ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

การตรวจหัวใจด้วยเครื่องสะท้อนเสียงความถี่สูง (Echocardiogram) โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ Bangkok Heart Hospital

ห้องตรวจสมรรถภาพหัวใจ ชั้น 2 อาคารเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลกรุงเทพ เปิดให้บริการ ทุกวัน เวลา 07.00 – 16.00 น. 0 2310 3000 0 2310 3370 0 2755 1371 0 2755 1375 1719
การตรวจหัวใจด้วยเครื่องสะท้อนเสียงความถี่สูง (Echocardiogram)
 
ข้อมูลทั่วไป
Noninvasive Diagnostic Service
ใช้หลักการส่งคลื่นเสียงที่ปลอดภัยเข้าไปในทรวงอกแล้วรับเสียงที่สะท้อนออกมาไปแปลเป็นภาพให้เห็นบนจอ ซึ่งจะแสดงถึงรูปร่าง ขนาด การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ และลิ้นหัวใจว่าปกติหรือไม่ โดยใช้หัวตรวจ (Transducer) ซึ่งดูคล้ายไมโครโฟน ส่งสัญญาณเสียงไปยังหัวใจของคุณ และรับสัญญาณเสียงที่สะท้อนกลับมาแปลงเป็น ภาพให้เห็นบนจอ
 
Echocardiogram คืออะไร
ใช้หลักการส่งคลื่นเสียงที่ปลอดภัยเข้าไปในทรวงอกแล้วรับเสียงที่สะท้อนออกมาไปแปลเป็นภาพให้เห็นบนจอ ซึ่งจะแสดงถึงรูปร่าง ขนาด การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ และลิ้นหัวใจว่าปกติหรือไม่ โดยใช้หัวตรวจ (Transducer) ซึ่งดูคล้ายไมโครโฟน ส่งสัญญาณเสียงไปยังหัวใจของคุณ และรับสัญญาณเสียงที่สะท้อนกลับมาแปลงเป็น ภาพให้เห็นบนจอ
                     
การตรวจวิธีนี้เป็นการตรวจเพื่อดูขนาดของห้องหัวใจตามแรงการบีบตัวของกล้ามเนื้อ หัวใจผ่านผนังหน้าอก การทำงานของลิ้นหัวใจภาวะน้ำในเยื่อหุ้มหัวใจ ช่องหัวใจโต และตรวจหาภาวะหัวใจพิการแต่กำเนิด ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของอาการเหนื่อยง่าย หรือแน่นหน้าอก
 
Echocardiogram บอกอะไรกับเรา
  • เพื่อประเมินดูขนาดของห้องหัวใจทั้ง 4 ห้อง ว่ามีภาวะหัวใจโตหรือเปล่ารวมถึงประเมินความหนาของกล้ามเนื้อหัวใจ
  • เพื่อประเมินดูการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างว่ามีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงจากภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบตันหรือเปล่า
  • ค่าที่เราได้จากการประเมินการบีบตัวของหัวใจ ที่ได้ยินกันอยู่เป็นประจำ คือ EF ย่อมาจาก Ejection Fraction เป็นค่าที่ใช้
  • บอกสัดส่วนความสามารถในการบีบตัวของหัวใจ
  • เพื่อประเมินดูการทำงานของลิ้นหัวใจว่ามีโรคของลิ้นหัวใจตีบหรือลิ้นหัวใจรั่วหรือเปล่า
  • เพื่อประเมินดูว่ามีก้อนเนื้อหรือก้อนลิ่มเลือดในห้องหัวใจหรือลักษณะของลิ้นหัวใจติดเชื้อหรือเปล่า
  • เพื่อประเมินดูโรคของเยื่อหุ้มหัวใจ (Pericardium) เช่น เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบทั้งแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง ภาวะมีน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจจนทำให้เกิดการบีบรัดหัวใจ
  • ใช้ประเมินดูโรคของหลอดเลือดแดงใหญ่ส่วนต้น (Proximal Ascending Aorta) เช่น โรคหลอดเลือดแดงใหญ่ฉีกขาดแบบเฉียบพลัน (Acute Aortic Dissection)
  • เพื่อประเมินโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจพิการแต่กำเนิด
นอกจากนี้การใช้คุณสมบัติทางฟิสิกส์ที่เรียกว่า Doppler Ultrasound ทำให้เราทราบทิศทางการไหลและความเร็วในการเคลื่อนไหวของเลือด ใช้ประเมินเรื่องการคลายตัวของหัวใจ และประเมินระดับความรุนแรงของการตีบหรือรั่วของลิ้นหัวใจ
 
เครื่องสะท้อนเสียงความถี่สูง, ECHOCARDIOGRAM
ชนิดของ Echocardiogram
เราแบ่งการทำ Echocardiogram ออกเป็น 3 ประเภทคือ  
 
  1. Transthoracic Echocardiogram (การทำ Echocardiogram ผ่านทางผนังหน้าอก) เป็นชนิดของ Echocardiogram ที่ใช้บ่อยที่สุดในเวชปฏิบัติ เนื่องจากทำได้ง่าย สะดวก และไม่ต้องมีการเตรียมตัวที่ยุ่งยากอะไร มีค่าใช้จ่ายในการทำต่ำที่สุด ภาพที่ได้เกิดจากการเก็บภาพที่ตำแหน่งต่าง ๆ กัน สามารถให้รายละเอียดได้ดี แต่ก็มีข้อจำกัดบางอย่าง เช่นในกรณีที่ผู้ป่วยมีผนังหน้าอกที่หนาหรือมีช่องระหว่างซี่โครงที่แคบหรือผู้ป่วยที่มีผนังหน้าอกผิดรูป อาจให้ภาพที่ได้ไม่ชัดเจนและส่งผลทำให้แปรผลได้ลำบาก นอกจากนี้การแยกความแตกต่างของเนื้อเยื่อที่มีขนาดเล็กกว่า 4 – 5 มิลลิเมตรอาจทำได้ลำบากและอาจจะต้องใช้การตรวจ Transesophageal Echocardiogram เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการตรวจให้มากขึ้น   
  2. Transesophageal Echocardiogram (การทำ Echocardiogram โดยการส่องกล้องผ่านทางหลอดอาหาร) เป็นการตรวจเพื่อบันทึกภาพของหัวใจจากด้านในของทางเดินอาหาร เนื่องจากทางเดินอาหารอยู่ด้านหลังของหัวใจ ทำให้การตรวจวิธีนี้ได้เห็น Movement ของหัวใจได้ชัดกว่าการตรวจด้วย Transthoracic Echocardiogram ปกติซึ่งตรวจที่หน้าอกด้านนอก ระหว่างการตรวจ คลื่นเสียงจะสะท้อนเป็นภาพของหัวใจ ขณะปั๊มเลือดผ่านลิ้นหัวใจซึ่งทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยความผิดปกติได้ว่าเกิดจากความผิดปกติที่ผนังหัวใจหรือลิ้นหัวใจ
  3. Intracardiac Echocardiogram (การทำ Echocardiogram โดยการใส่สายเข้าไปที่ห้องหัวใจโดยตรง) ถือเป็นวิธีการตรวจซึ่งยังไม่เป็นที่แพร่หลายและยังไม่เป็นที่นิยมใช้ในเวชปฏิบัติ จึงยังไม่ขอกล่าวในที่นี้
ห้องตรวจสมรรถภาพหัวใจ
ชั้น 2 อาคารเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลกรุงเทพ
เปิดให้บริการ ทุกวัน เวลา 07.00 – 16.00 น.
0 2310 3000
0 2310 3370
0 2755 1371
0 2755 1375
1719

โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ

แขวง บางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310

ข้อมูลที่คลิกชมล่าสุด