ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรงพยาบาลนาจะหลวย

Na Cha Luai Hospital

Logo

ที่อยู่/ติดต่อ
128 หมู่ 11 ต.นาจะหลวย อ.นาจะหลวย จ.อุบลราชธานี 34280

✅ รับบัตรทอง

*ข้อมูลรวบรวมโดย Healthserv.net เพื่ออำนวยความสะดวกเบื้องต้นให้กับผู้ชมที่ต้องการข้อมูลสถานพยาบาล ไม่ใช่เว็บทางการของรพ./สถานพยาบาลแต่อย่างใด แนะนำให้ไปยังเว็บไซต์/เฟซบุ๊ค หรือช่องทางติดต่อของรพ./สถานพยาบาลนั้นๆ โดยตรง

HealthServ ชวนร่วมตอบแบบสอบถาม สำรวจความต้องการบริการสุขภาพของคนไทย

HealthServ ชวนร่วมตอบแบบสอบถาม สำรวจความต้องการบริการสุขภาพของคนไทย

ผลสำรวจ

ข่าวสาร-สาระ-ข้อมูลบริการ โรงพยาบาลนาจะหลวย

ข่าวสาร ข้อมูลบริการ บทความ สาระประโยชน์

  • ยังไม่มีข่าวสาร ข้อมูลจากที่นี่
[ทั้งหมด]
วิสัยทัศน์ โรงพยาบาลนาจะหลวย 
เป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ บริการได้มาตรฐาน ผสมผสานงานแพทย์แผนไทย ประทับใจผู้รับบริการ
 

 ประวัติโรงพยาบาลนาจะหลวย

 ก้าวแรก กว่าจะมาวันนี้
ในปัจจุบันมีผู้มารับบริการด้านสุขภาพอนามัย จากโรงพยาบาลนาจะหลวยจำนวนมาก แต่กว่าจะมาถึงการให้บริการที่มีความพร้อมอย่างในวันนี้ การวางฐานให้มั่นคงต้องผ่านปัญหาอุปสรรคและเหตุการณ์ต่างๆหลากหลาย เมื่อย้อนหลังกลับไปในช่วง 34 ปี ที่ผ่านมา เมื่อครั้งที่โรงพยาบาลเริ่มก่อตั้งนั้นจะพบว่า แต่ละก้าวในการสร้างทางสาธารณสุขในถิ่นนี้มีเบื้องหลังแห่งความเป็นมาและเป็นไปที่เปลี่ยนแปลงไป ตามสถานการณ์ยากที่จะลบเลือนไปจากความทรงจำของผู้ที่อยู่เบื้องหลังในการก้าวแต่ละก้าวบนเส้นทางสาธารณสุขสายนี้.....
 
 ก้าวแรกที่มั่นคง ( พ.ศ. 2526 – 2527 )
 
โรงพยาบาลนาจะหลวยได้รับงบประมาณก่อสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2526 ขณะนั้นเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 10 เตียง แต่เนื่องจากบุคลากรยังไม่พร้อม จึงเปิดดำเนินการเมื่อเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2527 โดยมี นพ.อำนวย วงศ์ศรีสุนทร เป็นผู้อำนวยการคนแรก มีข้าราชการและลูกจ้างชุดบุกเบิกจำนวน 10 คน ในช่วงหนึ่งเดือนแรกที่เปิดดำเนินการทีมงานได้ไปศึกษาเตรียมงานที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม ต่อมาจึงได้เปิดให้บริการเป็นทางการ เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2527 ลักษณะการปฏิบัติงานเป็นจัดเป็นเวรเช้า – นอน หลังจากนั้นอีก 6 เดือนต่อมาจึงได้เปิดบริการตึกผู้ป่วยใน ในช่วงปี พ.ศ. 2527 นี้ โรงพยาบาลนาจะหลวยอยู่ในช่วงเริ่วต้นบุกเบิกที่ถือว่ามีงานในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอาคารสถานที่ การเตรียมพร้อมของบุคลากร ในการให้บริการด้านสุขภาพอนามัยแก่ผู้มารับบริการ โดยมีคำขวัญของโรงพยาบาลว่า “ บริการดี พัฒนาคนมีคุณภาพ สวยสะอาด ประหยัดเสมอ” และในปีแรกนี้ได้มีการก่อตั้งมูลนิธิโรงพยาบาลนาจะหลวยด้วย
 ก้าวที่สองที่ฟันฝ่า (พ.ศ. 2527 – 2528 )
 
ในช่วงปลายปี 2528 ได้เกิดปัญหาการสู้รบเพื่อป้องกันการรุกรานจากกองกำลังต่างชาติ ณ บริเวณพรมแดน ไทย – ลาว และ ไทย – กัมพูชา ในเขตอำเภอนาจะหลวยและอำเภอน้ำยืน จากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้การบริการของโรงพยาบาลนาจะหลวย นอกจากจะให้บริการตรวจรักษาพยาบาลกับประชาชนทั่วไปแล้วยังให้บริการรักษาพยาบาลแก่ทหารที่บาดเจ็บ จากสถานการณ์ ชายแดนด้วย และได้เริ่มโครงการบัตรสุขภาพโดยความสมัครใจเป็นครั้งแรก และเริ่มก่อตั้งมูลนิธิโรงพยาบาลนาจะหลวย ในปีนี้โรงพยาบาลนาจะหลวยได้เปิดรับนักศึกษาจาก วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทยและวิทยาลัยพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์เข้าฝึกงานในโรงพยาบาล นับเป็นนักศึกษารุ่นแรกที่มาฝึกปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลแห่งนี้
 ก้าวที่สามกับสถานการณ์ชายแดนที่ก่อตัว ( พ.ศ. 2528 – 2529 )
 
เมษายน 2529 นพ.อำนวย วงศ์ศรีสุนทร ได้ลาไปศึกษาต่อ นพ.ดนัย ธีวันดา ทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลคนต่อมาและมีอัตรากำลังเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลเพิ่มมากขึ้น แต่การขยายบริการในด้านต่างๆ โดยเฉพาะในด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชน ยังทำได้ไม่เต็มที่เนื่องจากปัญหายุทธการตามแนวชายแดน สืบเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 และเริ่มรุนแรงเพิ่มขึ้นในปี 2529 โรงพยาบาลนาจะหลวยได้ถูกกำหนดให้เป็นโรงพยาบาลสนามส่วนหน้า เพื่อรองรับผู้บาดเจ็บจากสถานการณ์ดังกล่าว ทั้งที่อยู่ในช่วงมียุทธการรุนแรงและช่วงไม่รุนแรง ในช่วงที่สถานการณ์ที่รุนแรงนั้น โรงพยาบาลได้รับการช่วยเหลือจากหน่วยแพทย์ พยาบาล จากกองทัพบก ทั้งนี้รวมถึงวัสดุอุปกรณ์ และเวชภัณฑ์ต่างๆ โดยวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2529 ชุดศัลยกรรมเคลื่อนที่จากโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้ากรมแพทย์ทหารบกได้เข้าปฏิบัติงาน ณ โรงพยาบาลนาจะหลวยโดยได้ผนึกกำลังร่วมมือกับหน่วยงานโรงพยาบาลค่ายสุรนารี โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ โรงพยาบาลค่ายสรรพสิทธิประสงค์กองพลเสนารักษ์ของ พล ร.6 พัน สร.บชร. ที่ 22 ของค่ายสุรนารี โดยให้บริการสนับสนุนการปฏิบัติงาน ของชุดศัลยกรรมเคลื่อนที่ในการรักษาพยาบาล รับ – ส่ง ผู้ป่วยบาดเจ็บไปรับการรักษาต่อ
 ก้าวที่สี่กับสถานการณ์ชายแดนที่รุนแรง ( พ.ศ. 2529 – 2530 )
 
เมษายน 2530 โรงพยาบาลนาจะหลวยได้อัตรากำลังเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆเพิ่มขึ้น และมี นพ.ปราโมทย์ ศรีสำอางค์ เป็นแพทย์ประจำ ในช่วงปีนี้สถานการณ์ชายแดนรุนแรงมากที่สุดสืบเนื่องมาจากกองทัพบกได้กำหนดให้มียุทธการสำคัญ ( D.9 ) ในการเข้าปะทะและยึดที่มั่นสำคัญๆ ทำให้มีทหารได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก ดังนั้นการให้บริการจึงเน้นหนักในด้านการเตรียมรับ และรักษาพยาบาลผู้ได้รับบาดเจ็บ จากสถานการณ์ชายแดน เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลทุกคน ต้องเตรียมพร้อมรับสถานการณ์อยู่โรงพยาบาลพร้อมที่จะปฏิบัติการได้ทุกเมื่อที่ที่มีผู้ได้รับบาดเจ็บจากยุทธการมารับการรักษาพยาบาล โดยปฏิบัติงานร่วมกับชุดศัลยกรรมเคลื่อนที่จากหน่วยงานต่างๆ ที่มาช่วยกันตั้งรับสถานการณ์ ที่โรงพยาบาลนาจะหลวย งานส่วนใหญ่นอกจากจะเป็นงานรักษาพยาบาลผู้มารับบริการและรับ – ส่ง ต่อผู้ได้รับบาดเจ็บโดยทางรถยนต์และทางเฮลิคอปเตอร์ซึ่งเตรียมพร้อมไว้แล้ว ในด้านการติดต่อสื่อสาร โรงพยาบาลได้จัดเจ้าหน้าที่ผลัดเวรกัน เพื่อรับส่งวิทยุติดต่อกับจังหวัดในช่วงที่สถานการณ์กำลังตึงเครียด จากปริมาณผู้ได้รับบาดเจ็บมารับบริการเป็นจำนวนมาก ทำให้โรงพยาบาลประสบปัญหาในด้านอาคาร สถานที่รองรับผู้ป่วย ดังนั้นกองทัพภาคที่ 2 จึงได้ให้งบประมาณเพื่อสร้างอาคารพักผู้ป่วยฉุกเฉิน (2 ) ให้โรงพยาบาล 1 อาคาร และได้เปิดทำการในปี 2530
 ก้าวที่ห้า การเริ่มต้นพัฒนา ( พ.ศ. 2531 – 2532 )
 
เมษายน 2531 นพ.ดนัย ธีวันดา ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลสำโรง นพ.ปราโมทย์ ศรีสำอางค์ ทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการคนต่อมาและมี พญ.ลดาวัลย์ นาควงษ์ เป็นแพทย์ประจำ สถานการณ์การสู้รบสงบลงเหลือแต่การวางกำลังไว้ตามจุดยุทธศาสตร์ แต่ยังมีผู้ได้รับบาดเจ็บมารับบริการอยู่บ้าง การดำเนินงานสาธารณสุขของโรงพยาบาลนาจะหลวย ตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขจึงได้เริ่มขึ้นอย่างจริงจัง โรงพยาบาลจึงได้รับการพัฒนาคุณภาพ และศักยภาพการให้บริการรักษาพยาบาล ทั้งในสถานบริการ นอกสถานบริการได้เต็มที่ การพัฒนาบุคลากรโดยมุ่งเน้นให้เจ้าหน้าที่ทุกคนมีศักยภาพในการทำงานอย่างเป็นเอกภาพ ในด้านข้อมูลข่าวสาร ได้มีการสำรวจและจัดเก็บข้อมูลข่าวสารด้านสาธารณสุขให้เป็นระบบโดยใช้บัญชี 1 – 7 ในด้านการรักษาพยาบาลได้เริ่มให้บริการคลินิคเฉพาะโรค และมีโครงการแพทย์สู่สถานีอนามัยทุกวันพุธ และในปีนี้ คสปอ.นาจะหลวย ได้รับรางวัลชนะเลิศ ในระดับจังหวัดจากการรณรงค์วางแผนครอบครัวได้บรรลุเป้าหมาย และได้รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ในระดับจังหวัดจากการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้บัญชี 1 – 7
 ก้าวที่หก ขยายงานบริการ (พ.ศ. 2532 – 2533 )
 
เมษายน 2532 โรงพยาบาลนาจะหลวยได้แพทย์ประจำเพิ่มอีก 1 คนคือ นพ.สุทัศน์ ไชยยศ ในช่วงปีนี้อยู่ในช่วงสร้างสรรค์งานในด้านต่างๆแต่จากประสบการณ์ที่เป็นโรงพยาบาลสนามรองรับสถานการณ์รบตามแนวชายแดน ที่ผ่านมาโรงพยาบาลต้องประสบกับปัญหาบุคลากรไม่เพียงพอ ขาดแคลนอาคารสถานที่ ในการให้บริการผู้มารับบริการซึ่งมีจำนวนมากขึ้นทุกปีประกอบกับในช่วงปีนี้ โรงพยาบาลอยู่ในช่างการขยายบริการ และพัฒนาคุณภาพให้ได้เกณฑ์ ตามระบบพัฒนาบริการของสถานการณ์สาธารณสุข โรงพยาบาลจึงได้รับงบประมาณจากกระทรวงสาธารณสุข ให้ก่อสร้างอาคารผู้ป่วยใน และอาคารผู้ป่วยนอกเตรียมที่จะขยายเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียง โดยเริ่มก่อสร้างและปรับเป็นโรงพยาบาลขนาด 30 เตียง เมื่อ 28 สิงหาคม 2532 และเริ่มก่อสร้างบ้านพักเพิ่มเติม และเนื่องจากเป็นโรงพยาบาลสนาม บางครั้งต้องทำผ่าตัดฉุกเฉิน ซึ่งต้องอาศัยบุคลากรที่ได้รับการฝึกฝนพิเศษ ในปีนี้จึงได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปอบรมวิสัญญีพยาบาลจำนวน 1 คน และในปีนี้โรงพยาบาลเป็นสถานที่ ฝึกปฏิบัติของนักศึกษาเพิ่มอีก 1 สถาบันคือนักศึกษาวิทยาลัยครู หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (เอกสุขศึกษา )
 ก้าวที่เจ็ด วันเวลาแห่งการเจริญเติบโต (พ.ศ. 2533 – 2534 )
 
การก่อสร้างอาคารใหม่ 30 เตียงได้แล้วเสร็จลงและได้กระทำพิธีเปิดอาคาร 30 เตียงในวันที่ 10 มีนาคม 2533 โดย ฯพณฯสุทัศน์ เงินหมื่น (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขในสมัยนั้น) ได้ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิด และเปิดรับบริการผู้ป่วยตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ทำให้ระบบการบริการผู้ป่วยของโรงพยาบาล ได้มาตรฐานและคล่องตัวมากขึ้น ต่อมาโรงพยาบาลได้แพทย์ประจำอีก 2 คนคือ นพ.พงศธร ศุภอรรถกร และ นพ.ไชยา เบญจพลากร ย้ายมาแทน พญ.ลดาวัลย์ นาควงษ์ และ นพ.สุทัศน์ ไชยยศ ที่ย้ายกลับภูมิลำเนา และโรงพยาบาลนาจะหลวยมีโอกาส ต้อนรับทันตแพทย์คนแรกของโรงพยาบาลคือ ทพ.นรเชษฐ์ เพียรวิทยาพันธ์ ทำให้งานด้านทันตสาธารณสุขขยายการบริการเพิ่มขึ้นอีกระดับหนึ่ง ส่วนงานด้านอนามัยชุมชนได้เน้นการบริการเชิงรุกเข้าไปหมู่บ้านและส่งเสริมให้ผู้นำท้องถิ่น อาสาสมัครสาธารณสุข ได้มีบทบาทในด้นการบริการสาธารณสุขในชุมชนด้วยตัวเองมากขึ้น
 ก้าวที่แปด สร้างสรรค์ความสะอาด ให้บริการด้วยรอยยิ้ม ( พ.ศ. 2534 – 2535 )
 
นพ.ปราโมทย์ ศรีสำอางค์ ได้ลาศึกษาต่อ นพ.พงศธร ศุภอรรถกร เป็นผู้อำนวยการคนต่อมา โดยมีแพทย์ประจำคือ นพ.องอาจ โกสินทรจิตต์ ย้ายมาแทน นพ. ไชยา เบญจพลากร และทันตแพทย์นรเชษฐ์ เพียรวิทยาพันธ์ ในช่วงปีนี้เน้นการพัฒนาอาคารให้สะอาด และถูกหลักสุขาภิบาล ในด้านการให้บริการเน้นการให้บริการด้วยรอยยิ้ม และจัดคลินิคบริการให้เหมือนบ้าน ส่วนงานอนามัยชุมชน เน้นการบริการในเชิงรุกโดยเริ่มมีศูนย์สาธารณสุขมูลฐานในชุมชน ( ศสมช.) ในแต่ละหมู่บ้าน และพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวบ้านเป็นหลัก
 ก้าวที่เก้า ประสานการพัฒนางานที่ต่อเนื่อง (พ.ศ. 2535 – 2536 )
 
นพ.พงศธร ศุภอรรถกร ได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลสำโรง พญ.วิลาสินี หมอกเจริญพงศ์ ทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการคนต่อมาจนถึงปัจจุบัน โดยมี นพ.ชนินทร์ อภิวาณิชย์ เป็นแพทย์ประจำแทน นพ.องอาจ โกสินทรจิตต์ ที่ย้ายไป ในระยะนี้โรงพยาบาลอยู่ในช่วงพัฒนา งานด้านต่างๆ ต่อเนื่องมาและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้สอดคล้องกับนโยบายด้านสาธารณสุขในด้านข้อมูลข่าวสาร มีการพัฒนาข้อมูล โดยนำเอาเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาใช้ในการรวบรวมและประเมินผลข้อมูลสาธารณสุข
 ก้าวที่ สิบ ก้าวที่มุ่งมั่น (พศ.2536-2537)
 
พญ.วิลาสินี หมอกเจริญพงศ์ ยังคงนำพาองค์กรทำงานด้วยความมุ่งมั่น เพื่อตอบสนองนโยบาย โดยมี นพ.สุวิทย์ ขุนทองทรัพย์ ได้ย้ายมาเป็นแพทย์ประจำแทน นพ.ชนินทร์ อภิวาณิชย์ การให้บริการด้านสุขภาพ อนามัยอยู่ในช่วงพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ โดยเน้นการบริการด้วยรอยยิ้ม วันนี้โรงพยาบาลนาจะหลวยยังคงให้บริการอย่างต่อเนื่องเพื่อก้าวต่อไปที่เข็มแข็งและมั่นคง
 ก้าวที่ สิบเอ็ด ก้าวอย่างต่อเนื่อง (2537 – 2538)
 
พญ.วิลาสินี หมอกเจริญพงศ์ ย้ายไปปฏิบัติงานที่จังหวัดอยุธยา นพ.สุวิทย์ ขุนทองทรัพย์ ได้มาปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการโรงพยาบาลแทนและมีแพทย์ประจำคือ นพ.ธีรบูลย์ นิ่มอนุสสรณ์กุล ช่วงนี้เป็นช่วงพัฒนางานเดิมมาอย่างต่อเนื่อง
 ก้าวที่ สิบสอง - สิบห้า (2538-2541)
 
ก้าวที่พัฒนาอย่างต่อเนื่องและริเริ่มสร้างสรรค์ นพ.สุวิทย์ ขุนทองทรัพย์ ได้ย้ายไปปฏิบัติหน้าที่ภาคใต้ นพ.ธีรบูลย์ นิ่มอนุสสรณ์กุล ได้ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการโรงพยาบาลแทน โดยมีแพทย์หมุนเวียนทุก 6 เดือน คือ นพ.ธีรวัฒน์ ภาสตโรจน์ ,พญ.ครองแก้ว พิมพ์นนท์ ,พญ.ปรินดา พลวิสุทธิ์ ,พญ.วรางคณา คงเกษม และ พญ.ปาริชาติ ภิญโญศรี ก้าวนี้เป็นก้าวพัฒนาและปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่องเป็นรูปธรรมชัดเจนโดยมีการริเริ่มดำเนินกิจกรรมดังต่อไป
1.ดำเนินกิจกรรม 5 ส.โดยมีวิทยากรคือ อ.ดร.สิริกานดา
2.ปรับปรุงภูมิสถาปัตย์ในโรงพยาบาลให้สวยงาม
3.ปรับปรุงสวนหย่อมในบริเวณโรงพยาบาล
4.ปรับปรุงงานคุณภาพงานบริการทุกๆด้าน
5.พัฒนาระบบข้อมูลเป็นระบบ Lan ในโรงพยาบาล
6.พัฒนาระบบข้อมูลนำคอมพิวเตอร์ลงสู่สถานีอนามัยครบ 9 แห่งเป็นแห่งแรกในจังหวัดอุบลราชธานี
7.ปรับปรุงห้องประชุมโรงพยาบาล ช่วงนี้นับว่าเป็นยุคทองของโรงพยาบาลนาจะหลวยได้ว่าจะเป็นประกวดอะไร เราได้รางวัลมาเพียบทั้งงานบริการนำเสนอผลงานและงานกีฬา
 ก้าวที่ สิบหก – สิบเจ็ด (2541 – 2543)
 
ก้าวที่พัฒนาก้าวที่สานต่องานอย่างต่อเนื่อง นพ.ธีรบูลย์ นิ่มอนุสสรณ์กุล ได้ลาศึกษาต่อ นพ.สุวัตน์ รสจันทร์ ได้มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลต่อ มีแพทย์ประจำ 2 ท่านคือ นพ.ศักดิ์สิทธิ บุญลักษณ์ พญ.ศศิธร ธัญรัตนศรีสกุล ช่วงนี้เป็นช่วงพัฒนาต่อเนื่อง นพ.สุวัตน์ รสจันทร์ ได้ปรับปรุงดังนี้
1.ปรับปรุงตึกผู้ป่วยในให้มีที่นั่งข้างเตียงสำหรับญาติทั้ง ward หญิง – ชาย
2.ปรับปรุงสวนหย่อมภายในโรงพยาบาลให้สวยงามยิ่งขึ้น
3.อบรมพัฒนาบุคลิกภาพเจ้าหน้าที่โดยการบินไทย
4.พัฒนางาน 5 ส.อย่างต่อเนื่อง
 ก้าวที่ สิบแปด – สิบเก้า (2544 – เมษายน 2546)
 
ก้าวที่สืบสานงานอย่างต่อเนื่อง นพ.สุวัตน์ รสจันทร์ และแพทย์ประจำ 2 ท่านได้ลาศึกษาต่อทั้ง 3 ท่านและมี นพ.สมเกียรติ ปาละสมิทธิ์ ย้ายมาเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลและมีแพทย์ประจำ 2 ท่าน คือ นพ.โรจน์ รจเรขอำไพ นพ.วิถีเจริญเลิศ ยุคนี้อยู่ในช่วงริเริ่มโครงการพัฒนาคุณภาพ HA เริ่มแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน บันไดที่ 1 และเริ่มทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพ ปี 2546 แพทย์ประจำ 2 ท่านได้ลาศึกษาต่อมีแพทย์ประจำ 2 ท่านมาแทนคือ นพ.รัฐศาสตร์ สุดหนองบัว นพ.ณัฐพงศ์ โตพิบูลย์พงศ์
 ก้าวที่ ยี่สิบ (ปี 2546 ต้นปี 2547)
 
นพ.สมเกียรติ ปาละสมิทธิ์ ได้ย้ายไปปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ มี นพ.พรเจริญ เจียมบุญศรี อำนวยการโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดมได้รักษาการเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลอีกตำแหน่งหนึ่ง โดยมีแพทย์ประจำคือ นพ.รัฐศาสตร์ สุดหนองบัว และนพ.ณัฐพงศ์ โตพิบูลย์พงศ์ ช่วงนี้เป็นช่วงชะลอการทำงานพัฒนาคุณภาพ HA ไว้ก่อน แต่เป็นช่วงพัฒนาคุณภาพการบริการ ต่อมาในเดือนมีนาคม 2547 นพ.รัฐศาสตร์ สุดหนองบัวได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลนาจะหลวยต่อมาจนถึง พฤษภาคม 2547
 ก้าวที่ 21 (มิถุนายน – ปัจจุบัน)
 
ยุคก้าวอย่างมุ่งมั่น เดือนพฤษภาคม 2547 นพ.รัฐศาสตร์ สุดหนองบัว ย้ายไปปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลวารินชำราบ มิถุนายน 2547 นพ.เจษฏา คำศรีสุข ได้ย้ายมาปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการโรงพยาบาลนาจะหลวย มีแพทย์ประจำ 2 ท่านคือ พญ.ฐิติมา กลมเกลียว นพ.เปรมศักดิ์ เหล่าอยู่คง โดยนำนโยบายการพัฒนาคุณภาพมาดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง มีความมุ่งมั่นเป็นอย่างสูงที่จะพัฒนางานคุณภาพ (HA) ให้บรรลุสู่เป้าหมายที่จะผ่านการรับรองคุณภาพให้ได้ในปี 2548 พร้อมทั้ง พัฒนางาน 5 ส.ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งกับนโยบายหลัก ใกล้บ้านใกล้ใจ สร้างนำซ่อม
 ริเริ่มโครงการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเพื่อนำไปสู่การบรรลุนโยบายเมืองไทยสุขภาพดี นาจะหลวยสุขภาพดีถ้วนหน้า กว่าจะถึงวันนี้ยากที่จะลืมเลือน ประสบการณ์ต่างๆที่ผ่านมาจะเป็นรากฐานที่มั่นคงในการก้าวต่อไปด้วยความเสียสละอดทน โดยมีความสามัคคี ร่วมมือร่วมใจ ความมุ่งมั่นของเจ้าหน้าที่ทุกคนในโรงพยาบาลรวมทั้งบุคคลที่อยู่เบื้องหลัง จับมือกันส่งเสริมสร้างสรรค์โรงพยาบาลนาจะหลวย ก้าวต่อไปอย่างมั่นคง ภายใต้คำขวัญโรงพยาบาลที่ว่า “ ยิ้มแย้ม แจ่มใส ใส่ใจในงาน บริการดุจญาติมิตร”