ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

WHO ย้ำการระบาดใหญ่ทั่วโลก (Pandemic) ของโควิด-19 "ยังไม่สิ้นสุด"

WHO ย้ำการระบาดใหญ่ทั่วโลก (Pandemic) ของโควิด-19 "ยังไม่สิ้นสุด" HealthServ.net
WHO ย้ำการระบาดใหญ่ทั่วโลก (Pandemic) ของโควิด-19 "ยังไม่สิ้นสุด" ThumbMobile HealthServ.net

การระบาดใหญ่ทั่วโลก (Pandemic) ของโควิด-19 ยังไม่สิ้นสุด ขอย้ำ ยังไม่สิ้นสุด. ดร. เทโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส กล่าว

WHO ย้ำการระบาดใหญ่ทั่วโลก (Pandemic) ของโควิด-19 "ยังไม่สิ้นสุด" HealthServ


ดร. เทโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส  ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้แถลงผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ ในวันที่ 16 มีนาคม 2565 ใจความว่า
 
หลังจากจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ลดลงต่อเนื่องมาหลายสัปดาห์ ขณะนี้ได้กลับมีผู้ติดเชื้อรายใหม่จำนวนเพิ่มมากขึ้นอีกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประชากรของทวีปเอเชีย ทั้งที่หลายประเทศได้ลดการตรวจทางห้องปฏิบัติการลง อันหมายถึงจำนวนผู้ติดเชื้อน่าจะสูงกว่านี้มาก โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ยกเลิกมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม  ละเลิกการสวมใส่หน้ากากอนามัย และไม่ฉีดวัคซีน จากนี้ไปแน่นอนว่าจำนวนผู้เสียชีวิตทั่วโลกจากโควิด-19 จะเพิ่มสูงขึ้นติดตามมา
 
การระบาดใหญ่ทั่วโลก (Pandemic) ของโควิด-19  ยังไม่สิ้นสุด ขอย้ำ ยังไม่สิ้นสุด.  ดร. เทโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส กล่าว
 
WHO ขอร้องให้ทุกประเทศกลับมาตั้งการ์ด ฉีดวัคซีน ตรวจ ATK, PCR  และถอดรหัสพันธุกรรมไวรัสทั้งจีโนมเพื่อติดตามการกลายพันธุ์ของไวรัส รวมทั้งเฝ้าระวังดูแลผู้ติดเชื้อและเจ็บป่วยตั้งแต่เนิ่นๆ นำมาตรการสาธารณสุขที่สมเหตุสมผล (common sense) ต่อสถานการณ์และช่วงเวลามาใช้ในการคุ้มครองผู้ปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขและประชาชน


 
 
 

โรคประจำถิ่นไม่ได้หมายถึง ดี

โรคประจำถิ่น (Endemic)  ในมุมมองของ WHO  ไม่ได้มีความหมายในทาง “ดี” ไม่ได้หมายถึงการจบเกม (Endgame) ของโรคโควิด-19
 
จุลชีพที่เดิมมี “การระบาดไปทั่วโลก (Pandemic)” เช่น เชื้อเอชไอวี (HIV) ที่ก่อให้เกิดโรคเอดส์  เชื้อไมโครแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซีส (TB) ที่ก่อให้เกิดวัณโรคปอด  และเชื้อมาลาเรีย (Malaria) ที่ก่อให้เกิดโรคไข้จับสั่น ปัจจุบันได้กลายสภาพเป็น “โรคประจำถิ่น” ด้วยกันทั้งสิ้น แต่ก็ยังสามารถทำให้มนุษย์จำนวนนับล้านคนต้องจบชีวิตลงในทุกปี เราต้องใช้เวลา 20-30 ปี และงบประมาณหลายหมื่นล้านบาทในการที่จะสร้างมาตรการป้องกัน ดูแล และรักษาประชาชนทั่วโลกที่มีประสิทธิภาพมากพอที่จำกัดการระบาดของจุลชีพเหล่านี้ให้อยู่ในโหมดที่เรียกว่า "โรคประจำถิ่น (Endemic)"  
 
WHO ย้ำการระบาดใหญ่ทั่วโลก (Pandemic) ของโควิด-19 "ยังไม่สิ้นสุด" HealthServ
 
WHO มองว่าการปรับเปลี่ยนจากภาวะ “การระบาดไปทั่วโลก (Pandemic)” มาเป็น “โรคประจำถิ่น (Endemic)  เป็นเสมือนการเปลี่ยนการเรียกชื่อ แต่มาตรการป้องกัน  ดูแล  และรักษา ยังต้องรัดกุม แม้ไม่ถึงขั้นต้องปิดประเทศ งดงานเลี้ยง งานชุมนุมต่างๆ หรือใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา แต่เราจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเราเองให้อยู่ร่วมกับจุลชีพเหล่านี้ให้จงได้
 
เมื่อ 10 มีนาคม 2565 องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ออกมาย้ำเตือนและขอความร่วมมือจากทุกประเทศทั่วโลกผ่าน “วิดีโอคอนเฟอเรนซ์” ในหลายเรื่อง CMGrama/posts/4895931630514578
 
 

หนึ่งในหัวข้อสำคัญคือความหมายของคำว่าโรคประจำถิ่น (Endemic)

ทาง WHO แถลงว่า “โรคประจำถิ่น” อันหมายถึงโรคติดเชื้อที่จำนวนผู้ติดเชื้อลดลงจนระบบสาธารสุขของแต่ละประเทศสามารถควบคุมได้ มีการระบาดหนักบ้างเบาบ้างเกิดเป็นช่วงๆที่พอคาดการณ์ได้ เช่น ตามฤดูกาล แต่ไม่ได้หมายความว่าจะต้องมีการยุติการระบาดหรือต้องสามารถกำจัดตัวเชื้อก่อโรคให้สูญสลายไปจากโลก ในประวัติศาสตร์ของโลก ไวรัสที่มนุษย์สามารถปราบให้สูญสิ้นลงได้มีเพียงตัวเดียวคือ “ไวรัส Variola” ที่ก่อให้เกิดโรคฝีดาษ ด้วยการปลูกฝีป้องกัน 
 

หมายเหตุ
 
กรณีของเชื้อเอชไอวี (HIV) ที่ก่อให้เกิดโรคเอดส์ เดิมมีการระบาดไปทั่วโลก (Pandemic) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 ปัจจุบันได้กลายเป็นโรคประจำถิ่น (Endemic) ในที่สุด ประเทศไทยต้องใช้งบประมาณถึง 3 พันล้านบาทต่อปีในการป้องกัน ควบคุม และรักษา เช่น การตรวจวินิจฉัย CD4, viral load, และการถอดรหัสพันธุกรรมเพื่อดูว่าไวรัสดื้อต่อยาต้านไวรัสแล้วหรือไม่ และสามารถปรับเปลี่ยนยาหากเชื้อดื้อยาได้ทันท่วงที รวมทั้งมีการจัดหายาต้านไวรัสที่มีประสิทธิภาพสูงมาใช้ มีการผลิตยาต้านไวรัสเอชไอวีบางประเภทขึ้นใช้ในประเทศโดยองค์การเภสัชกรรม  และเราได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่ออยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี  เช่น ใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์กับกลุ่มเสี่ยง หรือหากไม่ได้ใช้ถุงยางอนามัยกับกลุ่มเสี่ยงหรือเกิดอุบัติเหตุสัมผัสเลือดผู้ติดเชื้อเอชไอวีก็รีบไปรับยาต้านไวรัสมารับประทานในทันที มีการตรวจกรองเลือดบริจาคให้ปราศจากเชื้อจุลชีพต่างๆรวมทั้งเอชไอวีก่อนให้กับผู้ป่วยที่ต้องการเลือด เป็นต้น
 
ดังนั้นในกรณีของไวรัสโคโรนา 2019  ที่ทางภาครัฐจะปรับให้เป็นโรคประจำถิ่นเร็วๆนี้นั้นคาดว่าคงเพราะจำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ในปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนน้อยกว่า 1 คนในจำนวนประชากร 1 ล้านคน เพื่อสามารถขยับขับเคลื่อนด้านเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพจิต รวมถึงการรักษาอาการที่ตามมาหลังหายป่วยจากโควิด-19 หรือ “ลองโควิด (Long COVID)” ให้ประเทศเราสามารถเดินหน้าต่อไปได้ โดยคาดว่าประชาชนคนไทยคงต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหลายอย่างเพื่ออยู่ร่วมกับไวรัสโคโรนา 2019 ตัวนี้ให้ได้ 
 

Center for Medical Genomics
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด