ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

Area Hotel Quarantine สถานที่กักกันตัวในรูปแบบใหม่ พร้อมมาตรการด้านสาธารณสุขรองรับ

ให้เข้ารับการกักกันใน Original Quarantine จำนวน 10 วัน และคุมไว้สังเกต (ใน Alternative State Quarantine) จำนวน 4 วัน โดยให้มีการกำกับติดตามอย่างใกล้ชิด การกักกันตัวในรูปแบบ Area Quarantine เป็นขั้นตอนเตรียมความพร้อมสำหรับการลดเวลากักกันตัวเป็น 10 วัน ในลำดับต่อไป

การกำหนดมาตรการด้านสาธารณสุขสำหรับสถานที่กักกันตัวในรูปแบบ Area Hotel  Quarantine

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี 23 พฤศจิกายน 2563 รับทราบแนวทางการกักกันตัวในรูปแบบ Area Quarantine (10 + 4 วัน) ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ดังนี้
  1. ให้เข้ารับการกักกันใน Original Quarantine จำนวน 10 วัน และคุมไว้สังเกต (ใน Alternative State Quarantine) จำนวน 4 วัน โดยให้มีการกำกับติดตามอย่างใกล้ชิด
  2. ให้ใช้เฉพาะกับบุคคลต่างชาติที่มาจากกลุ่มประเทศที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
  3. ให้เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนมกราคม 2564 เป็นต้นไป โดยกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้พิจารณากำหนดวันและเวลาเริ่มต้นตามความเหมาะสม และ
  4. การกักกันตัวในรูปแบบ Area Quarantine เป็นขั้นตอนเตรียมความพร้อมสำหรับการลดเวลากักกันตัวเป็น 10 วัน ในลำดับต่อไป
ทั้งนี้ ที่ประชุมมอบหมายให้ศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณารายละเอียดการกักกันตัวในรูปแบบ Area Quarantine และประเมินสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องให้แล้วเสร็จภายใน 6 สัปดาห์ เพื่อเสนอที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ต่อไป
 

ข้อสังเกตที่ประชุม

  1. เห็นควรให้มีการประชาสัมพันธ์เชิงรุก โดยการจัดทำข้อมูลและผลการดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) และชี้แจงทำความเข้าใจกับภาคเอกชนและทูตต่างประเทศในเรื่องมาตรการผ่อนคลายต่าง ๆ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ภาคเอกชนจากต่างประเทศเข้ามาลงทุนในประเทศไทยให้มากขึ้น
  2. เห็นควรพิจารณาให้ใช้การกักกันตัวในรูปแบบ Area Quarantine (10 + 4 วัน) กับคนไทยที่เดินทางมาจากต่างประเทศด้วย

10 จังหวัดที่มีความพร้อม

จังหวัดทีมีความพร้อมในการดำเนินการเรื่อง Area Hotel Quarantine นั้น จากการสำรวจตามการประเมินความพร้อมในการบริหารจัดการโรคโควิด-19 ใน 3 ด้าน คือ ด้านการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค ด้านรักษาพยาบาล และด้านเศรษฐกิจ สังคมและการมีส่วนร่วมของเครือข่าย พบว่า มี 10 จังหวัดที่ได้คะแนนเต็ม 10 ผ่านประเมินทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ เชียงราย ปราจีนบุรี สมุทรปราการ นครพนม บุรีรัมย์ อำนาจเจริญ กระบี่ ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี และพัทลุง ส่วนจังหวัดอื่นๆ ที่ยังไม่ผ่านประเมินทั้งหมด ก็จะมีการกำหนดนโยบายสู่การปฏิบัติในพื้นที่จังหวัดเพื่อให้ผ่านประเมินต่อไป

การผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวบริเวณชายแดนเข้ารับการกักกันตัวใน Organizational Quarantine เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19

ที่ประชุมเห็นชอบในหลักการตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอให้ส่วนราชการที่รับผิดชอบจัดตั้ง Organizational Quarantine สำหรับการกักกันแรงงานต่างด้าวบริเวณชายแดนที่อยู่ในเกณฑ์ผู้เสี่ยงสูง โดยในขั้นตอนการดำเนินการให้เป็นไปตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด และให้พิจารณาการจัดสรรงบประมาณให้เป็นไปตามระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ข้อสังเกตที่ประชุม
  1. เห็นควรให้มีการตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับสำหรับการพบผู้ติดเชื้อโควิด - 19 และให้มีการควบคุมพื้นที่ (Seal Area) กรณีที่พบผู้ติดเชื้อโควิด - 19 แต่ไม่สามารถระบุได้ว่าติดมาจากที่ใด
  2. เห็นควรให้มีการส่งเสริมการท่องเที่ยวในช่วงฤดูท่องเที่ยว (High Season) โดยให้มีการจัดสถานที่สำหรับกักกัน (Quarantine) ของนักท่องเที่ยว และมาตรการรองรับอื่น ๆ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว
ข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี
  1. ให้กองบัญชาการกองทัพไทย กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการตรวจกิจกรรมและสถานประกอบการอย่างต่อเนื่องและให้มีการตรวจสอบซ้ำด้วย
  2. ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชาสัมพันธ์ ชี้แจง และทำความเข้าใจกับประชาชนให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำเนินมาตรการผ่อนคลายการบังคับใช้กฎหมาย
  3. ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องประสานทำความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติงานร่วมกัน เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยวและนักลงทุนชาวต่างชาติที่จะเดินทางเข้ามาตรวจและบริหารกิจการหรือขยายการลงทุนในประเทศ
  4. ให้ศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณามาตรการด้านสาธารณสุขสำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศที่มาเป็นกลุ่มใหญ่ โดยอาจกำหนดสถานที่และการกักกันตัว จำนวน 14 วัน เช่น บริเวณพื้นที่โรงแรมที่มีพื้นที่ชายหาด เป็นต้น ทั้งนี้ ต้องสร้างความร่วมมือและสร้างความเข้าใจกับโรงแรมและประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียงด้วย
  5. ให้ทุกหน่วยงานมอบหมายผู้แทนและแจ้งข้อมูลสำหรับการติดต่อประสานงานระหว่างหน่วยงานเพื่อความต่อเนื่องและความสะดวกรวดเร็วในการดำเนินงาน
  6. ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชาสัมพันธ์ความสำเร็จในการดำเนินการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 ของประเทศไทย โดยพิจารณาได้จากผลการจัดอันดับประเทศไทย เช่น (1) การจัดอันดับดัชนีที่แสดงถึงการฟื้นตัวของแต่ละประเทศจากสถานการณ์ของโรคโควิด - 19 (Global COVID-19 Index (GCI)” โดยประเทศไทยได้รับการจัดอันดับหนึ่งในโลกในด้านการฟื้นตัวจากการโควิด – 19 (2) รายงาน 2019 Global Health Security Index ของมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ ของสหรัฐอเมริกา จัดอันดับประเทศทั้งหมดรวม 195 ประเทศ โดยประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 6 ของโลก และอันดับ 1 ของภูมิภาคเอเชีย และได้รับการยกย่องเป็น 1 ใน 13 ประเทศที่มีความพร้อมในการรับมือกับโรคระบาดได้มากที่สุด เป็นต้น
  7. ให้ศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิดเกี่ยวกับการดำเนินมาตรการ Special Tourist Visa (STV)  โดยคำนึงถึงนโยบายและปัจจัยภายในของประเทศที่เป็นกลุ่มเป้าหมายมาประกอบการพิจารณา เพื่อให้สามารถกำหนดมาตรการที่มีประสิทธิภาพ ตรงตามวัตถุประสงค์ และไม่ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับมิตรประเทศต่อไปในอนาคต
  8. ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกันพิจารณานำนวัตกรรมหรือแอปพลิเคชันให้สามารถใช้ได้ทั้งในการติดตามตัวและตรวจสอบผู้เข้ารับการกักตัว รวมทั้งบูรณาการข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และสามารถตอบสนองข้อเสนอของประเทศเป้าหมายของมาตรการ Special Tourist Visa (STV)

สำนักโฆษก
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
23 พฤศจิกายน 2563


ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด