ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

กักตัวอย่างไรให้ปลอดภัย ไม่ให้แพร่โควิด ให้คนในบ้าน

กักตัวอย่างไรให้ปลอดภัย ไม่ให้แพร่โควิด ให้คนในบ้าน HealthServ.net
กักตัวอย่างไรให้ปลอดภัย ไม่ให้แพร่โควิด ให้คนในบ้าน ThumbMobile HealthServ.net

กักตัวอย่างไรให้ปลอดภัย เป็นคำถามสำคัญที่ต้องมีคำตอบ เพื่อป้องกันบรรเทาการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่กำลังระบาดระลอกใหม่อยู่ ณ เวลานี้

กักตัวอย่างไรให้ปลอดภัย ไม่ให้แพร่โควิด ให้คนในบ้าน HealthServ
สสส. เผยแพร่อินโฟกราฟิกให้ความรู้หัวข้อ “กักตัว 14 วัน อย่างไร ให้ปลอดภัยกับคนในบ้าน” ความว่า วิธีปฏิบัติที่สำคัญในการเดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยง คือ “การกักตัว 14 วัน” โดยจะทำอย่างไรให้ปลอดภัยกับคนในบ้าน ดังนี้
 
1. การแยกห้องและของใช้
  • อยู่ในห้องแยกจากครอบครัว โดยแยกห้องนอน
  • ใช้แผ่นกั้นห้อง แบบพลาสติกแบ่งสัดส่วน หากแยกห้องนอนไม่ได้
  • เปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเท
  • แยกของใช้ส่วนตัว
  • มีถังขยะติดเชื้อแยกเฉพาะ
 
2. ข้อปฏิบัติสำคัญ
  • ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่อย่างน้อย ครั้งละ 20 วินาที
  • สวมหน้ากาอนามัย หรือหน้ากากผ้าป้องกัน
  • อยู่ห่างกัน อย่างน้อย 1-2 เมตร หรือ 1-2 ช่วงแขน
 
3. การทำความสะอาด
  • เสื้อผ้า ชุดเครื่องนอน ผ้าเช็ดตัว แยกทำความสะอาดด้วย ผงซักฟอกตามปกติ หรือซักร่วมกับน้ำร้อน
  • ของใช้ที่สัมผัสบ่อย เช่น โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ คีย์บอร์ด ทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอล์ 70-90%
  • ห้องสุขจา สุขภัณฑ์พื้นบ้าน ทำความสะอาดด้วยน้ำยาฟอกขาว 5% แต่อย่าฉีดพ่น
 
4. การจัดการขยะ
ให้แยกเป็น 2 ประเภท
  • ขยะทั่วไป
  • ขยะติดเชื้อ (เช่น หน้ากากอนามัย กระดาษทิชชู่ ในแต่ละวันให้เก็บรวบรวม และล้างถังด้วยน้ำยาฟอกขาวเพื่อทำลายเชื้อ) จากนั้นให้นำไปใส่ถุงขยะ 2 ชั้น มัดปากถุงให้แน่น ก่อนนำไปรวมกับขยะทั่วไป
 
5. การรับประทานอาหาร
  • ไม่รับประทานอาหารร่วมกับคนในครอบครัว ให้ตักแบ่งมารับประทาน
  • หากให้ผู้อื่นจัดหาอาหารให้ ควรกำหนดจุดรับเพื่อป้องกันการสัมผัสโดยตรง
 
6. การใช้ห้องสุขา
  • แยกใช้ห้องสุขา หากแยกไม่ได้ ให้ใช้เป็นคนสุดท้ายและทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อทันที 
  • กรณีที่ใช้ชักโครกให้ปิดฝาก่อนกดชักโครก เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค

สสส. 5 มค 64
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด