ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

บทบาทอุตสาหกรรมไมซ์ต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร - Medical Hub บทที่ 4

บทบาทอุตสาหกรรมไมซ์ต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร - Medical Hub บทที่ 4 HealthServ.net

การบรรลุเป้าหมายสู่การเป็นศูนย์กลางการแพทย์ครบวงจรของประเทศไทยต้องอาศัยกิจกรรมไมซ์เป็นตัวขับเคลื่อนสู่ความสำเร็จ ประเทศไทยมีองค์ความรู้ในการให้บริการส่งเสริมสุขภาพ อาทิ นวดแผนไทย หรือสปาเพื่อสุขภาพ ตลอดจนมีวัตถุดิบทางธรรมชาติที่มีสรรพคุณในการป้องกันโรคหรือคงความอ่อนเยาว์ของผิวพรรณในแต่ละท้องถิ่นทั่วประเทศประเทศไทยจึงมีศักยภาพสูงในการแข่งขันกับต่างประเทศในการให้บริการส่งเสริมสุขภาพ

บทบาทอุตสาหกรรมไมซ์ต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร - Medical Hub บทที่ 4 ThumbMobile HealthServ.net

Table of Contents



บทที่ 4 บทบาทอุตสาหกรรมไมซ์ต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร

กิจกรรมไมซ์เชื่อมโยงผู้มีส่วน เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมการ แพทย์สู่เป้าหมายการค้า และการลงทุน

การบรรลุเป้าหมายสู่การเป็นศูนย์กลางการแพทย์ครบวงจรของประเทศไทยต้องอาศัยกิจกรรมไมซ์เป็นตัวขับเคลื่อนสู่ความสำเร็จ ประเทศไทยมีองค์ความรู้ในการให้บริการส่งเสริมสุขภาพ อาทิ นวดแผนไทย หรือสปาเพื่อสุขภาพ ตลอดจนมีวัตถุดิบทางธรรมชาติที่มีสรรพคุณในการป้องกันโรคหรือคงความอ่อนเยาว์ของผิวพรรณในแต่ละท้องถิ่นทั่วประเทศประเทศไทยจึงมีศักยภาพสูงในการแข่งขันกับต่างประเทศในการให้บริการส่งเสริมสุขภาพ


ปัจจุบันการประชาสัมพันธ์รูปแบบเดิม อาทิการทำ โฆษณาเผยแพร่ผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต อาจไม่สามารถสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายได้เท่ากับการจัดงานแสดงสินค้า (Exhibition) ด้านบริการเพื่อส่งเสริมสุขภาพ เนื่องจากงานแสดงสินค้าสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่สนใจบริการเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และขณะเดียวกันก็เป็นการประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ของประเทศไทยในการเป็นศูนย์กลางบริการเพื่อส่งเสริมสุขภาพในระดับนานาชาติ นอกจากนี้ ในการจัดการประชุมองค์กรและการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล(Meetings & Incentives) สามารถสอดแทรกกิจกรรมให้บริการส่งเสริมสุขภาพเพื่อให้นักเดินทางไมซ์สามารถรับรู้ถึงคุณภาพการให้บริการส่งเสริมสุขภาพของประเทศไทยอย่างแท้จริงโดยนักเดินทางไมซ์จะทำ หน้าที่เป็นสื่อบุคคล(Personal Media) ในการประชาสัมพันธ์บริการเพื่อส่งเสริมสุขภาพของประเทศไทยให้เป็นที่รับรู้ในต่างประเทศ


ส่วนการพัฒนาศูนย์กลางบริการสุขภาพ(Medical Service Hub) ศูนย์กลางบริการวิชาการและงานวิจัย (Academic Hub) และศูนย์กลางยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ (ProductHub) ให้ประสบความสำ เร็จ ต้องมีการบูรณาการผลผลิตทั้งสามเข้าด้วยกัน กล่าวคือความก้าวหน้าของบริการสุขภาพและยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพขึ้นอยู่กับการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D) ภาคเอกชนอย่างบริษัทยาหรือเครื่องมือแพทย์ขนาดใหญ่มักเป็นผู้ลงทุนหลัก เพราะการวิจัยและพัฒนาต้องอาศัยระยะเวลาและเงินลงทุนจำ นวนมาก ส่วนภาครัฐจะทำหน้าที่สนับสนุนให้เกิดการลงทุนในการวิจัยและพัฒนา อาทิ การปรับโครงสร้างภาษีเพื่อสร้างแรงจูงใจในการวิจัย อย่างไรก็ตาม มาตรการดังกล่าวยังไม่สามารถเชื่อมโยงผู้เกี่ยวข้องหลัก(Major Stakeholder) อาทิ อาจารย์มหาวิทยาลัยหรือนักวิจัยในภาคการศึกษากับบริษัทยาหรือผลิตภัณฑ์สุขภาพเข้าด้วยกัน หากภาคการศึกษาไม่สามารถเข้าถึงผลผลิตจากการวิจัยและพัฒนาของภาคเอกชน โอกาสที่ประเทศไทยจะยกระดับเป็นศูนย์กลางบริการสุขภาพย่อมเป็นไปได้ยาก ดังนั้น ในประเทศที่อุตสาหกรรมสุขภาพมีความก้าวหน้าอย่างสหรัฐอเมริกามีการจัดประชุมวิชาการที่สนับสนุนโดยภาคเอกชน (Industry-Sponsored Conference)เป็นจำ นวนมาก เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และการใช้ประโยชน์ของผลผลิตซึ่งกันและกันยกตัวอย่าง อาทิ ภาควิชาการสามารถนำ เอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการแพทย์มาใช้ในการค้นคว้าวิจัยการวินิจฉัยโรคอุบัติใหม่(Emerging Diseases) หรือพัฒนาแนวทางการรักษาโรคที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

กิจกรรมไมซ์เป็นตัวกลางที่จะนำ ไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร

ทั้งด้านการส่งเสริมสุขภาพ การบริการสุขภาพ การเผยแพร่ผลงานวิจัย การผลิตยาและเวชภัณฑ์ เพราะกิจกรรมไมซ์สามารถเป็นตัวกลางให้เกิดการถ่ายทอดความรู้ระหว่างนักวิจัยด้านการแพทย์บุคลากรทางการแพทย์ บุคลากรสนับสนุนทางการแพทย์ ผู้ประกอบการด้านการผลิตในอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร ผู้จัดจำ หน่ายสินค้าเครื่องมือแพทย์และเวชภัณฑ์ และผู้บริโภคซึ่งเป็นประชาชนโดยทั่วไป กลุ่มบุคคลเหล่านี้สามารถเข้าร่วมงานแสดงสินค้าด้านการแพทย์ซึ่งประกอบด้วยการจัดแสดงสินค้าใหม่ ๆจากผู้ผลิต รวมทั้งสามารถเข้าร่วมการประชุมวิชาการเพื่อรับทราบความรู้ใหม่ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรได้ด้วย การเข้าร่วมงานจะนำ ไปสู่การเป็นพันธมิตรทางธุรกิจซึ่งจะนำ ไปสู่การซื้อขายและการร่วมลงทุน รวมทั้งสามารถนำความรู้และมุมมองใหม่ ๆ ไปต่อยอดการศึกษาวิจัยให้ตอบสนองความต้องการของตลาดมากขึ้น


MEDICA : งานแสดงสินค้าและประชุมวิชาการทางการแพทย์ตอบสนองทุกความต้องการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมการแพทย์

อุตสาหกรรมการแพทย์ประกอบไปด้วยอุตสาหกรรมย่อยหลายสาขา อาทิ ยาและเครื่องมือแพทย์บริการเพื่อส่งเสริมสุขภาพ แนวทางการจัดกิจกรรมไมซ์ที่พบเห็นได้ทั่วไปในอุตสาหกรรมการแพทย์จึงมุ่งเน้นไปที่การเจาะตลาดเฉพาะกลุ่ม (NicheMarket) เช่น งานแสดงสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมยา เครื่องมือแพทย์ หรืองานแสดงสินค้าสำ หรับการดูแลและพยาบาลผู้สูงอายุ (Elderly Careand Nursing Expo) เป็นต้น การจัดกิจกรรมไมซ์ในรูปแบบดังกล่าวดึงดูดผู้ซื้อเฉพาะกลุ่มได้จริงแต่ไม่สามารถสร้างผลกระทบเชิงบวก (Impact) ต่ออุตสาหกรรมการแพทย์โดยรวม ดังนั้น จึงมีการจัดกิจกรรมไมซ์ที่รวบรวมอุตสาหกรรมรายสาขาไว้ในงานเดียวกัน โดยใช้ชื่อว่า “MEDICA” ซึ่งจัดขึ้นทุกปี ณ เมืองดึสเซลดอร์ฟ (Düsseldorf)ประเทศเยอรมนี โดยบริษัท เมสเซ่ ดึสเซลดอร์ฟ (Messe Düsseldorf)

MEDICA ถือเป็นงานแสดงสินค้าและงานประชุมวิชาการที่มีชื่อเสียงระดับโลกที่ได้รวบรวม 8 เวทีการประชุม (Forum) และ 6 งานประชุมวิชาการ (Conferences) ไว้ในงานเดียวกัน โดยมี 2 เวทีซึ่งดึงดูดผู้เข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก อันได้แก่ MEDICA Econ Forum เป็นเวทีการประชุมที่นำ เสนอผลกระทบทางเศรษฐกิจจากนโยบายสาธารณสุข ซึ่งมี Techniker Krankenkasse (TK) องค์การมหาชนที่ให้บริการประกันสุขภาพที่ใหญ่ที่สุดในเยอรมนีเป็นผู้สนับสนุนหลักในการประชุม และ European Hospital Conference ซึ่งเป็นการประชุมวิชาการในอุตสาหกรรมการแพทย์ระดับภาคพื้นทวีปยุโรป ในส่วนงานแสดงสินค้า แบ่งออกเป็น 7 สาขาย่อย ได้แก่
  • เทคโนโลยีทางการแพทย์ (Electromedicine/Medical Technology)
  • อุปกรณ์ห้องปฏิบัติการ (Laboratory Equipment)
  • การวินิจฉัยโรค (Diagnostics)
  • เทคโนโลยีกายภาพบำบัดและศัลยกรรมกระดูก (Physiotherapy/Orthopedic Technology)
  • เครื่องอุปโภคบริโภคทางการแพทย์ (Commodities and Consumer Goods)
  • เทคโนโลยีสารสนเทศทางการแพทย์ (Information and Communication Technology)
  • บริการทางการแพทย์และสื่อสิ่งพิมพ์ (Medical Services and Publications)

กลุ่มเป้าหมายของงาน MEDICA จึงไม่จำกัดเฉพาะผู้ซื้อ (Buyer) อย่างโรงพยาบาล หรือผู้จัดหา (Supplier) ในอุตสาหกรรมการแพทย์แต่รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์และบริษัทประกันภัย (Insurance Company) ซึ่งถือเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) ในการกำ หนดทิศทางของอุตสาหกรรมการแพทย์ด้วยเช่นกัน

ในปี พ.ศ. 2560 งาน MEDICA สามารถดึงดูดผู้เข้าชมงาน (Visitors) สูงถึง 113,582 คน เป็นคนต่างชาติจำ นวน 81,779 คน และคนเยอรมันจำ นวน 31,803 คน มีผู้จัดแสดง (Exhibitors) สูงถึง 5,931 บริษัท พื้นที่จัดแสดงรวม 127,530 ตารางเมตร



ประเทศไทยเป็นเป้าหมายการจัดงานไมซ์ทางการแพทย์สำคัญในภูมิภาค

อุตสาหกรรมการแพทย์ของประเทศไทยมีศักยภาพในการแข่งขันสูงในภูมิภาคอาเซียนตามผลการศึกษาวิจัยอุตสาหกรรมการแพทย์ของธนาคารกรุงศรีอยุธยา ปี พ.ศ. 2560 ระบุว่า มีโรงพยาบาลในประเทศไทยจำ นวน 58โรงพยาบาลที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสากลจาก Joint Commission International (JCI)ซึ่งสูงกว่าประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น อาทิสิงคโปร์ ที่ได้รับการรับรองจาก Joint Commission International (JCI) เพียง 19 โรงพยาบาล และมาเลเซียเพียง 14 โรงพยาบาลและเมื่อเทียบราคาค่าบริการกับคุณภาพแล้วถือว่าประเทศไทยมีราคาค่าบริการที่ต่ำ ในขณะที่คุณภาพการรักษาพยาบาลเทียบเท่ามาตรฐานระดับโลก อุตสาหกรรมการแพทย์ของประเทศไทยจึงมีโอกาสเติบโตและพัฒนาเป็นศูนย์กลางการแพทย์ครบวงจรได้ ด้วยศักยภาพของอุตสาหกรรมการแพทย์ของประเทศไทยจึงทำให้เกิดการจัดงานแสดงสินค้า “เมดิคอลแฟร์ ไทยแลนด์ (Medical Fair Thailand)”ซึ่งจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยปี พ.ศ. 2561 ถือเป็นปีที่ 9

เมดิคอลแฟร์ ไทยแลนด์ จัดโดยบริษัท เมสเซ่ดึสเซลดอร์ฟ (Messe Düsseldorf Group) ซึ่งเป็นผู้จัดงาน (Organizer) ที่มีความเชี่ยวชาญในการจัดงานแสดงสินค้าด้านอุตสาหกรรมการแพทย์ รูปแบบการจัดงานเมดิคอลแฟร์ ไทยแลนด์ จึงมีลักษณะเช่นเดียวกับงาน MEDICA ที่รวบรวมการจัดแสดงเครื่องมือแพทย์ บริการทางการแพทย์ เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยโรค ไว้อย่างครบวงจรในงานเดียวกันแม้ขนาดการจัดงานจะเล็กกว่า แต่เมดิคอลแฟร์ไทยแลนด์ เป็นงานแสดงสินค้าที่มีศักยภาพในการเติบโตสูง เห็นได้จากผลการจัดงานในปีพ.ศ. 2560 ที่มีผู้จัดแสดง (Exhibitor) เข้าร่วม 830 บริษัท จาก 66 ประเทศทั่วโลก และมีผู้เข้าชมงานจำนวน 9,026 คนจาก 65 ประเทศ โดยจำนวนผู้เข้าร่วมเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2559 คิดเป็นร้อยละ 25 และพื้นที่จัดแสดงรวมประมาณ 15,000 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2559 คิดเป็นร้อยละ 30 จากการประเมินความพึงพอใจพบว่า ผู้จัดแสดงมีความพึงพอใจคิดเป็นร้อยละ 96 และระบุว่า ร้อยละ 60 ของผู้จัดแสดงได้ลูกค้ารายใหม่เพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการประชุมวิชาการควบคู่ไปกับการจัดงานแสดงสินค้าจำนวน 5 เวที ได้แก่
  • Digital Imaging in Radiologyand Patient Safety
  • The Importance of Biomedical Engineering
  • Occupation towardsThailand’s Professional Qualification
  • CIO Forum, Interinstitute Conference
  • Advanced Rehab Technology Conference

ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยรังสีวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย (Radiological Society ofThailand) สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์ไทย (Thai Medical DeviceTechnology Industry Association) สมาคมเวชสารสนเทศไทย (Thai Medical InformaticsAssociation) สมาคมมะเร็งนรีเวชไทย (ThaiGynecologic Cancer Society) และราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์พื้นฟูแห่งประเทศไทย (Royal College of Physiatrists of Thailand) กลุ่มเป้าหมายของเมดิคอลแฟร์ ไทยแลนด์ จึงมุ่งเน้นไปที่ผู้ซื้อ (Buyer) ผู้จัดหา (Supplier) เป็นหลัก เพื่อบรรลุเป้าหมายในการสร้างโอกาสทางธุรกิจในอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร
นอกจากเหนือจากเมดิคอลแฟร์ ไทยแลนด์แล้ว งาน “Medical Device ASEAN (MDA)” เป็นงานแสดงสินค้าเครื่องมือแพทย์ที่ใหญ่และมีศักยภาพในภูมิภาคอาเซียน งาน MDA จัดโดยบริษัท อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น แมเนจเมนท์ จำกัดซึ่งได้รวบรวมนวัตกรรมและเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์จากกว่า 150 บริษัททั่วโลกมาจัดแสดงให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขซึ่งเป็นผู้ใช้งานโดยตรง และผู้จัดจำ หน่ายเครื่องมือแพทย์ที่มองหานวัตกรรมใหม่ ได้สัมผัสสินค้าโดยตรงที่เกี่ยวข้องกับการบริการทางการแพทย์ทั่วไป ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์และเวชศาสตร์ฟื้นฟู เวชสารสนเทศศัลยกรรม และรังสีวินิจฉัย นอกจากนี้ ยังมีการจัดประชุม MDA Congress จัดโดยราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทยร่วมกับรังสีวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย และสมาคมเทคนิคการแพทย์แห่งประเทศไทย โดยงาน MDA Congress 2018 เน้นเรื่องเทคโนโลยีดิจิทัลกับอุตสาหกรรมการแพทย์เป็นประเด็นหลักในการอภิปราย

แม้ว่างาน Medical Device ASEAN (MDA) จะจัดขึ้นเป็นครั้งแรก แต่ก็ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างดี งานดังกล่าวมีผู้เยี่ยมชมรวม3,639 คน จาก 31 ประเทศ มีบริษัทเข้าร่วมงานแสดงสินค้ารวม 125 บริษัท ใช้พื้นที่จัดงานร่วม 7,000 ตารางเมตร มีการประชุมวิชาการ7 หัวเรื่อง มีการจัดกิจกรรมจับคู่ธุรกิจรวม 127 ครั้ง งาน MDA จึงให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขซึ่งเป็นผู้ใช้งานเครื่องมือแพทย์กับผู้จัดแสดงสินค้าที่มีศักยภาพ เพื่อบูรณาการห่วงโซ่คุณค่าของอุตสาหกรรมการแพทย์และส่งเสริมการเป็นศูนย์กลางการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub) ของประเทศไทย

จากการวิเคราะห์โอกาสทางธุรกิจไมซ์ในอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรในประเทศไทยตามแนวทางของ Hao-Chen Huang จะพบว่าความสำเร็จของธุรกิจไมซ์ขึ้นอยู่กับ 5 ปัจจัยหลัก ได้แก่
  • โอกาสในการขายสินค้า (SellingActivity)
  • โอกาสในการรวบรวมข้อมูลทางธุรกิจ (Information Gathering)
  • การสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ (Relationship Building)
  • ภาพลักษณ์ของงานแสดงสินค้า (ExhibitionImage) และ
  • บริการเสริมที่ช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจของผู้จัดแสดงสินค้า (ExtensionService)

โดยงานเมดิคอลแฟร์ ไทยแลนด์และงาน MDA ต่างมีศักยภาพสูงในเรื่องการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ และภาพลักษณ์ของงานแสดงสินค้า ประกอบกับอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรของประเทศไทยมีศักยภาพและโอกาสเติบโตสูง จึงเพิ่มโอกาสทางการค้าให้กับงานแสดงสินค้า ณ ปัจจุบันประเทศไทยมีจำ นวนงานแสดงสินค้าและงานประชุมวิชาการด้านอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรจำ นวนไม่มากเมื่อเทียบกับประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น อย่างสิงคโปร์ หรือมาเลเซีย ดังนั้น จึงเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไมซ์ที่จะเข้ามาจัดกิจกรรมไมซ์ด้านอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรในประเทศไทย โดยสิ่งที่ผู้ประกอบการไมซ์ควรเตรียมความพร้อม คือ การเข้าถึงผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมการแพทย์ เพื่อเพิ่มปัจจัยความสำ เร็จในการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ และการสร้างเอกลักษณ์ของกิจกรรมไมซ์ของตน อาทิการจัดทำ ฐานข้อมูลผู้ซื้อ (Buyer Database)อันเป็นบริการเสริมที่ช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจแก่ผู้จัดแสดงสินค้า
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด