ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรงพยาบาลนาหมื่น

Na Muen Hospital

Logo

ที่อยู่/ติดต่อ
25 หมู่ 14 ต.บ่อแก้ว อ.นาหมื่น จ.น่าน 55180
โทรศัพท์. 054-719361-62
โทรสาร.054-719361-62 ต่อ 145

✅ รับบัตรทอง

*ข้อมูลรวบรวมโดย Healthserv.net เพื่ออำนวยความสะดวกเบื้องต้นให้กับผู้ชมที่ต้องการข้อมูลสถานพยาบาล ไม่ใช่เว็บทางการของรพ./สถานพยาบาลแต่อย่างใด แนะนำให้ไปยังเว็บไซต์/เฟซบุ๊ค หรือช่องทางติดต่อของรพ./สถานพยาบาลนั้นๆ โดยตรง

HealthServ ชวนร่วมตอบแบบสอบถาม สำรวจความต้องการบริการสุขภาพของคนไทย

HealthServ ชวนร่วมตอบแบบสอบถาม สำรวจความต้องการบริการสุขภาพของคนไทย

ผลสำรวจ

ข่าวสาร-สาระ-ข้อมูลบริการ โรงพยาบาลนาหมื่น

โรงพยาบาลนาหมื่น ขอร่วมแสดงความยินดี นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว

โรงพยาบาลนาหมื่น ขอร่วมแสดงความยินดี นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว  โรงพยาบาลนาหมื่น
โรงพยาบาลนาหมื่น ขอร่วมแสดงความยินดี นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว  โรงพยาบาลนาหมื่น
 โรงพยาบาลนาหมื่น ขอร่วมแสดงความยินดี เนื่องในโอกาส นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว อดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลนาหมื่น ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

ข่าวสาร ข้อมูลบริการ บทความ สาระประโยชน์

  • ยังไม่มีข่าวสาร ข้อมูลจากที่นี่
[ทั้งหมด]

  โรงพยาบาลนาหมื่น เป็นโรงพยาบาลชุมชน ขนาด 30 เตียง ให้บริการดูแลสุขภาพแก่ชาวอำเภอนาหมื่นจำนวนประมาณ 14,000 คน มากว่า 34 ปี ตั้งแต่รัฐบาลริเริ่มนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โรงพยาบาลได้รับจัดสรรงบประมาณตามรายหัวประชากร

    เนื่องจากอำเภอนาหมื่นเป็นอำเภอขนาดเล็ก ประชากรจำนวนน้อยและส่วนใหญ่เป็นสิทธิ์รักษาหลักประกันถ้วนหน้า ทำให้โรงพยาบาลได้รับการจัดสรรงบไม่เพียงพอต่อรายจ่ายต่างๆ อาทิเช่น ค่ายาและเวชภัณฑ์ต่างๆ ค่าบำรุงอุปกรณ์ทางการแพทย์ ค่าตอบแทนบุคลากรเป็นต้น ซึ่งโรงพยาบาลนาหมื่นได้พยายามประคับประคอง บริหารจัดการและควบคุมรายรับรายจ่าย ทำให้ไม่มีวิกฤติทางการเงินได้ถึง 15 ปี
 
    แต่ปัจจุบันด้วยรายจ่าย ทั้งค่ายา เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มากขึ้น ทำให้โรงพยาบาลนาหมื่นประสบวิกฤติปัญหาทางการเงิน ระดับ 7 (ขั้นสูงสุด) ตั้งแต่ กลางปี 2560 โดยสามารถลดรายจ่ายในด้านต่างๆ ลดระดับเหลือระดับ 5 (16 มิถุนายน 2561) จากสถานการณ์ดังกล่าว จึงขอความอนุเคราะห์ บริจาคอุปกรณ์ทางการแพทย์ และ เงินเข้ากองทุนสงเคราะห์ผู้ป่วยอนาถาและพัฒนาเครื่องมือแพทย์โรงพยาบาลนาหมื่น เพื่อใช้ในการจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ทดแทนของเดิมที่เสื่อมสภาพ และลดรายจ่ายด้านการซื้ออุปกรณ์ เพื่อนำเงินที่เหลือใช้จ่ายในด้านต่างๆ ของโรงพยาบาลต่อไป โดยมีรายการวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์และครุภัณฑ์สำนักงานที่ขาดแคลนดังนี้

ประวัติโรงพยาบาลนาหมื่น

โรงพยาบาลนาหมื่นเริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2527 บนเนื้อที่ 47 ไร่ 92 ตารางวา เดิมที่ ที่ดินดังกล่าวเป็นของชาวบ้านได้จับจองเป็น สค.1 ของนายเสริม - นางคำ คำอ้ายด้วง ซึ่งได้สืบทอดมรดกจากบิดาคือ นายจันธิมา ปาวิชัย พร้อมกันนั้นได้ซื้อ ของนายทา วิละปิง นายสว่าง วัฒนชัยประเสริฐ และ นายเสงี่ยม  ธิเขียว เพิ่มอีก 3 ไร่ รวมทั้งหมดเป็น 10 ไร่ รวมกับที่ดินสาธารณบริเวณดังกล่าวอีก 37 ไร่ 92 ตารางวา รวมเนื้อที่ทั้งหมดเป็น 47 ไร่ 92 ตารางวา โดย 

ทิศเหนือติดต่อกับที่ดินของนายชื่น สารกา
ทิศใต้ติดกับที่ดินนายแก้ว สารเถื่อนแก้ว และพื้นที่สาธารณะ
ทิศตะวันตกติดกับที่ดินนายมี  สารเถื่อนแก้ว
ทิศตะวันออกติดกับที่ดิน ถนนสาธารณะและบ้านป่าแพะ  หมู่  14  ตำบลบ่อแก้ว ขณะยังเป็น กิ่งอำเภอนาหมื่น
 
กิ่งอำเภอนาหมื่นแบ่งการปกครองออกเป็น 3 ตำบล คือ
1.สภาตำบลบ่อแก้ว
2.สภาตำบลนาทะนุง
3.สภาตำบลปิงหลวง
 
เมื่อปี พศ.2526 ทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่านได้มีคำสั่งจากกระทรวงสาธารณสุขให้สำนักงานสาธารณสุขกิ่งอำเภอนาหมื่น คือ นายปรีชา การินไชย สธ.กิ่ง อำเภอนาหมื่น สำรวจพื้นที่ เพื่อก่อสร้างโรงพยาบาลประจำอำเภอ โดยหารือกันระดับกิ่งอำเภอ มีอยู่ 2 จุด เพื่อสร้างโรงพยาบาลประจำอำเภอ คือ ที่ตำบลนาทะนุง บริเวณสนามกีฬาตำบลนาทะนุงและที่ตำบลบ่อแก้ว บริเวณสนามกีฬาปัจจุบัน เพราะที่ตั้งโรงพยาบาลปัจจุบันติดขัดอยู่เป็นที่ดินทำกินของชาวบ้าน ทางสภาตำบลบ่อแก้ว โดยการนำของ นายอิ่นดำ อุดแดง  อดีตกำนันตำบลบ่อแก้วโดยมีที่ปรึกษาสภาตำบล คือ
 
1.นายพิชัย  ศิริภานุกุล  กำนันตำบลบ่อแก้ว
2.นายรือง สารกา ผู้ใหญ่บ้าน บ้านคำเรือง ม.1
3.นายเลื่อน  แก้วชมพู  ผู้ใหญ่บ้าน บ้านนาบอน ม.3
4.นายสมเร็จ  เปี่ยมทวีศักดิ์  ผู้ใหญ่บ้าน บ้านปง ม.4
5.นายธร  โนวังหาร  ผู้ใหญ่บ้าน บ้านไก่เถื่อน ม.2
6.นายประชา  เจริญภักดี ผู้ใหญ่บ้าน บ้านป่าเป้า ม.6
7.นายมั่น กองอุดมกิจ ผู้ใหญ่บ้าน บ้านป่าค่า-นายาง ม.7
8.นายดาด ธนะปัด  ผู้ใหญ่บ้าน บ้านนาหวาย  ม.8
9.นายสืบ  กันทะมัง  ผู้ใหย่บ้าน บ้านหัวทุ่ง ม.9
 
พร้อมกับเลขาสภา นายเจริญ เปี่ยมทวีศักดิ์ และผู้ทรงคุณวุฒิทั้งแปดหมู่บ้านที่เป็นแกนนำ คือ
 
1.นายอรุ่น   เสถียรการ    ม.1
2.นายอินแปง  แก้วกายา   ม.2
3.นายเดี่ยว  ปาฟอง    ม.3
4.นายจำเริญ  น้อยอินต๊ะ  ม.4
5.นายเสน่ห์  ปาณีทะ  ม.5
6.นายเชื้อ  สารเถื่อนแก้ว  ม.6
7.นายสงวน  ขันยอด  ม.7
8.นายทอง  เวชมโน   ม.8
 
      ทั้งหมดได้ช่วยกันดูแลรับรองการมอบสภานที่ก่อสร้างโรงพยาบาลให้กับสาธารณสุขจังหวัดน่าน จึงได้ก่อสร้างอาคารเมื่อปี พศ.2526 จนกระทั่งก่อสร้างอาคารแล้วเสร็จเมื่อ  พศ.2528 รวมระยะเลาก่อสร้าง 1 ปีเศษ และได้ทำการเปิดการรักษาผู้ป่วยนอก (OPD) เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2528 เป็นเวลา 3 เดือน โดยไปเช้า-เย็นกลับ โดยให้เจ้าหน้าที่พักอยู่ที่โรงพยาบาลนาน้อยมีแพทย์ 1 คน พยาบาล 3 คน
 
      สำหรับอาคารตึกผู้ป่วย บ้านพักนั่นสร้างเสร็จเดือนมีนาคม พศ.2528 ทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่านได้เปิดรับสมัคร ลูกจ้างประจำ 3 ตำแหน่ง คือ
 
พนักงานขับรถยนต์    1 ตำแหน่ง
คนสวน 1 ตำแหน่ง
ยามรักษาความปลอดภัย 1 ตำแหน่ง
ลูกจ้างประจำที่ได้รับคัดเลือกให้บรรจุเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2528  3 ตำแหน่งคือ
1.นายกิติการณ์  สารเถื่อนแก้ว  ปฏิบัติหน้าที่ 
  - พนักงานขับรถยนต์
  - พนักงาน x-ray
  - ช่างไม้-ช่างไฟฟ้า
  - ทำความสะอาด
2.นายภาณุวัฒน์  ธิเขียว  ปฏิบัติหน้าที่   
  - ยามรักษาความปลอดภัย
  - พนักงาน เวชระเบียน
  - ทำความสะอาด
3.นายวราวุฒิ  สารเถื่อนแก้ว  ปฏิบัติหน้าที่ 
  - คนสวน
  - ทำความสะอาด
 
จำนวนเจ้าหน้าที่ ที่ปฏิบัติหน้าที่ ณ.ขณะนั่น ประกอบด้วย
1.นายแพทย์สันติ  นวนพรัตน์สกุล  ปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล
2.นางสาวกนกภรณ์  เกตุพรม  ปฏิบัติหน้าที่
- บริหารทั่วไป
- ธุรการ
- หัวหน้าฝ่ายการพยาบาล
- งานอุบัติฉุกเฉิน
3.นางสาวชไมพร  เขียวนวล  ปฏิบัติหน้าที่
- งานส่งเสริม
- งานสุขา
- งานอุบัติฉุกเฉิน
4.นางสาวกัลยา  ขวัญใจ  ปฏิบัติหน้าที่
- งานผู้ป่วยนอก
- งานอุบัติฉุกเฉิน
5.นางสาวดวงจันทร์  เชี่ยวสุวรรณ ปฏิบัติหน้าที่ 
- ห้องยา
- งานอุบัติฉุกเฉินและได้เปิดทำการรักษาผู้ป่วยนอกอยู่ได้ประมาณ 3 เดือน จึงทำการเปิดรักษาผู้ป่วยในขนาด 10 เตียง อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2528 โดยใช้เครื่องปั่นไฟฟ้า 30 กิโลวัติ
 
จนกระทั่ง เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2540 โดยมีแพทย์หญิงสายพิณ หัตถีรัตน์ และนายแพทย์อมรชัย  กริชนิกรกุล ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในขณะนั่น

ปัจจุบันโรงพยาบาลนาหมื่นเป็นโรงพยาบาล  F2  ขนาด  30 เตียง (active bed 12 เตียง) ซึ่งปะกอบด้วย ผู้ป่วยสามัญ 20 เตียง
ห้องพิเศษ 5 ห้อง
ห้องแยกโรค 1 ห้อง
ห้องคลอด 4 เตียง
 
คณะกรรมการที่ปรึกษาโรงพยาบาลนาหมื่น
 
ฝ่ายบรรพชิต  พระครูโอภาสนันทคุณ  เจ้าอาวาสวัดคำเรือง
 
ฝ่ายฆารวาส 
1. นายพิชัย  ศิริภาณุกูล
2. นางสาวเจริญ อินถา
3. นายเจริญ  เปี่ยมทวีศักดิ
4. นายสนั่น ฟูบินทร์
5.นายสมควร  ธนะปัด