ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรงพยาบาลเวียงแก่น

Wiang Kaen Hospital

Logo

ที่อยู่/ติดต่อ
115 หมู่ 6 ต.ม่วงยาย อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย 57310
โทรศัพท์ 053-603140
แฟกซ์ 053-603150

✅ รับบัตรทอง

*ข้อมูลรวบรวมโดย Healthserv.net เพื่ออำนวยความสะดวกเบื้องต้นให้กับผู้ชมที่ต้องการข้อมูลสถานพยาบาล ไม่ใช่เว็บทางการของรพ./สถานพยาบาลแต่อย่างใด แนะนำให้ไปยังเว็บไซต์/เฟซบุ๊ค หรือช่องทางติดต่อของรพ./สถานพยาบาลนั้นๆ โดยตรง

HealthServ ชวนร่วมตอบแบบสอบถาม สำรวจความต้องการบริการสุขภาพของคนไทย

HealthServ ชวนร่วมตอบแบบสอบถาม สำรวจความต้องการบริการสุขภาพของคนไทย

ผลสำรวจ

ข่าวสาร-สาระ-ข้อมูลบริการ โรงพยาบาลเวียงแก่น

ข่าวสาร ข้อมูลบริการ บทความ สาระประโยชน์

  • ยังไม่มีข่าวสาร ข้อมูลจากที่นี่
[ทั้งหมด]
บริการ
ให้บริการผู้ป่วยฉุกเฉิน ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง
โทร : 1669 , 053-603155


สุขภาพ
ให้บริการ จันทร์ – ศุกร์ เวลา 8.00-16.00 น.
หยุด เสาร์-อาทิตย์ และ วันหยุดนักขัตฤกษ์

ทันตกรรม
ให้บริการ จันทร์ – ศุกร์ เวลา 8.00-16.00 น.
หยุด เสาร์-อาทิตย์ และ วันหยุดนักขัตฤกษ์
 
    อำเภอเวียงแก่นอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัดเชียงราย ติดชายฝั่งแม่น้ำโขงตรงข้ามริมฝั่งแม่น้ำโขงเป็นแขวงบ่อแก้ว ประเทศลาว ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 150 กิโลเมตร นับเป็นอีกโรงพยาบาลชายแดนที่ห่างไกลแสงสีนีออน แต่ใกล้แสงเดือนแสงดาว
 
 
       อำเภอเวียงแก่นมี 4 ตำบล 41 หมู่บ้าน มีพื้นที่ 526 ตารางกิโลเมตรประชากรที่ขึ้นทะเบียน 33,600 คน ส่วนใหญ่ประชากรเป็นชาวไทยภูเขาเผ่าต่างๆ รวม 6 ชนเผ่า ได้แก่ ชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง เย้า ไทลื้อ มูเซอ ขมุ จีนฮ้อ ร้อยละ 70 ส่วนที่เหลือเป็นชาวพื้นเมืองเมืองล้านนาและชาวไทยเชื้อสายลาวที่ข้ามฝั่งมาแต่งงานกับชาวพื้นเมืองล้านนาแล้วอพยพถิ่นฐานเข้ามาอยู่ในอำเภอเวียงแก่น นอกจากนี้ยังมีประชากรที่ไม่มีบัตรไม่ได้ขึ้นทะเบียนอีกจำนวนหนึ่งซึ่งเป็นลักษณะปกติของโรงพยาบาลชายแดน เป็นอำเภอที่มีทรัพยากรธรรมชาติค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ด้านเศรษฐกิจนั้นไม่ค่อยดี ชาวบ้านส่วนใหญ่มีการทำนา สวนยาสูบ สวนขิง สวนยางพารา ไร่ข้าวโพดและสวนผลไม้โดยเฉพาะส้มโอ สถานที่ท่องเที่ยวของอำเภอเวียงแก่นมีภูผาตั้ง แก่งผาได และห่างจากภูชี้ฟ้าประมาณ 52 กิโลเมตร เมื่อปีพ.ศ. 2532 คุณแม่พิสมัย ชินะข่าย พ่อทอง แม่ผัน นุธรรม พร้อมบุตรธิดาบริจาคที่รวมจำนวน 25 ไร่ เพื่อก่อตั้งโรงพยาบาลสาขาของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเชียงของ อำเภอเชียงของ อาคารหลังแรกที่มีขนาดเล็ก และได้ถูกดัดแปลงต่อเติมให้เกิดการใช้ประโยชน์ตามภารกิจที่เปลี่ยนแปลงไปโดยมีนายแพทย์สมชาติ รัตนพิทยารักษ์ เป็นผู้อำนวยการคนแรก ต่อมาพ.ศ. 2535 ขยายเป็นโรงพยาบาลขนาด 10 เตียง ในสมัยของนายแพทย์สุชาญ ปริญญาป็้็็้้้ฯ และขยายเป็นโรงพยาบาลขนาด 30 เตียงในพ.ศ. 2540 ในสมัยของนายแพทย์ทวนทศพร สุวรรณจูฑะ และใน พ.ศ.2541 มีนายแพทย์กิติพัฒน์ ลาชโรจน์เป็นผู้อำนวยการจนถึงปัจจุบัน
 
      โรงพยาบาลเวียงแก่นภายใต้การนำของนายแพทย์กิติพัฒน์ ลาชโรจน์ และมีเหล่าแม่ทัพเป็นคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลซึ่งประกอบไปด้วย คุณพิสมัย รวมจิตรแม่ทัพฝ่ายการพยาบาล ทันตแพทย์หญิงพจนา พงษ์พานิช คุณประภาศรี ทิพย์อุทัย คุณเสถียร ฉันทะ เภสัชกรประพันธ์ แซ่เฮ่อ คุณเบญจวรรณ กันติ๊บซึ่งเหล่าแม่ทัพกลุ่มนี้เป็นกำลังหลักสำคัญให้กับโรงพยาบาลในการดูแลสุขภาพของประชาชนชาวเมืองเวียงแก่นให้มีสุขภาวะที่ดี
 
 
   นายแพทย์กิติพัฒน์ ลาชโรจน์ เป็นคนกรุงเทพมหานคร เรียนจบคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่นในปีพ.ศ. 2539 เริ่มชีวิตแพทย์ครั้งแรกที่โรงพยาบาลแม่ลาว จังหวัดเชียงรายต่อมาย้ายมาที่โรงพยาบาลขุนตาลได้ 4 เดือน ก็ย้ายมาเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลเวียงแก่นในปี พ.ศ. 2541จนถึงปัจจุบัน ในปี 2540 เป็นต้นมาโรงพยาบาลเวียงแก่นได้เปลี่ยนไป มีการพัฒนาขึ้นมากและเนื่องด้วยอำเภอเวียงแก่นอยู่ห่างไกลจากจังหวัดเชียงราย เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ส่วนใหญ่เป็นคนต่างอำเภอ หรือต่างจังหวัดทำให้โรงพยาบาลเกิดปัญหาว่าเจ้าหน้าที่มีอัตราการโยกย้ายในแต่ละปีสูงโดยเฉพาะวิชาชีพแพทย์ และพยาบาล ทำให้มีผลกระทบด้านความต่อเนื่องของงานบางงาน ดังนั้นเหล่าแม่ทัพและขุนพลของโรงพยาบาลนำโดยนายแพทย์กิติพัฒน์ ได้ปรับกรอบแนวคิดที่ว่า “ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในการทำงานด้านการรักษา ส่งเสริมสุขภาพภาคประชาชน และการป้องกันโรคอย่างมีประสิทธิภาพ ” เป็นธงนำในการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยมีนโยบายหลัก 3 ข้อคือ
 
ปรับปรุงและ พัฒนาโครงสร้างทางกายภาพและ ภูมิสถาปัตย์ ให้น่าอยู่น่าทำงาน เสริมสร้างองค์กรด้วยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายสุขภาพให้ประชาชนพึ่งได้ พัฒนามาตรฐานคุณภาพบริการทางการแพทย์ส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรทางการแพทย์ใฝ่เรียนรู้ที่จะพัฒนาตัวเอง และผลักดันให้มีความก้าวหน้าในวิชาชีพของตนเอง