ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรงพยาบาลฝาง

Fang Hospital

Logo

ที่อยู่/ติดต่อ
30 หมู่ 4 ตำบลเวียง อำเภอฝาง เชียงใหม่ 50110
โทรศัพท์ 053-451144
โทรสาร 053-451152

✅ รับบัตรทอง

*ข้อมูลรวบรวมโดย Healthserv.net เพื่ออำนวยความสะดวกเบื้องต้นให้กับผู้ชมที่ต้องการข้อมูลสถานพยาบาล ไม่ใช่เว็บทางการของรพ./สถานพยาบาลแต่อย่างใด แนะนำให้ไปยังเว็บไซต์/เฟซบุ๊ค หรือช่องทางติดต่อของรพ./สถานพยาบาลนั้นๆ โดยตรง

HealthServ ชวนร่วมตอบแบบสอบถาม สำรวจความต้องการบริการสุขภาพของคนไทย

HealthServ ชวนร่วมตอบแบบสอบถาม สำรวจความต้องการบริการสุขภาพของคนไทย

ผลสำรวจ

ข่าวสาร-สาระ-ข้อมูลบริการ โรงพยาบาลฝาง

ข่าวสาร ข้อมูลบริการ บทความ สาระประโยชน์

  • ยังไม่มีข่าวสาร ข้อมูลจากที่นี่
[ทั้งหมด]
โรงพยาบาลฝาง
 
 

ประวัติความเป็นมาโรงพยาบาลฝาง

ก่อนปี 2497 ประชากรอำเภอฝางขณะนั้นเกือบสองแสนคน (รวมอำเภอแม่อายและไชยปราการ) ได้รับการรักษาพยาบาลยามเจ็บไข้จากสุขศาลาเล็ก ๆ ชื่อ “สุขศาลาชัยนาทนเรนทร” ประชากรเขตชายแดนส่วนใหญ่เป็นชาวเขา ซึ่งประกอบด้วยเผ่ามูเซอร์ เย้า ลีซอ อีก้อ กระเหรี่ยง จีนฮ่อ และไทยใหญ่ สุขศาลานี้ตั้งอยู่ที่หน้าที่ว่าการอำเภอฝาง หรือตั้งอยู่ที่ตึกรังสิตหรือตึกมาลาเรียในบริเวณของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอฝางในปัจจุบัน ต่อมาประชากรอำเภอฝางเพิ่มมากขึ้น สังคมในเมืองขยายใหญ่ขึ้น การคมนาคมจากอำเภอฝางถึงตัวเมืองเชียงใหม่ ยังลำบาก หนทางคดเคี้ยวไกลถึง 153 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์นานเกือบ 4 ชั่วโมงเป็นอุปสรรคต่อผู้ป่วย และการส่งต่อผู้ป่วยด้วยเหตุผลทางการแพทย์ไปยังโรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่า ฉะนั้นความต้องการและความจำเป็นในด้านการรักษาพยาบาลของประชาชนอำเภอฝางจึงสูงขึ้น กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขได้เล็งเห็นความสำคัญ จึงได้จัดตั้งสถานีอนามัยชั้น 1 ขนาด 10 เตียงขึ้นในอำเภอฝาง โดยจัดตั้งในบริเวณสุขศาลานั่นเอง ได้สร้างที่ทำการและบ้านพัก 3 หลัง กิจการทางด้านการรักษาพยาบาลของชาวอำเภอฝางก็เริ่มเปลี่ยนแปลงและก้าวหน้าขึ้น
 
ปี 2509 สโมสรโรตารี่ธนบุรี ได้จัดหาที่ดินผืนใหญ่เพื่อสร้างเป็นโรงพยาบาล โดยการประสานงานของนายอำเภอฝาง นายแพทย์หัวหน้าสถานีอนามัยชั้น 1 และคณะพ่อค้าจีนเมืองฝาง จึงได้ที่ดินบริจาคจำนวน 19 ไร่ จากสโมสรโรตารี่ธนบุรีและคุณกมลวัน นิมมลรัตน์ เจ้าของที่ดินร่วมกัน เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2509 คือที่ตั้งของโรงพยาบาลฝางในปัจจุบัน หลังจากนั้นกระทรวงฯได้จัดงบประมาณสร้างอาคารผู้ป่วยในให้ 01 หลังคือ ตึก 2
 
ปี 2510 กระทรวงสาธารณสุขได้จัดสร้างอาคารผู้ป่วยนอกเป็นตึก 2 ชั้นคือ ตึก 1 หรือตึกส่งเสริมสุขภาพที่ถูกรื้อถอนไปแล้ว และตั้งเป็นสถานีอนามัยชั้น 1 พิเศษฝาง และเริ่มสร้างบ้านพัก 12 หลัง
 
ปี 2514 วันที่ 24 กันยายน 2514 น.พ.ชาติ ธีรธรรม นายแพทย์หัวหน้าสถานีขณะนั้น ได้ถือฤกษ์ดีวันมหิดลหรือวันแห่งการแพทย์ไทย ได้ย้ายที่ทำการจากสถานีอนามัยชั้น 1 พิเศษฝาง มายังโรงพยาบาลฝาง ที่สร้างใหม่เกือบแล้วเสร็จ แต่มีน้ำไฟพร้อมที่จะใช้ได้ ทำความสะดวกสบายแก่ผู้มารับบริการ กระทรวงฯ ได้เปลี่ยนชื่อจาก สถานีอนามัยชั้น 1 พิเศษฝางเป็นศูนย์การแพทย์และอนามัยชนบทฝาง ขนาด 30 เตียง
 
ปี 2515 กระทรวงฯ ได้จัดสร้างอาคารผู้ป่วยใน (ตึกผู้ป่วยรวม) 1 หลัง
 
ปี 2516 กระทรวง ได้จัดสร้างอาคารผู้ป่วยในอีก 1 หลังคือตึกสูตินรีเวช ขณะนื้ ได้แยกผู้ป่วยคลอดมาอาคารไว้รับผู้ป่วยปลอดได้ 30 เตียง และเปลี่ยนชื่อจาก ศูนย์การแพทย์และอนามัยชนบทฝางเป็นศูนย์การแพทย์และอนามัยฝาง
 
ปี 2526 ได้รับการยกระดับจากโรงพยาบาลขนาด 30 เตียง เป็น 60 เตียง และเปลี่ยนชื่อเป็น โรงพยาบาลอำเภอฝาง มีผู้ป่วยมารับบริการมากขึ้น บางวันผู้ป่วยในมีมากกว่า 90 เตียง (เสริมเตียง) ทั้งนี้เพราะผู้ป่วยรู้จักและใช้บริการโรงพยาบาลฝางกมากขึ้น แทนการใช้บริการจากตัวเมืองเชียงใหม่ จึงมีการพัฒนาการบริการและเทคโนโลยีต่าง ๆ ให้ทันสมัยอยู่เสมอ แม้ว่าการให้บริการจะหนักเนื่องจากมีผู้รับบริการเกินอัตรา บุคลากรมีไม่เพียงพอ โรงพยาบาลฝางไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้จัดทำแผนเสนอไปยังกระทรวงสาธารณสุขเพื่อขอยกระดับเป็นโรงพยาบาล 90 เตียง แต่ไม่ได้รับการอนุมัติ ฉะนั้น โรงพยาบาลจึงอยู่ในลักษณะมีผู้ป่วยล้นโรงพยาบาลและเพิ่มเตียงเสริมอยู่ตลอดเวลา ต่อมากระทรวงฯ ได้เปลี่ยนชื่อจากโรงพยาบาลอำเภอ เป็นโรงพยาบาลชุมชน และในปีนี้กระทรวงฯ ได้จัดสร้างอาคารผู้ป่วยนอก เป็นตึกชั้นเดียว 1 หลัง ประกอบด้วย ห้องตรวจโรค ห้องบัตร ห้องผู้ป่วยฉุกเฉิน ห้องชันสูตร ห้องเอ๊กซเรย์ ห้องยา ห้องผ่าตัด และห้องฟัน ทำให้การบริการสะดวก รวดเร็ว ทั่วถึง และไม่แออัด
 
ปี 2528 กระทรวงฯ ให้โรงพยาบาลและสถานีอนามัยในอำเภอฝาง จัดตั้งชมรมผู้สูงอายุ ฝ่ายการพยาบาลได้รับมอบหมายให้เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ จึงได้จัดตั้งชมรมผู้สูงอายุของโรงพยาบาลฝางขึ้น เมื่อวันมหิดลที่ 24 กันยายน 2528 เจ้าหน้าที่ทุกระดับมีความเข้าใจนโยบายในการดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุ ให้ผู้สูงอายุมีความเป็นอยู่ที่ดีในสังคม สามารถช่วยเหลือตนเองและผู้อื่นได้ เจ้าหน้าที่ทุกระดับจึงให้การสนับสนุนมีการช่วยเหลือดูแลเอาใจใส่อย่างอบอุ่นและต่อเนื่อง  จึงทำให้ชมรมผู้สูงอายุตั้งอยู่ได้อย่างเป็นปึกแผ่น และมีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงพยาบาลอย่างมากมาย ดังนี้
เรื่องศาสนพิธีในงานที่โรงพยาบาลได้จัดขึ้น
ร่วมกิจกรรมในงาน โครงการต่าง ๆ ของโรงพยาบาล
อนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีทางภาคเหนือ
ก่อสร้างอาคารถาวรในการทำกิจกรรมของผู้สูงอายุ
สร้างห้องสุขาสำหรับผู้สูงอายุ 10 ห้อง
จัดตั้งแผนกการนวดแผนไทย
ได้จัดหารถพยาบาลยี่ห้อโตโยต้าพร้อมอุปกรณ์ช่วยชีวิตในรถราคา 460,000 บาท (สี่แสนหกหมื่นบาทถ้วน) ส่งมอบให้โรงพยาบาลฝางเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2536
ประธานชมรมที่ได้รับการคัดเลือกจากสมาชิกทั้งหมด ตั้งแต่ก่อตั้งชมรมถึงปัจจุบัน ดังนี้
 
 
1. พ.ศ. 2528 – 2531 ประธานคนแรกคือ นายวัลลภ  ชัยแก่น
 
2. พ.ศ. 2532 – 2533 ประธานคนที่ 2 คือ นายดวงต๋า  ศรีใจ
 
3. พ.ศ. 2534 – ปัจจุบัน ประธานคนที่ 3 คือ นายวิชัย  นาคเสน
 
ปี 2535 – 2539 โรงพยาบาลได้พัฒนาทุกด้าน เพื่อให้ผลงานด้านบริหาร บริการ วิชาการ ออกมาอย่างมีประสิทธิภาพ งานที่สำคัญและจำเป็นในด้านการพัฒนาคือการประสานงานกับหน่วยงานอื่น เพื่อช่วยให้มีการบริการด้วยกลไกและเทคโนโลยีที่ทันสมัยแก่ผู้รับบริการ ในระหว่างปีมีการรณรงค์และค้นหาโรคบางอย่างค่อนข้างน้อย เช่น ค้นหาและรักษาวัณโรคปอดด้วยการเอ๊กซเรย์ การค้นหาและรักษาโรคนิ่วในถุงน้ำดีโดยใช้เครื่องมือพิเศษ การค้นหาและให้การผ่าตัดตกแต่งผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ การผ่าตัดคอพอก และการตรวจรักษาโรคหู การผ่าตัดเย็บเยื่อแก้วหู การให้เครื่องช่วยฟังแก่ผู้ป่วยที่ไม่สามารถซื้อหาได้เอง ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องการให้บริการตรวจ รักษา และให้อุปกรณ์ฟรี ยิ่งไปกว่านั้นผู้รับบริการยังได้รับการตรวจอย่างละเอียดจากแพทย์เฉพาะทางด้วย จากการประสานงานทั้งภาครัฐและเอกชน ทำให้แพทย์เฉพาะทางได้สัมผัสและได้รับความร่วมมืออย่างดีจากเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลฝางที่ได้ช่วยกันให้บริการแก่ผู้มารับการตรวจรักษามากเกินคาดให้ลุล่วงด้วยดีและรวดเร็ว ทำให้ได้ทราบข้อเท็จจริงว่า ในชนบทที่ห่างไกลจากโรงพยาบาลใหญ่ ยังมีผู้ป่วยที่ยากจนที่ป่วยด้วยโรคต่าง ๆ รอการตรวจรักษาเฉพาะทางอยู่เป็นอันมาก จากการประสานงานของนายแพทย์สมาจาร วิจารณ์ปรีชา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลฝาง และการร่วมมือช่วยเหลืออย่างพร้อมเพรียงของเจ้าหน้าที่ทุกระดับ ตลอดถึงผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ ทำให้นายแพทย์ณรงค์ นิ่มสกุล ตัวแทนสมาคมบำเพ็ญประโยชน์ไทย-ญี่ปุ่น ได้ประสานงานกับรัฐบาลญี่ปุ่น โดยมหาวิทยาลัยไดโกมอบเครื่องมือที่สื่อสารดาวเทียมทางการแพทย์และเดินทางมาติดตั้ง ณ โรงพยาบาลฝาง พร้อมอุปกรณ์ครบชุด เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2535 ดาวเทียมทางการแพทย์นี้เป็นประโยชน์และใช้ในการประสานงานเครือข่ายได้ ดังนี้ 
โรงพยาบาลสามารถปรึกษาทางการแพทย์เมื่อจำเป็น ติดต่อกับเครือข่ายในประเทศไทย ได้แก่ เชียงใหม่ สงขลา สุรินทร์ และกรุงเทพฯ
 
ในปี 2536 ได้รับบริจาคเงินสร้างอาคาร 3 ชั้น ในวงเงิน 35 ล้านบาท ผู้บริจาคคือ คุณฤทธิดำรง ดิสกุล สร้างและอุทิศให้ พระวรวงค์เธอพระองค์เจ้าศิริรัตนบุษบง โดยการประสานงานของ มรว.พิชิตวงค์ เกษมสันต์ ณ อยุธยา การก่อสร้าง ได้วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2536 โดยมีสมาชิกชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลฝางได้มาช่วยในเรื่องศาสนพิธีและต้อนรับคณะผู้บริจาคด้วย บริษัทที่รับเหมาก่อสร้างคือ บริษัทวีคอนสตรัคชั่น จำกัด และบริษัทฒิลาวัสดุก่อสร้าง อยู่ในระหว่างก่อสร้าง คาดว่าจะแล้วเสร็จก่อนข้าพเจ้าเกษียณอายุราชการ ในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2536 กระทรวงสาธารณสุขได้ยกระดับโรงพยาบาลฝาง จากโรงพยาบาลชุมชน 60 เตียง เป็นโรงพยาบาลทั่วไป 210 เตียง ทำให้ข้าราชการในโรงพยาบาลฝางได้มีโอกาสเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นตามระเบียบวาระ หรือแต่ละตำแหน่งมีเพดานสูงขึ้น