ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

สวางคนิเวศ ที่พักสำหรับผู้สูงอายุ โดยสภากาชาดไทย

Logo

ที่อยู่/ติดต่อ
3 ต.ท้ายบ้านใหม่ อ.เมือง สมุทรปราการ 10280

*ข้อมูลรวบรวมโดย Healthserv.net เพื่ออำนวยความสะดวกเบื้องต้นให้กับผู้ชมที่ต้องการข้อมูลสถานพยาบาล ไม่ใช่เว็บทางการของรพ./สถานพยาบาลแต่อย่างใด แนะนำให้ไปยังเว็บไซต์/เฟซบุ๊ค หรือช่องทางติดต่อของรพ./สถานพยาบาลนั้นๆ โดยตรง

HealthServ ชวนร่วมตอบแบบสอบถาม สำรวจความต้องการบริการสุขภาพของคนไทย

HealthServ ชวนร่วมตอบแบบสอบถาม สำรวจความต้องการบริการสุขภาพของคนไทย

ผลสำรวจ

ข่าวสาร-สาระ-ข้อมูลบริการ สวางคนิเวศ ที่พักสำหรับผู้สูงอายุ โดยสภากาชาดไทย

ข่าวสาร ข้อมูลบริการ บทความ สาระประโยชน์

  • ยังไม่มีข่าวสาร ข้อมูลจากที่นี่
[ทั้งหมด]
 ประวัติความเป็นมา
ประมาณปี พ.ศ. 2505 ท่านอื้อจื่อเหลียง ได้ยกพื้นที่ของตนเองบริเวณหมู่ 2 ตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ ติดกับชายทะเล เนื้อที่ประมาณ 180 ไร่ ให้กับสภากาชาดไทย ซึ่งจุดประสงค์ครั้งแรกคือ ต้องการให้เป็นโรงพยาบาลโรคปอด ซึ่งในอดีตมีสถานที่รักษาที่ทันสมัยน้อยมาก โดยท่านอื้อจื่อเหลียง ได้ก่อสร้างอาคารสถานที่ทุกอย่างให้ด้วย ซึ่งปัจจุบันบางอาคารก็ได้เลิกใช้เนื่องจากชำรุดทรุดโทรม โดยมีทั้งหอประชุมขนาดใหญ่ ซึ่งในสมัยนั้นถือเป็นหอประชุมที่ใหญ่ที่สุดในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ซึ่งหน่วยราชการและเอกชนแทบทุกแห่งต้องใช้สวางคนิวาสเป็นที่จัดการประชุม ขนาดใหญ่
 
สิ่งที่น่าสนใจศึกษาและเรียนรู้
สวางคนิวาสเน้นเรื่องการบริการสาธารณสุขเป็นส่วนใหญ่ และยังเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่ง มีทั้งที่พักไว้บริการด้วย
 
ปัจจุบันสวางคนิวาสซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโรงพยาบาลจุฬาฯ เป็นที่ตั้งสถานีกาชาดที่ 3 ให้บริการผู้ป่วยนอกและการสาธารณสุขทุกอย่าง และยังมีตึกผู้ป่วยในไว้เป็นสถานพักฟื้นหลังการผ่าตัดของผู้ป่วยจากโรง พยาบาลจุฬาฯ และยังมีตึกสถานพักฟื้นคนชราสำหรับขายเป็นห้อง ๆ หรือจ่ายเป็นรายเดือน โดยสวางคนิวาสจะมีบริการอาหาร กายภาพบำบัด และดูแลอย่างดี นอกจากนี้ยังมีหอประชุมให้เช่าในการจัดการประชุมต่าง ๆ ด้วย
นอกจากที่กล่าวมาแล้วสวางคนิวาสยังเป็นสถานที่ตั้งของศูนย์พัฒนาเด็ก เล็ก ซึ่งเป็นโครงการของพระเทพฯ เพื่อแบ่งเบาภาระของแม่ที่ต้องทำงานนอกบ้าน
 
รายละเอียด (กิจกรรมหรือสิ่งต่าง ๆ ที่มีอยู่ในแหล่งการเรียนรู้)
  1. เป็นสถานให้บริการสาธารณสุขครบวงจร
  2. เป็นสถานพักฟื้นผู้ป่วยหลังการผ่าตัดและคนชรา
  3. เป็นสถานพักผ่อนหย่อนใจที่สวยงาม
  4. เป็นสถานที่เหมาะสมในการออกกำลังกาย

Headlines news



  1. สวางคนิเวศ บ้านพักผู้สูงอายุ ภายใต้สภากาชาดไทยสวางคนิเวศ
    บ้านพักผู้สูงอายุ ภายใต้สภากาชาดไทย
    สวางคนิเวศ ที่พักสำหรับผู้สูงอายุ สวางคนิเวศ เป็นโครงการที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุที่อยู่ในกำกับของสภากาชาดไทย ซึ่งเป็นองค์กรการกุศล โดยตั้งอยู่ในพื้นที่ของสภากาชาดไทยซึ่งได้รับการบริจาคจากมูลนิธิอื้อจือเหลียง จำนวน 100 ไร่ โครงการแรกได้เริ่มก่อสร้างเมื่อ พ.ศ.2539 และต่อมาได้สร้างโครงการที่สอง รวมมีทั้งหมด 9 อาคาร จำนวน 468 ห้อง บนพื้นที่ 23 ไร่ สวางคนิเวศเป็นโครงการต้นแบบที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุ และให้บริการสนับสนุนวิชาการและการวิจัย และบริการสังคมด้านผู้สูงอายุบริเวณด้านหน้าโครงการมีศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูพร้อมแพทย์และอุปกรณ์ และสถานีกาชาดที่ 5 (ลักษณะคล้ายโรงพยาบาลตำบล) ซึ่งมีแพทย์ประจำทุกวัน อาคารสวางคนิเวศ ได้รับการออกแบบอาคารเพื่อสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวก ที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุและคนพิการ เช่น ทางลาด ลิฟต์ ประตูห้องกว้าง 90 เซนติเมตร ไม่มีธรณีประตู พื้นห้องไม่ลื่น มีอุปกรณ์จับในห้องน้ำ ปุ่มฉุกเฉินในห้องน้ำ ไฟฉุกเฉินหน้าห้องพัก ไฟส่องสว่าง บันไดหนีไฟ สระว่ายน้ำที่มีความเหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุโดยมีทางลาด ราวจับ และไม่ลึก จุดเด่นของโครงการ สวางคนิเวศ 1) วัตถุประสงค์ของโครงการ: เป็นที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุที่มีฐานะระดับกลาง และมีสุขภาพดีโดยให้ความรู้สึกเหมือนอยู่บ้าน 2) การบริหารจัดการโครงการ: สภากาชาดไทยให้ยืมเงินลงทุนโครงการแรกจำนวน ...
     
  2. บ้านเพื่อผู้สูงวัยโจทย์ใหญ่รัฐ เมื่อประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
    ขณะที่หลายๆ ประเทศในเอเชียได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุไปแล้ว เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ซึ่งเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว เป็นประเทศที่ประชากรมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวสูง แต่ประเทศไทยเพิ่งเริ่มตระหนัก และเริ่มดำเนินการหาวิธีรับมือปัญหา คือ ในประเทศที่พัฒนาแล้วเหล่านั้นเป็นประเทศที่ประชาชนมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวที่สูง ทำให้ประเทศไทยกลับประสบปัญหา ประชากรยังเป็นผู้มีรายได้ต่ำ ซึ่งส่งผลต่อการเข้าถึงสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่พัฒนาโดยเอกชน ทั้งนี้ ในกรณีตัวอย่างของประเทศญี่ปุ่นนั้น การจัดหาที่อยู่อาศัยเพื่อผู้สูงอายุ และสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยดำเนินการได้ง่ายกว่าประเทศไทย เนื่องจากรัฐสวัสดิการที่ดี เป็นผลจากรัฐบาลมีการจัดเก็บกับประชาชนในประเทศกว่า 30-40% เพื่อสำรองไว้ให้แก่ประชาชนในช่วงเกษียณอายุ ทำให้มีเงินก้อนเป็นหลักประกันในการขอสินเชื่อในช่วงหลังการเกษียณอายุ ดังนั้น การพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยเพื่อผู้สูงอายุจึงได้รับการตอบรับที่ดี และเข้าถึงกลุ่มผู้สูงอายุได้ในทุกระดับ หันกลับมามองที่ประเทศไทย ซึ่งได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุตั้งแต่ปี 2548 คือ มีจำนวนผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปี ถึง 10% ของประชากร และมีอัตราเพิ่มจำนวนเร็วกว่า 4% ต่อปี ขณะที่ประชากรรวมเพิ่มเพียง 0.5% หรืออีกความหมาย การเกิดค่อนข้างน้อยลง ทำให้คาดว่าไทยจะเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ โดยในปี 2564 จะมีผู้สูงอายุ 20% ของจำนวนประชากร และในปี 2574 ...
     
  3. ตัวเลือกที่อาจ “ใช่” สำหรับคุณ
    สวางคนิเวศ บ้านหลังสุดท้าย
    คำตอบสุดท้าย เรื่อง : บีเซลบับ ภาพ : วีรวงศ์ วงศ์ปรีดี

    สหประชาชาติ (UN) ให้คำนิยามว่า ประเทศที่มีประชากรอายุเกิน 60 ปีขึ้นไปเกิน 10% หรืออายุเกิน 65 ปีขึ้นไปเกิน 7% ของประชากรทั้งประเทศ ถือว่าประเทศนั้นได้ก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุ (Aging Society) จะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) เมื่อสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป เพิ่มเป็น 20% และอายุ 65 ปีขึ้นไป เพิ่มเป็น 14% จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ประเทศไทยมีสถิติของผู้สูงอายุทะลุเกณฑ์ คือ 10.7% เป็นครั้งแรกในปี 2550 และทำให้ไทยก้าวสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) มานับแต่นั้น จากการสำรวจยังพบว่า สัดส่วนผู้สูงอายุที่อยู่คนเดียวตามลำพังในครัวเรือนมี แนวโน้มสูงขึ้น โดยปี 2537 มีผู้สูงอายุที่อยู่คนเดียว ...
     
  4. รัฐเตรียมผุดบ้านพัก'วัยเก๋า'รองรับข้าราชการ-คนระดับกลาง
    โครงการบ้านพักผู้สูงอายุหลายแห่งที่ รัฐดูแลตอนนี้ไม่เพียงพอ โดยเฉพาะในคนที่มีฐานะระดับกลาง ซึ่งภาครัฐ มีแผนจะสร้างบ้านพักแห่งใหม่ใน จ.ชลบุรี เพื่อให้ข้าราชการบำนาญ และผู้มีกำลังทรัพย์ได้เข้าอยู่ สมคิด สมศรี อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ กล่าวว่า ปีนี้มีแผนสร้างบ้านพักผู้สูงอายุนำร่องที่จังหวัดชลบุรี โดยกรมผู้สูงอายุเป็นแม่งานหลัก เบื้องต้นประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมธนารักษ์, สวางคนิเวศ ของสภากาชาดไทย, สถาปนิก จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการวางแนวทางคาดว่า เสนอแผนให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติทันวันผู้สูงอายุเดือนเมษายนปีนี้ เพื่อเป็นของขวัญให้กับผู้สูงอายุ โครงการนำร่องที่แรกใช้พื้นที่ใน อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ที่สภากาชาดไทยมีการสร้างโรง พยาบาลไว้รองรับอยู่แล้ว โครงการนี้จะออกแผนแม่บทในเดือนมกราคม จากนั้นจะขออนุญาตใช้ที่จากกรมธนารักษ์ เดือนกุมภาพันธ์ พอเดือนมีนาคม จะนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ และเดือนเมษายนเสนอเข้าที่ประชุม ครม. โครงการที่ อ.บางละมุง ติดกับทะเลพื้นที่ 48 ไร่ ขนาด 300 ยูนิต สูง 5 ชั้น อาคารหลังหนึ่งมี 39-40 ห้อง พื้นที่ห้องขนาด 33 ...
     
  5. พม.ใช้บ้านสวางคนิเวศ ต้นแบบสร้างบ้านผู้สูงอายุมีฐานะ
    จ.สมุทรปราการ 17 พ.ค.-รมว.พัฒนาสังคมฯ นำคณะศึกษาโครงการที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุฯ  สวางคนิเวศ  สภากาชาดไทย จ.สมุทรปราการ  เตรียมพัฒนาเป็นต้นแบบบ้านพักดูแลผู้สูงอายุที่มีฐานะแบบครบวงจร พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) นำคณะผู้บริหารกระทรวง ลงพื้นที่เยี่ยมชมโครงการที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุในพระราชดำริที่สวางคนิเวศ สภากาชาดไทย จ.สมุทรปราการ และกล่าวภายหลังว่า นำคณะมาเยี่ยมชมและศึกษาแนวคิด รูปแบบ กระบวนการจัดระบบการดูแลผู้สูงอายุและระบบการบริหารจัดการที่ดี ทั้งในด้านอาคารสถานที่ งบประมาณที่ใช้ในการบริหารจัดการ กฎระเบียบการเข้าพักอาศัยและบริการต่างๆก่อนนำมาปรับใช้เป็นแนวทางต้นแบบในการสร้างที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุที่มีฐานะแบบครบวงจรในอนาคต รมว.พัฒนาสังคมฯ กล่าวต่อว่า จากการศึกษาดูงานเบื้องต้นพบว่าสถานที่ นี้มีระบบการจัดการออกแบบรองรับความเป็นอยู่และสามารถตอบสนองความต้องการของผู้สูงอายุได้เป็นอย่างดี โดยจะนำแบบอย่างนี้ไปพัฒนาต่อยอดโครงการสร้างที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุที่มีฐานะต่อไป  เนื่องจากกระทรวงมีที่ดินอยู่หลายแห่งเหมาะแก่การดำเนินโครงการ โดยเฉพาะที่บางละมุง จ.ชลบุรี และอ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ซึ่งคาดว่าจะเป็นพื้นที่นำร่องโครงการ หลังจากนี้จะให้การเคหะแห่งชาติ ไปศึกษารายละเอียดและออกแบบโครงการ เพื่อดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในรัฐบาลนี้ ทั้งนี้ ที่ผ่านมากระทรวงได้ดำเนินการดูแลกลุ่มผู้สูงอายุที่มีฐานะยากจนมาตลอด ขณะที่ผู้สูงอายุที่มีฐานะ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นข้าราชการเกษียณที่มีรายได้จากเงินบำนาญ มีกำลังจ่ายและไม่มีลูกหลานกลับยังไม่มีมาตรการรองรับที่ชัดเจน ดังนั้น การดำเนินโครงการที่ตอบสนองต่อความต้องการได้ตรงจุด จึงเป็นอีกหนึ่งแนวทางปฏิบัติที่ทำให้ความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุไทยมั่นคงและยั่งยืนมากขึ้น .-สำนักข่าวไทย