อย่างไรก็ดี หลังจากที่มีการประกาศร่างกฎหมายฉบับนี้ออกมา กลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ยุโรปหลายค่าย เช่น เยอรมนี และอิตาลี ได้ออกมาคัดค้านแผนการดังกล่าว โดยมองว่าแม้เทคโนโลยี EV ในปัจจุบันจะพัฒนาไปมาก แต่ก็ยังมีจุดอ่อนหลายประการ เช่น แบตเตอรี่ยังมีคุณภาพและเสถียรภาพไม่สูงพอ ข้อจำกัดด้านโครงสร้างพื้นฐานอย่างสถานีชาร์จรถไฟฟ้า รวมทั้งปัญหาความพร้อมด้านทักษะแรงงาน ซึ่งถือเป็นความท้าทายต่อการเปลี่ยนผ่านไปสู่ EV อย่างเต็มตัวในยุโรปในระยะเวลาอันใกล้
ปัญหาการขาดแคลนชิปอย่างที่เคยเกิดขึ้นในช่วงโควิดระบาด ส่งผลให้ต้องหยุดการผลิตทั่วโลก ก็ยังคงเป้นปัญหาที่ท้าทายอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์อยู่ และอาจจะยังไม่คลี่คลายในเวลาอันสั้น
ข้อเสนอจากบริษัทผู้ผลิตเหล่านี้ คือขอให้พิจารณา "ยืดระยะเวลาสำหรับการขายรถยนต์ใช้น้ำมัน" ออกไปอีกจนถึงปี ค.ศ. 2040 เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมยานยนต์สามารถปรับตัวเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ยุครถยนต์ปลอดมลพิษได้อย่างราบรื่น
ขณะที่ มี 5 ประเทศที่คัดค้าน ได้แก่ อิตาลี โปรตุเกส สโลวาเกีย บัลแกเรีย และโรเมเนีย โดยเสนอให้ชะลอการบังคับใช้รถที่ปลอดมลพิษสิ้นเชิงในปี 2030 ออกไปอีก 5 ปี เป็น ปี 2030 จำกัด 90% และครบ 100% ในปี 2040 ด้วยเหตุผลความสามารถด้านกำลังซื้อที่แตกต่างกันระหว่างยุโรปตะวันตกและยุโรปตะวันออก [
electrek.co]
ลำดับต่อไป รัฐสภายุโรปจะต้องหารือร่วมกับคณะกรรมาธิการยุโรป (ฝ่ายบริหาร) และคณะมนตรียุโรป (ประเทศสมาชิก) ซึ่งอาจมีการเพิ่มเติมข้อเสนอใหม่ๆ เข้ามาในร่างกฎหมายฯ อีก