ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสู่ การเป็นศูนย์กลางกิจกรรมไมซ์ ด้านอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรระดับภูมิภาค - Medical Hub บทที่ 6

ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสู่ การเป็นศูนย์กลางกิจกรรมไมซ์ ด้านอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรระดับภูมิภาค - Medical Hub บทที่ 6 HealthServ.net

ประเทศไทยมีศักยภาพเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ครบวงจรในภูมิภาคเอเชีย เนื่องจากมีห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมทางการแพทย์ครบวงจรเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ผนวกกับรัฐบาลได้ประกาศนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม

ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสู่ การเป็นศูนย์กลางกิจกรรมไมซ์ ด้านอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรระดับภูมิภาค - Medical Hub บทที่ 6 ThumbMobile HealthServ.net

Table of Contents



บทที่ 6 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสู่ การเป็นศูนย์กลางกิจกรรมไมซ์ ด้านอุตสาหกรรมการแพทย์ ครบวงจรระดับภูมิภาค


ประเทศไทยมีศักยภาพเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ครบวงจรในภูมิภาคเอเชีย เนื่องจากมีห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมทางการแพทย์ครบวงจรเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ผนวกกับรัฐบาลได้ประกาศนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ทั้งด้านเทคโนโลยีสุขภาพและเทคโนโลยีทางการแพทย์ การวิจัยและผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ การวิจัยยาและผลิตเวชภัณฑ์ นโยบายไทยแลนด์ 4.0 จึงมีส่วนช่วยผลักดันให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ครบวงจรในระดับภูมิภาคได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในอนาคตอ


อย่างไรก็ตาม ความท้าทายความสำเร็จของนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรยังมีอยู่ เนื่องจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรต้องขับเคลื่อนการดำเนินงานให้สอดคล้องและมีเป้าหมายระยะยาวร่วมกัน อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงานทั้งกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการคลัง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรอย่างแท้จริงเพื่อจะได้ร่วมดำ เนินงานให้สอดประสานกันรวมทั้งต้องตระหนัก มีความรู้และความเข้าใจถึงความสำคัญของอุตสาหกรรมไมซ์ต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร โดยร่วมกันดำ เนินงานระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพของอุตสาหกรรมไมซ์ ื่อให้อุตสาหกรรมไมซ์สามารถเป็นเครื่องมือเชิงกลยุทธ์ในการพัฒนาอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนควรร่วมมือกันภายใต้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายดังต่อไปนี้

โอกาสการจัดกิจกรรมไมซ์ในอุตสาหกรรมการแพทย์ :มุ่งส่งเสริม SMEs และอาศัยโอกาสจากพื้นที่ EEC

  • ประเทศไทยควรให้ความสำ คัญกับการจัดงานแสดงสินค้าผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร Home Healthcare อุปกรณ์สำหรับผู้สูงอายุ และชุดทดสอบทางการแพทย์ เพราะมีความได้เปรียบจากความหลากหลายทางชีวภาพซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญ ขณะเดียวกันความต้องการของกลุ่มสินค้าเหล่านี้ก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้เยี่ยมชมงานส่วนหนึ่งมาจากกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง ซึ่งมีความนิยมและยอมรับในสินค้าไทยเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว การจัดงานแสดงสินค้ากลุ่มเหล่านี้จะมีส่วนนำ รายได้เข้าประเทศ ทั้งการส่งออกสินค้าที่มีฐานการผลิตในประเทศ ใช้วัตถุดิบภายในประเทศ และมีส่วนช่วยสร้างรายได้จากการเดินทางเข้ามาของนักเดินทางกลุ่มไมซ์ด้วย
     
  • ปัจจุบันหน่วยงานภาครัฐมีนโยบายและจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการแพทย์ครบวงจร อาทิ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ อย่างไรก็ตาม การสนับสนุนของหน่วยงานภาครัฐยังไม่ครอบคลุมกิจกรรมด้านการตลาด จึงส่งผลให้ผลิตภัณฑ์และเครื่องมือทางการแพทย์ที่ผลิตโดยคนไทยขาดโอกาสเข้าร่วมงานแสดงสินค้าเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จัดขึ้นในประเทศไทย ในด้านการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศแม้กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศให้การสนับสนุนให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เข้าร่วมงานแสดงสินค้าผ่านโครงการ SMEs Proactive แต่ยังมีข้อจำกัดด้านเวลาการเตรียมตัวที่กระชั้นชิด ต้องใช้เอกสารประกอบการสมัครมาก และกรณีที่มีผู้สมัครต่ำกว่า 10 บริษัท จะไม่มีงบประมาณก่อสร้างPavilion ทำให้บูธแสดงสินค้าของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ไทยไม่ได้รับความสนใจจากผู้เข้าเยี่ยมชมงาน แม้สินค้าของผู้ประกอบการไทยมีนวัตกรรมและมีความโดดเด่นแต่ยังขาดการนำเสนอและประชาสัมพันธ์ที่ดีจึงไม่สามารถจำหน่ายได้
     
  • พื้นที่เขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) มีศักยภาพจัดกิจกรรมไมซ์ด้านการแพทย์ครบวงจร เนื่องจากมีคลัสเตอร์อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องมือแพทย์เป็นพื้นฐานอยู่แล้ว รัฐบาลให้จัดสรรงบประมาณลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง และสร้างถนนเชื่อมโยงกับสนามบินสุวรรณภูมิ พร้อมกับได้จัดทำ (ร่าง) แผนปฏิบัติการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2560-2564 โดยกำหนดให้พื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง เป็นจุดหมายที่ผสมผสานระหว่างธุรกิจและการพักผ่อน ดังนั้น ในอนาคตพื้นที่ 3 จังหวัดนี้จะมีศักยภาพในการจัดกิจกรรมไมซ์ด้านการแพทย์ครบวงจร ทั้งงานแสดงสินค้าเครื่องมือทางการแพทย์ การประชุมนานาชาติด้านการแพทย์ เพราะการเดินทางเชื่อมต่อสะดวกและมีประสิทธิภาพ ประกอบกับพื้นที่ดังกล่าวอยู่ภายใต้การบังคับใช้พระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 ซึ่งสามารถบูรณาการการทำ งานของหน่วยงานภาครัฐมีการให้บริการภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จครบวงจร เหมาะกับการเป็นพื้นที่จัดกิจกรรมไมซ์ด้านอุตสาหกรรมทางการแพทย์เป็นอย่างยิ่งผู้ประกอบการด้านพื้นที่จัดงานควรลงทุนสร้างศูนย์แสดงสินค้าเพิ่มเติม

หน่วยงานภาครัฐควรบูรณาการให้บริการและนำ เสนอข้อมูลเป็นภาษาอังกฤษ

  • การจัดงานแสดงสินค้าทางการแพทย์ กรณีผู้แสดงสินค้า (Exhibitor) ยังไม่มีตัวแทนจำ หน่ายในประเทศไทย ต้องมีการขออนุญาตนำ เข้าเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย สำ นักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สำ นักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำ นักงานปรมาณูเพื่อสันติ กรมศุลกากร หน่วยงานเหล่านี้ยังขาดการให้ข้อมูลที่ชัดเจนว่าสินค้าหรือเครื่องมือทางการแพทย์ประเภทใดต้องยื่นขออนุญาตหน่วยงานใด รวมทั้งข่าวสารข้อมูลที่นำ เสนอส่วนใหญ่ยังเป็นภาษาไทย ผู้แสดงสินค้า (Exhibitor) จึงไม่สามารถศึกษาข้อมูลเพื่อประกอบการวางแผนการนำ เข้าและส่งออกอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ได้ล่วงหน้า บางกรณีการตอบคำ ถามหรือการให้ข้อมูลของเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการไม่ชัดเจนและไม่ตรงกัน ส่งผลให้การขออนุญาตนำ เข้าเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ใหม่ติดขัดและขาดความคล่องตัว หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องควรประสานการดำ เนินงานให้ใกล้ชิดมากขึ้น รวมทั้งควรจัดเตรียมผู้เชี่ยวชาญมาให้ข้อมูล
  • สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (สสปน.) ควรเร่งรณรงค์ให้ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมไมซ์แก่เจ้าหน้าที่ภาครัฐในวงกว้างเพื่อเป็นพื้นฐานให้เจ้าหน้าที่ภาครัฐให้ความช่วยเหลือและให้ความอนุเคราะห์ในการจัดงานแสดงสินค้าทางการแพทย์ ซึ่งในกรณีการจัดงานแสดงสินค้าเครื่องมือทางการแพทย์พบว่า ผู้จัดงานแสดงสินค้าต้องการเชิญเจ้าหน้าที่กรมบัญชีกลางมาบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐซึ่งมีความจำ เป็นต่อผู้จัดจำ หน่ายหรือตัวแทนจำ หน่ายเครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางการแพทย์แต่การติดต่อประสานงานขอความอนุเคราะห์ต้องใช้เวลาและต้องอธิบายให้เจ้าหน้าที่เข้าใจถึงความเชื่อมโยงของอุตสาหกรรมไมซ์ การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ และการพัฒนาอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร

พัฒนาการจัดกิจกรรมไมซ์เพื่อสร้างรายได้และความยั่งยืนของผู้ประกอบการไทย

  • การพัฒนาอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรให้เติบโตอย่างยั่งยืน ผู้ประกอบการต้องมีความรู้ด้านการจัดการทรัพย์สินทางปัญญาอย่างครบวงจร เพื่อปกป้องสิทธิประโยชน์สินค้าและผลิตภัณฑ์ที่ได้คิดค้นและพัฒนาเข้าสู่ตลาดผู้จัดงานแสดงสินค้าควรมีการจัดการบรรยายให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการ รวมทั้งควรเชิญกรมทรัพย์สินทางปัญญามาให้บริการรับจดทะเบียนสิทธิบัตรในพื้นที่งานแสดงสินค้าด้วย
  • ผู้แสดงสินค้า (Exhibitor) ต้องการผู้เยี่ยมชมงานที่มีคุณภาพ สามารถตัดสินใจซื้ออุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ได้ จากข้อมูลผู้เยี่ยมชมงานแสดงสินค้าพบว่า ผู้เยี่ยมชมงานส่วนใหญ่เป็นประชาชนทั่วไป แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ยังไม่เข้าร่วมชมงาน ทำให้บริษัทตัวแทนจำ หน่ายอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ ยาและเวชภัณฑ์ที่มีตัวแทนจำ หน่ายในประเทศไทยแล้ว จึงนิยมส่งเสริมการตลาดโดยใช้ผู้แทนยาเข้าพบแพทย์โดยตรง ซึ่งสุ่มเสี่ยงต่อการละเมิดจรรยาแพทย์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำ กับดูแลพฤติกรรมด้านการส่งเสริมการตลาดในอุตสาหกรรมการแพทย์ให้เคร่งครัด ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมให้การจัดงานแสดงสินค้าทางการแพทย์ประสบผลสำเร็จด้วย
  • แม้ข้อบังคับด้านจรรยาบรรณทางการค้าระดับสากลของบุคลากรทางการแพทย์ไม่เอื้อต่อการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวหรือการพักผ่อนต่อเนื่องจากการจัดประชุมวิชาการของแพทย์แต่ผู้จัดงานสามารถกำ หนดกิจกรรมในรูปแบบการจัดการเดินทางศึกษาดูงานด้านการแพทย์ประเทศไทยมีสถานที่ศึกษาดูงานด้านสุขภาพกระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ ทั้งศูนย์วิจัยทางการแพทย์ ศูนย์ผลิตสมุนไพร โรงพยาบาลที่ทันสมัย การจัดกิจกรรมศึกษาดูงานทางการแพทย์นอกจากเป็นช่องทางให้เกิดการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นแล้ว ยังเป็นการสร้างแรงจูงใจให้แพทย์เดินทางมาร่วมประชุมวิชาการในประเทศไทยด้วย
  • สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีอำ นาจหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขึ้นทะเบียนเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์อยู่ระหว่างดำ เนินงานปรับแก้กฎระเบียบเพื่อให้เอื้อต่อการจัดการประชุมวิชาการทางการแพทย์มากขึ้นอาทิ การอนุญาตให้มีการประชาสัมพันธ์การจัดงานประชุมวิชาการได้ การอนุญาตให้รับการสนับสนุนทางการเงินในการประชุมวิชาการทางการแพทย์ได้ การแก้ไขกฎระเบียบเหล่านี้ต้องใช้เวลาและมีกระบวนการหลายขั้นตอนทั้งนี้ สำ นักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ควรเร่งดำ เนินการด้านการแก้ไขกฎระเบียบให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว

พัฒนาการจัดการเชิงปฏิบัติการจัดกิจกรรมไมซ์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

บุคลากรทางแพทย์ของประเทศไทยได้มีการรวมตัวเป็นเครือข่ายในรูปแบบสมาคมแพทย์และราชวิทยาลัยแพทย์เฉพาะทาง และได้มีการจัดประชุมวิชาการด้านการแพทย์เฉพาะทางอย่างต่อเนื่องดังนั้น ในการจัดงานแสดงสินค้าทางการแพทย์ ผู้จัดงานควรตรวจสอบกำหนดการประชุมวิชาการของสมาคมแพทย์รวมทั้งราชวิทยาลัยแพทย์ให้ละเอียด เพื่อมิให้จัดกิจกรรมในวันที่ซ้อนกัน ทั้งนี้เพื่อเพิ่มโอกาสให้บุคลากรทางการแพทย์ร่วมชมงานแสดงสินค้าทางการแพทย์ ในมิติการดึงดูดผู้เข้าร่วมชมงานจากกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งสปป.ลาว เมียนมา กัมพูชา รวมทั้งเวียดนามซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้าและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่สำคัญ ผู้จัดงานแสดงสินค้าควรประสานความร่วมมือกับสายการบินเพื่อจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายบัตรโดยสารเครื่องบินและอำ นวยความสะดวกในการเดินทาง เพื่อให้กลุ่มผู้เยี่ยมชมงานจากประเทศเหล่านี้สามารถเดินทางเข้าเยี่ยมชมงานได้สะดวกมากยิ่งขึ้น 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด