ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

Burn out คือหมดไฟในการทำงาน แต่ไม่ใช่โรคซึมเศร้า

Burn out คือหมดไฟในการทำงาน แต่ไม่ใช่โรคซึมเศร้า HealthServ.net

อย่าเข้าใจผิดและอย่าเอาไปผสมปนเปกัน เพราะจะทำให้ตีความผิด วินิจฉัยผิด จนนำไปสู่การแก้ไขที่ไม่ถูกต้อง แนะนำพบแพทย์เพื่อให้คำแนะนำได้ สามารถไปยังรพ. ประกันสังคมที่มีสิทธิอยู่ได้ เพราะประกันสังคมครอบคลุมบริการแพทย์ด้านจิตเวช

Burn out คือหมดไฟในการทำงาน แต่ไม่ใช่โรคซึมเศร้า ThumbMobile HealthServ.net
Burn out คือหมดไฟในการทำงาน แต่ไม่ใช่โรคซึมเศร้า HealthServ
 Burn out คือหมดไฟในการทำงาน แต่ไม่ใช่โรคซึมเศร้า
 
อย่าเข้าใจผิดและอย่าเอาไปผสมปนเปกัน เพราะจะทำให้ตีความผิด วินิจฉัยผิด จนนำไปสู่การแก้ไขที่ไม่ถูกต้อง 
 
อาการหมดไฟ หรือ Burn out คือภาวะเหนื่อยล้า หมดไฟในการทำงาน มาจากภาวะเครียดเรื้อรังในการทำงาน หมดแรงจูงใจ  มีอาการหลัก 3 ประการ  
รู้สึกสูญเสียพลังงาน มีภาวะอ่อนเพลีย เวลาทำงาน
รู้สึกต่อต้านและมองงานของตนในแง่ลบ ขาดแรงจูงใจในการทำงาน
มีปฏิสัมพันธ์ในที่ทำงานแย่ลง 
 
 
 

คนทำงานอาจเสี่ยงต่อการเกิด "ภาวะหมดไฟ"

  • ขาดอำนาจการตัดสินใจ มีปัญหาการเรียงลำดับความสำคัญของงาน
  • ไม่ได้รับการตอบแทน ที่เพียงพอต่อสิ่งที่ได้ทุ่มเทไป
  • ภาระงานหนัก ต้องทำในเวลาเร่งรีบ
  • รู้สึกไร้ตัวตน ไม่เป็นส่วนหนึ่งของทีม
  • ไม่ได้รับความยุติธรรม ขาดความเชื่อใจ
  • ระบบบริหารที่ทำงาน ขัดต่อคุณค่าและจุดมุ่งหมายในชีวิต
 
 
Burn out คือหมดไฟในการทำงาน แต่ไม่ใช่โรคซึมเศร้า HealthServ
 
 

ผลหากละเลยภาวะหมดไฟ 


หากไม่มีการจัดการภาวะหมดไปออกไป จะส่งผลกระทบ หลายด้าน อาทิ
 
ผลด้านร่างกาย
อาจพบอาการเหนื่อยล้าเรื้อรังปวดเมื่อย ปวดศีรษะ
 
ผลด้านจิตใจ
สูญเสียแรงจูงใจ หมดหวัง ส่งผลให้มีอาการของภาวะซึมเศร้าและนอนไม่หลับได้
 
ผลต่อการทำงาน
อาจขาดงานบ่อย ประสิทธิภาพการทำงานลดลง อาจคิดเรื่องลาออกในที่สุด
 
 
 

วิธีการดูแลตนเองในภาวะหมดไฟเบื้องต้น 

 
พยายามแบ่งย่อยงาน
หากงานที่ต้องทำยากและลำบากที่จะเริ่มต้น ให้ลองแบ่งย่อยเป็นส่วนๆ ที่ง่ายกว่า และให้เครดิตตัวเองในการทำให้เสร็จ
 
 
ให้ตัวเองรู้สึกบวกบ้าง
ใช้เวลาว่างเพื่อคิดเรื่องดีๆ ในชีวิต ลองพิจารณาว่าสิ่งใดที่ผ่านไปด้วยดี และพยายามเขียนสิ่งที่คุณรู้สึกขอบคุณอย่างน้อย 3 อย่างในแต่ละวัน
 
ท้าทายความคิดของคุณ
ริ่มโดยมีสติสำรวจความคิดทางลบที่เกิดขึ้นต่องานที่ทำอยู่ ตรวจสอบความเป็นไปได้ของความคิดเชิงลบ เชื่อมั่นในตนเองว่าสามารถทำได้ หรือทำได้เต็มที่แล้ว และปรับความคิดให้เป็นบวกมากขึ้น
 
 
กระฉับกระเฉงให้มากขึ้น
ความกระตือรือนสามารถช่วยเผาผลาญพลังงานลบในสมองได้ แม้จะไม่ทำให้ความเครียดของคุณหายไปในทันที แต่สามารถทำให้เครียดน้อยลงได้
 
วางแผนล่วงหน้า
เพื่อจัดการกิจกรรมตึงเครียดที่กำลังจะเกิดขึ้น เช่น รายการสิ่งที่ต้องทำ การเดินทางที่คุณต้องไป สิ่งที่คุณต้องใช้งาน
 
คุยกับใครสักคน
เช่น เพื่อนที่ไว้ได้ สมาชิกในครอบครัว เพื่อนร่วมงาน หรือติดต่อสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ก็สามารถช่วยคุณได้เช่นกัน
 


โรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้า เป็นลักษณะอาการของคนที่ มีอาการเศร้า หดหู่ เบื่อหน่ายสิ่งรอบตัว เบื่อกับสภาวะรอบข้าง เบื่อผู้คนสังคม รู้สึกเป็นทุกข์หรือทรมานกับการใช้ชีวิต หรือไปจนถึงมีความคิดไม่อยากมีชีวิตอยู่  อย่างนี้สงสัยไว้ก่อนว่าเป็นโรคซึมเศร้า แนะนำพบแพทย์โดยทันที  สามารถไปยังรพ. ประกันสังคมที่มีสิทธิอยู่ได้ เพราะประกันสังคมครอบคลุมบริการแพทย์ด้านจิตเวช 


ข้อมูลและภาพจาก กรมสุขภาพจิต
Burn out คือหมดไฟในการทำงาน แต่ไม่ใช่โรคซึมเศร้า HealthServ
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด