ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ศูนย์เพทซีที และไซโคลตรอน ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ศูนย์เพทซีที และไซโคลตรอน เปิดให้บริการ วันจันทร์ - วันศุกร์ 8.00-17.00 น. หยุด วันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เบอร์โทร 053-934790 - ให้บริการ PET/CT scan (เพทซีทีสแกน) SPECT/CT (สเปคซีที) ไซโคลตรอนทางการแพทย์ (MEDICAL CYCLOTRON)
อัตราค่าบริการ
โรคมะเร็ง PET/CT in Oncology 50,000
โรคทางสมองและระบบประสาท 25,000
โรคหัวใจและหลอดเลือด 25,000

ศูนย์เพทซีที และไซโคลตรอน ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  Healthserv.net
ศูนย์เพทซีที และไซโคลตรอน เปิดให้บริการ วันจันทร์ - วันศุกร์ 8.00-17.00 น. หยุด วันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เบอร์โทร 053-934790

ให้บริการ
  • PET/CT scan (เพทซีทีสแกน)
  • SPECT/CT (สเปคซีที)
  • ไซโคลตรอนทางการแพทย์ (MEDICAL CYCLOTRON) 

     

PET/CT scan (เพทซีทีสแกน)

เป็นเทคโนโลยีการถ่ายภาพทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ที่ใช้เทคโนโลยีร่วมกันระ หว่างเครื่อง PET (Positron Emission Tomography) และเครื่อง CT (Computed Tomography) ที่มีประสิทธิภาพสูง
 
ภาพถ่ายที่ได้จากเครื่อง PET จะถูกนำมารวม(fusion) กับภาพถ่ายทางกายภาพที่ได้จากเครื่อง CT ทำให้การตรวจนั้นมีความถูกต้องและแม่นยำมากขึ้น
 
การตรวจด้วย PET เป็นการถ่ายภาพที่ทำให้เราสามารถตรวจขบวนการเผาผลาญ(metabolism)ของเ ซลล์ และสามารถติดตาม ตรวจวัด ประเมิน และวิเคราะห์ การทำหน้าที่ของอวัยวะนั้น ๆ ในระดับ Cell metabolism ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของพยาธิสภาพที่เกิดขึ้น
 
ข้อมูลที่ได้จากเครื่อง PET มีความแตกต่างจากเครื่องมืออื่นๆ ซึ่งเรารู้จักกันดี เช่น การตรวจด้วย ultrasound, CT และ MRI ที่ส่วนใหญ่จะแสดงเพียงลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางกายวิภาค
 
 
การตรวจด้วย PET/CT scan ในโรคมะเร็ง จะมีความไวและประสิทธิภาพสูงในการตรวจมะเร็งชนิดต่างๆ ดังต่อไปนี้
มะเร็งบริเวณศีรษะและลำคอ(Head and Neck Cancer)
มะเร็งปอดชนิดNon-small cell (Non-Small Cell Lung Cancer; NSCLC)
ก้อนในปอด(Single pulmonary nodule)
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง(Lymphoma)
มะเร็งผิวหนัง(Melanoma)
มะเร็งต่อมไทรอยด์(Thyroid Cancer)
มะเร็งหลอดอาหาร(Esophageal Cancer)
มะเร็งลำไส้ใหญ่(Colorectal Cancer)
มะเร็งเต้านม(Breast Cancer)
มะเร็งปากมดลูก(Cervical Cancer)
มะเร็งรังไข่(Ovarian Cancer)
มะเร็งที่แพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆซึ่งยังไม่ทราบต้นกำเนิด(Cancer of Unknown Origin; CUP)
ใครควรตรวจเพทซีทีบ้าง
ผู้ป่วยโรคมะเร็ง
 
ผู้ที่แพทย์ลงความเห็นว่าควรตรวจเพื่อการวินิจฉัยมะเร็งเบื้องต้น (Diagnosis)
ผู้ที่ต้องการหาระยะของโรคมะเร็ง (Staging)
ผู้ที่มีกรณีสงสัยว่ามะเร็งแพร่กระจาย หรือมีการกลับเป็นซ้ำ (Re-staging)
ผู้ที่รับการรักษาโรคมะเร็งและต้องการประเมินผลการรักษา ทั้งในระหว่างที่ยังรักษาอยู่และหลังจากการรักษาจบสิ้นแล้ว (Therapeutic-monitoring, Assessing the effectiveness of treatment)
ผู้ที่แพทย์ต้องการผลเพื่อช่วยในการพยากรณ์โรค (Prognosis)
ผู้ที่รักษามะเร็งด้วยการฉายแสง สามารถใช้ผลการตรวจเพื่อช่วยวางแผนการรักษาได้ (Radiation Planning)
ผู้ป่วยโรคหัวใจ
 
ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ สามารถใช้ผลตรวจเพื่อช่วยให้แพทย์วินิจฉัยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย และภาวะกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ (cardiomyopathy) รวมทั้งการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจและลิ้นหัวใจ (Endocarditis and myocarditis)
ผู้ป่วยโรคทางสมองและระบบประสาท
 
ผู้ป่วยที่มีภาวะความจำเสื่อม สามารถใช้ผลตรวจเพื่อช่วยในการวินิจฉัยแยกโรคได้
ผู้ป่วยที่เป็นโรคลมชัก สามารถใช้ผลตรวจเพื่อช่วยกำหนดตำแหน่งรอยโรคที่เป็นจุดกำเนิดโรคได้
ผู้ป่วยโรคมะเร็งสมอง สามารถใช้ผลตรวจเพื่อช่วยในการประเมินขนาด ขอบเขต และตำแหน่งของก้อนมะเร็งสมองที่ยังเหลืออยู่จากการผ่าตัดหรือการฉายรังสี และช่วยในการวางแผนสำหรับการฉายรังสีรักษา
ขั้นตอนการตรวจเพทซีที
สารเภสัชรังสีสำหรับการตรวจเพทซีทีสแกนถูกผลิตขึ้นก่อนการตรวจโดยทีมผลิตสารเภสัชรังสี
 
ผู้ป่วยมาตามนัด เจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำ และตรวจระดับน้ำตาลในเลือด
 
ผู้ป่วยได้รับการฉีดสารเภสัชรังสีโดยพยาบาลวิชาชีพ
 
ผู้ป่วยพักผ่อนในห้องพัก เป็นเวลาประมาณ 1 ชั่วโมงเพื่อให้สารเภสัชรังสีกระจายไปทั่วร่างกายและถูกดูดซึมเข้าไปในเซลล์
 
นักรังสีการแพทย์นำผู้ป่วยเข้าเครื่องเพทซีทีสแกน ตามลำดับการตรวจ โดยใช้เวลาประมาณ 20-45 นาที
 
ทีมแพทย์เวชศาสตร์นิวเคลียร์ทำการอ่านผลเบื้องต้น ขณะที่ผู้ป่วยพักเพื่อตรวจติดตามอาการ ประมาณ 30 นาที จึงเสร็จสิ้นกระบวนการตรวจ โดยผลการตรวจจะถูกส่งให้แพทย์ผู้ส่งตรวจเพื่อแจ้งผลตรวจให้แก่ผู้ป่วยต่อไป
 
 
ศูนย์เพทซีที และไซโคลตรอน ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Healthserv.net

ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ Center for Medical Excellence

ชั้น 3 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถนน สิโรรส ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200

เวลาเปิดทำการ
เปิดให้บริการทุกวัน
(ไม่เว้นวันหยุดราชการ)
เปิดบริการ เวลา
8.00 น.
ปิดบริการ เวลา
20.00 น.

ข้อมูลที่คลิกชมล่าสุด