ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรงพยาบาลบ้านนาสาร

Ban Na San Hospital

Logo

ที่อยู่/ติดต่อ
83/4 ถนนคลองหา ตำบลนาสาร อำเภอบ้านนาสาร สุราษฎร์ธานี 84120
แฟกซ์ 077-341057

✅ รับบัตรทอง

*ข้อมูลรวบรวมโดย Healthserv.net เพื่ออำนวยความสะดวกเบื้องต้นให้กับผู้ชมที่ต้องการข้อมูลสถานพยาบาล ไม่ใช่เว็บทางการของรพ./สถานพยาบาลแต่อย่างใด แนะนำให้ไปยังเว็บไซต์/เฟซบุ๊ค หรือช่องทางติดต่อของรพ./สถานพยาบาลนั้นๆ โดยตรง

HealthServ ชวนร่วมตอบแบบสอบถาม สำรวจความต้องการบริการสุขภาพของคนไทย

HealthServ ชวนร่วมตอบแบบสอบถาม สำรวจความต้องการบริการสุขภาพของคนไทย

ผลสำรวจ

ข่าวสาร-สาระ-ข้อมูลบริการ โรงพยาบาลบ้านนาสาร

โรงพยาบาลบ้านนาสาร
โรงพยาบาลบ้านนาสาร
 
 
 

ความเป็นมาโรงพยาบาลบ้านนาสาร

เดิมมีสถานะเป็นศุขศาลา ตั้งอยู่ที่ ถนนหน้าอนามัย ปัจจุบันเป็นถนนหน้าสถานีรถไฟ ห่างจากที่ว่าการอําเภอประมาณ 500 เมตร

ในปี พ.ศ. 2510 โรงพยาบาลมีสถานะเป็นสถานีอนามัยชั้นหนึ่ง มีนายแพทย์สวัสดิ์ ศรีสกุลเมธีเป็นหัวหน้าสถานีอนามัย
 
ต่อมาในปี พ.ศ.2516 ได้เปลี่ยนเป็นศูนย์การแพทย์และอนามัยชนบท มีนายแพทย์กําธร นิติมานพ เป็นหัวหน้าศูนย์ฯ

ในปี พ.ศ. 2521 เปลี่ยนเป็นโรงพยาบาลอําเภอบ้านนาสารขนาด 10 เตียง มีนายแพทย์ชาญวิทย์ เลิศเมธากุลเป็นผู้อํานวยการ
 
ปี พ.ศ. 2526 เปลี่ยนเป็นโรงพยาบาลชุมชนานนาสาร ขนาด 10 เตียง มีนายแพทย์เฉลิมขวัญ หวั่งประดิษฐ์ เป็นผู้อํานวยการ

ปี พ.ศ. 2527 (กรกฎาคม) ประสบอัคคีภัย อาคารและที่ทําการได้รับความเสียหายทั้งหมดคงเหลือแต่บ้านพัก

ปี พ.ศ. 2529 เปลี่ยนเป็นโรงพยาบาลขนาด 30 เตียง ตั้งอยู่ที่ ถนนคลองหา อําเภอบ้านนาสาร ห่างจากที่ว่าการอําเภอไปทางทิศเหนือประมาณ 5 กิโลเมตร มีนายแพทย์เฉลิมขวัญ หวั่งประดิษฐ์ เป็นผู้อํานวยการ

22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531 ประสบอุทกภัยร้ายแรง ระดับน้ําบนอาคารผู้ป่วยนอกสูง 1.5 เมตร บ้านพักสูงถึงชั้นสอง เครื่องมือ อุปกรณ์การแพทย์ เวชภัณฑ์ และเวชระเบียนได้รับความเสียหาย
 
1 ธันวาคม พ.ศ. 2531 – พ.ศ. 2537 นายแพทย์ภูมิวิชญ์ ขวัญเมือง เป็นผู้อํานวยการ และทําการปรับปรุงโรงพยาบาลหลังประสบภาวะอุทกภัยหนัก

ปี พ.ศ. 2537 – 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 นายแพทย์พงษ์ดิฐ ตู้บรรเทิง เป็นผู้อํานวยการ 1 กันยายน 2540 เปลี่ยนเป็นโรงพยาบาลขนาด 60 เตียง

ปี พ.ศ. 2547 – 1 เมษายน พ.ศ. 2549 นายแพทย์ภูมิวิชญ์ ขวัญเมือง เป็นผู้อํานวยการ

3 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 – 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 นายแพทย์กู้ศักดิ์ กู้เกียรติกูล รักษาการผู้อํานวยการ

6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 – 16 มีนาคม พ.ศ. 2551 นายแพทย์จรัสพงษ์ สุขกรี เป็นผู้อํานวยการ

17 มีนาคม พ.ศ. 2551 – 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2555 นายแพทย์อารักษ์ นิติคุณเกษม เป็นผู้อํานวยการ
 
12 มีนาคม พ.ศ.2555 – 17 มิถุนายน พ.ศ.2556 นายแพทย์กู้ศักดิ์ กู้เกียรติกูล เป็นผู้อํานวยการ
 
17 มิถุนายน พ.ศ.2556 – 18 พฤษภาคม พ.ศ.2559 นายแพทย์สมยศ จารุโภคาวัฒน์ เป็นผู้อํานวยการ

23 พฤษภาคม พ.ศ.2559 - 7 สิงหาคม 2560 นายแพทย์สําเนียง แสงสว่าง เป็นผู้อํานวยการ

8 สิงหาคม พ.ศ.2560 – 8 มิถุนายน 2561 นายแพทย์จารุวิทย์ บุษบรรณ เป็นผู้อํานวยการ

8 มิถุนายน พ.ศ.2561 จนถึงปัจจุบัน นายแพทย์พิชิต สุขสบาย เป็นผู้อํานวยการ
 
ปัจจุบัน (ปี 2562) โรงพยาบาลบ้านนาสารเป็นโรงพยาบาลขนาด 60 เตียง มีแพทย์รวม 9 คน มีแพทย์เฉพาะทาง ได้แก่ กุมารแพทย์ 2 คน แพทย์กระดูกและข้อ 1 คน และแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว 1 คน
 
ที่ดินโรงพยาบาลบ้านนาสาร เปิดบริการ เดือนธันวาคม 2529
1. ที่ดินบริจาคของห้างหุ้นส่วนจํากัดมณเฑียรทอง (13 กุมภาพันธ์ 2528) 15 ไร่ 20 ตารางวา
2. ซื้อจากคุณมัณฑนา เชิดวิศวพันธุ์, คุณจิตเสน กุลวิภากร (25 พฤษภาคม 2535) 13 ไร่ 3 งาน 29 ตารางวา
3. ซื้อจากนายสมโชค อินนาค,นางรัชนี เพ็งมาก (2 มิ.ย.2536) 1 ไร่ 3 งาน 75 ตารางวา
4. ซื้อจากนางเจียร ศรีเชื้อ, นางมาศี ยิ้มปลื้ม (19 มกราคม 2542) 5 ไร่ 2 งาน 46 ตารางวา
รวมทั้งสิ้น 34 ไร่ 8 งาน 170 ตารางวา = 36 ไร่ 1 งาน 70 ตารางวา
 

เหตุการณ์สําคัญ

เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2527 โรงพยาบาลประสบอัคคีภัย อาคารและที่ทําการได้รับความเสียหายทั้งหมด เหลือแต่บ้านพักเจ้าหน้าที่ โรงพยาบาลจึงต้องดัดแปลงห้องประชุมเดิมซึ่งเป็นอาคารโล่งให้เป็นห้องต่าง ๆ เพื่อบริการแก่ประชาชน คือ ห้องตรวจโรค ห้องจ่ายยาและเก็บเงิน ห้องบริหารงานทั่วไป ห้องทันตกรรมและห้องตรวจภายในโดยแบ่งพื้นที่หน่วยละครึ่งห้อง ขณะเดียวกันก็มีผู้บริจาคที่ดินจํานวน 15 ไร่ ริมถนนคลองหา ห่างจากตัวอําเภอประมาณ 6 กิโลเมตรเพื่อสร้างโรงพยาบาล ดังนั้นอาคารใหม่ของโรงพยาบาลขนาด 30 เตียงจึถูกสร้างขึ้นและเปิดให้บริการเดือนธันวาคม 2529 ในพื้นที่ที่เป็นโรงพยาบาลปัจจุบันนี้

วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531 โรงพยาบาลก็ประสบกับอุทกภัยอีกครั้งหนึ่ง ระดับน้ําที่ท่วมบนโรงพยาบาลสูงถึง 1.5 เมตร บ้านพักสูงถึงชั้นสอง ทําให้รั้ว วัสดุ ครุภัณฑ์ทางการแพทย์ เอกสาร ได้รับความเสียหายมาก การให้บริการจึงต้องหยุดชะงัก นายแพทย์ภูมิวิชญ์ ขวัญเมือง ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้อํานวยการ โรงพยาบาลเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2531 จึงได้เร่งทําการปรับปรุงอาคารสถานที่และซ่อมแซมส่วนที่
ได้รับความเสียหาย ขณะเดียวกันก็ต้องออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ทุกวันเพื่อบริการประชาชน
 
การพัฒนาระยะแรก โรงพยาบาลบ้านนาสารพยายามพัฒนาตนเองอย่างรวดเร็ว และให้มีศักยภาพในทุกด้านภายใต้การนําของนายแพทย์ภูมิวิชญ์ ขวัญเมือง ผู้อํานวยการโรงพยาบาล มีการปรับแต่งถนนและรั้วหน้าโรงพยาบาล ด้านข้างโรงพยาบาล ปรับแต่งให้มีสวนหย่อมบริเวณทางขึ้นด้านหน้าโรงพยาบาล และปลูกต้นไม้เพื่อเป็นร่มเงา จัดสร้างที่จอดรถจักรยานยนต์สําหรับผู้มารับบริการโดยทีมงานช่างของโรงพยาบาล
 
เนื่องจากสภาพื้นที่รอบ ๆ โรงพยาบาลส่วนมากเป็นที่ลุ่ม โรงพยาบาลจึงได้สร้างสระน้ําขึ้นมาเพื่อนําดินมาปรับแต่งรอบ ๆ บริเวณที่ยังเป็นที่ลุ่มน้ําขัง สระน้ําซึ่งเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของผู้มารับบริการจึงเกิดขึ้น ด้านหน้าโรงพยาบาลมีการปูพื้นด้วยซีแพคบล็อกทั้งหมดโดยความร่วมแรงร่วมใจของแพทย์ นักศึกษาฝึกงานและที่สําคัญคือ ทีมช่างของโรงพยาบาล ก่อสร้างร้านค้าสวัสดิการบริเวณด้านหลังตึกผู้ป่วยในเนื่องจากโรงพยาบาลอยู่ห่างไกลตัวอําเภอ
 
มีการประกาศนโยบายอย่างชัดเจนและให้ความสําคัญในเรื่องการบริการตามแนวคิด โรงพยาบาลรัฐบาลบริการ
ดุจเอกชน เพิ่มบุคลากรต้อนรับ มีการอบรมเจ้าหน้าที่ด้านการให้บริการที่ดี มีตู้รับฟังความคิดเห็นจากผู้ใช้บริการมีโครงการกุหลาบไร้หนามซึ่งกําหนดแบบแผนคําพูด ขั้นตอนปฏิบัติต่อผู้รับบริการ โครงการโลกสวยด้วยรอยยิ้มและสวัสดี
 
เพิ่มบุคลากรให้เพียงพอในทุกงาน เพื่อให้บริการที่สะดวก รวดเร็ว กําชับนโยบายให้กระตือรือร้น ปฏิบัติงานบริการประชาชนด้วยความรวดเร็ว ปรับปรุงขั้นตอนการบริการ พัฒนาด้านการรักษาพยาบาลให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานโรงพยาบาล 30 เตียง พัฒนาห้องผ่าตัดด้วยการจัดโครงการพิเศษ โดยเชิญแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจาก
สถาบันต่าง ๆ เช่น โครงการรณรงค์ผ่าตัดปะเยื่อแก้วหูทะลุ โดยสมาคมโสต สอ นาสิกแห่งประเทศไทยโครงการรณรงค์ผ่าตัดตาต้อกระจกและแจกแว่นตา/ใช้แก้วตาเทียม โดยจักษุแพทย์ รณรงค์ผ่าตัดริดสีดวงทวารโดยศัลยแพทย์ รณรงค์ทําหมันหญิงแบบเจาะ พัฒนางานสุขศึกษาโดยจัดให้มีบุคลากรเฉพาะในงานนี้ เน้นการให้ข้อมูลสุขภาพ ผ่านเอกสารเฉพาะโรค บอร์ดสุขศึกษา
 
ปี พ.ศ. 2533 ได้ขอให้ประชาชนที่มีความพร้อมในท้องถิ่นเข้าเป็น กรรมการพัฒนาโรงพยาบาลฝ่ายประชาชน เพื่อร่วมพัฒนาโรงพยาบาลให้เป็นโรงพยาบาลของชาวบ้านนาสาร ต่อมา ปีพ.ศ. 2534 คณะกรรมการโรงพยาบาลฝ่ายประชาชน ได้ร่วมรณรงค์หาเงินบริจาค 1.4 ล้านบาทเพื่อสมทบกับเงินบํารุงโรงพยาบาลอีก 4 แสนบาท ซื้อที่ดินเพิ่มเติมอีก 14 ไร่
 
กลางปีพ.ศ. 2535 ได้รับการคัดเลือกโดยกระทรวงสาธารณสุข และมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ให้เป็นโรงพยาบาลดีเด่นของภาคใต้ และ27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535 ได้รับรางวัลหน่วยงานดีเด่นด้านการสาธารณสุข เนื่องในโอกาสวันสถาปนากระทรวงสาธารณสุขครบรอบ 50 ปี (27 พฤศจิกายน 2535)
 
ปี พ.ศ. 2539 ได้รับรางวัลโรงพยาบาลชุมชนดีเด่นด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมระดับจังหวัดในเขต 11 ประจําปี 2538 (1 มกราคม 2539)
 
ปัจจุบัน โรงพยาบาลบ้านนาสาร เป็นโรงพยาบาลขนาด 60 เตียง มีอาคารอุบัติเหตุ ฉุกเฉินเพิ่มในปี พ.ศ.2556 ปี พ.ศ.255 มีกุมารแพทย์ ปี พ.ศ.2560 มีแพทย์สาขากระดูกและข้อ ประจําโรงพยาบาล และปี พ.ศ.2561 มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวประจําในโรงพยาบาล