ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

Telehealth/Telemedicine บริการสาธารณสุขระบบทางไกล ยุค New Normal

Telehealth/Telemedicine บริการสาธารณสุขระบบทางไกล ยุค New Normal HealthServ.net
Telehealth/Telemedicine บริการสาธารณสุขระบบทางไกล ยุค New Normal ThumbMobile HealthServ.net

สปสช.จับมือโรงพยาบาล 15 แห่ง นำร่องจ่ายค่าบริการ Telehealth/Telemedicine เฟสแรก เพื่อลดระยะห่างทางกายภาพและลดความแออัดในโรงพยาบาล รับมือสถานการณ์โควิด-19 ระบาดรอบใหม่ เน้นกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังรายที่มีอาการคงที่ สามารถควบคุมโรคได้ดี

Telehealth/Telemedicine บริการสาธารณสุขระบบทางไกล ยุค New Normal HealthServ

Telehealth / Telemedicine บริการสาธารณสุขระบบทางไกล เป็นหนึ่งในรูปแบบบริการที่ สปสช.ได้พัฒนาการจ่ายเงินชดเชยค่าบริการเพื่อส่งเสริมให้เกิดการเว้นระยะห่างทางกาย ลดการเดินทางและลดความแออัดในโรงพยาบาล

  • ได้เริ่มนำร่องให้บริการระยะที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 2563 ที่ผ่านมา 
  • โรงพยาบาลที่มีความพร้อมและสมัครใจเข้าร่วมโครงการในขณะนี้ 15 แห่ง ประกอบด้วย
    1. โรงพยาบาลศิริราช
    2. โรงพยาบาลรามาธิบดี
    3. โรงพยาบาลราชวิถี
    4. โรงพยาบาลประสาทวิทยา
    5. สถาบันมะเร็งแห่งชาติ
    6. โรงพยาบาลกลาง
    7. โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
    8. โรงพยาบาลตากสิน
    9. โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
    10. โรงพยาบาลราชพิพัฒน์
    11. โรงพยาบาลสิรินธร
    12. โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์
    13. โรงพยาบาลลาดกระบัง
    14. โรงพยาบาลมะเร็งลำปาง
    15. โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน
    16. โรงพยาบาลอื่นๆที่มีความพร้อมในเขตสุขภาพที่ 1-12

"ผู้ป่วยที่ใช้สิทธิบัตรทองติดต่อสอบถามโรงพยาบาลที่ตนรับบริการ เพื่อสอบถามข้อมูล หรือแสดงความจำนงค์เข้ารับบริการสาธารณสุขระบบทางไกลได้ตามต้องการ"

เป้าหมายเบื้องต้นของบริการ Telehealth/Telemedicine คือเน้นที่กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังรายเก่าในหน่วยบริการที่มีอาการคงที่ สามารถควบคุมโรคได้ดี ซึ่งแพทย์สามารถตรวจรักษาผ่านระบบทางไกลได้ ไม่จำเป็นต้องเดินทางมาหาถึงโรงพยาบาล ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อทั้งระหว่างการเดินทางหรือการติดเชื้อจากผู้ป่วยด้วยกันเองที่โรงพยาบาล ขณะเดียวกันยังช่วยลดความแออัด ทำให้การรักษาระยะห่างในพื้นที่โรงพยาบาลมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ขั้นตอนการรับบริการ

  1. ทางแพทย์จะเป็นผู้ประเมินอาการผู้ป่วยว่ามีอาการคงที่ พร้อมที่จะรับการรักษาผ่านระบบ Telehealth/Telemedicine หรือไม่ 
  2. หากประเมินแล้วพบว่าผู้ป่วยมีความพร้อมก็จะแจ้งให้ทราบและสอบถามความสมัครใจเข้าร่วมโครงการ จากนั้นพยาบาลจะติดต่อชี้แจงข้อตกลง วิธีการตรวจทางไกลและนัดหมายผู้ป่วย 
  3. ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันตามที่โรงพยาบาลกำหนดมาไว้ในเครื่องสมาร์ทโฟนหรืออุปกรณ์อื่น ๆ ที่รองรับ 
  4. ในการรับบริการทางเจ้าหน้าที่จะทำการยืนยันตัวตนผู้ป่วย ตรวจสอบสิทธิการรักษา จัดเตรียมประวัติการรักษาและนัดหมายเวลาพบแพทย์ให้ เมื่อถึงเวลานัดก็ทำการเชื่อมต่อวิดีโอคอลกับแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย 
  5. หากจำเป็นต้องรับยาด้วย ทางโรงพยาบาลก็จะมีระบบการจัดส่งยาทางไปรษณีย์หรือแพ็คยาแล้วให้ไปรับยาที่ร้านยาใกล้บ้านโดยไม่เสียค่าบริการ 
  6. ประโยชน์อีกทางของการไปรับยาที่ร้านยา คือผู้ป่วยจะมีเวลาพูดคุยรับคำปรึกษาเรื่องยากับเภสัชกรได้นานกว่าที่โรงพยาบาล อีกทั้งเภสัชกรจะช่วยติดตามอาการเบื้องต้นและประเมินผลการทานยาให้อีกทางหนึ่งด้วย
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด