ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ศูนย์รักษาภาวะมีบุตรยาก โรงพยาบาล พญาไท 2

Infertility Clinic Phyathai 2 Hospital

Logo

ที่อยู่/ติดต่อ
943 Phahonyothin Rd, แขวง พญาไท Phaya Thai, Bangkok 10400

โรงพยาบาลพญาไท 2 อาคาร B ชั้น 10 | Phyathai 2 Hospital, B-Building , 10th floor

เปิดบริการทุกวัน เวลา 07.00-17.00น. l Open daily from 07.00 am. -05.00 pm.

0-2-617-2444 ต่อ 1057, 1058
+662-617-2444 ext. 1057, 1058

*ข้อมูลรวบรวมโดย Healthserv.net เพื่ออำนวยความสะดวกเบื้องต้นให้กับผู้ชมที่ต้องการข้อมูลสถานพยาบาล ไม่ใช่เว็บทางการของรพ./สถานพยาบาลแต่อย่างใด แนะนำให้ไปยังเว็บไซต์/เฟซบุ๊ค หรือช่องทางติดต่อของรพ./สถานพยาบาลนั้นๆ โดยตรง

HealthServ ชวนร่วมตอบแบบสอบถาม สำรวจความต้องการบริการสุขภาพของคนไทย

HealthServ ชวนร่วมตอบแบบสอบถาม สำรวจความต้องการบริการสุขภาพของคนไทย

ผลสำรวจ

ข่าวสาร-สาระ-ข้อมูลบริการ ศูนย์รักษาภาวะมีบุตรยาก โรงพยาบาล พญาไท 2

ข่าวสาร ข้อมูลบริการ บทความ สาระประโยชน์

  • ยังไม่มีข่าวสาร ข้อมูลจากที่นี่
[ทั้งหมด]
ศูนย์รักษาภาวะมีบุตรยาก โรงพยาบาล พญาไท 2
ศูนย์รักษาภาวะมีบุตรยาก โรงพยาบาล พญาไท 2

 ภาวะมีลูกยาก หมายถึง การที่คู่สมรสมีเพศสัมพันธ์กันโดยไม่ได้คุมกำเนิด และมีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอสัปดาห์ละ 3-4 ครั้งเป็นระยะเวลา 1 ปี แล้วยังไม่ตั้งครรภ์ แต่ถ้าหากเรารู้อยู่แล้วว่าตัวเองมีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้มีลูกยาก เช่น ประจำเดือนมาไม่ปกติ ได้รับอุบัติเหตุหรือผ่าตัดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ สามารถมาปรึกษาหมอได้โดยไม่ต้องรอให้ครบ 1 ปีก็ได้ หรือโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้หญิงอายุเกิน 35 ปีขึ้นไป
 
สาเหตุของการมีลูกยากอื่นๆ
การมีลูกยากของผู้ชายเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ เช่น พันธุกรรม ทำให้สร้างอสุจิได้น้อยกว่าปกติ หรือสร้างไม่ได้เลย จำนวนเชื้ออสุจิน้อยเกินไป การเคลื่อนไหวและรูปร่างที่ผิดปกติ การใช้ยา เช่น ยาเคมีบำบัด การฉายรังสี ยาเสพติด การสูบบุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยารักษาโรคบางชนิด โรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ไทรอยด์ โรคทางต่อมไร้ท่อ และการประสบอุบัติเหตุหรือการผ่าตัดบริเวณอัณฑะ
 
การมีลูกยากของผู้หญิงจะมีสาเหตุคล้ายกันกับผู้ชาย เพียงแค่ผู้หญิงมีโอกาสเป็นมากกว่าผู้ชายเล็กน้อย เนื่องจากการมีอายุมาก ความผิดปกติของอวัยวะสืบพันธุ์ตั้งแต่เกิด ท่อนำไข่ตีบตันจากเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ หรือเคยมีการอักเสบในอุ้งเชิงกราน หรือจากการผ่าตัดในอุ้งเชิงกรานทำให้มีพังผืด และรังไข่ทำงานไม่ปกติเช่น ประจำเดือนไม่มา หรือมาผิดปกติ มีซีสต์ เนื้องอกรังไข่ เป็นต้น
 
แต่เบื้องต้นหากมาปรึกษาหมอแล้ว ทั้งคู่จะถูกถามประวัติทางการแพทย์ การทำหมัน การติดเชื้อที่อวัยวะสืบพันธุ์ และจะทำการตรวจร่างกายทั้งภายในและภายนอกว่ามีความผิดปกติเบื้องต้นหรือไม่เช่น การตรวจน้ำเชื้อ การอัลตราซาวด์ความผิดปกติของมดลูก ท่อนำไข่ รังไข่ หรือการฉีดสีในโพรงมดลูกเพื่อหาความผิดปกติในโพรงมดลูกและท่อนำไข่ จากนั้นจะทำการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อหาสาเหตุเพิ่มเติม ถ้าแก้ไขที่สาเหตุแล้วยังไม่สามารถตั้งครรภ์ได้โดยธรรมชาติ หมอจะให้คำปรึกษาโดยการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์เพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์
 
เทคโนโลยีช่วยให้ตั้งครรภ์
เมื่อหาสาเหตุและแก้ปัญหาที่ต้นเหตุแล้วไม่ได้ผล ก็จะมาพิจารณาเลือกวิธีการตั้งครรภ์ที่เหมาะสม โดยมีปัจจัยหลักๆ คือ อัตราความสำเร็จ ค่าใช้จ่าย ผลแทรกซ้อน การเจ็บตัวที่น้อยที่สุด ซึ่งการใช้เทคโนโลยีที่ช่วยให้ตั้งครรภ์นั้นมีด้วยกันหลายวิธี
 
  1. การผสมเทียม (Intrauterine Insemination, IUI) เป็นวิธีที่เหมาะกับผู้ชายที่มีปัญหาเรื่องเชื้ออสุจิไม่ปกติ แต่ผู้หญิงมีมดลูกที่ดี โดยจะทำการกระตุ้นไข่ คัดเชื้ออสุจิ และนำเชื้ออสุจิที่แข็งแรงมาฉีดเข้าไปในโพรงมดลูก
     
  2. การทำกิฟท์ (Gamete Intrafallopian Transfer, GIFT) เป็นวิธีการดั้งเดิมแต่ไม่สามารถเลี้ยงตัวอ่อนนอกร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพได้ ทำโดยการกระตุ้นรังไข่ด้วยฮอร์โมน แล้วส่องกล้องเข้าไปในช่องท้อง เพื่อเก็บไข่แล้วนำไข่มารวมกับอสุจิที่เตรียมไว้ และฉีดกลับเข้าไปในท่อนำไข่ของผู้หญิง โดยเจาะผ่านผนังหน้าท้อง เพื่อให้เกิดการปฏิสนธิภายในร่างกาย
     
  3. การทำซิฟท์ (Zygote Intrafallopian Transfer, ZIFT) หรือการทำเด็กหลอดแก้วกำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก สำหรับผู้ที่มีพังผืดในอุ้งเชิงกราน ท่อนำไข่อุดตัน ไข่ไม่ตกเนื่องจากระบบฮอร์โมน หรือผู้ชายที่มีปัญหาเกี่ยวกับอสุจิน้อย หรือเคลื่อนไหวไม่ดี ทำได้โดยการกระตุ้นรังไข่ เก็บไข่มาเพื่อให้ผสมกับอสุจิกันเองในห้องปฏิบัติการ เลี้ยงตัวอ่อน 3-5 วัน แล้วใส่ตัวอ่อนกลับเข้าไปในโพรงมดลูกให้เกิดการฝังตัว
     
  4. การทำอิ๊กซี่ (Intracytoplasmic Sperm Infection, ICSI) เป็นขั้นตอนหนึ่งของการทำเด็กหลอดแก้ว แต่แตกต่างกันตรงที่มีการคัดอสุจิที่ดีที่สุด ฉีดเข้าไปที่เซลล์ไข่โดยตรงให้เกิดการปฏิสนธิ เลี้ยงตัวอ่อนไว้ 3 - 5 วันแล้วใส่ตัวอ่อนกลับเข้าไปในโพรงมดลูกให้เกิดการฝังตัว
 
 เตรียมพร้อมสำหรับ “การใช้เทคโนโลยีช่วยตั้งครรภ์”
ผู้หญิง
 
หญิงไม่ควรรอให้อายุเกิน 35 ปี เพราะมีความเสี่ยงที่อาจมีความผิดปกติของโครโมโซมของเด็ก เสี่ยงแท้ง
 
เตรียมร่างกายให้สมบูรณ์ แข็งแรง งดบุหรี่และแอลกอฮอล์
 
ออกกำลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอ
 
ตรวจร่างกาย รักษาโรคอื่นๆ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์
ผู้ชาย
 
งดหลั่งอสุจิอย่างน้อย 3 วัน ไม่เกิน 7 วัน เพื่อสะสมปริมาณของอสุจิ
 
งดบุหรี่และแอลกอฮอล์
 
ออกกำลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอ
 
เลี่ยงความเครียด
ประจำเดือน... สัญญานบอกภาวะมีลูกยาก
โดยปกติแล้วรอบของการมีประจำเดือนปกติควรเป็น 21-35 วัน แต่ถ้าหากมีถี่หรือห่างกว่านี้ อาจมีความผิดปกติของการตกไข่ ซึ่งพบมากในคนอ้วนหรือมีฮอร์โมนเพศชายสูงกว่าปกติ หรือในกรณีของการมีประจำเดือนน้อย อาจมีภาวะเยื่อบุมดลูกบางผิดปกติ หรือมีพังผืดในโพรงมดลูก แต่ถ้ามีประจำเดือนออกมาก อาจมีเนื้องอกมดลูกหรือติ่งเนื้อในโพรงมดลูก แต่มีเพียงเฉพาะบางรายเท่านั้น อาการอาจไม่สัมพันธ์กับประจำเดือน เช่น ปัสสาวะบ่อย ท้องผูกบ่อย คลำพบก้อนที่ท้องน้อย อาจจะเป็นโรคเนื้องอกมดลูกที่ไปกดเบียดอวัยวะใกล้เคียงเช่น กระเพาะปัสสาวะ หรือลำไส้
 
เคล็ดไม่ลับเพิ่มโอกาสมีลูก
  • นับวันตกไข่เป็นวันที่ 14-16 ของรอบเดือน โดยเริ่มนับตั้งแต่การมีประจำเดือนวันแรก และใช้ได้เฉพาะคนที่มีประจำเดือนสม่ำเสมอเท่านั้น
  • ผู้ชายงดมีเพศสัมพันธ์ก่อนวันตกไข่อย่างน้อย 2-3 วัน เพื่อสะสมปริมาณอสุจิ
  • สารหล่อลื่นบางชนิด มีสารฆ่าอสุจิ ควรพิจารณาก่อนใช้
  • อายุที่มากขึ้น ทำให้โอกาสตั้งครรภ์ยากขึ้น
  • ความเครียด การขาดการออกกำลังกาย มีผลต่อฮอร์โมนและความรู้สึกทางเพศ
  • ความร้อนมีผลต่อคุณภาพของอสุจิจึงควรหลีกเลี่ยงให้อัณฑะถูกความร้อนมากๆ เช่น การอบซาวน่า การแช่น้ำอุ่นน้ำร้อน เป็นต้น
  • การดื่มแอลกอฮอล์ การได้รับยาหรือสารพิษทำให้อสุจิไม่แข็งแรง และมีจำนวนน้อยลงเช่น สารนิโคตินในบุหรี่มีผลต่อคุณภาพของอสุจิและทำให้ลดความรู้สึกทางเพศ
  • ความอ้วนก็มีผลกับการมีประจำเดือนและการตกไข่ รวมถึงจำนวนอสุจิและความเข้มข้นของน้ำอสุจิลดลง
 
นพ.ธีรยุทธ์ จงวุฒิเวศย์
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ครอบครัว
สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา(อนุสาขาเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์)
โรงพยาบาลพญาไท 2
ศูนย์รักษาภาวะมีบุตรยาก โรงพยาบาล พญาไท 2