ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรงพยาบาลบ้านกรวด

Ban Kruat Hospital

Logo

ที่อยู่/ติดต่อ
120 หมู่ 3 ถนนไมยรัตน์ ตำบลปราสาท อำเภอ บ้านกรวด บุรีรัมย์ 31180
ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน 044-679132
กลุ่มงานการจัดการบริหารงานทั่วไป
โทรศัพท์ : 044-679428 , 044-679228
โทรสาร : 044-679088 ต่อ 124
กลุ่มงานประกันสุขภาพ ฯ
โทรศัพท์ : 044-679430
โทรสาร : 044-679430

✅ รับบัตรทอง

*ข้อมูลรวบรวมโดย Healthserv.net เพื่ออำนวยความสะดวกเบื้องต้นให้กับผู้ชมที่ต้องการข้อมูลสถานพยาบาล ไม่ใช่เว็บทางการของรพ./สถานพยาบาลแต่อย่างใด แนะนำให้ไปยังเว็บไซต์/เฟซบุ๊ค หรือช่องทางติดต่อของรพ./สถานพยาบาลนั้นๆ โดยตรง

HealthServ ชวนร่วมตอบแบบสอบถาม สำรวจความต้องการบริการสุขภาพของคนไทย

HealthServ ชวนร่วมตอบแบบสอบถาม สำรวจความต้องการบริการสุขภาพของคนไทย

ผลสำรวจ

ข่าวสาร-สาระ-ข้อมูลบริการ โรงพยาบาลบ้านกรวด

ข่าวสาร ข้อมูลบริการ บทความ สาระประโยชน์

  • ยังไม่มีข่าวสาร ข้อมูลจากที่นี่
[ทั้งหมด]
วิสัยทัศน์
โรงพยาบาลคุณภาพมาตรฐาน ทุกคนสุขภาพดี ภาคีเข้มแข็ง

 ข้อมูลทั่วไปโรงพยาบาลบ้านกรวด
          โรงพยาบาลบ้านกรวด เป็นโรงพยาบาลขนาด  60 เตียง ตั้งอยู่ที่หมู่ 3 ตำบลปราสาท อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเป็นอำเภอที่อยู่ติดกับแนวชายแดนไทย-กัมพูชา
 

ประวัติโรงพยาบาลบ้านกรวด

          เดิม เป็นสถานีอนามัยชั้น 2 ตั้งอยู่บนพื้นที่ประมาณ 7 ไร่เศษ  โดยอยู่ทางด้านทิศใต้ของที่ว่าการอำเภอบ้านกรวด  และสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอบ้านกรวด  ต่อมาในปี  พ.ศ.  2519  ได้มีการก่อตั้ง  “ ศูนย์การแพทย์และอนามัยอำเภอบ้านกรวด” ขึ้นแทน  โดยสร้างในพื้นที่ของสถานีอนามัยเดิมและในปีเดียวกันนั้น  ก็ได้ยกฐานะเป็นโรงพยาบาลอำเภอ  และโรงพยาบาลชุมชนตามลำดับ
 
เนื่องจากโรงพยาบาลบ้านกรวด    ตั้งอยู่ในเขตอำเภอชายแดนไทย  -   กัมพูชา  ซึ่งมีเหตุการณ์สู้รบทางชายแดนอยู่เป็นระยะ ๆ จึงต้องรับภาระการบริการ  ทั้งชาวไทยในเขตอำเภอบ้านกรวดและอำเภอใกล้เคียง      รวมทั้งทหาร ตำรวจ   และอาสาสมัครอื่น ๆ  ที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในแนวชายแดนดังกล่าว  ทำให้สถานภาพของโรงพยาบาล  เดิมเป็นโรงพยาบาลขนาด  10 เตียง  ที่มีแพทย์และเจ้าหน้าที่จำนวนจำกัด  ไม่เพียงพอที่จะให้บริการได้อย่างเต็มที่     ทางโรงพยาบาลบ้านกรวด   ได้แก้ปัญหาเฉพาะหน้า  โดยการขออนุมัติก่อสร้างตึกผู้ป่วยในขนาด  10  เตียง  เพิ่มขึ้น  1  หลัง  จากเงินบำรุงของโรงพยาบาลเมื่อปลายปี พ.ศ.  2519   เพื่อเตรียมรับสถานการณ์ชายแดนซึ่งจะมีทั้งตำรวจ ทหาร   และชาวบ้านที่บาดเจ็บจากภัยสงคราม  หรือเป็นไข้เจ็บป่วย
              เข้ารับการรักษา  มากกว่าในช่วงปกติ  และในระยะต่อมา  ต้นปี พ. ศ.  2530  โรงพยาบาลบ้านกรวดได้ขออนุมัติจัดตั้งโรงครัวขึ้น  โดยใช้งบประมาณ  ผู้มีรายได้น้อยและเงินบำรุง  ในการบริหารจัดการ  ซึ่งเป็นผลให้สามารถดูแลด้านโภชนาการผู้ป่วยใน ได้ดียิ่งขึ้น ในขณะเดียวกัน ก็ได้รับการสนับสนุนจากส่วนกลาง  เกี่ยวกับครุภัณฑ์ และเครื่องมือต่างๆ ทำให้โรงพยาบาลมีขีดความสามารถมากขึ้น อาทิเช่น ชุดผ่าตัดใหญ่ เครื่องช่วยหายใจ ตู้เก็บเลือด  และรถพยาบาล  เป็นต้น
 
สำหรับในสถานการณ์ล่อแหลมหรือเมื่อมีเหตุการณ์ชายแดนทางโรงพยาบาลก็ได้รับ การประสานงาน    และให้ความร่วมมือ  กับหน่วยแพทย์ทหารของกองทัพภาคที่  2  โดยจะมีนายแพทย์จากกองทัพบก   มาอยู่ร่วมปฏิบัติงานตั้งรับ    และส่งต่อกำลังที่บาดเจ็บ  อย่างสุดความสามารถและรวดเร็วเท่าที่จะทำได้ ซึ่งเท่าที่ผ่านมานับว่าได้ผลอยู่ในเกณฑ์ดี อย่างไรก็ดี  โรงพยาบาลบ้านกรวด  ก็ประสบปัญหาในการให้บริการทั้งด้านสาธารณสุข  และด้านชายแดนที่ไม่สามารถแก้ไขได้เอง  เริ่มตั้งแต่สถานที่และตัวอาคารซึ่งคับแคบไม่เหมาะสม  หรือถูกหลักการแพทย์ในการให้บริการ  เพราะเป็นตึกที่ดัดแปลงมาจากศูนย์การแพทย์และอนามัย  รวมทั้งขาดเครื่องมืออุปกรณ์  ทั้งด้านการแพทย์และอื่นๆ ที่อยู่นอกกรอบของโรงพยาบาลขนาด 10  เตียง  แต่มีความจำเป็นต้องใช้  เพราะมีเหตุต่าง  ๆ บังคับ เช่น  จากจำนวน  ผู้ป่วย  หรือผู้รับบริการที่เพิ่มมากขึ้น ทุก  ๆ  ปี  และจากผลกระทบจากชายแดนเป็นต้น  และประการสุดท้าย   คือ   อัตรากำลังเจ้าหน้าที่ในทุกระดับที่ไม่ได้สัดส่วนกับการให้บริการ    และด้วยเหตุผลต่าง ๆ  เหล่านี้เองที่ทำให้มีความจำเป็นต้องขยายโรงพยาบาลบ้านกรวด  เป็นโรงพยาบาล  30  เตียง  เพื่อจะได้มาซึ่งขีดความสามารถที่ดียิ่งขึ้น  และเหมาะสมกับสถานการณ์ ต่าง ๆ รวมทั้งอัตรากำลังพร้อมที่จะให้การบริการในแง่มุมต่าง ๆ ได้เหมาะสมกว่าในปัจจุบัน
 
แต่เนื่องจากเนื้อที่ทั้งหมดของโรงพยาบาลบ้านกรวดเดิม มีเพียง 7-0-92 ไร่ เท่านั้น ซึ่งไม่เพียงพอที่จะรองรับการขยายเป็นโรงพยาบาลขนาด 30 เตียง จึงได้มีการประชุมหารือกับหัวหน้าส่วนราชการ เพื่อขอใช้พื้นที่ใกล้เคียงรอบๆ โรงพยาบาลบ้านกรวดเดิม  ดังนี้
  1. บริเวณที่ทำการด่านกักสัตว์อำเภอบ้านกรวด    จำนวน  2-1-43  ไร่
  2. บริเวณบ้านพักศึกษาธิการอำเภอบ้านกรวด  และบริเวณบ้านพักพัฒนาการอำเภอบ้านกรวดจำนวน      1-0-83  ไร่
  3. บริเวณที่ทำการไฟฟ้าอำเภอบ้านกรวด  จำนวน  0-2-55  ไร่
  4. บริเวณที่ดินนายเจต  งึมประโคน     จำนวน  6-2-50  ไร่

    ซึ่งรวมกับที่ดินของโรงพยาบาลแล้วจะได้ประมาณ  17 ไร่เศษ  ซึ่งเพียงพอต่อการขยายขนาดโรงพยาบาลในปีงบประมาณ  2532 ได้ขยายเป็นโรงพยาบาล  30  เตียง