ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรงพยาบาลแม่ใจ

Mae Chai Hospital

Logo

ที่อยู่/ติดต่อ
80 หมู่ที่ 9 ถ. พหลโยธิน ตำบล ศรีถ้อย อำเภอ แม่ใจ พะเยา 56130

✅ รับบัตรทอง

*ข้อมูลรวบรวมโดย Healthserv.net เพื่ออำนวยความสะดวกเบื้องต้นให้กับผู้ชมที่ต้องการข้อมูลสถานพยาบาล ไม่ใช่เว็บทางการของรพ./สถานพยาบาลแต่อย่างใด แนะนำให้ไปยังเว็บไซต์/เฟซบุ๊ค หรือช่องทางติดต่อของรพ./สถานพยาบาลนั้นๆ โดยตรง

HealthServ ชวนร่วมตอบแบบสอบถาม สำรวจความต้องการบริการสุขภาพของคนไทย

HealthServ ชวนร่วมตอบแบบสอบถาม สำรวจความต้องการบริการสุขภาพของคนไทย

ผลสำรวจ

ข่าวสาร-สาระ-ข้อมูลบริการ โรงพยาบาลแม่ใจ

ผลิตภัณฑ์สมุนไพร และบริการด้านการแพทย์แผนไทย Link ↗

ผลิตภัณฑ์สมุนไพร และบริการด้านการแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลแม่ใจ
ผลิตภัณฑ์สมุนไพร และบริการด้านการแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลแม่ใจ
ผลิตภัณฑ์สมุนไพร และบริการด้านการแพทย์แผนไทย
ประวัติ และการพัฒนางานด้านการแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลแม่ใจ เปิดให้บริการด้าการแพทย์แผน ไทยตั้งแต่ ปี ๒๕๔๐ โดยได้รับการสนุบสนุน งบประมาณในการจัดตั้ง ศูนย์แพทย์แผนไทย และได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์ รวมถึงครุภัณฑ์ ในการผลิตยาสมุนไพร จากสถาบัน แพทย์แผนไทยฯ กระทรวงสาธารณสุข ปัจจุบันโรงพยาบาลแม่ใจ ได้เปิดให้บริการใน การรักษาพยาบาล การส่งเสริมป้องกันโรค และการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยด้านการเคลื่อนไหว ด้วยการแพทยแผนไทย โดยนักการแพทย์แผนไทย เจ้าหน้าที่อายุรเวช และ หมอนวดไทย ซึ่งผ่านการ อบรมและรับรองจากสถาบันแพทย์แผนไทยฯ รวมถึงได้รับการสนับสนุน จากสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดพะเยา ในการเป็นแหล่งผลิตยาสมุนไพร ให้กับโรงพยาบาลต่างๆ ในจังหวัดพะเยา และ ในปี ๒๕๕๖ - ๒๕๕๗ นี้ โรงพยาบาลแม่ใจ ได้รับการสนุนงบประมาณ จาก สถาบัน แพทย์แผนไทย กรมพัฒนาการแพทย์ แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข และงบประมาณจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา ในการก่อสร้างอาคารบริการแพทย์แผนไทย เพื่อพัฒนารูปแบบบริการแพทย์แผนไทย และงบประมาณก่อสร้างอาคารผลิตยาสมุนไพรเพื่อ ได้มาตรฐานการผลิตที่ดี (GMP)

การพัฒนาคุณภาพ ในปี ๒๕๕๖ - ๒๕๕๘
๑. พัฒนามาตรฐานการบริการสู่มาตรฐานการบริการ ด้านการแพทย์แผนไทยของกระทรวงสาธารณสุข
๒. พัฒนามาตรฐานการผลิตยา และผลิตภัณฑ์ สมุนไพรให้ได้มาตรฐานการผลิตที่ดี (GMP)
๓. พัฒนาความรู้ และส่งเสริมชุมชนในการ ใช้สมุนไพร ในการดูแลสุขภาพของตนเอง และครอบครัว รายการยาสมุนไพร
ห้องแพทย์แผนไทย โทร.054-409620

ขมิ้นชันแคปซูล
ส่วนประกอบสำคัญ : ผงขมิ้นชัน 500 มก./แคปซูล
สรรพคุณ : รักษาแผลกระเพาะอาหาร ลดอาการท้องอืด  จุกเสียด แน่นท้อง
วิธีใช้    :  รับประทานครั้งละ 1 - 2 แคปซูล วันละ 3-4 ครั้ง หลังอาหาร และก่อนนอน
บรรจุ : 60 แคปซูล
ขิงแคปซูล
ส่วนประกอบสำคัญ : ผงขิงแก่ 500 มก./แคปซูล
สรรพคุณ : ลดอาการท้องอืด จุกเสียดแน่นท้อง  บรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน
วิธีใช้    :  รับประทานครั้งละ 1 - 2 แคปซูล วันละ 3-4 ครั้ง หลังอาหาร และก่อนนอน
บรรจุ : 60 แคปซูล
บอระเพ็ดแคปซูล
ส่วนประกอบสำคัญ : ผงบอระเพ็ด 250 มก./แคปซูล
สรรพคุณ : ลดไข้ เจริญอาหาร
วิธีใช้    :  รับประทานครั้งละ 1 - 2 แคปซูล วันละ 2 - 4 ครั้ง หลังอาหาร และก่อนนอน
บรรจุ : 60 แคปซูล
เพชรสังฆาตแคปซูล
ส่วนประกอบสำคัญ : ผงเพชรสังฆาต 470 มก./แคปซูล
สรรพคุณ : รักษาริดสีดวงทวาร
วิธีใช้    :  รับประทานครั้งละ 1 - 2 แคปซูล วันละ 3-4 ครั้ง หลังอาหาร และก่อนนอน
บรรจุ : 60 แคปซูล
ฟ้าทะลายแคปซูล
ส่วนประกอบสำคัญ : ผงเพชรสังฆาต 470 มก./แคปซูล
สรรพคุณ : ลดไข้ บรรเทาอาการเจ็บคอ แก้อาการท้องเสีย
วิธีใช้    :  รับประทานครั้งละ 1 - 2 แคปซูล วันละ 3-4 ครั้ง หลังอาหาร และก่อนนอน
บรรจุ : 60 แคปซูล
ชาชงขิง
ส่วนประกอบสำคัญ : ผงขิงแห้ง 1.5 ก./ซอง
สรรพคุณ : ลดอาการท้องอืด จุกเสียดแน่นท้อง  บรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน
วิธีใช้    :  รับประทานครั้งละ 1 - 2 แคปซูล วันละ 3-4 ครั้ง หลังอาหาร และก่อนนอน
1 ห่อ บรรจุ 10 ซองชา
ชาชงชุมเห็ดเทศ
ส่วนประกอบสำคัญ : ผงใบชุมเห็ดเทศ 1.5 ก./ซอง
สรรพคุณ : เป็นยาระบาย ลดอาการท้องผูก
วิธีใช้    :  แช่น้ำร้อน(ชง) รับประทานครั้งละ 1 ซอง วันละ 1 ครั้ง ก่อนนอน
1 ห่อ บรรจุ 10 ซองชา
ชาชงหญ้าดอกขาว
ส่วนประกอบสำคัญ : ผงหญ้าดอกขาวแห้ง 1.5 ก./ซอง
สรรพคุณ : ลดไข้ ลดอาหารไอ ช่วยบรรเทาความอยากบุหรี่
วิธีใช้    :  รับประทานครั้งละ 1 - 2 แคปซูล วันละ 3-4 ครั้ง หลังอาหาร และก่อนนอน
1 ห่อ บรรจุ 10 ซองชา
ชารางจืด
ส่วนประกอบสำคัญ : ผงหญ้าดอกขาวแห้ง 1.5 ก./ซอง
สรรพคุณ : บำรุงร่างกาย แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ไข้  ถอนพิษต่างๆ พิษสะสมในร่ายกาย ี่
วิธีใช้    :  รับประทานครั้งละ 1 - 2 แคปซูล วันละ 3-4 ครั้ง หลังอาหาร และก่อนนอน
1 ห่อ บรรจุ 10 ซองชา
ยาหม่องไพล
ส่วนประกอบสำคัญ : สารสกัดไพล น้ำมันระกำ การบูร พิมเสน
สรรพคุณ : ใช้บรรเทาปวดกล้ามเนื้อ แมลง สัตว์กัดต่อย  สูดดม ลดหวัด หน้ามืด วิงเวียนศรีษะ
วิธีใช้    :  ใช้ทาบริเวณ ที่มีอาการ วันละ 2-3 ครั้ง หรือเมื่อมีอาการ
บรรจุ : 10 ,15 และ 20 กรัม
คาลาไมน์เสลดพังพอน
ส่วนประกอบสำคัญ : สารสกัดเสลดพังพอน คาลาไมน์  และซิงค์ออกไซด์
สรรพคุณ : ใช้ทาบรรเทาอาการผดผื่น คัน แมลงกัดต่อย  ลดอการอักเสบของผิวหนังจากเริม และงูสวัด  สูดดม ลดหวัด หน้ามืด วิงเวียนศรีษะ
วิธีใช้    :  กรณีรักษาอาการแพ้ ผดผื่น ใช้ทาบริเวณที่เป็น วันละ 3 - 4 ครั้ง สำหรับรักษาเริม งูสวัด ใช้ทาวันละ 5 ครั้ง
บรรจุ : 30 ซีซี
สเปรย์ตะไคร้หอม
ส่วนประกอบสำคัญ : น้ำมันตะไคร้หอม 5 -6 % และ น้ำมันมะกรูด 3 %
สรรพคุณ : ป้องกัน - ไล่ยุง และแมลงรบกวนต่างๆ
วิธีใช้    :  ใช้ฉีดพ่นบริเวณที่ต้องการ เพื่อป้องกัน - ไล่ยุง  และแมลงรบกวนต่างๆ สามารถออกฤทธิ์ได้นาน  2-3 ชั่วโมง
บรรจุ : 5 ซีซี, 30 ซีซี
โลชั่นตะไคร้หอม
ส่วนประกอบสำคัญ : น้ำมันตะไคร้หอม 5 -6 % และน้ำมันมะกรูด 3 %
สรรพคุณ : ป้องกัน - ไล่ยุง และแมลงรบกวนต่างๆ
วิธีใช้    :   ใช้ทาบริเวณที่ต้องการ เพื่อป้องกัน - ไล่ยุง  และแมลงรบกวนต่างๆ สามารถออกฤทธิ์ได้นาน  2-3 ชั่วโมง
บรรจุ : 15 , 30 และ 60 ซีซี
เจลตะไคร้หอม
ส่วนประกอบสำคัญ : น้ำมันตะไคร้หอม 5 -6 % และน้ำมันมะกรูด 3 %
สรรพคุณ : ป้องกัน - ไล่ยุง และแมลงรบกวนต่างๆ
วิธีใช้    :   ใช้ทาบริเวณที่ต้องการ เพื่อป้องกัน - ไล่ยุง  และแมลงรบกวนต่างๆ สามารถออกฤทธิ์ได้นาน  3-5 ชั่วโมง (ออกฤิทธิ์ได้นานกว่าสเปรย์ และ  โลชั่น)
บรรจุ : 60 ซีซี
พิมเสนน้ำ / ยาหม่องน้ำ
ส่วนประกอบสำคัญ : การบูร  พิมเสน
สรรพคุณ : บรรเทาอาการวิงเวียนศรีษะ ลดอาการคัดจมูก  แมลง สัตว์กัดต่อย สูดดมลดหวัด หน้ามืด  วิงเวียนศรีษะ
วิธีใช้    :  ใช้ทา สูดดม วันละ 2-3 ครั้ง หรือเมื่อมีอาการ
บรรจุ : 8 ซีซี
บาล์มลดอาการหวัด คัดจมูก (โคลด์รับ)
ส่วนประกอบสำคัญ : การบูร  พิมเสน เมนทอล
สรรพคุณ : สูดดมลดหวัด บรรเทาอาการค้ดจมูก และอาการอันเนื่อง จากหวัด
วิธีใช้    :  ใช้ทา สูดดม วันละ 2-3 ครั้ง หรือเมื่อมีอาการ
บรรจุ : 15 กรัม
ลูกประคบสมุนไพร
ส่วนประกอบสำคัญ : ขมิ้นชัน ไพล ใบส้มป่อย การบูร พิมเสน และ ตะไคร้
สรรพคุณ : บรรเทาอาการปวดเมื่อย ลดการอักเสบ  กล้ามเนื้อ ช่วยการไหลเวียนเลือด
วิธีใช้    :  ใช้นวด ประคบ บริเวณ ที่มีอาการ วันละ 2-3 ครั้ง หรือเมื่อมีอาการ
บรรจุ : 1 ลูก
น้ำหนัก 150 กรัม
ยาอบสมุนไพร
ส่วนประกอบสำคัญ : ขมิ้นชัน ไพล ใบส้มป่อย การบูร พิมเสน และ ตะไคร้
สรรพคุณ : ขับเหงื่อ ลดหวัด ช่วยการไหลเวียนเลือด  ลดปวดกล้ามเนื้อ นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร
วิธีใช้    :  ใช้อบเพื่อสูดอม และกระตุ้นการไหลเวียนเลือด วันละ 1 ครั้ง หรือเมื่อมีอาการ
บรรจุ : 1 ห่อ น้ำหนัก 150 กรัม

ข่าวสาร ข้อมูลบริการ บทความ สาระประโยชน์

  • ยังไม่มีข่าวสาร ข้อมูลจากที่นี่
[ทั้งหมด]
ติดต่อเรา
ห้องบริหาร โทร.054-409600 โทรสาร 054-409604
ฝ่ายยุทธศาสตร์สารสนเทศทางการแพทย์ โทร.054-409606
ห้องเภสัชกรรม โทร.054-409608
ฝ่ายผู้ป่วยนอก โทร.054-409609
ห้องฉุกเฉิน โทร.054-409610
ฝ่ายผู้ป่วยใน โทร.054-409611
ห้องฟัน โทร.054-409613
ห้องเวชกรรมสังคม โทร.054-409614
ห้องเวชปกิบัติครอบครัวและชุมชน โทร.054-409615
ห้องแพทย์แผนไทย โทร.054-409620

 ประวัติโรงพยาบาลแม่ใจ

     โรงพยาบาลแม่ใจถือกำเนิดโดยยกฐานะจากสถานีอนามัย มาเป็นโรงพยาบาลแม่ใจ สาขาโรงพยาบาลพะเยา เมื่อปี 2528 และได้เปิดเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 10 เตียง เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2535 และ ในปี พ.ศ.2539  ได้รับจัดสรรงบประมาณขยายเป็นโรงพยาบาลขนาด 30 เตียง จนถึงปัจจุบัน ที่ตั้ง เลขที่ 80 หมู่ที่ 9 ถนนพหลโยธิน  ตำบล   ศรีถ้อย  อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา พื้นที่ 22 ไร่ 3 งาน 53 ตารางวา
 
รายนามผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลแม่ใจ
1.นพ.ชัยรัตน์    ไชยวสุ พ.ศ. 2535-2536  
2.นพ.สมนึก  ชีวาเกียรติยิ่งยง พ.ศ. 2536-2540  
3.นพ.เจษฎา  พิชัยจุมพล พ.ศ. 2540-2541  
4.นพ.ไพบูลย์  ธนเกียรติสกุล พ.ศ. 2541-2542  
5.นพ.นเรศฤทธิ์  ขัดธะสีมา พ.ศ. 2543-2548  
6.นพ.รัฐเขตต์    เอกอิสริยาภรณ์ พ.ศ. 2549-2551  
7.นพ.ไพบูลย์  ธนเกียรติสกุล พ.ศ. 2551-2553  
8.นพ.สัมฤทธิ์  ตันติวัฒนากุล พ.ศ. 2553-ปัจจุบัน  

ประวัติอำเภอแม่ใจ
           “แม่ใจ” เดิมชื่อ “บ้านปง” ผู้ เฒ่าผู้แก่ ได้ให้ข้อคิดเห็นแนวเดียวกันว่า”บ้านปง” นั้นเพราะแต่เดิมชาวแม่ใจกลุ่มแรกที่มาตั้งถิ่นฐานอพยพมาจากบ้านปงแสนทอง จังหวัดลำปาง อำเภอแม่ใจ จัดตั้งขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยในสมัยนั้นได้มีพระบรมราชโองการประกาศให้จัดแบ่งท้องที่ปกครองเป็นเมือง และ ตำบล เมื่อ ร.ศ. 129 (พ.ศ. 2453) ในขณะนั้น “แม่ใจ”มีฐานะเป็นอำเภอหนึ่งในจำนวน 3 อำเภอ และ 10 เมือง ซึ่งได้จัดการปกครองรวมกันเข้าเป็นจังหวัดพายัพ ภาคเหนือ ต่อมาได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 9 มิถุนายน ร.ศ.129 (พ.ศ. 2453) กำหนดให้อำเภอแม่ใจขึ้นกับเมืองเชียงราย และอยู่ในเขตมณฑลพายัพ... ต่อมาในปี ร.ศ. 133 (พ.ศ. 2457) อำเภอแม่ใจ ถูกยุบให้เหลือฐานะเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอพาน... ต่อมาใน ปี พ.ศ.2501 กรมการปกครองได้พิจารณาเห็นว่าท้องที่ตำบลแม่ใจ ตำบลศรีถ้อย ตำบลแม่สุก อำเภอพาน และตำบลแม่ปืม อำเภอพะเยา บางส่วน สมควรยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอ ดังนั้น เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2506 กระทรวงมหาดไทยจึงออกประกาศพระราชกฤษฎีกาให้รวมเขตปกครองตำบล  แม่ใจ ตำบลศรีถ้อย ตำบลป่าแฝก และตำบลแม่สุก อำเภอพาน ยกฐานะขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ เรียกว่า“กิ่งอำเภอแม่ใจ” อยู่ในการปกครองของอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย... ต่อมา กรมการปกครองพิจารณาเห็นสมควรให้ยกฐานะกิ่งอำเภอแม่ใจ ขึ้นเป็นอำเภอเช่นเดิม กระทรวงมหาดไทยจึงได้ออกพระราชกฤษฎีกายกฐานะกิ่งอำเภอแม่ใจ ขึ้นเป็นอำเภอแม่ใจ ตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม 2508 โดยให้ขึ้นอยู่ในความปกครองของจังหวัดเชียงราย และต่อมาในปี พ.ศ. 2520 เมื่อมีพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดพะเยา อำเภอแม่ใจจึงกลายเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดพะเยา “แม่ใจ”  เดิมชื่อ  “บ้านปง” ผู้เฒ่าผู้แก่ ได้ให้ข้อคิดเห็นแนวเดียวกันว่า ที่ชื่อว่า“บ้านปง” นั้นเพราะแต่เดิม ชาวแม่ใจกลุ่มแรกที่มาตั้งถิ่นฐานอพยพมาจากบ้านปงแสนทอง จังหวัดลำปาง
การปกครอง
อำเภอแม่ใจแบ่งการปกครองออกเป็น  2   ส่วน
1.  ราชการบริหารส่วนภูมิภาค ประกอบด้วยส่วนราชการประจำอำเภอ 7 กระทรวง 14  ส่วนราชการ
2.  ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วยเทศบาลตำบลแม่ใจและองค์การบริหารส่วนตำบล 6 แห่ง
จำนวนตำบลและหมู่บ้าน รวม 6 ตำบล 66 หมู่บ้าน
1.ตำบลแม่ใจ มี 10 หมู่บ้าน
2.ตำบลศรีถ้อย มี 13 หมู่บ้าน
3.ตำบลบ้านเหล่า มี 14 หมู่บ้าน
4.ตำบลแม่สุก มี 10 หมู่บ้าน
5.ตำบลป่าแฝก มี 11 หมู่บ้าน
6.ตำบลเจริญราษฎร์ มี 8 หมู่บ้าน