ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

กทม.ลุยนำร่อง Sandbox ราชพิพัฒน์​ Model 5 เขต มุ่งยกระดับบริการสาธารณสุขคนเมืองให้ได้

กทม.ลุยนำร่อง Sandbox ราชพิพัฒน์​ Model 5 เขต มุ่งยกระดับบริการสาธารณสุขคนเมืองให้ได้ HealthServ.net

กทม.ลุยนำร่อง Sandbox Area ราชพิพัฒน์​ Model คลุม 5 เขต (ทวีวัฒนา บางแค หนองแขม ภาษีเจริญ และตลิ่งชัน) แก้ปัญหาไร้ระบบไร้ประสิทธิภาพ ภาระประชาชน สู่การยกระดับบริการสาธารณสุขคนเมืองครบวงจร ทุกคนเข้ารับบริการพื้นฐานได้ รับการรักษาได้ ลดภาระตนเอง ชุมชนและโรงพยาบาลใหญ่ๆลง สร้างความเชื่อมั่นประชาชน

กทม.ลุยนำร่อง Sandbox ราชพิพัฒน์​ Model 5 เขต มุ่งยกระดับบริการสาธารณสุขคนเมืองให้ได้ ThumbMobile HealthServ.net
 

5 ก.ค. 65 ผศ.ดร.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร​ เป็นประธานในพิธีเปิดประชุมการขับเคลื่อนนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ด้านสาธารณสุข​ Sandbox Area โรงพยาบาลราชพิพัฒน์และพื้นที่ 5 เขต​ (ทวีวัฒนา บางแค หนองแขม ภาษีเจริญ และตลิ่งชัน) โดยมี​ นายอำนาจ ปานเผือก​ สมาชิกสภากรุงเทพมหานครเขตบางแค รองประธานสภากรุงเทพมหานคร คนที่ 2 ผู้บริหารสำนักการแพทย์​ ผู้บริหารสปสช. ผู้บริหารโรงพยาบาลราชพิพัฒน์​ ผู้บริหารเขตบางแค​ ร่วมพิธี​ ณ ห้องประชุมพระเทพประสิทธิมนต์ 71 ชั้น 9 อาคารภูมิพิพัฒน์​ โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ เขตบางแค​



รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร  ตรวจเยี่ยมศูนย์เวชศาสตร์เขตเมืองราชพิพัฒน์ เพื่อการฟื้นฟูและประคับประคอง​ ซึ่งเป็นศูนย์สำหรับการดูแลผู้ป่วยระยะกลางและรับดูแลผู้ป่วยระยะประคับประคองที่ต้องการได้รับการฟื้นฟูให้สามารถดำรงชีวิตประจำวันได้ พร้อม เปิดเผยถึงแนวคิดโมเดล Sandbox

 
กทม.ลุยนำร่อง Sandbox ราชพิพัฒน์​ Model 5 เขต มุ่งยกระดับบริการสาธารณสุขคนเมืองให้ได้ HealthServ
 


 

โมเดล Sandbox


ภาวะการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา แสดงให้เห็นถึงช่องว่างของการบริการสาธารณสุขของกรุงเทพ ที่ไม่เป็นระบบ ไม่มีการประสานงานและการบริหารทรัพยากรของกรุงเทพที่มีอยู่  ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอ

จนกลายเป็นภาระของประชาชนที่ไม่สามารถพึ่งพิงหน่วยบริการพื้นฐานได้

และส่งผลต่อเนื่องต่อการเป็นภาระต่อโรงพยาบาลในระดับที่ใหญ่ขึ้น ที่ต้องแบกรับภาระเพิ่ม โดยที่หน่วยบริการพื้นฐานไม่สามารถแบ่งเบา

หน่วยบริการพื้นฐาน หรือสาธารณสุขแบบปฐมภูมิ ของกรุงเทพมหานครที่กล่าวถึง ได้แก่ ศูนย์บริการสาธารณสุข​ 69 แห่ง​ คลินิกอบอุ่น ศูนย์สุขภาพชุมชน

เมื่อไม่เป็นระบบ หรือระบบไม่ดีพอ และสร้างปัญหา จำเป็นต้องมีการออกแบบระบบและกลไกขึ้นมาใหม่


โมเดล​ Sandbox เกิดขึ้นจากการ ถอดบทเรียนจากปัญหาเหล่านั้น  เพื่อหาทางออก แก้ปัญหา เพื่ออุดช่องว่างการรักษาพยาบาลที่ไม่เป็นระบบ


"Sandbox เกิดขึ้นมาจากการถอดบทเรียนการแพร่ระบาดของโควิด-19​ เพื่อแก้ปัญหาภาวะวิกฤติต่างๆ​ เช่น​ คนล้นเตียงโรงพยาบาล การไม่ได้รับการประสานงานเมื่อเกิดการติดเชื้อ​ ฯลฯ"  - รองผู้ว่าฯ​ ทวิดา ให้ข้อมูล

 

กทม.ลุยนำร่อง Sandbox ราชพิพัฒน์​ Model 5 เขต มุ่งยกระดับบริการสาธารณสุขคนเมืองให้ได้ HealthServ
 



 

แนวทาง Sandbox



แนวคิดคือ การใช้ระบบปฐมภูมิที่เป็น หน่วยบริการพื้นฐาน หรือสาธารณสุขแบบปฐมภูมิ  ได้แก่  ศูนย์บริการสาธารณสุข​ 69 แห่ง​ คลินิกอบอุ่น ศูนย์สุขภาพชุมชน และในอนาคตอาจรวมถึงร้านขายยา  โดยจะต้องทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงบริการ  หรือได้รับการรักษาพยาบาลใกล้บ้านได้ ต้องพัฒนาหรือนำเอาระบบและกลไกต่างๆ มาเสริมการบริการและทำให้เป็นมาตรฐาน  ทั้งหมดก็เพื่อทำให้การรักษามีประสิทธิภาพ  ลดภาระของโรงพยาบาลใหญ่ๆ ลงให้ได้   หากจำเป็น หน่วยบริการสามารถที่จะช่วยในการประสานงานในการส่งต่อผู้ป่วยไปสู่โรงพยาบาลได้อย่างเป็นระบบ​




หากแนวคิดนี้ ทำได้สำเร็จ ไม่เพียงแค่จะแก้ปัญหาเฉพาะ แบบโควิด-19 เท่านั้น แต่จะนำไปสู่ระบบสาธารณสุขที่ดีอีกด้วย  ระบบที่ประชาชนไว้ใจได้ พึ่งพาพึ่งพิงได้ 

"ประชาชนในทุกชุมชนจะได้รับการรักษาที่รวดเร็วมีประสิทธิภาพและเท่าเทียมกัน ส่งผลให้สุขภาพชุมชนดีขึ้นตามวัตถุประสงค์ของระบบนี้​ "




"Sandbox  เป็นจุดเริ่มต้น  จุดประสงค์ที่แท้จริง คือการสถาปนาให้ระบบปฐมภูมิแข็งแกร่ง​ แข็งแรง​ เสมือน 1 โรงพยาบาล​ใกล้บ้าน และเป็นการการันตีว่าเมื่อเกิดการเจ็บป่วยขึ้นจะมีโรงพยาบาลรองรับผู้ป่วยแน่นอน​ เพื่อแก้ปัญหาจากการแพร่ระบาดของโรคต่าง ๆ ที่ผ่านมา​ ซึ่งหาก​ Sandbox Area​ ประสบความสำเร็จ​ ประชาชนจะมีความมั่นใจในระบบปฐมภูมิว่าบางโรคสามารถรักษาได้โดยไม่ต้องไปโรงพยาบาล​ เนื่องจากมีแพทย์เฉพาะทางให้คำปรึกษา​ มีเภสัชกรจ่ายยาผ่านระบบ​ Telemedicine ​มีเจ้าหน้าที่เฝ้าสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด​ ผ่านระบบกลไก​ ผ่านระบบดิจิทัลที่ออกแบบไว้​ เพื่อแก้ปัญหาคนที่ต้องเดินทางไกลไปโรงพยาบาล​ แก้ปัญหาคนล้นโรงพยาบาล ตามวัตถุประสงค์ของ​ Sandbox Area อย่างแท้จริง​ ซึ่งจะสามารถแก้ไขวิกฤติโรคระบาดได้ในอนาคต" รองผู้ว่าฯ​ ทวิดา กล่าว



 

Sandbox ราชพิพัฒน์​ Model 


ทั้งนี้​ Sandbox ราชพิพัฒน์​ Model มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน เพื่อขับเคลื่อนระบบสาธารณสุข​ การจัดบริการปฐมภูมิ การส่งต่อ การดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง โดยประยุกต์เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเชื่อมโยงข้อมูลด้านบริการ การส่งต่อและการดูแลต่อเนื่องอย่างเป็นระบบในพื้นที่พิเศษเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลราชพิพัฒน์ คือ เขตบางแค​ เขตหนองแขม เขตทวีวัฒนา เขตตลิ่งชัน และเขตภาษีเจริญ (Sandbox area base) ให้ผู้รับบริการสามารถเข้าถึงง่าย ทั่วถึง และครอบคลุมอย่างเป็นองค์รวม ตั้งแต่การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การดูแลรักษา ฟื้นฟู และดูแลต่อเนื่องอย่างเป็นระบบ
กทม.ลุยนำร่อง Sandbox ราชพิพัฒน์​ Model 5 เขต มุ่งยกระดับบริการสาธารณสุขคนเมืองให้ได้ HealthServ
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด