ delta-9 tetrahydrocannabinol (THC) ซึ่งออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ทำให้เกิดการเสพติด
 
          ส่วนสารอีกประเภทหนึ่งคือ cannabidiol (CBD) นั้นไม่ทำให้เสพติด และมีรายงานการศึกษาว่ามีฤทธิ์ต้านการอักเสบ มีฤทธิ์ปกป้องการเสื่อมของเซลล์ประสาท และต้านการชัก
 
          การศึกษาในห้องปฏิบัติการและการทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพกับสัตว์ทดลองพบว่า THC และ CBD แสดงฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งช่องปาก มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก  (Sledzinski, 2018) นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ (anti-inflammatory Hasenoehr, 2017) และฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย (Appendino, 2008)
 
 

การใช้ประโยชน์ทางยาของกัญชา

 
          Nabizmols หรือชื่อทางการค้าว่า Sativex คือสารสกัดของ THC และ CBD ในอัตราส่วน 1:1 ใช้รักษาอาการปวดของเส้นประสาท (neuropathic pain), ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง (spasticity), ภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน (overactive bladder; OAB), รักษาอาการอาเจียน (antiemetic effect) และโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (multiple sclerosis; MS) (Deiana, 2018)
 
          มีการใช้กัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ในหลายประเทศ และหลายรูปแบบ ได้แก่ การสูบ การใช้สารสกัดกัญชาหยอดใต้ลิ้น การรักษาโรคทางผิวหนังก็ใช้การทา ในการรักษาริดสีดวงหรือมะเร็งปากมดลูกก็ใช้การเหน็บทางทวารหรือช่องคลอด
 

 

 
ในปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขได้รับรองการรักษาผู้ป่วยโดยการแพทย์แผนปัจจุบัน โดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่พิสูจน์แล้วว่าอาการหรือโรคที่รักษาแล้วได้ผลดีคือ
  1.  Nausea and vomiting from chemotherapy อาการคลื่นไส้อาเจียนจากเคมีบำบัด
  2. Epilepsy ลมชักรักษายาก
  3. Multiple sclerosis อาการเกร็งจากปลอกหุ้มประสาทอักเสบ
  4. Neuropathic painปวดระบบประสาท
 
ส่วนการรักษาที่น่าจะได้ประโยชน์ คือ
  1.  พาร์กินสัน (Parkinson)
  2. อัลไซเมอร์ (Alzheimer)
  3. ปลอกประสาทอักเสบ (Multiple sclerosis)
  4. โรควิตกกังวล (Anxiety disorder)
  5. มะเร็งระยะสุดท้าย (Cancer, end stage)
  6. โรคอื่น ๆ ระยะสุดท้าย (Severe diseases, end stage)
 
          ส่วนการรักษาที่ต้องการการวิจัยเพิ่มคือ โรคมะเร็ง
 
          ในปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขโดยกรมการแพทย์แผนไทยได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.)150 แห่งปลูกกัญชาทางการแพทย์ ร่วมกับวิสาหกิจชุมชน ปลูกกัญชาตำบลละ 50 ต้น เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ในแต่ละชุมชน
 
  สรุป การใช้กัญชาในทางการแพทย์ของไทยยังมีช่องทางที่จะพัฒนาต่อยอดได้อีกมาก เพื่อจะได้มีการวิเคราะห์/วิจัยเพิ่มเติมในสารอื่น ๆ ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของกัญชา และการสกัดสารที่มีสรรพคุณทางยาเพื่อนำไปวิจัยในการนำไปใช้เพื่อผลการรักษาในทางการแพทย์ หรือที่มีผลต่อสรีรวิทยา หรือการรักษาโรคหรือสภาวะต่าง ๆของร่างกาย เพื่อขยายความครอบคลุมและสรรพคุณในการใช้กัญชาทางการแพทย์ได้มากขึ้น เพื่อนำไปใช้ในการรักษาโรคที่ยังไม่มีผลการวิจัยมายืนยันการรักษา เพราะยังสามารถทำการศึกษาวิจัยในการสกัดสารสำคัญต่าง ๆ อีกหลายชนิดของกัญชาว่าจะมีผลต่อการรักษาโรคอะไรได้อย่างมีประสิทธิผลมากขึ้น และอาจนำมาใช้แทนยาทางเคมีในปัจจุบันได้อีกด้วย ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนในการสั่งยาจากต่างประเทศ และอาจลดภาระค่ารักษาพยาบาลของผู้ป่วย ได้ในอนาคต
 
 
[wongkarnpat.com

ผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์อาจได้ประโยชน์ (ในอนาคต) LINK

ผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์อาจได้ประโยชน์ (ในอนาคต) กัญชาทางการแพทย์
ผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์อาจได้ประโยชน์ (ในอนาคต) กัญชาทางการแพทย์
ผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์อาจได้ประโยชน์ (ในอนาคต) การใช้กัญชารักษาโรคมะเร็ง มีความจําเป็นต้องศึกษาวิจัยถึงประสิทธิผลของกัญชาในหลอดทดลองความปลอดภัยและประสิทธิผลในสัตว์ทดลอง ก่อนการศึกษาวิจัยในคนเป็นลําดับต่อไป เนื่องจากในปัจจุบันข้อมูลหลักฐานทางวิชาการที่สนับสนุนว่ากัญชามีประโยชน์ในการรักษาโรคมะเร็งชนิดต่างๆ ยังมีไม่เพียงพอ แต่สมควรได้รับการศึกษาวิเคราะห์อย่างละเอียด ดังนั้น ผู้ป่วยโรคมะเร็งจึงควรได้รับการรักษาตามวิธีมาตรฐานทางการแพทย์ในปัจจุบัน หากเลือกใช้เฉพาะผลิตภัณฑ์กัญชาในการรักษาโรคมะเร็งแล้ว อาจทําให้ผู้ป่วยเสียโอกาสในการรักษามะเร็งที่มีประสิทธิผลด้วยวิธีมาตรฐานได้

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกัญชาทางการแพทย์ โดย แพทยสภา LINK

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกัญชาทางการแพทย์ โดย แพทยสภา กัญชาทางการแพทย์
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกัญชาทางการแพทย์ โดย แพทยสภา กัญชาทางการแพทย์
คำแนะนำ การใช้กัญชาทางการแพทย์สำหรับแพทย์ ฉบับที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๒
สารสกัดกัญชาในการแพทย์ (สำหรับแพทย์)
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกัญชาทางการแพทย์ (สำหรับประชาชน)
ประกาศแพทยสภาที่ ๕๓ /๒๕๖๕ เรื่อง ไม่ใช้กัญชาในทางที่ผิด New
ประกาศแพทยสภาที่ เรื่อง ไม่ใช้กัญชาในทางที่ผิด (Infographic) New
 คำแนะนำการใช้กัญชาทางการแพทย์
ที่มา: กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2/2562 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด