ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรงพยาบาลหนองสองห้อง

Nong Song Hong Hospital

Logo

ที่อยู่/ติดต่อ
เลขที่ 803 หมู่ 16 ตำบลหนองสองห้อง อำเภอหนองสองห้อง ขอนแก่น 40190
โทรศัพท์ 043-491010
โทรสาร 043-491010 ต่อ 5503
แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินสายตรง 043-491234

✅ รับบัตรทอง

*ข้อมูลรวบรวมโดย Healthserv.net เพื่ออำนวยความสะดวกเบื้องต้นให้กับผู้ชมที่ต้องการข้อมูลสถานพยาบาล ไม่ใช่เว็บทางการของรพ./สถานพยาบาลแต่อย่างใด แนะนำให้ไปยังเว็บไซต์/เฟซบุ๊ค หรือช่องทางติดต่อของรพ./สถานพยาบาลนั้นๆ โดยตรง

HealthServ ชวนร่วมตอบแบบสอบถาม สำรวจความต้องการบริการสุขภาพของคนไทย

HealthServ ชวนร่วมตอบแบบสอบถาม สำรวจความต้องการบริการสุขภาพของคนไทย

ผลสำรวจ

ข่าวสาร-สาระ-ข้อมูลบริการ โรงพยาบาลหนองสองห้อง

ข่าวสาร ข้อมูลบริการ บทความ สาระประโยชน์

  • ยังไม่มีข่าวสาร ข้อมูลจากที่นี่
[ทั้งหมด]
 บริการดุจญาติมิตร  ทุกชีวิตมีคุณค่า  นุ่มนวลและเมตตา  โปรดรู้ว่าเราอาทร
 
 
 

ประวัติโรงพยาบาลหนองสองห้อง

จากอดีต...รุ่นบุกเบิก
หนองสองห้อง เดิมเป็นโรงพยาบาลชมชนขนาด 10 เตียง เปิดดำเนินการเมื่อวันที่26 กรกฎาคม 2526 โดยมีนายแพทย์สุวัฒน์ จริยาเลิศศักดิ์ เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลคนแรก มีข้าราชการและลูกจ้างชุดบุกเบิกเพียง 14 คน ได้รับความร่วมมือจากพ่อค้าและประชาชนชาวอำเภอหนองสองห้องบริจาคเงิน และอุปกรณ์การแพทย์รวมมูลค่า 120,000 บาท โดยมีนายชบา กลุ่มเหรียญทอง เป็นประธานกรรมการที่ปรึกษาโรงพยาบาลพัฒนางานบริการ

เดือนเมษายน พ.ศ.2528 นายแพทย์สุวัฒน์ จริยาเลิศศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลย้ายกลับภูมิลำเนา นายแพทย์พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช ทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลคนต่อมา และมีแพทย์หญิงมัธยา เลิศสุริย์เดช เป็นแพทย์ประจำ จากการที่มีแพทย์ 2 คนและเจ้าหน้าที่จำนวนเพิ่มมากขึ้น ทำให้คุณภาพและศักยภาพงานบริการของโรงพยาบาลดีขึ้นตามลำดับ

ต่อมาได้ส่งพยาบาลไปอบรมด้านวิสัญญี จำนวน 1 คน จึงทำให้โรงพยาบาลสามารถทำการผ่าตัดใหญ่ เช่น การผ่าตัดเปิดช่องท้องรักษาโรคกระเพาะทะลุ ผ่าตัดถุงน้ำดี ตลอดจนผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องได้ในปลายปี 2539
 
ภัยแล้งขาดน้ำ
ในปี พ.ศ.2529 อำเภอหนองสองห้องประสบภัยแล้งอย่างรุนแรง ทำให้โรงพยาบาลขาดแคลนน้ำที่จะใช้ในการอุปโภคและบริโภค ซึ่งโรงพยาบาลได้แก้ไขโดยใช้รถขนน้ำจากบ่อน้ำบาดาลในหมู่บ้านมาใช้ อีกทั้งได้ทำการสำรวจและขุดบ่อน้ำบาดาลในบริเวณโรงพยาบาล ตลอดจนบริวณใกล้เคียงหลายแห่ง แต่ไม่ประสบผลเพราะพื้นดินเป็นทราย จนมีพ่อค้าและผู้มีจิตศรัทธาหลายท่านได้บริจาคที่ดินให้โรงพยาบาล เพื่อใช้ขุดเจาะหาน้ำบาดาล ปรากฎว่าขุดเจาะได้ในที่ดินของ คุณพ่อคุงยี แช่อือ ซึ่งอยู่ห่างจากโรงพยาบาลไปทางทิศตะวันออกเป็นระยะทาง 2.5 กิโลเมตร เป็นบ่อน้ำบาดาลที่มีคุณภาพดีและเป็นพื้นที่สูง น้ำสามารถไหลลงสู่พื้นที่โรงพยาบาลได้ ท่านจึงได้บริจาคที่ดินบริวณดังกล่าวจำนวน 50 ตารางวา โรงพยาบาลได้ของบประมาณก่อสร้างระบบประปาเพิ่มเติม จนสามารถทำให้โรงพยาบาลมีน้ำประปาบาดาลใช้มาจนถึงปัจจุบัน นับเป็นกุศลยิ่งสำหรับเจ้าของที่ดินผู้มริจาค
 
หาทุน..ตึกสงฆ์อาพาธ
พ.ศ. 2531 นายแพทย์พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช ผู้อำนวยการโรงพยาบาลหนองสองห้อง ได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลพล นายแพทย์ธีรพงศ์ เมฆสงค์ แเพทย์ประจำในขณะนั้น ได้ขึ้นรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลและได้เล็งเห็นปัญหาความแออัดของผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ป่วยใน ซึ่งมีอัตราครองเตียงสูงถึงร้อยละ 140 พระภิกษุสงฆ์เวลาอาพาธไม่มีห้องเป็นสัดส่วน ต้องนอนรักษาปะปนกับผู้ป่วย ชาย-หญิงทั่วไป จึงได้ประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาโรงพยาบาล เพื่อดำเนินการหาทุนก่อสร้างตึกสงฆ์อาพาธขึ้นและได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย ทั้งข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน และคณะบุคคล ที่สำคัญยิ่งคือ ท่านพระมหาพรหมา ชยานันโท ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดยานนาวา ได้นำเงินบริจาคผ่านท่านมาร่วมสมทบทุนในการก่อสร้างในครั้งนั้น การก่อสร้างตึกสงฆ์อาพาธได้วางศิลาฤกษ์ ในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2532 โดยท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขฯ พณฯ นายสุทัศน์ เงินหมื่น ได้ให้เกียรติมาเป็นประธานในธี และได้เริ่มก่อสร้างในเดือนมีนาคม 2533 ต่อมาในเดือนพฤษภาคม ปีเดียวกัน นายแพทย์ธีระพงศ์ เมฆสงค์ ได้ลาศึกษาต่อเฉพาะทาง ด้านสูตินรีแพทย์ นายแพทย์เกษม ภัทรฤทธิกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเปีอยน้อย ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลหนองสองห้อง และได้ดูแลการก่อสร้างตึกสงฆ์อาพาธต่อจนการก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปลายปี 2533
 
มูลนิธิชยานันโท
การก่อสร้างตึกสงฆ์อาพาธ ประสบความสำเร็จเกินความคาดหมาย โดยได้รับเงินบริจาคกว่า 2 ล้านบาท รายจ่ายในการก่อสร้างตึกสงฆ์ และจัดซื้ออุปกรณ์การแพทย์ต่างๆ รวม 1,400,000 บาท มีเงินทุนเหลือประมาณ 900,000 บาทุ จึงได้ดำเนินการจัดตั้งมูลนิธิชยานันโทขึ้น เพื่อเป็นเกียรติแก่ท่าน พระมหาพรหมมา ชยานันโท วัตถุประสงค์หลักของมูลนิธิเพื่อสนับสนุนกิจการของโรงพยาบาลหนองสองห้อง ตึกสงฆ์อาพาธได้เปิดเป็นทางการ เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2534 โดย ฯพณฯ ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายปิยนัฐ วัชรากรณ์ ได้ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีตึกสงฆ์อาพาธประกอบด้วยห้องพิเศษ 5 ห้องและห้องทำงาน 1 ห้อง ทำให้ประชาชนและพระภิกษุที่มานอนรักษาในโรงพยาบาลได้รับความสะดวกมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ก็ไม่สามารถรองรับผู้ป่วยที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกวัน โดยมีจำนวนผู้ป่วยนอกเฉลี่ยวันละ 150 คน อัตราครองเตียงร้อยละ 164

ขยายบริการ....พัฒนาศักยภาพ
ดังนั้นเพื่อขยายบริการและพัฒนาศัยภาพให้ได้เกณฑ์ ตามระบบพัฒนาบริการของสถานบริการสาธารณสุข โรงพยาบาลหนองสองห้องได้ยกฐานะเป็นโรงพยาบาลเป็นขนาด 30 เตียง แต่เนื่องจากโรงพยาบาลหนองสองห้องมีพื้นที่คับแคบ จึงไม่สามารถขยายและก่อสร้างอาคารตามแบบมาตรฐานได้ กองแบบแผน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขได้แนะนำให้หาที่สร้างโรงพยาบาลแห่งใหม่ แต่ไม่สามารถหาพื้นที่ที่เหมาะสมได้ ประกอบกับตึกสงฆ์อาพาธได้ก่อสร้างเสร็จ และเริ่มใช้ประโยชน์

แต่นับเป็นความโชคดีที่ทางที่ว่าการอำเภอหนองสองห้อง ซึ่งมีพื้นที่ติดกับโรงพยาบาลทางทิศตะวันออก ได้เล็งเห็นความสำคัญและมอบที่ดินซึ่งอยู่ติดรั้วด้านหลังของโรงพยาบาลและด้านหลังหอประชุมอำเภอ จำนวน 1 ไร่เศษ โรงพยาบาล จึงได้ของบประมาณก่อสร้าง จากกระทรวงสาธารณสุข และได้รับงบประมาณสนับสนุนในปี 2534 ในวงเงิน 15,703,225 บาท โดยได้ตึกอาคารผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก ขนาด 30 เตียง จำนวน 1 หลัง เป็นอาคารแบบพิเศษ 2 ชั้น ชั้นบนและชั้นล่างเชื่อมด้วยทางลาดเอียง ชั้นบนเป็นแผนกผู้ป่วยใน ห้องพิเศษ ห้องประชุม ห้องผู้อำนวยการและฝ่ายบริหารงานทั่วไป สำหรับชั้นล่างเป็นห้องฉุกเฉิน ทำแผล เย็บแผล ฉีดยา ห้องบัตร ห้องตรวจโรค ห้องชันสูตรโรค ห้องจ่ายยา ห้องเอกซเรย์ ห้องรอคลอด ห้องคลอดและห้องผ่าตัด ส่วนอาคารหลังเก่าได้ปรับปรุงเป็นที่ทำงานและให้บริการของฝ่ายทันตสาธารณสุข งานอนามัยแม่และเด็ก ฝ่ายสาธารณสุขชุมชน ศูนย์สุขภาพชุมชน ฝ่ายพัฒนาคุณภาพและวิชาการห้องประชุมสำรอง และได้อาคารหอพักพยาบาล 3 ชั้น จำนวน 1 หลัง 20 ห้องนอน นอกจากนั้นยังได้รับงบประมาณก่อสร้างถนนหินคลุกทางเชื่อมอาคาร ป้ายชื่อโรงพยาบาลและรั้วคอนกรีตตาข่าย ด้านหน้าโรงพยาบาลหลังใหม่ ในปีงบประมาณ 2535 ได้งบประมาณก่อสร้างเพิ่มเติมคือ อาคารโรงรถและพัสดุ จำนวน 1 หลัง ซึ่งได้ปรับปรุงเป็นคลังเวชภัณฑ์ของโรงพยาบาล บ้านพักระดับ 7-8 จำนวน 1 หลัง แทนบ้านพักผู้อำนวยการโรงพยาบาลเดิม ซึ่งรื้อถอนเพื่อสร้างโรงครัวและซักฟอก ในปีงบประมาณ 2536
 
โรงพยาบาลใหม่.....30 เตียง
การก่อสร้างอาคารใหม่ 30 เตียง แล้วเสร็จในเดือนพฤศจิกายน 2535 ได้ทำบุญขึ้นตึกใหม่ในวันที่ 3 ธันวาคม 2535 และเปิดให้บริการผู้ป่วยเมื่อวันที่ 1 1 มุกราคม 2536 เป็นต้นมา ทำให้ระบบบริการผู้ป่วยของโรงพยาบาลได้มาตรฐานและคล่องตัวมากขึ้น สามารถรองรับผู้ป่วยที่มารับบริการเป็นจำนวนมากได้ อย่างไรก็ตาม งบประมาณที่ทางราชการสนับสนุนก็ยังไม่เพียงพอ ทางโรงพยาบาลยังขาดแคลนครุภัณฑ์และอุปกรณ์การแพทย์ที่จำเป็นอีกจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เครื่องเอกชเรย์เก่าที่เคยใช้อยู่ประมาณ 10 ปี ได้เกิดชำรุด ไม่สามารถซ่อมแซมได้ โรงพยาบาลหนองสองห้องต้องส่งผู้ป่วยไปเอกซเรย์ยังโรงพยาบาลพล ทำให้ไม่ได้รับความสะดวก คณะกรรมการบริหารโรงพยาบาล และที่ปรึกษาโรงพยาบาลจึงได้ดำเนินการหาทุนเพื่อจัดซื้อ ครุภัณฑ์การแพทย์ที่ขาดแคลน ได้จัดหาทุนในโอกาสต่างๆ และขอรับบริจาคผู้มีจิตศรัทธาโดยทั่วไป และสามารถจัดหาครุภัณฑ์การแพทย์ที่จำเป็นได้ตามต้องการในลำดับต่อมา โรงพยาบาลได้เปิดตึกอาคารใหม่ขนาด 30 เตียงอย่างเป็นทางการในวันที่ 14 พฤษภาคม 2536 โดยเชิญ ฯพณฯ ท่านนายกรัฐมนตรี นายชวน หลีกภัย มาเป็นประธานในพิธี
 
โรงพยาบาลใหม่.....60 เตียง
ได้รับงบประมาณการก่อสร้างอาคารใหม่ 5 ชั้น แล้วเสร็จในเดือนมีนาคม 2560 ได้ทำบุญขึ้นตึกใหม่ในวันที่ 2 เมษายน 2560 เปิดให้บริการผู้ป่วยเมื่อวันที่ 2 เมชายน 2560 เป็นต้นมา และขยายขนาดบริการเป็น 60 เตียง ทำให้ระบบบริการผู้ป่วยของโรงพยาบาลได้มาตรฐานและคล่องตัวมากขึ้น สามารถรองรับผู้ป่วยที่มารับบริการเป็นจำนวนมากได้ ลดความแออัดของผู้มารับบริการ แต่อย่างไรก็ตามงบประมาณที่ทางราชการสนับสนุนก็ยังไม่เพียงพอ ทางโรงพยาบาลยังขาดแคลนครุภัณฑ์และอุปกรณ์การเพทย์ที่จำเป็นอีกจำนวนมาก โรงพยาบาลจึงได้ดำเนินการหาทุนเพื่อจัดซื้อ ครุภัณฑ์การแพทย์ที่ขาดแคลน ได้จัดหาทุนในโอกาสต่าง ๆ และขอรับบริจาคผู้มีจิตศรัทธาโดยทั่วไป และสามารถจัดหาครุภัณฑ์การแพทย์ที่จำเป็นได้ตามต้องการ