ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

กล้ามเนื้อ Kinematic Sequence กับวงสวิงกอล์ฟ

Kinematic Sequence คือ ลำดับการเคลื่อนไหวของร่างกายที่มีลักษณะแบบเดียวกัน การเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายตามลำดับ เพื่อส่งถ่ายโมเมนตัมไปที่หัวไม้กอล์ฟ

Phil Cheetham ได้ทำการศึกษาวงสวิงของนักกอล์ฟอาชีพที่มีชื่อเสียงหลายร้อยคน โดยใช้เครื่อง TPI 3D พบว่ามีลักษณะที่เหมือนกัน จนไม่สามารถบอกความแตกต่างของนักกอล์ฟแต่ละคน คือ ลำดับการเคลื่อนไหวของร่างกายที่มีลักษณะแบบเดียวกัน ตั้งแต่ Top swing จนถึงจุดกระทบ ทั้งที่วงสวิงจะมองเห็นแตกต่างกันได้ชัด เช่น Ernie Else , Vijay Singh , Jim Furyx , Ray Floyd , John Dally. ลักษณะการทำงานของร่างกายส่วนต่าง ๆ ที่เห็นแบบเดียวกันทั้งหมดนี้เรียกว่า Kinematic Sequence หรือการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายตามลำดับ เพื่อส่งถ่ายโมเมนตัมไปที่หัวไม้กอล์ฟ
 
การแบ่งส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่เคลื่อนไหวในการตีกอล์ฟ ดังนี้
  1. ส่วนล่างของร่างกาย (Lower body)
  2. ส่วนลำตัว (Torso trunk)
  3. แขนและมือ (Arm and Hand)
  4. ไม้กอล์ฟ
นักกอล์ฟอาชีพชั้นนำ ใช้ส่วนต่าง ๆ ตามลำดับเหมือนสะบัดแซ่และทำได้สม่ำเสมอ 
 
จากการใช้เครื่อง 3D Data Analysis วัดความเร็วของส่วนต่าง ๆ ของร่างกายและนำมาเขียนเป็นกราฟตั้งแต่ T (top swing) และ I (impact) จะพบ Kinematic Sequence ดังนี้
  • ลำตัว (สีเขียว - trunk) เร่งความเร็วสูงกว่าสะโพก และลดความเร็วอย่างรวดเร็ว
  • แขน (สีน้ำเงิน - Arm) เร่งความเร็วที่สูงกว่าลำตัว และลดความเร็วลงอย่างรวดเร็วเช่นกัน
  • ไม้กอล์ฟ (สีน้ำตาล) เร่งความเร็วสูงสุดที่จุดกระทบ หรือก่อนจุดกระทบเล็กน้อย
     สังเกตกราฟความเร็วสูงสุดของสะโพกเริ่มก่อน ตามมาด้วยความเร็วสูงสุดของลำตัว ตามด้วยความเร็วสงสุดของแขน และสุดท้ายจึงเป็นความเร็วสูงสุดของหัวไม้กอล์ฟที่จุดกระทบ ตามลำดับ และเมื่อถึงความเร็วสูงสุดจะต้องชะลอหรือลดความเร็วลง เพื่อส่งถ่ายโมเมนตัมไปที่ส่วนของร่างกายต่อไปตามลำดับขั้น
 
     นักกอล์ฟสมัครเล่นส่วนใหญ่ จะมีส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายที่จะไม่อยู่ในลำดับการเคลื่อนไหว เช่น ความเร็วสูงสุดของแขน และไม้ มาก่อนสะโพกหรือลำตัว ทำให้ต้องชดเชยการเคลื่อนไหวส่วนอื่น เพื่อให้ตีถูกลูก เช่น งอข้อศอกำซ้าย ยืดตัวขึ้น ทำให้สูญเสียทั้งความเร็วและความเร็วของไม้กอล์ฟ 
 
     ในการศึกษาด้วย EMG ของกล้ามเนื้อระหว่างการทำสวิงจะเห็นชัดเจนว่า ก่อนถึง Top swing กล้ามเนื้อสะโพกขวา และกล้ามเนื้อด้านหลังต้นขาซ้ายเริ่มทำงานก่อน 
 
Analyzed Signals / Periods
     การทำงานของลำตัวจะเริ่มต่อเนื่อง ก่อนการทำงานของแขน (ดูที่กล้ามเนื้อเหยียดข้อศอก – Triceps muscle) จากนั้นจึงเป็นการทำงานของกล้ามเนื้อแขนขวาท่อนล่าง ที่จะเริ่มทำงานเต็มที่ หลังการทำงานของกล้ามเนื้อมัดอื่น
 
     ในนักกอล์ฟอาชีพ สามารถเร่งความเร็วหัวไม้จากตำแหน่งของ Transition เมื่อแขนซ้ายขนานกับพื้นจนถึงจุด Impact ใช้เวลา 0.05 วินาที
 
     ในนักกอล์ฟสมัครเล่นส่วนใหญ่ จากตำแหน่ง Down swing จนถึง Impact ใช้เวลามากกว่า 0.11 วินาที และดูการทำงานของกล้ามเนื้อ จะพบว่ามีการทำงานของแขนขวาท่อนล่างเริ่มมาก่อนตั้งแต่เริ่มดาวน์สวิง ทำให้ Kinematic Sequence เสียไป 
 
นักกอล์ฟสมัครเล่นหรือนักกอล์ฟที่เคยตีดี ๆ แล้ว Kinematic Sequence เสียไป มีสาเหตุใหญ่ ๆ คือ
  1. การส่งแรงไปที่หัวไม้กอล์ฟไม่ถูกหลักกลศาสตร์ (Improper swing mechanices)
  2. สภาพร่างกายมีข้อจำกัด เช่น ไม่สามารถหมุนข้อสะโพกเข้าในได้ (Internal rotation of Hip) ไม่สามารถหมุนไหล่ได้หรือสภาพกล้ามเนื้อไม่แข็งแรงพอ
  3. การใช้ไม้กอล์ฟที่ไม่เหมาะสม เช่น ยาวเกินไป หนักเกินไป หรือก้านแข็งเกินไป
     การวิเคราะห์วงสวิงด้วยเครื่อง Golf Simulator และบันทึกการทำงานของกล้ามเนื้อด้วย EMG จะช่วยบอกได้ว่าวงสวิงมี Kinematic Sequence ที่ดี และใช้กล้ามเนื้อที่สำคัญ ๆ อย่างมีประสิทธิภาพตามลำดับการส่งแรงไปที่ไม้กอล์ฟหรือไม่
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด