ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ศูนย์การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

Suandok Palliative Care Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital

Logo

ที่อยู่/ติดต่อ
ศูนย์ประสานงานการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง
ชั้น 4 อาคารสุจิณโณ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ (สวนดอก)
110 ถ.อินทวโรรส ต.ศรีภูมิ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200

*ข้อมูลรวบรวมโดย Healthserv.net เพื่ออำนวยความสะดวกเบื้องต้นให้กับผู้ชมที่ต้องการข้อมูลสถานพยาบาล ไม่ใช่เว็บทางการของรพ./สถานพยาบาลแต่อย่างใด แนะนำให้ไปยังเว็บไซต์/เฟซบุ๊ค หรือช่องทางติดต่อของรพ./สถานพยาบาลนั้นๆ โดยตรง

HealthServ ชวนร่วมตอบแบบสอบถาม สำรวจความต้องการบริการสุขภาพของคนไทย

HealthServ ชวนร่วมตอบแบบสอบถาม สำรวจความต้องการบริการสุขภาพของคนไทย

ผลสำรวจ

ข่าวสาร-สาระ-ข้อมูลบริการ ศูนย์การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

ข่าวสาร ข้อมูลบริการ บทความ สาระประโยชน์

  • ยังไม่มีข่าวสาร ข้อมูลจากที่นี่
[ทั้งหมด]
ศูนย์การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
 เครือข่าย Palliative care ภายเหนือตอนบน รพ.มหาราชนครเชียงใหม่

  การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการให้บริการสุขภาพ สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง ผู้ป่วยที่เจ็บป่วยอย่างมาก ( serious illness )ด้วยโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาด หรือในผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา และผู้ป่วยที่อยู่ในวาระสุดท้ายของชีวิต การดูแลผู้ป่วยดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพจึงต้องใช้หลักการดูแลแบบประคับประคอง ( Palliative care ) โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดำรงชีวิตในระยะเวลาที่เหลืออยู่อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี ไม่มีความทุกข์ทรมานจากอาการรบกวนทั้งทางร่างกายและจิตใจ มีความหวังและกำลังใจ ไม่ท้อแท้ ไม่สิ้นหวัง รวมทั้งช่วยให้ผู้ป่วยและครอบครัวสามารถปรับตัวได้ต่อความเจ็บป่วย เมื่อผู้ป่วยอยู่ในวาระสุดท้ายของชีวิต ก็ให้การดูแลที่ช่วยให้ผู้ป่วยได้ทำภาระกิจต่างๆที่ยังห่วงใยให้สำเร็จ ช่วยให้ผู้ป่วยเสียชีวิตอย่างสมศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ในสถานที่ที่ผู้ป่วยเลือกเอง โดยประสบกับความทุกข์ทรมานน้อยที่สุด รวมทั้งให้การดูแลความเศร้าโศกของครอบครัวหลังจากการเสียชีวิตของผู้ป่วย โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ หรือ โรงพยาบาลสวนดอก ได้พัฒนาการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองและครอบครัว ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2547 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
 
ปี พ.ศ. 2547 คณะกรรมการ Palliative care ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ได้เริ่มต้นจัดระบบการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองในกลุ่มผู้ป่วยระยะสุดท้ายของหอผู้ป่วยต่างๆ มีการกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย โดยมุ่งเน้นการดูแลด้านจิตวิญญาณ ได้แก่ พิธีกล่าวอโหสิกรรมแก่ผู้ป่วยหลังจากที่ผู้ป่วยถึงแก่กรรมโดยทีมแพทย์ เจ้าหน้าที่พยาบาล และครอบครัวของผู้ป่วย การเชิญผู้ป่วยและครอบครัวเข้าร่วมกิจกรรมพบพระชำระใจทุก 1 เดือน การนิมนต์พระภิกษุเยี่ยมไข้ผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง ทุกวันอังคาร ช่วงบ่ายในหอผู้ป่วย
 
 
 
ปี พ.ศ. 2548 คณะกรรมการ Palliative care ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ได้ขยายผลการดูแลแบบประคับประคองไปในกลุ่มผู้ป่วยโรคมะเร็ง และกลุ่มผู้ป่วยอาการรุนแรงที่ไม่สามารถรักษาให้หาย จนถึงระยะสุดท้ายของชีวิต รวมทั้งมีการอบรมให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่พยาบาลเรื่องการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง และกำหนดแนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง
 
 
 
ปี พ.ศ. 2549 คณะกรรมการ Palliative care ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ได้ขอคำปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญในต่างประเทศ เช่น ดร.ไมเคิล ดาวนิ่ง ในการสร้าง "แนวทางการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองโดยสหสาขาวิชาชีพ" ตามแนวคิด Palliative care Integration Project Care Plan "Lite" version ของ Palliative care medicine, Queen's university ประเทศแคนาดา และเริ่มต้นใช้แบบประเมิน Palliative Performance Scale version 2 (PPS v2) ฉบับภาษาไทย ที่แปลโดยฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้าง "รูปแบบการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง ( Suandok's Palliative Care Model)"
 
 
 
ปี พ.ศ.2550 เริ่มจัดตั้งคณะกรรมการ Palliative care ของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ประกอบด้วยทีมสหสาขาวิชาชีพ ได้แก่ ผู้แทนจากภาควิชาต่างๆ งานเลขานุการโรงพยาบาล งานสังคมสงเคราะห์ ฝ่ายการพยาบาล เป็นต้น และมีการอบรมให้ความรู้แก่แพทย์และบุคลากรพยาบาลในเรื่อง "Symptom management at the end of life" เพื่อบรรเทาอาการรบกวนของผู้ป่วยวาระสุดท้าย
 
 
 
ปี พ.ศ. 2551 คณะกรรมการ Palliative care ของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ได้ขอการปรึกษากับ ดร.ไมเคิล ดาวนิ่ง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองของVictoria Hospice ประเทศแคนาดา ในการสร้าง"รูปแบบการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง
 
 
 
( Suandok's Palliative Care Model)" ซึ่งประกอบด้วยแนวทางการดูแลโดยทีมสหสาขาวิชาชีพที่มีเจตคติที่ดีและมีความสามารถในการดูแลผู้ป่วย รวมทั้งการประเมินและการจัดการอาการรบกวนทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม มีการให้การปรึกษากับผู้ป่วยและครอบครัว เพื่อบรรเทาความทุกข์ทรมานของผู้ป่วย รวมทั้งการดูแลด้านจิตวิญญาณของผู้ป่วย และการดูแลความเศร้าโศกของครอบครัวหลังจากการถึงแก่กรรมของผู้ป่วย โดยการโทรศัพท์ให้การปรึกษาและส่งต่อให้เจ้าหน้าที่ทีมสุขภาพให้การดูแลความเศร้าโศกของครอบครัวผู้ป่วย มีการสร้างเครือข่ายในการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่สู่ชุมชน โดยมีการวางแผนจำหน่ายร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ และให้พยาบาลเขียนใบส่งต่อการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองและครอบครัวไปสู่เจ้าหน้าที่พยาบาล หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของโรงพยาบาลชุมชนและสถานีอนามัย เพื่อจะได้ให้การดูแลผู้ป่วยและครอบครัวอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งจัดให้มีบ้านพักสำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด จำนวน 30 เตียง ที่ ต.ป่าเปอะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ รวมทั้งจัดอบรมเผยแพร่ความรู้เรื่องการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองให้กับบุคลากรทีมสุขภาพของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่และโรงพยาบาลต่างๆเป็นประจำ
 
 
 
โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ได้พัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่ง ทีม Palliative Care โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ได้รับรางวัลที่ 1 ในการนำเสนอโปสเตอร์ ในการประชุม International Conference on Health Promotion and Quality in health services : "Global Sharing : People and Integration as Key to Success" จัดโดย สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล เมื่อวันที่ 19-21 พฤศจิกายน 2551 ณ บางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพมหานคร
 
 
 
ปี พ.ศ. 2552 ทีมแพทย์และพยาบาลซึ่งเป็น คณะกรรมการ Palliative care ของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ได้พัฒนาองค์ความรู้ในการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองและครอบครัว โดยการทำวิจัยเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง และได้รับทุนวิจัยจาก ดร.ไมเคิล ดาวนิ่ง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองของ Victoria Hospice ประเทศแคนาดา และได้ร่วมทำวิจัยกับ ดร.ไมเคิล ดาวนิ่ง ในการวิจัยเรื่อง "Reliability and validity of PPS Adult Suandok"
 
 
 
ดังนั้น โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่จึงต้องการพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองและครอบครัวอย่างต่อเนื่อง ในเรื่องการดำริจัดตั้งหอผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง การจัดตั้งศูนย์การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เพื่อประสานงานในการดูแลผู้ป่วยและครอบครัวอย่างต่อเนื่องจากโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ไปสู่ชุมชน การพัฒนาระบบการเยี่ยมบ้านของผู้ป่วยที่จำหน่ายออกจากโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ไปสู่ที่บ้านโดยจัดให้พยาบาลของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ออกไปเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้าน การสร้างและจัดทำคู่มือแนวปฏิบัติในการจัดการกับอาการรบกวนต่างๆของผู้ป่วย เช่น เทคนิคการผ่อนคลายเพื่อบรรเทาอาการปวดในผู้ป่วยมะเร็ง การนวดเพื่อบรรเทาอาการหายใจลำบาก เป็นต้น การรักษาด้วยสมุนไพรไทย เช่น การประคบด้วยลูกสมุนไพรไทย เพื่อบรรเทาอาการปวดข้อ อาหารพื้นเมืองสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง เป็นต้น รวมทั้งต้องการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยในบ้านพักสำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด ที่ ต.ป่าเปอะ อ.เมือง เชียงใหม่ ให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น