ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

WHO เปลี่ยนการเรียกชื่อสายพันธุ์โควิด จากชื่อประเทศ เป็นตัวอักษรกรีกแทน

WHO เปลี่ยนการเรียกชื่อสายพันธุ์โควิด จากชื่อประเทศ เป็นตัวอักษรกรีกแทน HealthServ.net
WHO เปลี่ยนการเรียกชื่อสายพันธุ์โควิด จากชื่อประเทศ เป็นตัวอักษรกรีกแทน ThumbMobile HealthServ.net

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์​ (Center for Medical Genomics) โดย ศ.เกียรติคุณ ดร.วสันต์ จันทราทิตย์ หัวหน้าศูนย์จีโนมทางการแพทย์ ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนการเรียกชื่อสายพันธุ์ไวรัสก่อโรคโควิด-19 ใหม่ ซึ่งกำหนดโดยองค์กรอนามัยโลก ให้ใช้การเรียกด้วยอักษรกรีกแทนชื่อประเทศ

WHO เปลี่ยนการเรียกชื่อสายพันธุ์โควิด จากชื่อประเทศ เป็นตัวอักษรกรีกแทน HealthServ
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ ได้ให้รายละเอียด ประเด็นการเรียกชื่อสายพันธุ์ไวรัสก่อโรคโควิด-19 ตามชื่อเมืองหรือประเทศที่พบการระบาด ว่าอาจก่อให้เกิดผลลบทางด้านเศรษฐกิจและสังคมตามมามากมาย

ล่าสุด WHO ได้ตัดสินใจปรับการเรีบกชื่อไวรัสเหล่านั้นใหม่ตามอักษรกรีก (จากบทความ Tracking SARS-CoV-2 variants - WHO) คาดหวังว่านอกจากจะลดสิ่งที่เสมือน "การสร้างตราบาป" จากการเรียกด้วยชื่อประเทศแบบเดิมซึ่งเป็นเหตุของความขัดแย้งแล้ว ยังง่ายต่อการเรียกหรือออกเสียง และเป็นที่เข้าใจ กับคนทุกระดับมากกว่า โดยเฉพาะกับบุคคลทั่วๆไป ที่ส่วนใหญ่ไม่ใช่แพทย์หรือนักวิทยาศาสตร์

วิธีเรียก สำหรับ 2 กลุ่ม สายพันธุ์ที่น่ากังวล (VoC) และสายพันธุ์ที่ให้ความสนใจติดตาม (VoI)
 
1. สายพันธุ์ที่น่ากังวลใจ (Variants of Concern)
alpha แอลฟา  = สายพันธุ์อังกฤษ B.1.1.7
beta บีตา = สายพันธุ์แอฟริกาใต้ B.1.351
gamma แกมมา =สายพันธุ์บราซิล P.1
delta เดลตา = สายพันธุ์อินเดีย B.1.617.2
 
2. สายพันธุ์ที่ควรให้ความสนใจติดตาม (Variants of Interest) 
epsilon เอปไซลอน =สายพันธุ์สหรัฐ  B.1.427/B.1.429
zeta ซีตา =สายพันธุ์บราซิล  P2
eta อีตา =สายพันธุ์  B.1.525   พบในหลายประเทศ
theta ทีตา =สายพันธุ์ฟิลิปปินส์ P3 
iota ไอโอตา =สายพันธุ์สหรัฐ  B.1.526  
kappa แคปปา = สายพันธุ์อินเดีย B.1.617.1
WHO เปลี่ยนการเรียกชื่อสายพันธุ์โควิด จากชื่อประเทศ เป็นตัวอักษรกรีกแทน HealthServ

ถอดรหัสพันธุกรรมเพื่อรู้จักไวรัส

การถอดรหัสพันธุกรรมไวรัส SARS-CoV-2 ที่ก่อโรคโควิด-19 ทั้งจีโนม จะบอกได้ว่าไวรัสสายพันธุ์ดังกล่าว เป็นสายพันธุ์ที่น่ากังวลใจ (Variants of Concern;VOC)  หรือ สายพันธุ์ที่ควรสนใจติดตาม (Variants of Interest;VOI) อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงระดับจีโนมที่เกิดอยู่ตลอดเวลา การเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่มีผลกระทบต่อคุณสมบัติของไวรัสเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงบางอย่างอาจส่งผลต่อคุณสมบัติของไวรัส เช่น การแพร่กระจายง่าย ความรุนแรงของโรคที่เกี่ยวข้อง หรือส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของวัคซีน ยารักษาโรค เครื่องมือวินิจฉัย หรือมาตรการด้านสาธารณสุขและสังคมอื่นๆ 
 
นอกจากนี้รหัสพันธุ์กรรมของโควิด-19 ยังจะใช้บ่งชี้ถึงความสัมพันธ์ของไวรัสแต่ละสายพันธุ์ว่าสายพันธุ์ไหนเกิดก่อน เกิดทีหลัง หรือสูญพันธุ์ไปแล้ว  ทั้งยังแสดงได้ว่าประชาชนกลุ่มใดหรือประเทศใดน่าจะแพร่ไวรัสให้กับประชาชนอีกกลุ่มหรืออีกประเทศหนึ่งได้

อย่างไรก็ดีจำเป็นต้องระมัดระวังในการสื่อสารเพราะไม่มีประเทศใดอยากถูกมองและถูกประนามว่าเป็นสาเหตุเผยแพร่ไวรัสไปให้อีกประเทศหนึ่ง ดังนั้นการกล่าวว่ากลุ่มคนหรือประเทศหนึ่งเป็นต้นตอของการระบาดของโควิด-19 (ไม่ว่าจะมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ยืนยันหรือไม่) อาจเป็นชนวนก่อให้เกิด อาชญากรรมแห่งอคติ (Hate crime) หรือก่อให้เกิดกรณีพิพาทระหว่างประเทศขึ้นได้
 
คุณ ลดาวัลย์ ใยมณีได้อธิบายถึงอาชญากรรมแห่งอคติในสังคมพลวัตไว้อย่างน่าสนใจว่า Hate Crimes แม้จะแปลเป็นภาษาไทยตรงตัวว่า “อาชญากรรมที่เกิดจากความเกลียดชัง” แต่ในความเป็นจริงมูลเหตุจูงใจของอาชญากรรมประเภทนี้กลับไม่ใช่ความเกลียด  แต่คือ “อคติ” บางครั้งจึงเรียกอาชญากรรมประเภทนี้ว่า Bias-motivated Crimes ซึ่งอคตินี้ไม่ได้มีต่อเหยื่อคนใดคนหนึ่งเป็นการเฉพาะ แต่มุ่งเน้นไปที่เอกลักษณ์บางประการของกลุ่มคน หรือ Stereotypes เช่น ความแตกต่างของเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ศาสนา ความเชื่อ ความเป็นชนกลุ่มน้อย ความโน้มเอียงทางเพศ ความพิการ ความเชื่อทางการเมือง ชนชั้น หรือสถานะทางสังคม (Hate Crimes: อาชญากรรมแห่งอคติในสังคมพลวัต โดย นางสาวลดาวัลย์ ใยมณี )
 
ในกรณีของการระบาดของโควิด-19 ก็เช่นเดียวกัน (Covid-19 pandemic and hate crime) ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนคือในกรณีของอดีตประธานาธิบดีสหรัฐ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ทวีตข้อความว่า “Chinese Virus' พบว่าเพียง 48 ชั่วโมง หลังจากการทวีตได้มีชาวอเมริกันร่วมทวีตแสดงความเกลียดชังต่อต้านชาวเอเชียเพิ่มขึ้นถึง 656% จากนั้นคนเอเชียก็ตกเป็นแพะรับบาป ถูกหาว่าเป็นต้นตอของโรคติดเชื้อโควิด-19 ถูกเกลียดชัง ถึงขั้นคนเอเชียหลายคนถูกทำร้ายในต่างประเทศ

โดยจากการวิจัยจาก “Center for the Study of Hate and Extremism ที่มหาวิทยาลัย California  พบว่าการทำร้ายคนเอเชียในสหรัฐ ในปี 2563 เพิ่มขึ้นถึง 150% ส่วนในกรณีของไทยศูนย์จีโนมทางการแพทย์ฯ และ CONI team เมื่อถอดรหัสพันธุกรรมผู้ติดเชื้อบริเวณชายแดน จะมีการทำรายงานสรุปผู้เกี่ยวข้อง บ่อยครั้งต้องปรึกษาการใช้ถ้อยคำที่จะใช้ในรายงานกับทูตประจำประเทศนั้นๆ โดยจะระมัดระวังไม่ระบุชื่อประเทศเพื่อนบ้าน เพราะอาจจะเกิดกรณีพิพาทเหมือนที่เกิดขึ้นมาแล้วในอดีตได้ เพราะไทยและประเทศเพื่อนบ้านยังไปมาหาสู่กัน มีแรงงานต่างชาติมาทำงานในประเทศเรา และขณะเดียวกันเราก็ไปทำงาน ดำเนินธุรกิจในประเทศเพื่อนบ้าน อีกทั้งประเทศเพื่อนบ้านเราหลายประเทศยังไม่ได้ถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมของโควิด-19 ที่ระบาดในประเทศเขา และ upload ขึ้นในฐานข้อมูลจีโนมโลกของโควิด-19 GISAID จำนวนตัวอย่างมากพอที่เราจะนำมาวิเคราะห์ระบุทิศทางของการระบาดว่า เชื้อจากประเทศเพื่อนบ้านระบาดเข้ามาในประเทศไทย หรือจากประเทศไทยระบาดไปยังเพื่อนบ้าน

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ 
1 มิถุนายน 2564
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด