ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรงพยาบาลสามพราน

Sampran Hospital

Logo

โรงพยาบาลสามพราน จังหวัดนครปฐม สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

ที่อยู่/ติดต่อ
หมู่ 1 ต.ท่าตลาด อ.สามพราน จ.นครปฐม 73110
โทรสาร 034388957 #1320

✅ รับบัตรทอง

*ข้อมูลรวบรวมโดย Healthserv.net เพื่ออำนวยความสะดวกเบื้องต้นให้กับผู้ชมที่ต้องการข้อมูลสถานพยาบาล ไม่ใช่เว็บทางการของรพ./สถานพยาบาลแต่อย่างใด แนะนำให้ไปยังเว็บไซต์/เฟซบุ๊ค หรือช่องทางติดต่อของรพ./สถานพยาบาลนั้นๆ โดยตรง

HealthServ ชวนร่วมตอบแบบสอบถาม สำรวจความต้องการบริการสุขภาพของคนไทย

HealthServ ชวนร่วมตอบแบบสอบถาม สำรวจความต้องการบริการสุขภาพของคนไทย

ผลสำรวจ

ข่าวสาร-สาระ-ข้อมูลบริการ โรงพยาบาลสามพราน

ข่าวสาร ข้อมูลบริการ บทความ สาระประโยชน์

[ทั้งหมด]
โรงพยาบาลสามพราน
 
 
วิสัยทัศน์
  เป็นโรงพยาบาลทั่วไปที่มีคุณภาพเป็น Node รับการส่งต่อ 5 สาขาหลัก เป็นศูนย์การแพทย์อุบัติเหตุฉุกเฉิน และรองรับการดูแลผู้สูงอายุครบวงจร ปี 2567
 
 
 จากวันนั้นถึงวันนี้ 54 ปี โรงพยาบาลสามพราน
 
           เมื่อปี พ.ศ.2506 สมัยที่นายพล วงศ์สาโรจน์  ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม และ     นายประพัฒน์ ศิริประภัศศร เป็นนายอำเภอสามพราน ในครั้งนั้นเขตอำเภอสามพรานมีสถานีอนามัยชั้น 2 เพียงแห่งเดียว ซึ่งไม่เพียงพอต่อการจัดบริการด้านอนามัยตามความหนาแน่นของประชาชน ในคราวนั้น    นาวาโทพระวิชิตชลชัยและคุณนายเสงี่ยม วิชิตชลชัย ได้แสดงความจำนงที่จะบริจาคทรัพย์ต่อทางอำเภอ   สามพราน นายอำเภอและผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐมจึงได้เสนอให้จัดสร้างสถานีอนามัยชั้น 1 (ตามแบบแปลนของกองก่อสร้างสุขาภิบาล กรมอนามัย เลขที่ 131) 1 หลังบ้านพักแพทย์ 1 หลัง บ้านพักพยาบาล       1 หลัง เพื่อให้บริการบำบัดรักษา ป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ และพิจารณาเลือกที่ดินริมถนนเพชรเกษม กิโลเมตร   ที่ 36 ของ นางวัลลีย์ เบญจาศิริชัย จำนวน 12 ไร่ เป็นที่ก่อสร้าง โดยดำเนินการขอซื้อที่ดิน เป็นเงินทั้งหมด 360,000 บาท ซึ่งเจ้าของที่ดินขอรับเงินเพียง 160,000 บาท ส่วนอีก 200,000 บาท ได้ขออุทิศให้แก่ทางราชการ หลังจากที่อำเภอซื้อไว้ ได้จัดโอนที่ดินเป็นขององค์การบริหารส่วนจังหวัด เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2506 และได้ทำการสร้างเสร็จเป็นสถานีอนามัยชั้นหนึ่งหรือได้ถือกำเนิดเป็นโรงพยาบาลครั้งแรก ตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม 2508 เป็นต้นมา
 
           ต่อมา พ.ศ.2534 โรงพยาบาลสามพราน ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากกระทรวงสาธารณสุขเพื่อก่อสร้างอาคารผู้ป่วยใน ซึ่งในขณะนั้นมีนายแพทย์สิทธิชัย พัฒนสุวรรณ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลสามพราน ได้มีความเห็นร่วมกับคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลว่าควรมีอาคารผู้ป่วยนอกและอุบัติเหตุควบคู่ไปด้วย จึงได้มีหนังสือถึงนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครปฐม เพื่อขออนุมัติดำเนินการก่อสร้างอาคารผู้ป่วยนอกและอุบัติเหตุ ด้วยวงเงิน 9,500,000 บาท โดยมีนายนาวิน ขันธหิรัญ เป็นนายอำเภอสามพรานออกคำสั่งแต่งตั้งผู้ปฏิบัติงานรับผิดชอบการเงินโครงการกองทุนก่อสร้างตึกผู้ป่วยนอกและอุบัติเหตุ และดร.สุกิจ จุลละนันท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม ทำพิธีวางศิลาฤกษ์อาคาร และตั้งชื่อตึกผู้ป่วยนอกและอุบัติเหตุนี้ว่า “ตึกไลออนส์ประชาร่วมใจ” และเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2535
 
           พ.ศ.2547 โรงพยาบาลสามพราน ประสบปัญหาสภาพพื้นที่บริการมีความแออัดคับแคบไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้ป่วยที่มารับบริการที่เพิ่มมากขึ้นทุกปีบ่อยครั้งที่ประชาชนเดินทางมารับบริการแล้วต้องถูกส่งต่อไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลอื่น ๆ เหตุเพราะไม่มีเตียงรับไว้รักษาพยาบาลนอกจากนี้ อาคารต่าง ๆ ยังมีสภาพเก่าชำรุดทรุดโทรม บางครั้งฝนตกหนักมากทำให้หลังคาอาคารเก่า ที่เก่าแก่ได้รับผลกระทบแปรสภาพเป็นคลองเล็ก ๆ ภายในอาคาร ส่งผลกระทบให้ผู้ป่วยญาติ และเจ้าหน้าที่พากันลำบากด้วยสภาพการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นประชาชนจึงได้รวมตัวกันปรึกษาหารือร่วมกับคณะกรรมการวัดไร่ขิง จึงเป็นที่มาของการได้รับความเมตตาจาก พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ อดีตเจ้าอาวาสวัดไร่ขิง มอบที่ดินจำนวน 11 แปลง เนื้อที่ 26 ไร่ 19 ตารางวา โดยทำสัญญาเช่าเป็นเวลา 30 ปี จำนวน 851,310 บาท และได้ร่วมบริจาคกลับคืนมาให้กับโรงพยาบาลสามพรานเมื่อ พ.ศ. 2548 เพื่อก่อสร้างอาคารบริการหลักแห่งใหม่ ณ หมู่ที่ 1 ตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐมโรงพยาบาลสามพรานจึงได้ดำเนินการจัดทำคำขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากสาธารณสุข เพื่อก่อสร้างอาคารบริการหลักแห่งใหม่ขึ้น แต่เนื่องจากรัฐบาลมีงบประมาณที่จำกัด จึงไม่ได้รับการพิจารณาจัดสรรงบประมาณ เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน และด้วยความมุ่งมั่นของ ดร.นายแพทย์ธันย์ธราวัชร ดิฐผุสสดี(นายแพทย์สิทธิชัย พัฒนสุวรรณ) ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสามพรานที่มุ่งมั่นที่จะพัฒนาและขยายการให้บริการแก่ประชาชนทั้งในเขตอำเภอสามพรานและพื้นที่ใกล้เคียงให้ได้ จึงได้ดำเนินการขออนุมัติใช้เงินบำรุงโรงพยาบาลสามพรานที่มีอยู่อย่างจำกัด ก่อสร้างอาคารผู้ป่วยใน 120 เตียง แบบเลขที่ 9128 เป็นอาคาร คสล.6 ชั้น พื้นที่สอยรวม 4,746 ตารางเมตร วงเงินงบประมาณ 68,500,000 บาท และได้มีพีธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2552 โดยได้รับการสนับสนุนในการจัดงานจาก         พระพิพัฒน์วิริยาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดไร่ขิง ในคณะนั้น และได้กราบอาราธนา สมเด็จพระพุฒาจารย์(สมเด็จเกี่ยวอุปเสโณ)ประธารคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่ สมเด็จพระสังฆราช เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และมีนายมานิต นพอมรบดี รัฐมนตรีช่วยว่าสาธารณสุข เป็นประธานฝ่ายฆราวาสร่วมด้วย หัวหน้าส่วนราชการ หัวหน้าหน่วยงาน รัฐวิสาหกิจ พนักงานส่วนท้องถิ่น อสม. นักเรียน นักศึกษา ตลอดจนพ่อค้าประชาชนในเขตอำเภอสามพรานและพื้นที่ใกล้เคียง ร่วมพิธีดังกล่าว และได้เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2552 สิ้นสุดสัญญาเมื่อวันที่      30 ตุลาคม 2554 แต่เนื่องจากเกิดเหตุอุทุกภัยพื้นที่การก่อสร้างจึงได้ขยายเวลาแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2555 โรงพยาบาลสามพรานจึงได้มีอาคารผู้ป่วนในที่สง่างามและพร้อมให้บริการกับประชาชน และเปิดให้บริการ 1 พฤศจิกายน 2555 พ.ศ.2553 โรงพยาบาลสามพรานได้รับงบประมาณจากรัฐบาลดำเนินการก่อสร้าง อาคารพักพยาบาล 32 ยูนิต 4 ชั้น แบบเลขที่ 8813 เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2553 สิ้นสุดสัญญาเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2554 งบประมาณจากโครงการหลักประกันสุขภาพ(UC) ปีงบประมาณ 2553 สมทบเงินบำรุงโรงพยาบาลสามพราน และได้รับการพิจารณาจัดสรรงบประมาณโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 รอบที่ 1 ในการก่อสร้างอาคาร โรงครัว-อาหาร แบบเลขที่ 9217 เป็นอาคาร 2 ชั้น วงเงินงบประมาณก่อสร้าง 17,615,000 บาท และได้เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2553 สิ้นสุดสัญญาเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2554
 
           พ.ศ.2555 โรงพยาบาลสามพราน ได้รับการพิจารณาจัดสรรงบประมาณอีกครั้งเพื่อรองรับการเป็นโรงพยาบาลแม่ข่ายระดับ M2 ในการก่อสร้างอาคารรักษาพยาบาล(รพ.ขนาด 400 เตียง)เป็นอาคาร คสล.4 ชั้น
 
แบบเลขที่ 8816 วงเงินงบประมาณ 104,000,000 บาท ซึ่งประกอบไปด้วยแผนกรังสี (X-RAY) แผนกชันสูตร(LAP) หอผู้ป่วยหนัก (ICU) ศูนย์ไตเทียม (HD) ห้องผ่าตัด (OR) ห้องคลอด (LR) เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่         23 สิงหาคม 2555 สิ้นสุดสัญญาเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2557 และเริ่มเปิดใช้บริการเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2558
 
           พ.ศ.2557 โรงพยาบาลสามพราน ได้รับการพิจารณาจัดสรรงบประมาณเพิ่มเพื่อก่อสร้างอาคารผู้ป่วยนอก เป็นอาคาร คสล.4 ชั้น แบบเลขที่ 8883 วงเงินงบปรับประมาณ 71,000,000 บาท เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2556 สิ้นสุดสัญญาเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2559 โดยได้รับความเอาใจใส่อย่างดียิ่งจากนายแพทย์ สุนทร เสรีเชษฐพงษ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสามพรานที่ย้ายมาปฏิบัติหน้าที่เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2557 ในการดูแลงานก่อสร้างอาคารผู้ป่วยนอกจนสำเร็จเสร็จสิ้น ตลอดจนได้เชิญผู้เชี่ยวชาญมาช่วยวางแผนแม่แบบและปรับปรุงสิ่งแวดล้อมโดยรอบให้สวยงาม และเริ่มเปิดให้บริการได้เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559 และตั้งชื่อโรงพยาบาลหลักแห่งใหม่นี้ว่า “โรงพยาบาลสามพราน (วัดไร่ขิง)”
 
           9 มกราคม 2560 โรงพยาบาลสามพรานได้รับการสนับสนุนงบประมาณ CEO จากท่านผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม เพื่อใช้ปรับปรุงห้องอุบัติเหตุฉุกเฉินและจัดซื้อเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์สำหรับห้องอุบัติเหตุฉุกเฉินและห้องผ่าตัดวงเงินงบประมาณ 20,000,000 บาท
 
           24 มีนาคม 2560 โรงพยาบาลสามพราน ได้จัดพิธีเปิดอาคารบริการหลักแห่งใหม่และทอดผ้าป่าสามัคคีเพื่อสมทบทุนจัดซื้อเครื่องมือแพทย์ โดยทานพระเทพศาสนาภิบาล รองเจ้าคณะจังหวัดนครปฐม     เจ้าอาวาสวัดไร่ขิง ได้เมตตาหาทุนทรัพย์ในการจัดซื้อเครื่องมือแพทย์และเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ประกอบพิธีเปิดอาคารหลักแห่งใหม่และทอดผ้าป่าสามัคคี พร้อมด้วยนายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายอดิศักดิ์เทพอาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม และ ดร.สนธยา กล่อมเปลี่ยน ร่วมกันเป็นประธานฝ่ายฆราวาส โดยมีนายทรงวุฒิ หุตามัย นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครปฐม และคณะเข้าร่วมพิธีด้วย
 
           จากการมุ่งมั่นและความตั้งใจของโรงพยาบาลสามพราน อย่างต่อเนื่องที่จะพัฒนาโรงพยาบาล    สามพรานให้เป็นโรงพยาบาลทั่วไปขนาดเล็ก ระดับ M1 ที่สามารถรองรับการให้บริการรักษาพยาบาลแก่ประชาชนที่เจ็บป่วยในพื้นที่อำเภอสามพรานและพื้นที่ใกล้เคียงจนได้รับความเมตตาจากเจ้าอาวาสวัดไร่ขิง และเป็นที่ไว้วางใจจากหน่วยงานทั้งภาครัฐระดับจังหวัดและระดับเขต รวมถึงพ่อค้า ประชาชนในพื้นที่และนอกพื้นที่ ให้การสนับสนุนงบประมาณต่าง ๆ สำหรับก่อสร้างอาคารและสมทบทุนทรัพย์สำหรับจัดซื้อเครื่องมือแพทย์ที่มีคุณภาพและเพียงพอ