ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

กทม.เร่งกระจาย ยาแพกซ์โลวิด สู่ โรงพยาบาลในสังกัด 11 แห่ง

กทม.เร่งกระจาย ยาแพกซ์โลวิด สู่ โรงพยาบาลในสังกัด 11 แห่ง HealthServ.net
กทม.เร่งกระจาย ยาแพกซ์โลวิด สู่ โรงพยาบาลในสังกัด 11 แห่ง ThumbMobile HealthServ.net

20 เม.ย. 65 พญ.วันทนีย์ วัฒนะ รองปลัดกรุงเทพมหานคร เปิดเผยถึงการเตรียมความพร้อมกระจายยาแพกซ์โลวิดไปยังโรงพยาบาลในสังกัด กทม. เพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 และการสร้างความเข้าใจแนวทางปฏิบัติในการจ่ายยาต้านไวรัสรักษาผู้ป่วยโควิด-19

กทม.เร่งกระจาย ยาแพกซ์โลวิด สู่ โรงพยาบาลในสังกัด 11 แห่ง HealthServ
 
       หลังจากที่ กรุงเทพมหานคร โดยสำนักการแพทย์ รับมอบยาแพกซ์โลวิดที่จะได้จัดสรรจากกระทรวงสาธารณสุข และพร้อมกระจายยาไปยังโรงพยาบาลในสังกัด กทม. เพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลางและมีความเสี่ยงเกิดอาการรุนแรง เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตหรือการรักษาตัวในโรงพยาบาล ตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กำหนด ซึ่งในปัจจุบันมีการใช้ยาต้านไวรัสรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ได้แก่ ยาฟาวิพิราเวียร์ ยาเรมเดซิเวียร์ ยาโมลนูพิราเวียร์
 
 
       ยาแพกซ์โลวิด (Paxlovid) เป็นยาต้านไวรัสชนิดเม็ด สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอาการรุนแรง สามารถลดความเสี่ยงการป่วยหนักจนต้องเข้าโรงพยาบาล และการเสียชีวิตของผู้ใหญ่ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงได้ถึง 88% โดยผู้ป่วยโควิด-19 ที่เหมาะกับยาแพกซ์โลวิด (Paxlovid) คือ ผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป ผู้ที่มีภาวะอ้วน ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ผู้ที่มีภูมิต้านทานร่างกายต่ำ ผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยโรคมะเร็ง และผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีน หรือได้รับเพียง 1 เข็ม
 
 
 
           นอกจากนี้ สำนักการแพทย์ ได้เน้นย้ำการสร้างความเข้าใจแนวทางปฏิบัติในการจ่ายยาต้านไวรัสรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ชนิดต่างๆ ให้กับบุคลากรของโรงพยาบาลในสังกัด กทม. ให้เป็นไปตามคำแนะนำและข้อบ่งชี้ในการใช้ยาที่กรมการแพทย์ สธ.กำหนด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาและความปลอดภัยสูงสุดของผู้ป่วยโควิด-19 ซึ่งดำเนินแนวทางการรักษา คือ 
 
  • ผู้ป่วยต้องรับประทานยาครั้งละ 3 เม็ด วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 5 วัน 
  • ห้ามใช้กับผู้หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร ผู้ที่ใช้ยาคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนรวม ผู้ที่การทำงานของตับหรือไตบกพร่อง 
  • การเลือกใช้ยาแพกซ์โลวิดจะให้อยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ซึ่งไม่จำเป็นต้องรับยาทุกคน 
  • กลุ่มอาการดีไม่มีความเสี่ยงพิจารณาให้ยาตามอาการ เช่น ฟ้าทะลายโจร หรือ ฟาวิพิราเวียร์
 
 
 
โรงพยาบาลในสังกัด กทม. 11 แห่ง
  1. โรงพยาบาลบางนากรุงเทพมหานคร
  2. โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
  3. โรงพยาบาลตากสิน
  4. โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินธโรอุทิศ
  5. โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์
  6. โรงพยาบาลราชพิพัฒน์
  7. โรงพยาบาลสิรินธร
  8. โรงพยาบาลผู้สูงอายุ บางขุนเทียน
  9. โรงพยาบาลลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร
  10. โรงพยาบาลคลองสามวา
  11. โรงพยาบาลกลาง


 
 
           ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) รับมอบยาแพกซ์โลวิด (Paxlovid) จากบริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด จำนวนการจัดซื้อ 50,000 คอร์สการรักษา รวม 1.5 ล้านเม็ด ซึ่งยาดังกล่าวกำหนดทยอยส่งมอบจนครบภายในเดือน เม.ย.นี้ โดยมอบให้องค์การเภสัชกรรม (อภ.) เป็นหน่วยจัดเก็บและกระจายยา โดยยาแพกซ์โลวิดที่จัดซื้อถือครั้งนี้เบื้องต้นถือว่ามีจำนวนเพียงพอ

           อย่างไรก็ตาม หากมีความจำเป็นสามารถจัดซื้อเพิ่มได้ ซึ่งการจ่ายยาแต่ละชนิดขึ้นกับอาการและดุลพินิจของแพทย์

           โดยเบื้องต้นจะกระจายยาไปที่โรงพยาบาลขนาดใหญ่และมอบหมายให้ผู้ตรวจราชการ สธ.เป็นผู้พิจารณากระจายยา การใช้ยาจะเป็นไปตามคำแนะนำของกรมการแพทย์และข้อบ่งชี้ในการใช้ยา เบื้องต้นจะให้ยากับคนไข้สูงอายุ มีโรคร่วม และเริ่มมีอาการ หรืออาการปานกลาง โดยยาแพกซ์โลวิดเป็นยาต้านไวรัสชนิดเม็ด ใช้รับประทาน กลุ่มที่ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง คือ สตรีมีครรภ์ สตรีให้นมบุตร ผู้ที่ใช้ยาคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนรวม ผู้ที่การทำงานของตับ หรือไตบกพร่อง รวมถึงผู้ที่ใช้ยาบางชนิดที่อาจเกิดปฏิกิริยาระหว่างกัน การพิจารณาให้ยาแพกซ์โลวิดจึงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ผู้รักษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาและความปลอดภัยสูงสุดของผู้ป่วยโควิด-19
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด