ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

RSV โรคติดเชื้ออาร์เอสวี ไวรัสตัวร้ายในเด็กเล็ก

RSV โรคติดเชื้ออาร์เอสวี ไวรัสตัวร้ายในเด็กเล็ก HealthServ.net
RSV โรคติดเชื้ออาร์เอสวี ไวรัสตัวร้ายในเด็กเล็ก ThumbMobile HealthServ.net

โรคร้ายสำหรับเด็กเล็กช่วงปลายฝนต้นหนาว ยังไม่มีวัคซีน รักษาตามอาการ

RSV โรคติดเชื้ออาร์เอสวี ไวรัสตัวร้ายในเด็กเล็ก HealthServ
ดูแพคเกจตรวจ RSV หรือปรึกษา รพ.ต่างๆ


RSV มีการระบาดอย่างมากในเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี ในเด็กเล็กต่ำกว่า 5 ปีกว่า 50% ที่ป่วยขณะนี้เป็น RSV และ 20-30% เป็น Rhinovirus โรงพยาบาลต่างๆมีเด็กป่วยจำนวนมากกว่าปกติ โรงพยาบาลเอกชน หอผู้ป่วยเด็กเต็ม การติดเชื้อส่วนใหญ่เกิดขึ้นในโรงเรียนอนุบาลและสถานเลี้ยงเด็ก

การจะหยุดยั้งการระบาดใหญ่ในปีนี้จะต้องเริ่มที่โรงเรียนเด็กเล็กและสถานเลี้ยงเด็ก การปิดเรียน หรือปิดชั้นเรียน จะเป็นวิธีหนึ่งในการหยุดยั้ง การระบาดครั้งนี้เด็กที่ป่วยหรือไม่สบายเกี่ยวกับโรคทางเดินหายใจไม่ควรไปโรงเรียน เด็กอนุบาลที่อยู่รวมกัน ดูแลสุขอนามัย สถานที่ให้มีอากาศถ่ายเทได้ดี ทำความสะอาดเครื่องใช้ของเล่นอยู่เป็นนิจ

ในเด็กเล็กต่ำกว่า 5 ปีกว่า 50% ที่ป่วยขณะนี้ เป็น RSV และ 20 - 30 เปอร์เซ็นต์เป็น Rhinovirus โรงพยาบาลต่างๆ มีเด็กป่วยจำนวนมากกว่าปกติ โรงพยาบาลเอกชน หอผู้ป่วยเด็กเต็ม การติดเชื้อส่วนใหญ่เกิดขึ้นในโรงเรียนอนุบาล และสถานเลี้ยงเด็ก การจะหยุดยั้งการระบาดใหญ่ในปีนี้ จะต้องเริ่มที่โรงเรียนเด็กเล็ก และสถานเลี้ยงเด็ก การปิดเรียน หรือปิดชั้นเรียน จะเป็นวิธีหนึ่งในการหยุดยั้ง การระบาดครั้งนี้ เด็กที่ป่วยหรือไม่สบายเกี่ยวกับโรคทางเดินหายใจ ไม่ควรไปโรงเรียน เด็กอนุบาล ที่อยู่รวมกัน ดูแลสุขอนามัย สถานที่ให้มีอากาศถ่ายเทได้ดีทำความสะอาดเครื่องใช้ของเล่นอยู่เป็นนิจ

นพ.ยง ภู่วรวรรณ [10/11/2563]


RSV คืออะไร
RSV คือไวรัสชนิดมีเปลือกหุ้ม ชื่อเต็มว่า Respiratory Syncytial Virus มีสองสายพันธุ์ คือ RSV-A และ RSV-B เป็นไวรัสก่อการติดเชื้อทางเดินหายใจของเด็กทั่วโลก โดยเฉพาะเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี และมีการระบาดเกือบทุกปี
 
หลังรับเชื้อนานเท่าไรจึงมีอาการป่วย (ระยะฟักตัว)
พบว่าหลังรับเชื้อ RSV สามารถแสดงอาการได้เร็วที่สุดหลังติดเชื้อ 2 วัน ช้าที่สุดประมาณ 8 วัน โดยส่วนใหญ่เฉลี่ยอยู่ที่ 4-6 วัน
 
 
อาการเป็นอย่างไร
ช่วงแรกมักมีอาการคล้ายไข้หวัดธรรมดาเช่น ไข้ ไอ จาม คัดจมูก น้ำมูกไหล ผู้ใหญ่หรือเด็กโตที่แข็งแรงดีอาการมักไม่รุนแรงและหายได้เอง แต่สำหรับเด็กเล็ก (ต่ำกว่า 2 ป๊) ที่ติดเชื้อครั้งแรกพบร้อยละ 20-30 ที่มีอาการโรคลุกลามไปทางเดินหายใจส่วนล่าง (หลอดลม เนื้อปอด) ทำให้เกิดหลอดลมใหญ่อักเสบ หลอดลมฝอยอักเสบและปอดอักเสบตามมาได้ โดยมักแสดงอาการไข้สูง ไอแรง หอบเหนื่อย หายใจมีเสียงหวีดหวิว หรือ เสียงครืดคราดในลำคอ โดยเฉพาะเด็กที่อายุน้อยกว่า 1-2 ปี เด็กที่ภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรง เด็กที่คลอดก่อนกำหนด โรคหัวใจ โรคปอดเรื้อรัง บางรายอาจมีภาวะแทรกซ้อนเช่น หูอักเสบ ไซนัสหรือปอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อน ซึ่งจะมีอาการรุนแรงมากขึ้นได้
 
 
อาการแตกต่างจากไข้หวัดธรรมดาอย่างไร
อาการไม่แตกต่างจากไข้หวัดธรรมดาในผู้ใหญ่หรือเด็กโต แต่ในเด็กเล็กเริ่มต้นเป็นไข้หวัดแล้วอาจมีเชื้อลุกลามไปทางเดินหายใจส่วนล่างเป็นปอดอักเสบได้
 
 
การรักษาทำอย่างไร
ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคติดเชื้อไวรัส RSV มีแค่รักษาตามอาการ เช่น การให้ยาลดไข้ แก้ไอละลายเสมหะ ในเด็กบางรายที่มีเสมหะเหนียวมาก ต้องทำการพ่นยาขยายหลอดลมหรือน้ำเกลือผ่านทางออกซิเจนละอองฝอย เคาะปอดและดูดเสมหะออก ยาปฏิชีวนะไม่มีประโยชน์หากไม่มีเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน
 
หากเป็นแค่อาการหวัดจากเชื้อ RSV ให้รักษาตามอาการที่บ้านได้ ไม่มีความจำเป็นต้องนอนในโรงพยาบาล การนอนในโรงพยาบาลที่เกินความจำเป็นนอกจากไม่มีประโยชน์แล้วยังอาจก่อผลเสีย เช่น เกิดการติดเชื้ออื่นแทรกซ้อนจากโรงพยาบาล และการแพร่เชื้อ RSV ให้ผู้อื่นในโรงพยาบาล
 
 
อาการอย่างไรต้องนอนโรงพยาบาล
เมื่อผู้ป่วยไข้สูง ไม่กิน ไม่เล่น หายใจเร็วกว่าปกติ หายใจมีเสียงหวีด หงุดหงิดง่าย หรือเซื่องซึม ผู้ปกครองควรจะพามาพบแพทย์เพื่อการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
 
 
รู้ได้อย่างไรว่าลูกเราเป็น RSV
แพทย์สามารถตรวจจากน้ำมูก ซึ่งจะตรวจพบเชื้อ RSV เพียงร้อยละ 53-96 ของผู้ป่วยทีติดเชื้อ RSVการตรวจทำได้ในบางโรงพยาบาลเท่านั้น อย่างไรก็ตามไม่มีความจำเป็นต้องตรวจทุกรายเพราะการตรวจพบหรือไม่พบเชื้อ RSV ก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงการรักษา แต่ช่วยในการแยกผู้ป่วยเพื่อลดการแพร่กระจายโรค
 
 
ติดต่อได้อย่างไร
ติดต่อผ่านการหายใจเอาละอองเสมหะของผู้ป่วยที่ติดเชื้อ RSV เช่น น้ำมูก น้ำลายหรือสัมผัสสิ่งแวดล้อมที่ปนเปื้อนสารคัดหลั่งเช่น โต๊ะ เก้าอี้ ลูกบิดประตู ของเล่น ฯลฯ เชื้อ RSV สามารถมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานหลายชั่วโมงและสามารถอยู่ที่มือของเราได้นานประมาณ 30 นาที ดังนั้นผู้ใหญ่ที่มีเด็กเล็กป่วยในบ้านควรล้างมือบ่อยๆก่อนสัมผัสเด็ก
 
 
เป็นแล้วเป็นอีกได้หรือไม่
เป็นได้หลายครั้งเนื่องจากไวรัส RSV มี 2 สายพันธุ์และกลับมาเป็นซ้ำได้อีกหากร่างกายอ่อนแอ
 
 
ผู้ใหญ่ติดได้หรือไม่
ผู้ใหญ่สามารถติดเชื้อ RSV ได้แต่อาการมักไม่รุนแรงเนื่องจากมีภูมิคุ้มกันมาบ้างแล้ว
 
 
แพร่กระจายโรคได้นานไหม
โดยทั่วไปผู้ป่วยจะแพร่เชื้อได้นาน 3-8 วันหลังมีอาการป่วยแต่อาจนานถึง 3-4 สัปดาห์ในเด็กเล็กหรือเด็กที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง
 
 
หายป่วยไปโรงเรียนได้ไหมและเริ่มไปโรงเรียนได้เมื่อไหร่
หากมีอาการป่วยควรให้หยุดเรียน หยุดไปเนอเซอร์รี่จนกว่าอาการจะหาย หรืออย่างน้อย 5-7 วัน เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่เชื้อให้ผู้อื่น
 
 
การป้องกันทำได้อย่างไร
ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกัน ไม่มียาป้องกัน จึงควรป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อได้ ดังนี้
  • ทุกคนในบ้านหมั่นล้างมือบ่อย ๆ ทั้งมือของตนเองและลูกน้อย เพราะการล้างมือนอกจากจะลดเชื้อ RSV และเชื้ออื่นๆที่ติดมากับมือทุกชนิด ทั้งเชื้อไวรัสและแบคทีเรียได้ถึงร้อยละ 70
  • การใช้แอลกอฮอลเจลถูมือช่วยป้องกันโรคได้บ้าง ยังแนะนำให้ล้างมือบ่อยๆได้ประโยชน์กว่า
  • หลีกเลี่ยงเด็กทั้งสบายดีหรือป่วยไปในที่ชุมชนหรือสถานที่แออัด
  • ทำความสะอาดบ้าน รวมทั้งของเล่นเด็กเป็นประจำ
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ทารกที่สูดดมควันบุหรี่เข้าไปมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัส RSV และพบอาการที่รุนแรงได้มากกว่า
  • ควรรับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ ดื่มน้ำมากๆ และให้เด็กพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่อยู่ในห้องแอร์ตลอดเวลา
  • สำหรับคุณพ่อคุณแม่ หรือผู้ปกครองเมื่อบุตรหลานมีอาการป่วยเป็นไข้หวัด ควรแยกเด็กออกจากเด็กปกติเพื่อเป็นการป้องกันการแพร่เชื้อ

แพทย์หญิง กิจจาวรรณ เฮงคราวิทย์
รองศาสตราจารย์(พิเศษ) นายแพทย์ ทวี โชติพิทยสุนนท์
สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย
 

RSV - ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ LINK

RSV - ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ RSV โรคติดเชื้ออาร์เอสวี ไวรัสตัวร้ายในเด็กเล็ก
RSV - ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ RSV โรคติดเชื้ออาร์เอสวี ไวรัสตัวร้ายในเด็กเล็ก

ได้กล่าวไว้แล้วว่า RSV ไม่ใช่โรคใหม่ เป็นโรคที่พบกันมานานกว่า 50 ปีและมีการระบาดทุกปีโดยเฉพาะในเด็กเล็ก
 
จากข้อมูลการศึกษาวิจัยของศูนย์ไวรัสที่จุฬาฯที่ผมทำการศึกษาอยู่ดังแสดงในรูปจะเห็นว่าพบได้ทุกปีในฤดูฝนของทุกปี ยกเว้นปีนี้ที่มีการปิดเรียนยาวนานหน่อย โรคเลยเกิดขึ้นช้ากว่าทุกปี มาสูงสุดเดือนตุลาคมและเชื่อว่ากำลังจะลดลง
 
โรคนี้เป็นแล้วเป็นได้อีก การศึกษาของเรามีเด็กบางคนเป็นทุกปี ส่วนใหญ่จะมีอาการน้อย ถ้ามีการศึกษาภูมิต้านทานจะรู้ว่าภูมิต้านทานจะอยู่สั้นมากจึงทำให้เป็นแล้วเป็นได้อีก ส่วนใหญ่จะมีอาการมากในเด็กเล็กและจะน้อยลงเมื่อโตขึ้น โดยเฉพาะเมื่ออายุเกิน 5 ปีไปแล้วก็ยังเป็นโรคได้แต่อาการจะน้อยมาก ในผู้ใหญ่ก็เป็นได้ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีอาการและจะมีอาการมากอีกครั้งหนึ่งเมื่อเข้าสู่สูงวัยหรือผู้เฒ่าผู้แก่เช่นเดียวกับโรคทางเดินหายใจอื่นๆ
 
โรคนี้อาการลงปอดจะลงที่หลอดลมฝอยไม่ได้ลงที่เนื้อปอด เมื่อลงที่หลอดลมขนาดเล็กหรือหลอดลมฝอยมีการอักเสบของหลอดลม ก็จะเกิดการบวมของหลอดลม ทำให้รูหายใจเข้าเล็กลง ลมเข้าออกจะลำบากจึงหายใจหอบ มีเสียงวี๊ดหรือครืดคราด เมื่อการอักเสบดีขึ้นจะหายเป็นปกติ เด็กเล็กหลอดลมก็เล็กก็จะมีอาการมาก เมื่อเอกซเรย์ลักษณะปอดจะดำกว่าปกติเพราะมีลมค้างอยู่ในปอด และมีร่องรอยของหลอดลมเป็นร่างแหเห็นได้
 
โอกาสที่โรคนี้จะเสียชีวิตน้อยมาก การรักษาเป็นการรักษาตามอาการประคับประคองเรื่องการหายใจของเด็ก รอเวลาให้การอักเสบต่างๆดีขึ้นด้วยระบบภูมิต้านทานของเด็กเอง โรคนี้ไม่ใช่โรคอุบัติใหม่ รู้จักกันมานานและมีการพยายามที่จะพัฒนาวัคซีนมากกว่า 30 ปี ก็ไม่ประสบความสำเร็จด้วยปัจจัยหลายอย่างที่ภูมิคุ้มกันไม่ได้อยู่ยาวนาน การศึกษาภูมิต้านทานจนถึงเด็กอายุ 4 ขวบที่ทำอยู่ขณะนี้ พบว่าเด็กเกือบทั้งหมดเคยติดเชื้อไวรัส RSV มาแล้วและจำนวนมากมีอาการน้อยหรือไม่ทราบด้วยซ้ำ แค่ป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจธรรมดา 
 
ในปัจจุบันมีวิธีการตรวจที่ดีขึ้น ทำให้ตรวจได้ง่ายและมีการแพร่กระจายข่าวในสื่อสังคม ทำให้เป็นที่ตื่นตระหนกกับมารดาจำนวนมาก การป้องกันดังได้กล่าวมาแล้วว่าโรคนี้จะเป็นไปตามฤดูกาลโดยพบมากในฤดูฝนหรือหลังเปิดเทอมแรกของนักเรียน การแพร่กระจายที่สำคัญจึงอยู่ที่โรงเรียนอนุบาล การใช้ของร่วมกัน การอยู่ร่วมกัน การนอนร่วมกันโดยเฉพาะในห้องแอร์ จึงเป็นแหล่งแพร่กระจายโรคได้ดี 
 
การป้องกันที่ดีที่สุดคือห้องเรียนจะต้องมีอากาศถ่ายเทได้ดี ทำความสะอาดข้าวของเครื่องใช้ ไม่ใช้ของใช้ร่วมกัน ล้างมือทำความสะอาดเสมอ เด็กที่ป่วยควรอยู่บ้าน ไม่ควรไปโรงเรียน การใส่หน้ากากอนามัยในเด็กโตช่วยได้ แต่ไม่แนะนำให้ในเด็กเล็กที่ต่ำกว่า 2 ขวบ โดยเฉพาะเวลานอน 
 
ในเด็กอนุบาล เมื่อไม่สบายเป็นโรคทางเดินหายใจ หายใจแรง มีเสียงดัง หรือหอบ ควรไปพบแพทย์ ในรายที่ไม่เป็นมาก ถึงแม้ว่าจะตรวจพบว่าเป็น RSV ก็ไม่มีเหตุผลให้นอนโรงพยาบาล อาการที่ควรจะนอนโรงพยาบาลคือ มีไข้สูง หายใจหอบ หายใจแรง และต้องพ่นยาบ่อยครั้ง

 
 
 
 

Useful resources
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด