ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรงพยาบาลพนมสารคาม

Phanom Sarakham Hospital

Logo

ที่อยู่/ติดต่อ
490 หมู่ 4 ตำบล ท่าถ่าน อำเภอ พนมสารคาม จังหวัด ฉะเชิงเทรา 24120

✅ รับบัตรทอง

*ข้อมูลรวบรวมโดย Healthserv.net เพื่ออำนวยความสะดวกเบื้องต้นให้กับผู้ชมที่ต้องการข้อมูลสถานพยาบาล ไม่ใช่เว็บทางการของรพ./สถานพยาบาลแต่อย่างใด แนะนำให้ไปยังเว็บไซต์/เฟซบุ๊ค หรือช่องทางติดต่อของรพ./สถานพยาบาลนั้นๆ โดยตรง

HealthServ ชวนร่วมตอบแบบสอบถาม สำรวจความต้องการบริการสุขภาพของคนไทย

HealthServ ชวนร่วมตอบแบบสอบถาม สำรวจความต้องการบริการสุขภาพของคนไทย

ผลสำรวจ

ข่าวสาร-สาระ-ข้อมูลบริการ โรงพยาบาลพนมสารคาม

ข่าวสาร ข้อมูลบริการ บทความ สาระประโยชน์

  • ยังไม่มีข่าวสาร ข้อมูลจากที่นี่
[ทั้งหมด]
 โรงพยาบาลพนมสารคามเป็นโรงพยาบาลชุมชนแม่ข่ายขนาด ๑๒๐ เตียง ประจำ อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
 

 ประวัติโรงพยาบาลพนมสารคาม

โรงพยาบาลพนมสารคาม ตั้งอยู่ที่ 490 หมู่ 4 ตำบลท่าถ่าน อำเภอพนมสารคามจังหวัดฉะเชิงเทราเปิดดำเนินการครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2521 โดยได้รับการยกฐานะจากศูนย์การแพทย์และอนามัยพนมสารคาม มีนายแพทย์บรรพต ต้นธีรวงศ์ เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลคนแรก โรงพยาบาลได้ก่อสร้างบนที่ดินซึ่งได้รับบริจาคจำนวน 25 ไร่ จากคุณประพันธ์ มนูญศิลป์ นายกสมาคมไลอ้อนฉะเชิงเทราในขณะนั้นได้รับงบประมาณในการก่อสร้างจากกระทรวงสาธารณสุข เป็นโรงพยาบาลประจำอำเภอขนาด 30 เตียง
 
ปี พ.ศ.2523-2524 ประชาชนอำเภอพนมสารคามได้ร่วมกันบริจาคทรัพย์สร้างตึกพิเศษเพิ่มอีก 1 หลัง จำนวน 22 ห้อง ภายใต้การริเริ่มของนายทิวา พลสมบัติ นายอำเภอพนมสารคามขณะนั้นและได้ทำการเปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2524 เป็นผลให้กระทรวงสาธารณสุขยกฐานะเป็นโรงพยาบาลอำเภอขนาด 60 เตียง
 
ต่อมาในปี พ.ศ.2528 นายแพทย์บรรพต ต้นธีรวงศ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพนมสารคามได้ริเริ่มการสร้างตึกสงฆ์อาพาธและผู้ป่วยชายขึ้น โดยขอคำปรึกษาและความร่วมมือจากคณะกรรมการอุปการคุณโรงพยาบาลพนมสารคามและคณะสงฆ์ ได้ร่วมกันจัดหาทุนเพื่อก่อสร้างอาคารและใช้เงินบำรุงโรงพยาบาลสมทบคำก่อสร้างอาคารประมาณ 2,900,000 บาท (สองล้านเก้าแสนบาทถ้วน)
 
วันที่ 2 ธันวาคม 2530 นายเทิดพงษ์ ไชยนันทนั รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานในพิธีเปิดตึกสงฆ์อาพาธและผู้ป่วยชาย ซึ่งเป็นตึกที่สร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือ ถวายเป็นพระราชกุศลในวโรกาสเฉลิมพระขนมพรรษา ครบ 60 พรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเตช รัชกาลที่ 9 โดยมีนายแพทย์ธวัชชัย วานิชกร เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาล
 
วันที่ 1 กันยายน 2537 โรงพยาบาลพนมสารคามได้ยกฐานะเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 90 เตียง
 
ปี พ.ศ.2540 นายแพทย์นำพล แดนพิพัฒน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพนมสารคาม ได้ดำเนินการหาวิธีแก้ปัญหาน้ำท่วมโรงพยาบาล และได้รับงบประมาณเป็นค่าก่อสร้างคันดินป้องกันน้ำท่วมโรงพยาบาลจำนวน 11,200,000 บาท (สิบเอ็ดล้านสองแสนบาทถ้วน) จนสามารถแก้ไขปัญหาน้ำท่วมโรงพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
ปี พ.ศ.2552 คุณเกรียงศักดิ์ คุณศิริวรรณ อิสสระชัยยศ แจ้งความประสงค์จะบริจาคอาคารไตเทียมและอาคารคลอด-ผู้ป่วยใน 4 ชั้น ในวงเงินประมาณ 60 ล้านบาท เมื่อก่อสร้างเสร็จผู้บริจาคจึงมอบอาคารไตเทียมพร้อมเครื่องฟอกไต 6 เครื่อง ให้โรงพยาบาลพนมสารคามและเปิดดำเนินการครั้งแรก วันที่ 1 พฤศจิกายน 2554 ต่อมาจึงมอบอาคารคลอด-ผู้ป่วยใน 4 ชั้น (อาคารอิสสระชัยยศ) ซึ่งเปิดดำเนินการ วันที่ 18 เมษายน 2557 และมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการวันที่ 15 กันยายน 2557
 
ปี พ.ศ.2553 โรงพยาบาลพนมสารคามได้งบประมาณในการก่อสร้างอาคารเฉลิมพระเกียรติ (ผู้ป่วยนอก-อุบัติเหตุ) คสล.5 ชั้น มูลค่า 146,700,000 บาท(หนึ่งร้อยสี่สิบหกล้านเจ็ดแสนบาทถ้วน) เริ่มก่อสร้าง เมื่อ 2 มีนาคม 2555 แล้วเสร็จ 31 มีนาคม 2558
 
ปี พ.ศ.2555 โรงพยาบาลพนมสารคามได้รับงบประมาณในการก่อสร้างอาคารผู้ป่วยใน 114 เตียง คสล. 5 ชั้น มูลค่า 54,926,400 บาท (ห้าสิบสี่ล้านเก้าแสนสองหมื่นหกพันเก้าร้อยบาทถ้วน) และเริ่มก่อสร้างวันที่ 30 มกราคม 2556 แล้วเสร็จวันที่ 17 พฤศจิกายน 2557
 
หลังจากการก่อสร้างอาคารทั้งสองแล้วเสร็จแพทย์หญิงอุไร ศิลปกิจโกศล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลคณะกรรมการพัฒนาโรงพยาบาลและคณะเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลพนมสารคามได้ร่วมกันจัดงานทอดผ้าป่ามหากุศลเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2558 วัตถุประสงค์เพื่อสมทบทุนในการจัดซื้อครุภัณฑ์ทางการแพทย์และปรับปรุงตึกพิเศษหลังเก่า โดยมี สมเด็จพระพุฒาจารย์ (สนิท ชวนปญโญ)เจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยารามรวิหาร เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก กรรมการมหาเถรสมาคมได้ยอดเงินบริจาคทั้งสิ้น 17,411,999 บาท (สิบเจ็ดล้านสี่แสนหนึ่งหมื่นหนึ่งพันเก้าร้อยเก้าสิบเก้าบาทถ้วน)
 
ทั้งสองอาคารได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีฯ ในวโรกาสพระชนมายุครบ60 พรรษา ชื่ออาคารเฉลิมพระเกียรติ (อาคารผู้ป่วยนอก-อุบัติเหตุ) และอาคารเฉลิมพระเกียรติ (อาคารหอผู้ป่วยใน) ซึ่งเปิดดำเนินการวันที่ 26 ตุลาคม 2558 และ 11 ธันวาคม 2558 ตามลำดับ
 
วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2559 ปรับปรุงตึกพิเศษหลังเก่าซึ่งมีอายุการใช้งานมานานกว่า 35 ปี ด้วยเงินบำรุงและเงินบริจาคของโรงพยาบาลเป็นเงินประมาณ 6 ล้านบาทหลังปรับปรุงแล้วเสร็จ คณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลร่วมกันตั้งชื่อ "อาคารประพันธ์ สุนทรมนูญศิลป์"
 
วันที่ 14 กันยายน 2559 จัดตั้งโรงงานขาเทียมพระราชทานโดยได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิขาเทียมในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี โดยให้บริการผู้ป่วยที่ขาพิการทั้งคนไทยและต่างด้าวในจังหวัดฉะเชิงเทราและจังหวัดใกล้เคียง

วันที่ 19 เมษายน 2560 เปิดให้บริการอาคารกายภาพบำบัด แพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก ซึ่งได้ปรับปรุงจากตึกสงฆ์อาพาธเดิมที่มีการใช้งานมากว่า 30 ปี ด้วยเงินบำรุงประมาณกว่า 5 ล้านบาท
 
นอกจากอาคารบริการผู้ป่วย โรงพยาบาลได้ก่อสร้างอาคารแฟลตพักแพทย์ 12 ยูนิต (4 ชั้น) พื้นที่ใช้สอย 1,536 ตารางเมตรมูลค่า 17,800,000 บาทในปี พ.ศ.2560 และอาคารพักเจ้าหน้าที่ 48 ห้อง(4 ชั้น) พื้นที่ใช้สอย 1,823 ตารางเมตร มูลค่า18,900,000 บาท ในปี 2562
 
วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2561 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด "อาคารเฉลิมพระเกียรติ (อาคารผู้ป่วยนอก - อุบัติเหตุ) และอาคารเฉลิมพระเกียรติ (อาคารหอผู้ป่วยใน)" ณ โรงพยาบาลพนมสารคามจังหวัดฉะเชิงเทรา
 
วันที่ 1 พฤษภาคม 2566 เปิดให้บริการศูนย์สุขภาพดีวัยทำงาน (Wellness Center)และศูนย์ฟิตเนสในโรงพยาบาลขึ้น เพื่อให้บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในกลุ่มคนวัยทำงาน

 ปัจจุบันโรงพยาบาลพนมสารคามได้รับการยกฐานะเป็นโรงพยาบาลชุมชนแม่ข่าย (M2) ขนาด 120 เตียง เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2559 ซึ่งมีศักยภาพในการดูแลผู้ป่วยได้ครบ 5 สาขาหลัก (สูตินรีเวชกรรม ศัลยกรรม อายุรกรรม กุมารเวชกรรมและออร์โธปีดิกส์ รวมทั้งมีหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤตทั้งผู้ใหญ่และทารกแรกเกิด) ตามแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุขเพื่อให้ผู้ป่วยทั้งในเขตพนมสารคามและอำเภอใกล้เคียง ได้รับบริการแบบใกล้บ้านใกล้ใจลดการส่งต่อ

 
ทำเนียบผู้อำนวยการโรงพยาบาลพนมสารคาม
พ.ศ.2523 -2529 นายแพทย์บรรพต ต้นธีวงศ์
พ.ศ.2529 (3 เดือน) นายแพทย์วิทยา คุณานุกรกุล
พ.ศ.2529 - 2535 นายแพทย์ธวัชชัย วานิชกร
พ.ศ.2535 - 2538 นายแพทย์สำเริง ไตรติลานันท์
พ.ศ.2538 - 2539 นายแพทย์สมคิด วิระเทพสุภรณ์ (รักษาการ)
ทันตแพทย์สมชาย วัฒนากรแก้ว  (รักษาการ)
พ.ศ.2539 - 2554 นายแพทย์นำพล แดนพิพัฒน์
พ.ศ.2554 - ปัจจุบัน แพทย์หญิงอุไร ศิลปกิจโกศล