ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ความเสี่ยงการท้องตอนอายุมากๆ

ความเสี่ยงการท้องตอนอายุมากๆ HealthServ.net

เมื่ออายุมากขึ้นเซลล์ไข่ของผู้หญิงจะมีโอกาสเสื่อมสภาพลง (Programmed Cell Dead) หรือค่อย ๆ ฝ่อตัวลงไปตามอายุที่มากขึ้น ทำให้จำนวนไข่ หรือคุณภาพของไข่ที่ออกมาลดลง ส่งผลให้มีโอกาสเกิดการปฏิสนธิกับอสุจิได้น้อยลงตามไปด้วย และหากมีการปฏิสนธิเกิดขึ้น ตัวอ่อนที่เกิดจากการปฏิสนธินั้นอาจเสี่ยงต่อการแบ่งเซลล์ที่ผิดปกติ ตัวอ่อนอาจไม่ฝังตัวเพิ่มโอกาสแท้งลูกสูง รวมถึงอาจมีความเสี่ยงเรื่องโรคแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ต่าง ๆ เช่น เบาหวาน คลอดก่อนกำหนด และครรภ์เป็นพิษ เป็นต้น

ความเสี่ยงการท้องตอนอายุมากๆ ThumbMobile HealthServ.net
ปัจจุบันหนุ่มสาวยุคใหม่มีแนวโน้มแต่งงานช้า หรือแต่งงานตอนมีอายุมากขึ้น ทำให้ปัญหาที่ตามมาคือการมีลูกตอนอายุมาก อาจส่งผลให้มีบุตรยาก หรือมีปัญหาด้านอื่นๆ ซึ่งหากตั้งครรภ์ตอนอายุมากแล้วควรปฏิบัติตัวอย่างไรจึงจะปลอดภัย
 
มีลูกตอนอายุมากเสี่ยงแค่ไหน
เมื่ออายุมากขึ้นเซลล์ไข่ของผู้หญิงจะมีโอกาสเสื่อมสภาพลง (Programmed Cell Dead) หรือค่อย ๆ ฝ่อตัวลงไปตามอายุที่มากขึ้น ทำให้จำนวนไข่ หรือคุณภาพของไข่ที่ออกมาลดลง ส่งผลให้มีโอกาสเกิดการปฏิสนธิกับอสุจิได้น้อยลงตามไปด้วย และหากมีการปฏิสนธิเกิดขึ้น ตัวอ่อนที่เกิดจากการปฏิสนธินั้นอาจเสี่ยงต่อการแบ่งเซลล์ที่ผิดปกติ ตัวอ่อนอาจไม่ฝังตัวเพิ่มโอกาสแท้งลูกสูง รวมถึงอาจมีความเสี่ยงเรื่องโรคแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ต่าง ๆ เช่น เบาหวาน คลอดก่อนกำหนด และครรภ์เป็นพิษ เป็นต้น
 
 
โรคทางพันธุกรรมที่ไม่อาจหลีกเลี่ยง ได้แก่
ดาวน์ซินโดรม (Down syndrome) เกิดจากโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 ตัว ตัวอ่อนจึงเกิดความบกพร่องทางสติปัญญา และจะมีรูปร่างหน้าตาที่ผิดปกติ เช่น ตัวเตี้ย ศีรษะเล็ก ตาเฉียงขึ้น ดั้งจมูกแบน ใบหูเล็ก และต่ำ เป็นต้น โดยหญิงที่ตั้งครรภ์ตอนมีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไปมีโอกาสที่ลูกจะเป็นดาวน์ซินโดรมค่อนข้างมาก ( 1 ใน 350 ) หากยิ่งตั้งครรภ์อายุมากขึ้นก็จะยิ่งมีความมีความเสี่ยงสูงมากขึ้น
 
ธาลัสซีเมีย ( Thalassemia)  เป็นโรคติดต่อทางพันธุกรรมที่เกิดจากเม็ดเลือดผิดปกติ ทำให้เม็ดเลือดแดงอายุสั้น เปราะ แตก และถูกทำลายง่าย ส่งผลให้ลูกมีอาการตัวซีด ตัวเหลือง ตาเหลือง และอาจเกิดการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ
 

ภาวะแทรกซ้อนของคุณแม่และลูกน้อย
นอกจากความผิดปกติเกี่ยวกับโครโมโซมแล้วยังมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นคุณแม่และลูกน้อยได้ด้วย ดังนี้
 
- เบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ เนื่องจากในช่วงตั้งท้อง ร่างกายจะนำอินซูลินไปใช้ได้ไม่เต็มที่จึงอาจทำให้ระบบควบคุมน้ำตาลในเลือดผิดปกติจนเกิดโรคเบาหวานตามมา
 
- ครรภ์เป็นพิษ คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ตอนอายุมากจะเสี่ยงต่อการเป็นความดันโลหิตสูงร่วมกับการเกิดภาวะโปรตีนสูงในปัสสาวะ ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอาจส่งผลให้เกิดภาวะอันตรายกับคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ได้
 
- ท้องนอกมดลูก เป็นการตั้งครรภ์ผิดปกติที่ตัวอ่อนฝังตัวนอกโพรงมดลูก ตัวอ่อนจึงไม่สามารถเจริญเติบโตได้ ซึ่งอาจมีผลเสียต่อท่อนำไข่และอาจอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้
 

การเจาะน้ำคร่ำ (Amniocentesis) วิธีการตรวจความผิดปกติของทารกในครรภ์
เป็นวิธีการตรวจ โดยจะใช้เข็มขนาดเล็กเจาะเข้าไปเพื่อดูดน้ำคร่ำที่ห่อหุ้มทารก แล้วนำมาตรวจหาความผิดปกติ โดยจะสามารถตรวจโรคต่าง ๆ รวมถึงปัญหาในการตั้งครรภ์ได้ ดังนี้
 
- โรคที่เกี่ยวข้องกับโครโมโซม เช่น ดาวน์ซินโดรม , พาทัวซินโดรม (Patua syndrome = โครโมโซมคู่ที่13 เกิน )เทอเนอร์ซินโดรม (Turner syndrome = โครโมโซมเพศค่าผิดปกติ XO ),  เอ็ดเวิร์ดซินโดรม (Edward’s Syndrome = โครโมโซม คู่ที่ 18  เกิน) เป็นต้น 
- โรคทางพันธุกรรม เช่น โรคธาลัสซีเมีย เป็นต้น 
- ปัญหาในการตั้งครรภ์ สามารถตรวจดูความแข็งแรงของครรภ์ และความเสี่ยงอื่น ๆ ได้
 

ตั้งครรภ์ตอนอายุมากควรปฏิบัติตัวอย่างไรให้ปลอดภัย
- ปรึกษาแพทย์เพื่อวางแผนการตั้งครรภ์ รวมถึงเข้ารับการตรวจสุขภาพ และตรวจหาความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอประมาณ 8-10 ชั่วโมง และหาเวลางีบพักในช่วงบ่ายอย่างน้อย 1 ชั่วโมง
- หลีกเลี่ยงการทำงานหนัก หรือทำกิจกรรมที่ใช้กำลังมาก
- ลดการดื่มเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน เช่น กาแฟ หรือน้ำอัดลม
- ควรเพิ่มการรับประทานอาหารที่มีวิตามินโฟลิก เช่น ผักโขม ตับ ข้าวซ้อมมือ นม ไข่ เพราะมีส่วนช่วยต่อระบบโครงสร้างสมองของทารก และลดความพิการทางสมองได้
 
การตั้งครรภ์สำหรับผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 35 ปีนั้นเป็นช่วงที่มีความเสี่ยงจึงต้องฝากครรภ์ และหมั่นพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอเพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อแม่และลูกนั่นเอง


60 หมู่ 6 ถนนตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี
ต.เสาธงหิน อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี 11140
เบอร์โทร 0-2594-0020-65
Call Center 1218
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด